Tag: บุหรี่
-
9 โรคใหม่มีสาเหตุจากบุหรี่ !!!
—
by
9 โรคใหม่มีสาเหตุจากบุหรี่ !!! ในโอกาสครบรอบห้าสิบปีของการประกาศว่า การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของ โรคมะเร็งปอด และโรคเรื้อรังอื่น ๆ ล่าสุดมีการรับรองว่า 9 โรคใหม่ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่มือสองจากผู้อื่นได้แก่ 1. มะเร็งตับ 2. มะเร็งลำไส้ 3. วัณโรค ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นวัณโรคมากขึ้น เสียชีวิตมากขึ้นและกลับมาเป็นซ้ำมากขึ้นด้วย 4. เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานถึงร้อยละ 30-40 เทียบกับผู้ที่ไม่สูบ 5. จอประสาทตาเสื่อมซึ่งจะสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น 6. เพดานปากแหว่งตั้งแต่เกิด ในแม่ที่สูบบุหรี่ 7. ตั้งครรภ์นอกมดลูก 8. โรคข้อรูมาตอยด์และภาวะภูมิต้านทานร่างกายลดลง 9. โรคเส้นเลือดในสมองตีบหรือโรคเส้นเลือดในสมองแตกจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ซึ่งรายงานฉบับนี้มีความสำคัญมากต่อประเทศไทย เพราะโรคมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ เป็นโรคมะเร็งที่ชายไทยเป็นมากที่สุด ในขณะที่เบาหวานและวัณโรคก็เป็นโรคที่คนไทยเพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นผลมากจากการสูบบุหรี่ของชายไทยที่สูงขึ้น งานนี้นอกจากผู้สูบบุหรี่ต้องรักษาสุขภาพของตัวเองแล้ว งานควบคุมยาสูบในประเทศไทยก็ยังต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมทั้งรัฐบาลอย่างจริงจังในการควบคุมด้วย
-
ยิ่งสูบบุหรี่ยิ่งเพื่อความเสี่ยงติดเชื้อวัณโรคได้มากเท่านั้น
ยิ่งสูบบุหรี่ยิ่งเพื่อความเสี่ยงติดเชื้อวัณโรคได้มากเท่านั้น การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแทบทั่วทั้งร่างกาย โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ ปอด กล่องเสียง ทำให้เกิดมะเร็งได้แทบทุกส่วนดังกล่าว เรื่องไปจนถึงมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะและมะเร็งในระบบอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้ก็ยังเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อวัณโรคได้อีกด้วย เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เม็ดเลือดขาวตายเพิ่มขึ้น ร่างกายจึงมีภูมิต้านทานลดลง อีกทั้งสารพิษจากควันบุหรี่จะทำลายเนื้อปอด การขจัดเชื้อโรคของเยื่อบุหลอดลมและปอดอ่อนแอ หากผู้สูบบุหรี่ได้รับเชื้อวัณโรคที่อาจปลิวปะปนในอากาศก็อาจติดเชื้อจนกลายเป็นวัณโรคได้ แม้จะเป็นผู้ที่เคยสูบบุหรี่และเลิกสูบแล้วก็ตาม ก็ยังพบว่าติดเชื้อวัณโรคได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่เคยสูบเลยอยู่ดี ยิ่งเคยสูบมานานเท่าไรก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากเท่านั้น พบว่าผู้ที่เสียชีวิตจากวัณโรคเป็นผู้ที่เคยสูบบุหรี่ แม้แต่เด็กเล็กที่อยู่ในบ้านที่มีผู้สูบบุหรี่ก็อัตราความเสี่ยงที่จะติดเชื้อวัณโรคมากกว่าเด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมทั่วไปด้วย ในส่วนของผู้ป่วยวัณโรคนั้น หากหยุดสูบบุหรี่ ก็จะช่วยให้ร่างกายตอบสนองการรักษาทางการแพทย์ได้ดีขึ้น โรคจะหายเร็วขึ้น อาการไอจะลดลงอย่างรวดเร็ว อัตราการแพร่เชื้อสู่คนใกล้ชิดก็จะพลอยลดลง เนื้อปอดที่ถูกทำลายจากเชื้อวัณโรคจะลดน้อยลง โรคจึงหายเร็วและเป็นปกติได้ในเร็ววัน ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้เป็นวัณโรคแต่อยากเลิกบุหรี่นั้น ก็ขอให้ทำใจให้เข้มแข็ง แล้วเลิกให้หมดก่อนที่ร่างกายจะเสื่อมสภาพ อีกทั้งยังควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ทานผักผลไม้ให้มากกว่าเนื้อสัตว์และของมัน ๆ งดเหล้า หรือเข้าร่วมวงที่มีคนสูบบุหรี่ด้วย แล้วปอดท่านจะแข็งแรงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลยล่ะค่ะ
-
แม้จะเป็นการสูบบุหรี่อย่างฉลาดแต่ก็ทำลายสุขภาพอยู่ดี
แม้จะเป็นการสูบบุหรี่อย่างฉลาดแต่ก็ทำลายสุขภาพอยู่ดี ก่อนที่จะไปพูดถึงเรื่องของการสูบบุหรี่ เราควรมาทำความเข้าใจกันถึง เรื่องของระบบการหายใจของเราก่อนดีกว่า ทางเดินหายใจส่วนบนนั้นประกอบไปด้วยส่วนของ จมูก โพรงอากาศข้างจมูกและคอหอย ส่วนทางเดินหายใจส่วนล่างนั้นประกอบไปด้วย กลอ่งเสียง หลอดลมใหญ่ในคอ หลอดลมที่มีขนาดลดหลั่นกันลงมา และถุงลม เวลาที่เราหายใจเข้าไปตามปกติจะมีอาการเข้าประมาณประมาณร้อยละ 70 สู่ถุงลมเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซ ส่วนอีกร้อยละ 30 ที่เหลือจะอยู่ในหลอดลม ทั้งควันและฝุ่นละอองต่าง ๆ ที่หายใจเข้าไปจะอยู่ในบริเวณหลอดลม ซึ่งจะขับสิ่งที่คั่งค้างออกโดยมีเมือกและขนเล็ก ๆ ดักจับเอาไว้ หากมีมากก็จะไอออกมาเป็นเสมหะ ซึ่งควันและฝุ่นละอองบางอย่างอาจตกค้างอยู่ในหลอดลมฝอยทำให้เกิดการอักเสบอ่อนเรื้อรัง ต่อมมูกก็จะโตขึ้นและหลั่งมูกมากขึ้น ทำให้หายใจไม่สะดวก เรียกว่าภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจเรื้อรัง ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซมีปัญหา จนเกิดภาวการณ์หายใจล้มเหลวได้ คนที่สูบบุหรี่ทั้งหมดจะหายใจออกจนสุดแล้วจึงเริ่มสูดควันที่มีอากาศปนอยู่เข้าไปในหลอดลมอย่างทั่วถึง ยิ่งสูดลึกก็ยิ่งอันตรายได้มาก ยิ่งกลั้นไว้แล้วค่อย ๆ ระบายออกช้า ๆ ควันบุหรี่จะจับผนังหลอดลมนานขึ้นด้วย ซึ่งเทคนิคการสูบบุหรี่อย่างฉลาดก็คือการหายใจเข้าตามปกติแล้วค่อยสูบบุหรี่ วิธีนี้จะทำให้อากาศดีเข้าไปบรรจุอยู่ในปอดและหลอดลมฝอยจนเต็มเหลือที่ไว้ในหลอดลมใหญ่ เมื่อสูดควันเข้าไปจะกระจายไม่ทั่วปอด และจะหายใจออกมาตามปกติทันที จึงทำให้ที่ควันจะอยู่ในหลอดลมสั้นลม นอกจากนี้แล้วยังควรปฏิบัติตามนี้ด้วยได้แก่ – ไม่ควรสูบบุหรี่ในที่อับ เช่น ห้องน้ำ ห้องน้ำ หรือที่มีอาการถ่ายเทก็ตาม ควรสูบในที่โล่งแจ้งเท่านั้น – อย่าสุบบุหรี่เพราะแก้เบื่อ หรือเหงาปากหรือเคยชิน ควรหัดยืดเวลาออกไปเล็กน้อยเรื่อย…
-
จุดเริ่มต้นของโรคถุงลมโป่งพอง
จุดเริ่มต้นของโรคถุงลมโป่งพอง สาเหตุหนึ่งที่สำคัญมากของโรคถุงลมโป่งพองก็คือ บุหรี่นั่นเอง มักเกิดโรคนี้ในผู้ที่สูบบุหรี่จัดนานกว่า 10-20 ปี ขึ้นไป พิษจากบุหรี่จะทำลายเยื่อบุหลอดลมและถุงลมในปอดทีละน้อยไปเรื่อย ๆ ในที่สุดถุงลมปอดจะพิการ คือไม่สามารถทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนอากาศ หอบเหนื่อยง่าย และมักติดเชื้อที่ปอดซ้ำซาก นอกจากบุหรี่แล้ว การได้รับมลพิษในอากาศ จากควันหุงต้ม การก่อไฟในสถานที่ปิดทึบก็ทำให้เป็นโรคถุงลมโป่งพองได้เช่นกัน อาการของผู้ที่สูบบุหรี่จัดมาหลายปีนั้นจะมีอาการของหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ตื่นนอนตอนเช้าจะไอมีเสมหะหรือขากเสมหะในลำคอตั้งแต่ตื่นนอน ไอมีเสมหะเรื้อรังเป็นเดือนเป็นปี ส่วนมากมักจะนึกว่าเป็นเรื่องปกติจึงไม่ใส่ใจดูแล จนเริ่มไอถี่ขึ้นตลอดวันและมีเสมหะจำนวนมาก ในช่วงแรกเสมหะจะมีสีขาว และกลายเป็นสีเขียวเหรือเหลือง มีไข้หรือหอบเหนื่อยจากการติดเชื้อ หากยังไม่หยุดสูบบุหรี่อาการจะยิ่งหนักไปเรื่อย ๆ เหนื่อยง่าย หอบแม้แต่เวลาเดิน หรือพูด หรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในระยะหลังหากอาการกำเริบหนักอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนจนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ในระยะที่รุนแรงนั้น ผู้ป่วยจะเบื่ออาหารผ่ายผอม น้ำหนักลด หอบเหนื่อยและทุกข์ทรมานอยู่ตลอดเวลา โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต ต้องพบแพทย์และใช้ยารักษาอย่างต่อเนื่อง หากในระยะแรกเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาดก็จะทำให้โรคไม่ลุกลามมากนัก แต่หากไม่หยุดสูบก็อาจลุกลามรุนแรง และมักเสียชีวิตด้วยภาวการณ์หายใจล้มเหลว ปอกอักเสบหรือปอดทะลุ โดยมากจะเสียชีวิตกว่าร้อยละ 50 ภายใน 10 ปี หลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคถุงลมโป่งพอง หากตรวจพบว่าเป็นโรคนี้แล้ว ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ 1. พบแพทย์เพื่อรับยาและทานยาให้สม่ำเสมอ…
-
ผักผลไม้ และสมุนไพรช่วยเลิกบุหรี่
ผักผลไม้ และสมุนไพรช่วยเลิกบุหรี่ หลายคนทราบดีว่าบุหรี่นั้นเป็นพิษทั้งผู้สูบและคนที่อยู่ใกล้ชิด อยากเลิกแต่ก็เลิกได้ยาก การจะเลิกบุหรี่ให้ได้นั้นต้องอาศัยความตั้งใจเป็นสำคัญ เพราะในช่วงแรกที่ร่างกายขาดนิโคตินนั้นจะรู้สึกหงุดหงิด ไม่มีความสุข และเครียดได้ ดังนั้นการนำเอาผักผลไม้ สมุนไพร รวมทั้งเทคนิคอื่น ๆ มาช่วยให้จิตใจสดใสขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ การออกกำลังกายหรือการเล่นโยคะ การนั่งสมาธิ ก็ช่วยให้คลายเครียดลงได้ ร่างกายหลั่งเอนโดรฟีนออกมามากขึ้น ทำให้มีความสุขช่วยเลิกบุหรี่ได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังมีผักผลไม้ที่ช่วยในการเลิกบุหรี่ได้อีกคือ – กล้วยหอม มีสารสำคัญช่วยลดความเครียดลงได้ เพราะในกล้วยหอมมีกรดอะมิโนทริปโตเฟน ซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนเป็นซีโรโทนิน เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผ่อนคลาย มีความสุข มีวิตามินบีหก และบีสิบสอง โพแทสเซียม แมกนีเซียม ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้นจากการขาดนิโคติน อาจทานเป็นกล้อยหอมปั่นผสมน้ำผึ้งได้เช่นกัน (แต่ควรระวังไว้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน) หรือกินกล้วยหอมแทนขนมจุบจิบก็ได้ หากไม่มีกล้วยหอมใช้กล้วยน้ำว้าแทนก็ได้ผลเช่นกัน – หญ้าดอกขาว มีโพแทสเซียมไนเตรท ทำให้ประสาทรับรสที่ลิ้นชาจึงไม่อยากสูบบุหรี่ – กานพลู หรือลูกจันทร์ ลองอมดอกกานพลูแห้งจะแก้ความอยากบุหรี่และระงับกลิ่นปากไปด้วยในตัว ช่วยเลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น ส่วนลูกจันทร์จะช่วยความอยากบุหรี่ได้บ้างเป็นการชั่วคราว – มะขามป้อม มีวิตามินซีสูง มีสารแทนนิน ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานสูงขึ้น ลองนำมะขามป้อมมาเคี้ยวสดหรืออมก็ได้เช่นกัน – มะนาว มีรสเปรี้ยวและมีวิตามินซีนู…
-
เทคนิคการเลิกบุหรี่ ที่มีคนทำตามแล้วได้ผล
เทคนิคการเลิกบุหรี่ ที่มีคนทำตามแล้วได้ผล สาเหตุที่บุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะนิโคตินที่มีอยู่ในบุหรี่นั้นทำให้เกิดความดันโลหิตสูง มีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นทำให้หลอดเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจหดเกร็ง หัวใจจึงต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น คาร์บอนมอนนอกไซด์สามารถจับกับเม็ดเลือดแดงได้อย่างถาวร จึงเหลือเม็ดเลือดแดงที่จะนำพาออกซิเจนและคาร์บอนมอนนอกไซด์ได้น้อยลง จึงไม่เพียงพอ เม็ดเลือดแดงที่กระด้าง ทำให้ผนังหลอดเลือดเป็นแผล หากเป็นหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ จะทำให้หัวใจขาดเลือด ยิ่งหากมีไขมันในเลือดสูง เป็นโรคอ้วน หรือไม่ออกกำลังกาย และมีความเครียดด้วยแล้ว ความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจนี้ยิ่งมีเพิ่มมากขึ้น หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องการเลิกบุหรี่อย่างจริงจัง ลองทำตามเทคนิคเหล่านี้ดู ได้ผลอย่างแน่นอนค่ะ 1. ต้องตั้งใจที่จะเลิกบุหรี่อย่างเด็ดขาดเสียก่อน 2. ขอกำลังใจจากคนใกล้ชิดและคนในครอบครัว 3. ดื่มน้ำให้มากอย่างน้อยวันละสองลิตร จะช่วยกำจัดนิโคตินจากร่างกาย 4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน พวกชากาแฟอื่น ๆ รวมไปถึงแอลกอฮอล์ด้วย 5. หากรู้สึกง่วงนอน อ่อนพลีย หงอยเหงา ไม่สบายตัวควรอาบน้ำ หรือใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัว จะทำให้สดชื่นขึ้นแล้วค่อยไปหากิจกรรมอื่น ๆ ทำ 6. ไม่ควรทานอาหารอิ่มเกินไปหรืออาหารที่มีรสจัดจะทำให้อยากบุหรี่เพิ่มขึ้น 7. ทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น แทนอาหารที่ทานอยู่ประจำ 8. หมั่นออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟีนออกมา
-
ฟังประสบการณ์ที่คุณภรรยาสามารถช่วยเหลือให้สามีเลิกบุหรี่สำเร็จได้
ฟังประสบการณ์ที่คุณภรรยาสามารถช่วยเหลือให้สามีเลิกบุหรี่สำเร็จได้!!! วันนี้ขอนำประสบการณ์ของคุณภรรยาท่านหนึ่ง ที่สามารถช่วยให้สามีเลิกบุหรี่ได้สำเร็จมาฝากกัน เผื่อคุณภรรยาท่านใดจะนำไปช่วยเหลือคุณสามีบ้างนะคะ เรื่องมีอยู่ว่าคุณภรรยาท่านนี้ คลอดลูกก่อนกำหนดและเด็กมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยมาก ซึ่งหมอบอกว่าเพราะสามีสูบบุหรี่มากกว่ายี่สิบมวนต่อวันทั้งในบ้านและนอกบ้าน จึงกระทบต่อการตั้งครรภ์ เด็กโตช้ากว่าปกติ คุณสามีทราบดังนี้จึงอยากเลิกบุหรี่ แต่ก็เลิกได้เพียงเดือนเดียวก็กลับมาสูบอีก แม้จะไม่สูบในบ้านก็ตาม ควันบุหรี่ทำให้ลูกป่วยบ่อย เป็นหวัดเรื้อรัง หายใจลำบาก คุณภรรยาจึงตัดสินใจหาความรู้จากคู่มือและเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยเหลือคุณสามีให้เลิกบุหรี่ได้ เธอทำแบบนี้ค่ะ 1. ให้กำลังใจเขาเสมอ ไม่พูดให้คุณสามีเสียกำลังใจ แสดงความห่วงใยต่อสุขภาพของตัวเขาและรับผิดชอบสุขภาพของคนอื่นในครอบครัว 2. เนื่องจากสามีเป็นทหาร ภรรยาจึงได้เชิญหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานของสามีมาเป็นพยานในพิธีสัจจะอธิษฐานไม่สูบบุหรี่ ให้สามีนำบุหรี่ไฟแช็คใส่พานถวายเสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรฯ ทำให้ตั้งแต่วันนั้นมาสามีไม่แตะต้องบุหรี่อีกเลย 3. ช่วยให้สามีได้ออกกำลังกายทุกวัน วันละสามสิบนาทีขึ้นไป การออกกำลังกายทำให้หลั่งเอนโดรฟีนออกมามากขึ้น และได้ทำแปลงผักปลูกผักสวนครัวไว้รอบ ๆ บ้านด้วย 4. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเนื้อสัตว์ รสเผ็ด หรือมัน เพราะจะทำให้อยากบุหรี่ เมื่อมีความอยากให้อมลูกอม มะขามป้อมหรือมะนาว และงดกิจกรรมไปสังสรรค์กินเหล้ากับเพื่อน ๆ ซึ่งอาจกลับไปสู่การสูบบุหรี่ได้อีก ภายหลังจากที่สามีเลิกบุหรี่ได้ ชีวิตในครอบครัวก็กลับมาผาสุกเช่นเดิม ลูกชายก็แข็งแรงขึ้น สามีดูมีผิวพรรณที่สดใสขึ้น ไม่มีกลิ่นบุหรี่ติดตามเสื้อผ้าหรือลอยในห้องน้ำอีก นอกจากนี้แล้วยังสามารถเก็บเงินจากค่าบุหรี่และค่าขายผักสวนครัวเพิ่มได้อีกเดือนละกว่าสองพันบาทด้วย คุณภรรยาคนไหนอยากให้สามีเลิกบุหรี่ลองนำเอาวิธีของเธอคนนี้ไปปรับใช้ได้นะคะ
-
พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง
พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง บุหรี่เป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคจากปอดที่เรียกว่า “โรคถุงลมปอดโป่งพอง” ได้ง่าย พบมากในผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 45-65 ปีขึ้นไป มักสูบบุหรี่กันมานานกว่า 10 ปี จนในที่สุดปอดก็พิการ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยหอบง่าย ติดเชื้อที่ปอดซ้ำซาก นอกจากบุหรี่แล้ว ก็ยังมีสาเหตุอื่นด้วยได้แก่ มลพิษในอากาศ ควันไฟหุงต้มอาหารที่ก่อไฟในที่ขาดอาการถ่ายเท เป็นต้น อาการของโรคถุงลมปอดโป่งพอง ก็คือ ระยะแรกจะมีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไอหนัก ไอมีเสมหะเป็นแรมเดือนแรมปี ไอหรือขาดเสมหะในคอหลังจากตื่นนอนตอนเช้า และไอถี่ขึ้นเป็นตลอดทั้งวัน เสมหะช่วงแรงจะมีสีขาวและกลายเป็นเหลืองหรือเขียว มีไข้หรือหอบเหนื่อยเป็นครั้งคราว หากผู้ป่วยยังไม่เลิกสูบบุหรี่ ก็จะยิ่งมีอาการเหนื่อยง่ายมากขึ้น แม้เวลาเดิน พูด หรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ และหากเป็นเช่นนี้ต่อไป จะรุนแรงขึ้นจนแม้อยู่เฉย ๆ ก็เหนื่อยหอบ เพราะถุงลมปอดพิการอย่างรุนแรง ไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้แล้ว ในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร จนน้ำหนักลด หอบตลอดเวลา และทุกข์ทรมานมาก การรักษาโรคถุงลมปอดโป่งพองนั้น แพทย์จะรักษาตามความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปจะให้ยาขยายหลอดลมเพื่อสูดพ่น ต่อมาก็อาจจ่ายเป็นยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นด้วย หากมีการติดเชื้อก็จะให้ยาปฏิชีวนะ สำหรับรายที่หอบรุนแรง ปอดอักเสบแพทย์ก็จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเพราะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ต้องให้ออกซิเจน โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง…
-
รู้ทั้งรู้.. แต่เธอก็จะสูบต่อไป
รู้ทั้งรู้.. แต่เธอก็จะสูบต่อไป จากรายงานของสำนักข่าวซั่งไห่ เดลี่ ชี้ว่าหญิงสาวชาวเซี่ยงไฮ้นั้นสูบบุหรี่มากขึ้น เพราะต้องการหนีความเศร้า ความกดดันและสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม จากรายงานภายในที่ประชุมหน่วยโรคมะเร็งปอดนานาชาติแห่งมหานครเซี่ยงไฮ้ เผยว่ามีหญิงเซี่ยงไฮ้ร้อยละ 3.7 ที่สูบบุหรี่แต่ขณะนี้ตัวเลขพุ่งทะยานขึ้นไปเป็นร้อยละ 4.8 แล้ว โดยผู้สันทันกรณีเผยว่าต้นเหตุมาจากการทำงานหนัก ความต้องการความตื่นเต้น อยากสนุกสนาน อยากได้การยอมรับจากเพื่อนฝูงและคนรอบข้าง พวกเธอจึงสูบบุหรี่มากขึ้น ดังเช่น ลู่ จยาเฉิน พนักงานโรงแรม วัย 25 ปี บอกว่าเธอสูบบุหรี่ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ตอนอายุได้ 18 ปี วันที่เริ่มต้นวันนั้นรู้สึกหงุดหงิดเพราะทะเลาะกับแฟน และเพื่อนร่วมหอพักก็ยืนบุหรี่ให้ บอกว่ามันจะทำให้รู้สึกดีขึ้น ไม่ต่างจากหญิงคนอื่นที่สูบบุหรี่มวนแรกเพื่อลดอารมณ์ด้านลบของตัวเอง บางส่วนสูบเพราะรู้สึกเปล่าเปลี่ยวหรือศร้าใจ ซึ่งทั้งหมดล้วนกลายสภาพจากการสูบเพื่อพักผ่อนสบายใจ เป็นการเสพติดอย่างถอนตัวไม่ได้ อีกรายหนึ่ง หยวน อิน วัย 30 ปี ทำงานด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์ เธอสูบบุหรี่เพื่อว่านี่คือความ “เก๋ไก๋” และบอกว่าการสูบบุหรี่เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับการเข้าสังคม แล้วยังบอกอีกด้วยความ จะเห็นผู้หญิงมากมายที่สูบบุหรี่ในบาร์มากกว่าบนท้องถนน และการที่สูบบุหรี่ก็เพราะอิทธิพลของคนรอบข้างที่เข้าไปคลุกคลีด้วย ซึ่งจากรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของเซี่ยงไฮ้เมื่อไม่นานมานี้เปิดเผยว่า โรคมะเร็งปอดกลายเป็นโรคมะเร็งที่ผลาญชีวิตของผู้หญิงมากเป็นอันดับสามแล้ว เพราะลักษณะทางกายภาพของเพศหญิงนั้นอ่อนไหวต่อนิโคตินและสารอื่น ๆ ที่ผลิตออกมาจากบุหรี่มากกว่าผู้ชาย หญิงสาวที่สูบบุหรี่ทั้งหลายจึงควรตรวจร่างกายทุก…
-
แพทย์ชี้ การสูบบุหรี่มาก อาจทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์
แพทย์ชี้ การสูบบุหรี่มาก อาจทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ รายงานวิจัยชิ้นล่าสุดของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์ Houston ที่ University of Texas ชี้ว่าการสูบบุหรี่อาจมีผลกระทบต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว หรืออาจทำให้อาการของโรคอัลไซเมอร์แย่ลง การศึกษาที่ว่านี้ทำกับหนูทดลอง แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าผลที่ได้สามารถนำมาปรับใช้กับมนุษย์ได้ โดยเฉพาะการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์คือรูปแบบหนึ่งของอาการความจำเสื่อมซึ่งมักจะเกิดกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะคนที่อายุเกิน 70 ปีขึ้นไป อาการของโรคนอกจากจะเกิดอาการสูญเสียความทรงจำแล้วยังสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปัจจุบันโรคอัลไซเมอร์ยังไม่มีทางรักษา ศาสตราจารย์ Claudio Soto แห่งภาควิชาประสาทวิทยา University of Texas อธิบายว่าคณะนักวิจัยได้แยกหนูทดลองที่มีโรคอัลไซเมอร์แบบเดียวกับมนุษย์เป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้สูดดมควันแบบเดียวกับที่ผู้สูบบุหรี่ปล่อยออกมาลักษณะเดียวกับ Second-hand Smoker ส่วนกลุ่มที่ 2 ปล่อยให้ได้รับควันบุหรี่โดยตรงในปริมาณเท่ากับคนสูบบุหรี่ 1-2 มวนต่อวัน แล้วนำผลการวิจัยที่ได้ไปเปรียบเทียบกับหนูทดลองที่ไม่ได้สูดดมควันบุหรี่เลย หนูที่สูดดมควันบุหรี่มีสัญญาณของโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น เห็นได้จากสมองบางส่วนเริ่มถูกทำลายและยังพบคราบแบคทีเรียในสองของหนูทดลองซึ่งมีลักษณะคล้ายกับที่พบในสมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ด้วย ศาสตราจารย์ Soto ชี้ว่าโรคอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่ที่เกิดกับผู้สูงอายุนั้นมักจะเกิดขึ้นอย่างกระจัดกระจาย หมายความว่าไม่มีปัจจัยเรื่องของพันธุกรรมมาเกี่ยวข้อง ดังนั้นสิ่งที่พอจะบ่งบอกได้ว่าเป็นสาเหตุของโรคคือวัยที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเช่นควันบุหรี่ ดังนั้นคำแนะนำของนักวิจัยเรื่องนี้ก็คือควรเลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด ซึ่งเชื่อว่าน่าจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้