Tag: ปวดคอ
-
นั่งทำงานจนปวดต้นคอ ทำอย่างไรดี?
นั่งทำงานจนปวดต้นคอ ทำอย่างไรดี? บรรดาหนุ่ม ๆ สาว ๆ ออฟฟิศทั้งหลายที่ต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์กันเป็นเวลานานๆ นั้นมักจะเคยปวดต้นคอกันมาแล้วทุกคน ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีแก้ปัญหาต่างกันไป วันนี้จะขอเอาคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยบำบัดอาการปวดต้นคอของคุณ ดังต่อไปนี้ค่ะ – ไม่ควรนั่งเกร็งคออยู่หน้าจอต่อไป ควรหาทางให้กล้ามเนื้อได้พักผ่อน ควรนอนราบ หนุนหมอน และควรเลือกหมอนที่มีความนุ่มและยืดหยุ่นรับน้ำหนักของต้นคอ โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งของก้านคอได้ดี และมีความหนาที่พอดี แบบที่เมื่อมองจากด้านข้างแล้วจะเห็นแนวของต้นคอเป็นเส้นตรงพอดี ไม่แหงนหรือก้ม – ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่น หากใช้น้ำแข็งให้เลือกชนิดที่ทุบมาแล้วนำมาใส่ถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้าขนหนูก่อนจึงประคบ หรือหากใช้น้ำอุ่นให้น้ำผ้านุ่ม ๆ ชุบน้ำอุ่นจัด ๆ แล้วนำมาประคบบริเวณที่ปวดประมาณ 10-15 นาที – สามารถทานยาแก้ปวดพวกพาราเซตามอลหรือแอสไพรินได้ อาจใช้ครีมทาแก้ปวดได้ด้วย ไม่ควรนวดแรงเพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อฟกช้ำมากเกินไป – ทำกายภาพบำบัด ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ได้แก่การบริหารกล้ามเนื้อคอ การใส่ปลอกคอ (ซึ่งจำเป็นเฉพาะบางรายเท่านั้น) การถ่วงน้ำหนักดึงกระดูกคอ และการประคบบริเวณที่ปวดด้วยความร้อน ความเย็นหรือคลื่นเสียงอัลตราซาวนด์ อาการปวดต้นคอนี้มักจะหายไปภายใน 2-3 วัน หากยังไม่หายให้กินยาแก้ปวดต่อไป หลังนี้ผู้ป่วยควรฝึกเรียนรู้วิธีการบริหารกล้ามเนื้อต้นคอเพื่อให้คอเคลื่อนไหวได้ดีและแข็งแรงขึ้นไปด้วยค่ะ
-
อาการปวดเมื่อยหลากหลายรูปแบบในผู้สูงวัย
อาการปวดเมื่อยหลากหลายรูปแบบในผู้สูงวัย ผู้สูงวัยนั้นมักมีอาการปวดกล้ามเนื้อในรูปแบบและตำแหน่งที่แตกต่างกันไป โดยมากมักพบบริเวณ หลัง เอว คอ ขา น่อง และตามข้อต่อต่าง ๆ โดยอาการปวดเมื่อยเหล่านี้แบ่งออกตามสาเหตุคือ.. 1. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วไป ซึ่งมักเจาะจงตำแหน่งได้ไม่ชัดเจน 2. ปวดจากเส้นเอ็น และจะปวดมากขึ้นหากมีการถูกกดทับหรือเคลื่อนไหว พบมากบริเวณ หัวไหล่ มือ ส้นเท้า และเอ็นร้อยหวาย 3. ปวดจากเส้นประสาทที่กดทับ มักจะปวดแสบร้อนไปตามเส้นประสาท หากมีอาการกดทับที่เส้นประสาทหลังจะปวดร้าวลงไปถึงน่องและปลายเท้า แต่หากเป็นเส้นประสาทที่คอถูกกดทับจะปวดร้าวลงไปที่แขนและมือ 4. ปวดเมื่อจากเส้นเลือดขอดบริเวณขา มักเป็นเวลาที่ต้องยืนนาน ๆ 5. ปวดเมื่อตามข้อต่อต่าง ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ยิ่งลงน้ำหนักมากก็ยิ่งปวด เดินก็ปวด พับหรืองอไว้ก็ปวด และมักปวดในเวลาที่เปลี่ยนท่าหรือปวดในเวลากลางคืน และเวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งสาเหตุของการปวดเหล่านี้ก็คือเกิดการอักเสบขึ้นบริเวณรอบ ๆ ข้อ, ยกของหนัก, อิริยาบถไม่เหมาะสม, อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป, ยืน เดิน นั่ง แล้วศีรษะงุ้มไปด้านหน้า, เกิดจากอุบัติเหตุ หกล้มหรือกระแทก รวมไปถึงเกิดจากโรคบางโรค…