Tag: บาดทะยัก

  • วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด

    วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด

    วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และเด็กในครรภ์ คุณผู้หญิงทุกคนที่กำลังตั้งครรภ์ควรได้รับวัคซีนตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ แต่ก็มีบางรายที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนการตั้งครรภ์ หรือได้รับไม่ครบทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคระหว่างการตั้งครรภ์ได้ วัคซีนที่แนะนำให้ฉีดไว้เพื่อป้องกันสุขภาพได้แก่ – วัคซีนป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก แม้ว่าหญิงตั้งครรภ์ผู้นั้นจะเคยได้รับวัคซีนมาก่อนก็ยังต้องฉีดไว้อยู่ดี ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการฉีดเพื่อให้ภูมิคุ้มกันนี้ไปสู่ลูกด้วยก็คือ ในช่วงอายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ เป็นวัคซีนที่มีอยู่ครบในเข็มเดียว สาเหตุที่ต้องฉีดเป็นเพราะว่าขณะนี้โรคคอตีบอาจกลับมาระบาดได้อีก โรคไอกรนเด็กมักจะติดเชื้อมาจากแม่ และบาดทะยักก็ยังเป็นการป้องกันการติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์และคลอดด้วย – วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพราะเป็นโรคที่ทำอันตรายกับคนท้องได้มากกว่าคนธรรมดา หากติดเชื้อขึ้นมาจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากกว่าปกติได้ ทั้งเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ปอดบวม หัวใจวาย 1 เข็มจะป้องกันได้ 1 ปี – วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นวัคซีนสำคัญที่จำเป็นต้องฉีด หากไม่เคยได้รับวัคซีนเลยหรือเจาะเลือดแล้วไม่มีภูมิต้านทานเลย หญิงตั้งครรภ์จะมีโอกาสเสี่ยงได้ง่าย เช่น ได้รับจากสามีที่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี – หากในบ้านเลี้ยงสัตว์ไว้ ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ถ้าไม่แน่ใจว่ามีเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่ก็ให้ฉีดวัคซีนได้ทันที นอกจากนี้แล้วยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ไข้สมองอักเสบ หัด คางทูม หัดเยอรมัน โปลิโอ วัณโรค ฯลฯ…

  • เรื่องควรรู้…ก่อนการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน

    เรื่องควรรู้…ก่อนการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน

    เรื่องควรรู้…ก่อนการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน การจะใช้ชีวิตคู่ให้ราบรื่นและมีความสุขนั้น ทั้งสองฝ่ายต่างก็จำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจ รวมทั้งปรับตัวเข้าหากัน ดังนั้นทั้งคู่จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวและศึกษาซึ่งกันและกันก่อนแต่งงาน เพื่อให้ชีวิตคู่ที่ทั้งสองเลือกที่จะใช้ชีวิตด้วยกันมีความสุขอย่างยั่งยืนค่ะ อันดับแรกจึงควรศึกษากันและกันก่อนว่ามีความพร้อมมากน้อยขนาดในการอยู่ร่วมกัน ทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม พิจารณาว่าการที่เลือกกันและกันนี้ไม่ใช่การเลือกด้วยอารมณ์เท่านั้นแต่เลือกด้วยความเหมาะสมด้วย ประกอบการมีชีวิตคู่จำเป็นต้องมีทุนทรัพย์ที่ใช้ในการสร้างครอบครัว และอันดับสุดท้ายที่ต้องคำนึงก็คือ ควรเข้าตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบความพร้อมในการมีครอบครัว และตรวจว่าทั้งสองฝ่ายมีโรคทางพันธุกรรมหรือโรคอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อชีวิตแต่งงานด้วยหรือไม่ ซึ่งการเข้าตรวจสุขภาพก่อนการมีครอบครัวนี้ก็เพื่อ 1. ตรวจให้แน่ใจว่ามีอาการหรือสิ่งผิดปกติใด ๆ ที่จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ในอนาคตหรือไม่ 2. เพื่อค้นหาความบกพร่องต่าง ๆ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อการมีเพศสัมพันธ์และเป็นอุปสรรคในการตั้งครรภ์ 3. ตรวจเลือดเพื่อหาระดับน้ำตาลและความเข้มข้นของเม็ดเลือด ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี โรคเลือดธาลัสซีเมีย รวมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย 4. ตรวจปอดเพื่อหาความผิดปกติ 5. เพื่อการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ป้องกันโรคหัดเยอรมันและบาดทะยัก 6. เพื่อให้ทั้งคู่ได้รับคำแนะนำในเรื่องการวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิดและความรู้เรื่องเพศ ฯลฯ ชีวิตคู่จริง ๆ ไม่ได้เหมือนในละครเสมอไป ที่พอจบเรื่องก็แฮปปี้เอนดิ้ง แต่จริง ๆ แล้วเป็นการเริ่มต้นใหม่ของชีวิตอีกแบบหนึ่งต่างหาก หากทั้งคู่พร้อมที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน พร้อมที่จะพบสุขพบทุกข์ด้วยกันและรับผิดชอบเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยกัน รวมทั้งร่วมกันสร้างสรรค์สังคม ชุมชนและบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป ชีวิตคู่ก็จะมีความสุขร่วมกันไปได้ตลอดรอดฝั่งค่ะ