Tag: ปวดท้อง

  • ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ?

    ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ?

    ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ? ปวดท้อง เป็นอาการป่วยพื้นฐานที่พบได้บอ่ย ๆ บางคนก็เป็นอยู่เป็นประจำจนไม่ได้ใส่ใจมากนัก คิดว่าเป็นได้เดี๋ยวก็หายไปเอง แต่หารู้ไม่ว่าอาการปวดท้องบางอย่างเป็นสัญญาณเตือนให้คุณรู้ว่า ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดดีกว่า ก่อนที่จะกลายเป็นโรคลุกลามได้ อาการปวดท้องนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่ปวดเล็กน้อย จนถึงปวดรุนแรงมาก อาการปวดอาจสัมพันธ์กับอวัยวะโดยตรงเช่น รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร ที่พบได้บ่อยจะเป็นการปวดท้องเพราะอวัยวะในทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งจะเป็นโรคใดก็ต้องวินิจฉัยว่าปวดที่ตำแหน่งไหน อาการปวดเป็นอย่างไร รวมไปถึงความรุนแรงและช่วงเวลาที่ปวดท้องด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการของโรคอื่น ๆ ที่ทำให้ปวดท้องได้ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดขนาดใหญ่ในช่องท้อง อาการหัวใจวายเฉียบพลัน ตับอักเสบ นิ่วในไต โรคลำไส้ โรคหัวใจและปอดอักเสบก็ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงได้เช่นกัน หากเป็นเพศหญิงก็ต้องนึกถึงสาเหตุของอวัยวะสืบพันธุ์ต่าง ๆ แม้แต่ผู้ป่วยโรคงูสวัดที่บริเวณท้องก็อาจทำให้ปวดท้องรุนแรงได้ ฯลฯ แต่กว่าครึ่งของคนที่ปวดท้องจะวินิจฉัยหาสาเหตุได้ผล ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งอาจหาสาเหตุไม่ได้ เมื่ออาการทุเลาหายไปก็ยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดอยู่ดี อาการปวดท้องที่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษานั้นก็ได้แก่ – ปวดนานกว่า 6 ชั่วโมงและมีอาการมากขึ้น – ปวดจนกินอะไรไดม่ได้ – ปวดท้องและอาเจียนมากกว่า 3-4 ครั้ง –…

  • ทานอาหารให้ปลอดภัยในช่วงหน้าร้อน

    ทานอาหารให้ปลอดภัยในช่วงหน้าร้อน

    ทานอาหารให้ปลอดภัยในช่วงหน้าร้อน หน้าร้อนเป็นช่วงเวลาที่อาหารบูดเสียได้ง่าย เพราะอากาศร้อนทำให้เชื้อโรคต่าง ๆ เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ดังนั้นในช่วงหน้าร้อนจึงเป็นช่วงเวลาที่มักจะพบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษ ท้องร่วงท้องเสียได้บ่อยครั้ง เกิดขึ้นได้จากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด มีสารพิษเชื้อโรคปะปน อาหารที่ปรุงไม่สุก อาหารค้างคืนที่ไม่อุ่น อาหารกระป๋องที่หมดอายุแล้ว รวมไปถึง การจัดเก็บอาหารที่ไม่เหมาะสมและสุขอนามัยที่ไม่ดีของคนปรุงอาหารด้วย ทำให้มีเชื้อโรคหรือสารพิษปนเปื้อนในอาหารได้ รวมไปถึงการทานอาหารรสจัดก็ทำให้ท้องเสีย ท้องเดินได้เช่นกัน อาหารเป็นพิษนั้นจะมีอาการเกิดขึ้นหลังจากทานอาหารไปแล้วประมาณ 1 ชั่วโมงถึง 1 วัน ขึ้นกับชนิดและขนาดของเชื้อที่ได้รับเข้าไป จะทำให้มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำหรือมีมูกปนได้ อาจมีไข้ อ่อนเพลีย หากรุนแรงเชื้ออาจติดเข้าไปในกระแสเลือด เลือดเป็นพิษ และพิษจากพืชบางชนิดอาจมีผลต่อระบบประสาททำให้ชัก หมดสติและตายได้ และหากมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์.. ท้องเสียท้องเดินไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง อุจจาระมีมูกหรือเลือดปนกลิ่นเหม็นเหมือนกุ้งเน่า มีไข้สูง หนาวสั่น เพราะมีภาวะลำไส้อักเสบหรือติดเชื้อในกระแสเลือด หรือเด็กที่ท้องเสียอายุน้อยกว่า 3 ขวบ เป็นผู้สูงอายุ เป็นสตรีมีครรภ์ เพราะบุคคลเหล่านี้อาจเสียชีวิตได้ง่าย และจะทำให้เกิดความผิดปกติกับแม่หรือลูกในครรภ์ได้ด้วย การดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากอาการท้องเสียท้องเดิน และอาหารเป็นพิษ ก็คือการทานอาหารที่สดสะอาด ปลอดภัย ไม่ควรทานอาหารที่มีรสจัดหรือไม่สะอาด อาหารที่ไม่เคยทานมาก่อน…

  • การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น

    การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น

    การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น โรคติดต่อจากยุงที่พบมากในภูมิภาคของเรานั้นก็ได้แก่ โรคไข้เลือดออก และไข้มาลาเรีย ยิ่งในฤดูฝนต่อฤดูหนาวแล้วก็ยิ่งพบได้บ่อยด้วย โรคไข้เลือดออกนั้นจะมีอาการไข้สูงตลอดเวลา หน้าแดงตาแดง ปวดท้อง อาเจียน มีผื่นหรือมีจุดจ้ำแดงขึ้นตามตัว ส่วนไข้มาลาเรียนั้น มักจะมีอาการจับไข้หนาวสั่นเป็นบางเวลา ทุกวัน หรือวันเว้นวันก็ได้ บางครั้งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มียุงมากได้ ก็ควรป้องกันตัวเองดังต่อไปนี้ค่ะ – ไม่ควรให้ยุงกัด ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตาม ควรนอนกางมุ้ง สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ห่มผ้าหนา ๆ ใช้กับดักยุง ทายากันยุง หรือใช้ตะไคร้หอม หรือใบกะเพราะดำคั้นน้ำมาทาตามลำตัวเพื่อไล่ยุง – ในบริเวณที่พักอาศัยและในชุมชน ควรกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยการปิดฝาภาชระใส่น้ำ คว่ำหรือทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง โรยผงซักฟอกในภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ถาดรองกระถางต้นไม้ จานรองตู้กับข้าง ด้วยอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำสองลิตร หรือจะปล่อยปลาหางนกยูงหรือปลากัดลงในบ่อน้ำที่ไม่ได้ใช้ดื่มกิน – กำจัดยุงโดยการผสมผงซักฟอก สบู่เหลว แชมพู หรือน้ำยาล้างจาน 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำหนึ่งลิตร คนอย่าให้เป็นฟอง แล้วใส่กระบอกฉีดน้ำ ฉีดยุงที่เกาะตามบริเวณบ้าน การเยียวยาเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เริ่มเป็นไข้ตัวร้อนแล้ว ก็คือไม่ควรอาบน้ำเย็น ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวแทน…

  • วิธีป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเดินอาหารเบื้องต้น

    วิธีป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเดินอาหารเบื้องต้น

    วิธีป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเดินอาหารเบื้องต้น ในฤดูร้อนและฤดูฝนที่บางครั้งก็มีฝนตกหนักจนน้ำท่วมนั้น เป็นระยะที่มีการระบาดของโรคท้องเดิน อาหารเป็นพิษ อหิวาห์ ไข้ไทฟอยด์ได้ ซึ่งอาการของโรคเหล่านี้ได้แก่ ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นถ่าย ถ่ายมีมูกเลือด มักปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และมีไข้ร่วมด้วย ไข้ไทฟอยด์นั้นมักจะมีไข้สูงตลอดเวลานานเป็นอาทิตย์ ปวดหัวและนอนซม ซึ่งโรคติดต่อทางเดินอาหารเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วย – ทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด ไม่บูดเสีย ไม่กินอาหารที่มีกลิ่นบูด หรือทิ้งค้างคืนและอาหารที่มีแมลงวันตอม – ให้ดื่มแต่น้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก น้ำดื่มบรรจุขวด – หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ทั้งก่อนปรุงอาหาร เตรียมอาหาร ก่อนทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ – หากต้องติดอยู่ในที่น้ำท่วม ห้ามถ่ายอุจจาระลงน้ำ ควรถ่ายลงส้วมดัดแปลงหรือถ่ายใส่ถุงพลาสติกแล้วใส่ปูนขาวลงไปจำนวนพอสมควรแล้วปิดปากถุงให้แน่นแล้วนำไปใส่ไว้ในถุงดำ หรือถุงขยะ แต่หากมีอาการท้องเดินแล้ว ให้รักษาตัวเบื้องต้นดังต่อไปนี้ – ดื่มน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส หรือน้ำข้าวต้มใส่เกลือ น้ำอัดลมใส่เกลือ หรือจะปรุงเองโดยใช้น้ำตาลทราย สองช้อนโตะ และเกลือครึ่งช้อนชาเล็ก ดื่มบ่อย ๆ ครั้งละครึ่งแก้วให้เพียงพอกับที่ถ่ายออกไป จะสังเกตได้ว่าปัสสาวะจะมากและใส – ให้ทานยาแก้ไข้พาราเซตามอลหากมีไข้สูง – สำหรับเด็กเล็กนั้นให้ดื่มนมแม่ตามปกติ ถ้ากินนมผงให้ผสมนมให้จางลงครึ่งหนึ่งจากที่เคยชงจนกว่าอาการจะเริ่มทุเลา…

  • ดูแลตัวเอง…ไม่ให้หน้ามืดวิงเวียนบ่อย ๆ

    ดูแลตัวเอง…ไม่ให้หน้ามืดวิงเวียนบ่อย ๆ

    ดูแลตัวเอง…ไม่ให้หน้ามืดวิงเวียนบ่อย ๆ โดยทั่วไปแล้วความดันปกติของคนเราจะอยู่ที่ 90 – 130 (ตัวบน) / 60 – 90 (ตัวล่าง) มิลลิเมตรปรอท แต่ถ้ามีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90 / 60 ก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีอาการความดันโลหิตต่ำค่ะ ซึ่งเกิดจากจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ การขาดสารน้ำจากการเสียเหงื่อมาก ท้องเสีย เสียเลือด หรือความอ่อนแอจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ เลือดจาง ฯลฯ โดยบางรายอาจไม่จำเป็นต้องแสดงอาการออกมา แต่บางรายก็มักมีอาการอ่อนเพลียหน้ามืด มึนงง เวลาลุกนั่งหรือเวลายืน หรือเวลาเปลี่ยนท่าเร็ว พาลจะทำให้เป็นลมได้ หากมีอาการเรื้อรัง กับมีอาการดังต่อไปนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น เจ็บหน้าอกรุนแรง ท้องเสียหรือปวดท้องอย่างมาก อาเจียนมาก ถ่ายเป็นสีดำ ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว เหงื่อแตก ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน แต่หากไม่ได้มีอาการดังกล่าวเป็นแต่เพียงอาการหน้ามืด วิงเวียนบ่อย ๆ เท่านั้นก็ควรดูแลตัวเองด้วยการปฏิบัติดังต่อไปนี้ค่ะ – เวลาเปลี่ยนท่าให้ค่อย ๆ ลุก เช่น หากตื่นนอนควรค่อย ๆ นั่งก่อนสักครู่แล้วจึงค่อยลุกขึ้นยืน…

  • ดูแลเด็ก ๆ ให้ห่างไกลโรคหวัดลงกระเพาะ

    ดูแลเด็ก ๆ ให้ห่างไกลโรคหวัดลงกระเพาะ

    ดูแลเด็ก ๆ ให้ห่างไกลโรคหวัดลงกระเพาะ โรคไวรัสโรต้า หรือโรคหวัดลงกระเพาะนั้น มักจะทำให้เด็กเล็ก ๆ ที่มีอายุน้อยกว่าห้าขวบ มีอาการไข้สูง ท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเป็นน้ำ จนทำให้ร่างกายขาดน้ำและเสียชีวิตจากโรคนี้กันได้ปีหนึ่งเป็นแสนรายจากทั่วโลกเลยทีเดียว  และในเมืองไทยก็มีเด็กที่เสียชีวิตจากเชื้อนี้เป็นจำนวนมากเช่นกัน  โดยมากเด็กมักจะติดโรคนี้ในช่วงที่มีอากาศเย็น   โรคนี้มีชื่อเรียกกันว่า หวัดลงกระเพาะ หรือ ไวรัสลงลำไส้ เพราะว่าในผู้ป่วยบางรายนั้นจะมีแสดงอาการคล้ายไข้หวัดนำมาก่อนนั่นเอง โรคนี้นั้นพบได้มากที่สุดในเด็กทารกและเด็กเล็ก ๆ ที่อายุน้อยกว่าสองขวบ  หากอายุมากกว่านี้ก็จะพบได้น้อยลง  ส่วนในวัยผู้ใหญ่หรือเด็กโตแล้วนั้นมักจะมีภูมิคุ้มกันโรค  เรียกได้ว่าเด็กเล็ก ๆ ที่เข้าโรงพยาบาลเพราะอาการท้องเสียนั้นเกือบครึ่งนั้นมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโรต้า นี้ได้เลย  และเรียกได้ว่าเด็กทารกแทบทุกคนนั้นเคยติดเชื้อนี้อย่างน้อยก็หนึ่งครั้งในชีวิต    เชื้อนี้ติดต่อกันได้ง่ายมากเพราะแพร่กระจายได้จากน้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระที่ปนเปื้อนอยู่กับ พื้นบ้าน ของใช้ สิ่งของ ของเล่นต่าง ๆ และเชื้อนี้ก็ยังแข็งแรงมากพอที่จะอยู่ได้เป็นวัน ๆ  เมื่อเด็กได้รับเชื้อเข้าไปก็จะมีระยะเวลาฟักเชื้อที่ค่อนข้างน้อยคือเพียงแค่ 1-2 วันเท่านั้น  แล้วจึงแสดงอาการปวดท้อง อาเจียน ไข้ขึ้นสูง  จนเกิดอาการชัก ร่วมกันถ่ายเหลว  เด็กบางคนได้รับเชื้อรุนแรงมาก อาจถ่ายได้ถึงวันละ 20 ครั้งเลยทีเดียว ในปัจจุบันนี้ยังไม่มียาใดที่รักษาเชื้อไวรัสโรต้านี้ได้  ดังนั้นหากเด็ก ๆ…

  • กินร้อนช้อนกลาง.. ป้องกันเชื้อร้ายอีโคไล

    กินร้อนช้อนกลาง.. ป้องกันเชื้อร้ายอีโคไล

    กินร้อนช้อนกลาง.. ป้องกันเชื้อร้ายอีโคไล เชื้ออีโคไล เป็นเชื้อที่แพร่ระบาดและติดต่อกันได้ทางอาหารและน้ำ มีอาการถ่ายอุจจาระอย่างรุนแรง ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลวมีเลือดหรือมีมูกเลือด และมีอาการรุนแรงขึ้นขนาดไตวายและเสียชีวิตได้ เชื้ออีโคไลนี้เป็นโรคติดต่อทางเดินอาหารที่ร้ายแรง แต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการระวังป้องกันดังต่อไปนี้ – ทานแต่อาหารที่ปรุงสุกใหม่ และไว้ใจว่าสะอาดเท่านั้น หรือหากเป็นอาหารที่ทำเก็บไว้ก็ควรอุ่นให้เดือนก่อนทานทุกครั้ง หลีกเลี่ยงอาหารดิบ ๆ สุก ๆ ที่อาจมีเชื้อร้ายหลบซ่อนอยู่ได้ – ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และเครื่องปรุงอาหารทั้งหมด ควรเลือกชนิดที่สะอาดและสดใหม่มาประกอบอาหาร ไม่ควรเลือกชนิดที่ไม่แน่ใจว่าเน่าเสียแล้วหรือไม่มาปรุงเด็ดขาด แม้จะมีราคาถูกก็ตาม – ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด หากผักซ้อนเป็นชั้น ๆ ควรลอกหรือปอกเปลือกของผักหรือผลไม้ออกเป็นกลีบ ๆ หรือใบ ๆ แล้วตัดเล็มขอบรอบออก แช่น้ำไว้อย่างน้อย 30 oรที คลี่ใบเอานิ้วถูให้สะอาด หรือเปิดก๊อกน้ำให้น้ำไหลผ่านไว้อย่างน้อย 2 นาที ทั้งนี้สามารถใช้สารอื่น ๆ ช่วยล้างให้สะอาดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำส้มสายชู เบกกิ้งโซดา หรือเกลือ ฯลฯ – แยกอาหารดิบและอาหารสุกปรุงแล้วออกจากกัน รวมไปถึงมีด เขียง…

  • หน้าฝน “ป้องกันยุงเกิด.. อย่าให้ยุงกัด” ลดความเสี่ยงไข้เลือดออก

    หน้าฝน “ป้องกันยุงเกิด.. อย่าให้ยุงกัด” ลดความเสี่ยงไข้เลือดออก

    หน้าฝน “ป้องกันยุงเกิด.. อย่าให้ยุงกัด” ลดความเสี่ยงไข้เลือดออก. ฤดูฝนที่กำลังมาเยือนนี้ มีโรคระบาดที่น่าเป็นห่วงมากสำหรับเด็ก ๆ ก็คือ โรคไข้เลือดออกนั่นเอง เป็นโรคที่มักระบาดในช่วงที่มีฝนตกชุกจนเกิดน้ำขังตามภาชนะและสิ่งของต่าง ๆ ที่รองน้ำเก็บไว้โดยไม่เกิดการหมุนเวียนถ่ายเท ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคนี้จึงแพร่พันธุ์เกิดขึ้นได้มากมาย โดยเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออกนี้ชื่อว่า “ไวรัสเดงกี่” ที่จะอยู่ในตัวยุงลายที่ไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก แล้วไปกัดคนอื่น ๆ แพร่เชื้อต่อไปเรื่อย ๆ เพราะยุงตัวเมียที่พกพาไวรัสไปด้วยนี้จะมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 4-6 อาทิตย์ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่นี้ไปแล้วจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2-7 วัน ผู้ป่วยจึงมักมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน หน้าแดง ตัวแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร มีผื่นหรือจุดแดงตามลำตัว แขนและขา กับทั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน รวมทั้งอาจมีอาการปวดท้อง เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล ถ่ายสีดำได้ รวมไปถึงอาจเกิดอาการช็อกได้อีกโดยให้สังเกตว่าแม้ไข้จะลดแล้ว แต่ผู้ป่วยยังมีอาการซึม ตัวเย็น กระสับกระส่ายปวดท้อง อาเจียนหรือหมดสติอยู่ ทั้งหมดนี้อาจเกิดขึ้นได้หากไม่สังเกตอาการและรักษาไม่ทันการ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรดูแลเด็กๆ และบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หากเด็กมีไข้สูงเฉียบพลัน ควรเช็ดตัวลดไข้และให้ยาลดไข้พาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อมเพื่อให้ทานง่าย และใช้ตามขนาดที่กำหนดทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง เมื่อไข้ลดแล้วจึงหยุดยา (หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินเพราะอาจทำให้เกิดอาการช็อกรุนแรงได้)…

  • หลากหลายเรื่องราวเกี่ยวกับ “น้ำอัดลม”

    หลากหลายเรื่องราวเกี่ยวกับ “น้ำอัดลม”

    หลากหลายเรื่องราวเกี่ยวกับ “น้ำอัดลม” แม้น้ำอัดลมจะเป็นเครื่องดื่มที่เราเห็นกันจนเจนตา และดื่มกันมากจนเจนปากก็ตาม แต่จะมีใครรู้บ้างว่าในน้ำอัดลมนั้น ให้โทษให้ประโยชน์และก่อผลกระทบอย่างไรต่อร่างกายบ้าง วันนี้มาดูกันชัด ๆ เลยค่ะ 8 ข้อ 1. แน่นอนล่ะว่าน้ำอัดลมต้องมีน้ำตาลอยู่สูงมาก เพราะเป็นสารที่ทำให้เครื่องดื่มมีความหวาน ดื่มแล้วสดชื่น แต่หารู้ไม่ว่าหากคุณดื่มทุกวัน คุณก็อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนเพราะได้รับน้ำตาลมากเกินความจำเป็น 2. ในน้ำอัดลมมีการอัดก๊าซเอาไว้ ดังนั้นการดื่มน้ำอัดลมก็จะทำให้ท้องอืด ปวดท้องแน่นท้องได้ เพราะเกิดก๊าซในกระเพาะอาหาร 3. น้ำอัดลมมีความเป็นกรดสูง ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร จะยิ่งกระตุ้นแผลและทำให้อาการแย่ลง 4. อีกทั้งกรดในน้ำอัดลมยังทำให้เคลือบฟันเสื่อม เป็นสาเหตุของฟันผุอีกด้วย 5. สำหรับผู้ที่จัดฟัน การดื่มน้ำอัดลมจะทำให้เกิดคราบบริเวณรอยต่อระหว่างเหล็กและฟัน 6. นอกจากจะทำให้อ้วน น้ำหนักเกินแล้ว การดื่มน้ำอัดลมมากเกินไปจะทำให้โพแทสเซียมในเลือดต่ำลง ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ 7. ในน้ำอัดลมมีคาเฟอีน จึงทำให้ตื่นตัว แต่ก็อาจทำให้นอนไม่หลับ มีอาการใจสั่น กระทั่งปวดศีรษะได้ด้วย 8. การดื่มน้ำอัดลมทำให้กระดูกสูญเสียแคลเซียม ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุนได้

  • การเมืองทำคนเครียดป่วย “โรคเครียดการเมือง” ล้นประเทศ

    การเมืองทำคนเครียดป่วย “โรคเครียดการเมือง” ล้นประเทศ

    การเมืองทำคนเครียดป่วย “โรคเครียดการเมือง” ล้นประเทศ กรมสุขภาพจิตห่วงคนไทยหวั่นเกิดโรคเครียดสะสมจากการเมืองจนกลายเป็นโรคชนิดใหม่.. โรคเครียดการเมือง หรือ Political Stress Syndrome (PSS) ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้ อาการทางร่างกาย 1. ปวดหัว 2. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 3. มีอาการตึงบริเวณต้นคอ ขมับ หรือแขนขา 4. นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือตื่นแล้วนอนต่อไม่ได้ 5. ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทั้ง ๆ ที่อยู่ในสภาพปกติ 6. หายใจไม่อิ่ม 7. แน่นท้อง ปวดท้อง อึดอัดในช่องท้อง 8. ชาตามร่างกาย อาการทางจิตใจ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งผู้ชุมนุม นักการเมือง ผู้ติดตามข่าวสารและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต 1. มีความวิตกกังวล ครุ่นคิดตลอด 2. หงุดหงิดฉุนเฉียวได้ง่าย 3. มีความก้าวร้าว 4. รู้สึกสิ้นหวัง เบื่อหน่าย…