Tag: ปวดตา
-
การป้องกันโรคฉี่หนู และโรคตาแดง และโรคผิวหนังในช่วงที่มีน้ำท่วม
การป้องกันโรคฉี่หนู และโรคตาแดง และโรคผิวหนังในช่วงที่มีน้ำท่วม โรคที่มักจะระบาดบ่อย ๆ เวลาน้ำท่วมได้แก่ โรคตาแดง โรคฉี่หนู และโรคผิวหนัง โรคฉี่หนูจะมีอาการไข้สูง ปวดหัว เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่อง ตาแดง ตาเหลืองได้ ควรหลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ลุยย่ำน้ำโคลนโดยไม่จำเป็น แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมรองเท้าบู้ทยางกันน้ำ ยิ่งโดยเฉพาะผู้ที่มีบาดแผลแล้วยิ่งควรระวัง ไม่ควรแช่น้ำนาน ๆ เมื่อขึ้นจากน้ำควรรีบชำระล้างร่างกายให้สะอาดแล้วซับให้แห้ง ทานอาหารในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บขยะทั้งหมดใส่ถุงพลาสติกและถังขยะที่ปิดมิดชิด ไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนูได้ และควรดูแลที่พักอาศัยให้ปราศจากหนูด้วย ส่วนโรคตาแดง หรือเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไว้รัสนั้น จะมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาลไหล กลัวแสง มีขี้ตา ตาแดงหนังตาบวม โดยอาจเริ่มที่ตาข้างหนึ่งก่อนแล้วลามไปอีกข้าง บ้างก็มีไข้ร่วมด้วย ควรป้องกันโดยหมั่นล้างมือให้สะอาด ด้วยน้ำกับสบู่ ไม่ควรขยี้ตาและอย่าให้แมลงตอมตาได้ หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น อาทิเช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว และควรแยกที่นอนจากคนอื่นด้วย ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาหยอดตา ยิ่งหากมีอาการปวดตามาก ตามัว ขี้ตาเหลืองหรือเขียว หรือไม่ทุเลาภายในหนึ่งสัปดาห์ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ โรคผิวหนังที่มากับน้ำท่วมนั้น จำแนกอาการของแต่ละโรคได้ดังนี้…. – ผื่นคัน จะมีผื่นหรือมีตุ่มคันบริเวณที่สัมผัสกับน้ำหรือโดนยุงกัด มักเกิดขึ้นพร้อมกันหลาย…
-
การถนอมดวงตาจากหน้าจอคอมพิเตอร์ แทปเลต และโทรศัพท์มือถือ
การถนอมดวงตาจากหน้าจอคอมพิเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ สายตาของคนเรานั้น นอกจากการเสื่อมสภาพตามวัยที่ล่วงเลยไปแล้ว บางคนการทำงานบางประเภทก็เร่งให้สายตาเสื่อมเร็วขึ้นด้วย ยิ่งเดี๋ยวนี้คนเราใช้คอมพิวเตอร์ แทปเลต หรือโทรศัพท์มือถือแทบตลอดเวลา ดังนั้นสายตาของคนรุ่นใหม่ ๆ เดี๋ยวนี้จะยิ่งเสื่อมเร็วขึ้น ผู้ที่ใช้ดวงตาจ้องมองหน้าจอเหล่านี้นาน ๆ มักจะมีอาการเมื่อยล้า ปวดตา ตาแห้ง มัว ไม่สบายตา สู้แสงไม่ได้ เพราะการมองหน้าจอเหล่านี้นาน ๆ นั้น ทำให้กระพริบตาน้อยลง ภาวะแสดงสว่างที่ไม่เหมาะสมทำให้กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ฯลฯ ซึ่งการถนอมดวงตานั้นควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้อย่างถูกวิธี เช่น พักสายตาเป็นระยะ ๆ ปรับตำแหน่งและระยะของหน้าจอให้ห่างจากดวงตาให้เหมาะสม ทานอาหารบำรุงดวตา เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินอี เบต้าแคโรทีน กรดไขมันโอเมก้าสาม และสังกะสี เพื่อบำรุงและซ่อมแซมกล้ามเนื้อดวงตา และป้องกันจอประสาทตาอีกด้วย การถนอมสายตา นอกจากการใช้สายตาอย่างถูกต้อง เช่น พักสายตาจากคอมพิวเตอร์เป็นระยะๆ ปรับตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมแล้ว การกินอาหารธรรมชาติที่ประกอบไปด้วย วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินอี เบต้าแคโรทีน โอเมก้า-3 และสังกะสี ซึ่งมีอยู่ในอาหารจำพวกผักหลากหลายสี เป็นการบำรุง ซ่อมแซมและเสริมสร้างกล้ามเนื้อดวงตา และยังช่วยปกป้องจอประสาทตาอีกด้วย…
-
วิธีป้องกันโรคตาแดงในระยะระบาด
วิธีป้องกันโรคตาแดงในระยะระบาด โรคที่พบได้บ่อยในหน้าฝนและช่วงที่มีน้ำท่วมมากนั้น โรคหนึ่งที่ระบาดมากในระยะนี้ก็ได้แก่ โรคตาแดงนั่นเอง โรคตาแดงเป็นโรคติดต่อได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีอาการไม่รุนแรงมากนัก มักเกิดจากเชื้อไวรัส แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจติดเชื้อแบคทีเรียจนเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้อีก โดยการติดต่อของโรคตาแดงนั้นเกิดจาก การสัมผัสโดยตรงกับน้ำตา ขี้ตา ขี้มูกของผู้ป่วย หรือการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย รวมไปถึงแมลงวันแมลงหวี่ตอมตาด้วย ระยะฟักเชื้อนั้นจะมีเวลาแค่ 1-2 วันเท่านั้นแล้วจะอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง โดยมักจะเริ่มที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วลุกลามไปอีกข้างที่เหลือ การป้องกันโรคตาแดงในระยะระบาดจึงมีคำแนะนำดังต่อไปนี้ค่ะ – หากมีน้ำสกปรกหรือขี้ฝุ่นเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที – หากเริ่มมีอาการดังกล่าวมาข้างต้นให้รีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับยามาป้ายหรือหยอดตา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ติดต่อกันให้หมดตามคำสั่งแพทย์ หากมีไข้ให้ทานยาลดไข้ได้ตามอาการ – หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ไม่ว่าจะเป็นการหลังจากออกจากห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ก่อนทานอาหารด้วย – อย่าขยี้ตา อย่าปล่อยให้แมลงมาตอมตาและไม่ควรใช้สายตามากด้วย – ผู้ที่ป่วยเป็นโรคตาแดงควรนอนแยกจากคนอื่น ๆ และไม่ใช่สิ่งของร่วมกัน ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ควรซักให้สะอาดอีกครั้งหลังจากหายป่วยแล้ว –…
-
โรคตาดับ โรคอันตราย ดูแลตัวเองไว้ก่อนมองไม่เห็น
โรคตาดับ โรคอันตราย ดูแลตัวเองไว้ก่อนมองไม่เห็น โรคตาดับ หรือภาวะตาดับคือ โรคหรือภาวะที่สูญเสียการมองเห็นอย่างเฉียบพลัน อาจเกิดกับดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้างพร้อมกันก็ได้ มีสาเหตุได้หลายโรค เช่น โรคต้อหินเฉียบพลัน โรคจอประสารทตาหรือโรคเส้นประสาทตา ฯลฯ ซึ่งภาวะตาดับอาจสามารถรักษาให้กลับมามองเห็นได้อีก แต่ต้องรู้ตัวทันทีและได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วด้วย ดังนั้นเราจึงควรหมั่นสังเกตความสามารถในการมองเห็นของตนตัวเองเป็นระยะ ทั้งการมองทั้งสองข้างและมองแบบปิดตามองทีละข้าง เพื่อเปรียบเทียบกัน หรือมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าตาข้างใดมีปัญหา ต้องทดสอบและรักษาอย่างทันท่วงที โดยสายเหตุของโรคตาดับเฉียบพลันนี้จะแบ่งตามลักษณะอาการปวดที่พบ ร่วมกับการสูญเสียความสามารถในการมองเห็นได้อ 2 กลุ่ม ดังนี้ 1. สาเหตุตาดับจากโรคที่การมองเห็นแย่ลง โดยไม่มีอาการปวดตาร่วมด้วย 2. สาเหตุตาดับจากโรคที่มองเห็นแย่ลง โดยมีอาการปวดตาด้วย ซึ่งโรคที่การมองเห็นแย่ลง โดยไม่มีอาการปวดตาร่วมด้วย มีดังนี้ – โรคหลอดเลือดแดงจอประสาทตาอุดตัน (Central retinal artery occlusion) จะทำให้ตาข้างใดข้างหนึ่งมืดลงในเวลาไม่กี่นาที ไม่เจ็บปวด แต่เป็นโรคร้ายแรง ควรพบจักษุแพทย์ภายใน 6-24 ชั่วโมงจึงจะมีโอกาสกลับมามองเห็นได้อีก – โรคจอประสาทตาหลุดลอก (Retinal detachment) คือ การลอกตัวของจอประสาทตา การมองเห็นจะเหมือนมีม่านดำ เริ่มเห็นเป็นเงาดำ บางบริเวณขยายขนาดเงาดำจนอาจมองเห็นไม่สมบูรณ์ อาจเห็นเป็นจุดหรือเส้นดำลอยไปมาจากภาวะวุ้นตาเสื่อม…