Tag: ปวดกล้ามเนื้อ
-
ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ…เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ…เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แม้เดี๋ยวนี้คนเราจะทำงานนั่งโต๊ะกันมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าอาการเมื่อยล้าหรือปวดเมื่อยจะน้อยลง แต่ตรงกันข้ามกลับเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เพราะคนสมัยนี้กล้ามเนื้อและร่างกายอ่อนแอกว่าคนทำงานสมัยก่อน หรือผู้ใช้แรงงานมากนัก การที่กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรงนั้น เมื่อต้องออกแรงอย่างหนักหรือการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ หรือการเกร็งกล้ามเนื้อนาน ๆ ทำให้เกิดการบีบหรือกดหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ออกซิเจนมาช่วยเผาผลาญอาหารทำไม่ได้เต็มที่ ร่างกายจึงต้องเปลี่ยนไปใช้กระบวนการที่ไม่ใช้ออกซิเจน จึงทำให้เกิดการคั่งของกรดแลกติกในกล้ามเนื้อชุดนั้น อาการปวดและล้ากล้ามเนื้อจึงตามมา ยกตัวอย่างอิริยาบถที่สร้างความเมื่อยล้าได้มาก ได้แก่ อาการปวดกล้ามเนื้อบ่าจากการเกร็งกล้ามเนื้อไว้เพื่อสะพายกระเป๋าไม่ให้หลุด หรือการสวมรองเท้าส้นสูงที่ต้องเขย่งเท้าไว้นานๆ ทำให้ปวดเมื่อยน่องได้ ฯลฯ ซึ่งอาการเหล่านี้หากไม่ได้รับการปรับแก้ไขให้เหมาะสมจะทำให้อาการปวดนั้นเรื้อรัง รักษายากได้ ทุกวันเมื่อมีอาการปวดเมื่อยล้าขึ้น ให้พักผ่อนกล้ามเนื้อชุดนั้นแล้วออกกำลังกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันและบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ลดการตึงตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อได้ เพียงคุณค่อย ๆ ยืดกล้ามเนื้อชุดนั้นออกช้า ๆ จนตึงแล้วค้างไว้ 10 วินาทีแล้วปล่อยออกเท่านั้น หากต้องการป้องการอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อก็ทำได้โดย ไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ เช่น ก้มหน้าอ่านหนังสือหรือนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไป ควรหมั่นขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง มิให้กล้ามเนื้อคอต้องเกร็งค้างตลอดเวลา ไม่ควรสะพายกระเป๋าหนักเกินไป ควรสลับบ่าหรือใช้มือมาหิ้วบ้าง ไม่ควรสวมรองเท้าส้นสูงนาน ๆ หรือนั่งทับขาข้างใดข้างหนึ่งนานเกินไปด้วย ฯลฯ รวมไปถึงอวัยวะต่าง ๆ ที่คุณใช้งานประจำด้วย เครื่องจักรเครื่องยนต์ต่าง ๆ…
-
ยอมรับความเสื่อมของร่างกายตามกาลเวลา
ยอมรับความเสื่อมของร่างกายตามกาลเวลา เมื่ออายุยิ่งมากขึ้นเท่าไร การดูแลสุขภาพก็ยิ่งเป็นเรื่องจำเป็นมากขึ้นเท่านั้น หากจะเปรียบไปแล้วร่างกายของคนก็เหมือนกับรถที่เก่าลงทุกปี จำเป็นต้องเข้าอู่เพื่อตรวจเช็คสภาพ บำรุงรักษาอยู่เนือง ๆ ร่างกายเราเมื่ออายุมากขึ้นก็ย่อมมีความเสื่อมโทรมลงเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะส่วนใดก็หลีกเลี่ยงความจริงข้อนี้ไปไม่ได้ ซึ่งอาการหรือโรคที่บ่งบอกว่าร่างกายเรากำลังเสื่อมโทรมเอาที่เห็นกันได้ชัด ๆ นั้นก็คือ ตาฝ้าฟาง หูตึง ปวดกล้ามเนื้อ และปวดกระดูก อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงโรคเรื้อรังไม่ติดต่อจำพวก เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด โรคอ้วน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกิดในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่พบได้แม้ในคนที่อายุยังน้อยอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็เกิดจากวิธีการใช้ชีวิตนั่นเอง แต่คนเราก็ไม่เหมือนรถไปซะหมดทุกอย่าง เพราะคนเราก็ยังมีจิตใจ และจิตวิญญาณ ซึ่งสุขภาพของคนจะดีได้นั้นผู้ที่เป็นเจ้าของร่างกายก็จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่ทุกสัดส่วน ร่างกายจึงจะอยู่กับเรานาน ๆ ไม่เสื่อมโทรมไว หรือเสียบ่อย ๆ แล้วก็ยังใช้การได้ดีจนสิ้นอายุขัย พึงตระหนักไว้ว่าสุขภาพของผู้ที่เข้าวัยชรานั้นเปรียบเหมือนรถเก่าก็ตรงที่ มักจะเสียง่าย ใช้งานหนักมากไม่ไหว แล้วก็ต้องเข้าอู่บ่อย สุดท้ายก็ต้องพัง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดูแลอย่างเหมาะสม เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นก็ซ่อมแซมตามจำเป็น แต่หากมีปัญหาซับซ้อนก็ควรแยกแยะให้ออกว่าจะปล่อยไปหรือนำไปซ่อม ควรมีสติ มีความรู้ และอย่างกังวลมากเกินไป นอกจากนี้แล้วยังควรหากช่างซ่อม หรือหมอ พร้อมอู่ หรือโรงพยาบาลที่ไว้ใจได้มาดูแลด้วย ผู้สูงวัยทุกท่านจำเป็นต้องแยกแยะให้ได้ว่า อาการชนิดไหนเป็นโรคที่ไม่ต้องรักษา…
-
อาการปวดเมื่อยหลากหลายรูปแบบในผู้สูงวัย
อาการปวดเมื่อยหลากหลายรูปแบบในผู้สูงวัย ผู้สูงวัยนั้นมักมีอาการปวดกล้ามเนื้อในรูปแบบและตำแหน่งที่แตกต่างกันไป โดยมากมักพบบริเวณ หลัง เอว คอ ขา น่อง และตามข้อต่อต่าง ๆ โดยอาการปวดเมื่อยเหล่านี้แบ่งออกตามสาเหตุคือ.. 1. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วไป ซึ่งมักเจาะจงตำแหน่งได้ไม่ชัดเจน 2. ปวดจากเส้นเอ็น และจะปวดมากขึ้นหากมีการถูกกดทับหรือเคลื่อนไหว พบมากบริเวณ หัวไหล่ มือ ส้นเท้า และเอ็นร้อยหวาย 3. ปวดจากเส้นประสาทที่กดทับ มักจะปวดแสบร้อนไปตามเส้นประสาท หากมีอาการกดทับที่เส้นประสาทหลังจะปวดร้าวลงไปถึงน่องและปลายเท้า แต่หากเป็นเส้นประสาทที่คอถูกกดทับจะปวดร้าวลงไปที่แขนและมือ 4. ปวดเมื่อจากเส้นเลือดขอดบริเวณขา มักเป็นเวลาที่ต้องยืนนาน ๆ 5. ปวดเมื่อตามข้อต่อต่าง ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ยิ่งลงน้ำหนักมากก็ยิ่งปวด เดินก็ปวด พับหรืองอไว้ก็ปวด และมักปวดในเวลาที่เปลี่ยนท่าหรือปวดในเวลากลางคืน และเวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งสาเหตุของการปวดเหล่านี้ก็คือเกิดการอักเสบขึ้นบริเวณรอบ ๆ ข้อ, ยกของหนัก, อิริยาบถไม่เหมาะสม, อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป, ยืน เดิน นั่ง แล้วศีรษะงุ้มไปด้านหน้า, เกิดจากอุบัติเหตุ หกล้มหรือกระแทก รวมไปถึงเกิดจากโรคบางโรค…