Tag: น้ำหนักลด

  • พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง

    พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง

    พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง บุหรี่เป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคจากปอดที่เรียกว่า “โรคถุงลมปอดโป่งพอง” ได้ง่าย พบมากในผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 45-65 ปีขึ้นไป มักสูบบุหรี่กันมานานกว่า 10 ปี จนในที่สุดปอดก็พิการ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยหอบง่าย ติดเชื้อที่ปอดซ้ำซาก นอกจากบุหรี่แล้ว ก็ยังมีสาเหตุอื่นด้วยได้แก่ มลพิษในอากาศ ควันไฟหุงต้มอาหารที่ก่อไฟในที่ขาดอาการถ่ายเท เป็นต้น อาการของโรคถุงลมปอดโป่งพอง ก็คือ ระยะแรกจะมีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไอหนัก ไอมีเสมหะเป็นแรมเดือนแรมปี ไอหรือขาดเสมหะในคอหลังจากตื่นนอนตอนเช้า และไอถี่ขึ้นเป็นตลอดทั้งวัน เสมหะช่วงแรงจะมีสีขาวและกลายเป็นเหลืองหรือเขียว มีไข้หรือหอบเหนื่อยเป็นครั้งคราว หากผู้ป่วยยังไม่เลิกสูบบุหรี่ ก็จะยิ่งมีอาการเหนื่อยง่ายมากขึ้น แม้เวลาเดิน พูด หรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ และหากเป็นเช่นนี้ต่อไป จะรุนแรงขึ้นจนแม้อยู่เฉย ๆ ก็เหนื่อยหอบ เพราะถุงลมปอดพิการอย่างรุนแรง ไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้แล้ว ในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร จนน้ำหนักลด หอบตลอดเวลา และทุกข์ทรมานมาก การรักษาโรคถุงลมปอดโป่งพองนั้น แพทย์จะรักษาตามความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปจะให้ยาขยายหลอดลมเพื่อสูดพ่น ต่อมาก็อาจจ่ายเป็นยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นด้วย หากมีการติดเชื้อก็จะให้ยาปฏิชีวนะ สำหรับรายที่หอบรุนแรง ปอดอักเสบแพทย์ก็จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเพราะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ต้องให้ออกซิเจน โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง…

  • พิษอันตรายจากสารตะกั่ว

    พิษอันตรายจากสารตะกั่ว

    พิษอันตรายจากสารตะกั่ว ตะกั่ว เป็นโลหะชนิดอ่อนที่สามารถพบได้ในธรรมชาติ เป็นโลหะที่มนุษย์สนใจความเป็นพิษของมันมากที่สุด เพราะมีการนำเอาตะกั่วมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมแบตเตอรี่รถยนต์, ตะกั่วอินทรีย์เป็นสารเคมีที่ใช้เติมน้ำมันเบนซิน, อุตสาหกรรมสีและสารเคมี, สารฆ่าแมลงจากตะกั่วอาร์เซนเนทในผสมสีทาอาคาร, สีที่ผสมในของเด็กเล่น, สีสำหรับวาดภาพ, สีที่ใช้พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ วารสารต่าง ๆ ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้มนุษย์ทุกคนมีโอกาสสัมผัสกับตะกั่วได้แทบทุกวัน นอกจากนี้แล้วยังมีการนำเอาตะกั่วออกไซด์มาใช้เป็นเครื่องสำอางค์ด้วย กองพิษวิทยาเคยตรวจพบแป้งโยตัวเด็กมีตะกั่วปนอยู่ถึงร้อยละ 74 อันตรายต่อเด็กมาก อีกทั้งคนทั่วไปยังได้รับสารตะกั่วจากท่อไอเสียรถยนต์ อาหาร น้ำ สิ่งแวดล้อมอื่นๆ ตะกั่วเป็นโลหะที่ไม่จำเป็นในกระบวนการดำรงชีวิต จึงมีการกำหนดมาตรฐานป้องกันสารตะกั่วปนเปื้อนในอากาศ น้ำและอาหาร เพื่อความปลอดภัยของประชากรหลายประเทศและประเทศไทยด้วย พิษเรื้อรังของตะกั่วนั้นจะแสดงอาการออกมาหลังจากได้รับตะกั่วทีละน้อย อาจใช้เวลาเป็นปีกว่าจะแสดงอาการ ตะกั่วนั้นเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปจับกับเม็ดเลือดแดง แทนที่เหล็กซึ่งใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดอาการโลหิตจาง ปริมาณเหล็กในน้ำเหลืองเพิ่มผิดปกติ ตะกั่วบางส่วนจะไปสะสมในกระดูก ทำให้มีอาการปวดตามข้อ กระดูกผุและหักง่าย หากสะสมที่รากฟันทำให้เห็นสีม่วงหรือสีดำที่เหงือก ทำให้ฟันหลุดได้ง่าย นอกจากนี้แล้วยังสะสมในไขมัน ระบบประสาท น้ำเหลือง ตับไต อาการพิษเรื้อรังที่พบได้บ่อย ๆ ก็คือ ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก…

  • บรรเทาอาการกรดไหลย้อนด้วยตัวคุณเอง

    บรรเทาอาการกรดไหลย้อนด้วยตัวคุณเอง

    บรรเทาอาการกรดไหลย้อนด้วยตัวคุณเอง เคยเป็นบ้างหรือเปล่าคะ “แสบร้อนบริเวณหน้าอกหลังทานอาหารหรือกำลังนอนหลับ” อาหารเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดแต่อย่างใด แต่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาบริเวณคอหอยและหน้าอก และมักจะเป็นในเวลากลางคืน ส่วนสาเหตุนั้นก็เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณท้ายของหลอดอาหารทำงานผิดปกติ กรดจึงไหลย้อนจากกระเพาะขึ้นมาสู่หลอดอาหาร กล้ามเนื้อของกระเพาะอาหารบีบตัวช้ากว่าปกติ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวได้ช้า กรดจึงไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะมากกว่าปกติ แล้วยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น แสบร้อนกลางอก หรือ HeartBurn ไอแห้ง ๆ ตอนกลางคืน เรอเปรี้ยว กลืนลำบาก เสียงแหบ อาเจียน เจ็บคอ น้ำหนักลด ฯลฯ เมื่อได้พบแพทย์แล้วได้ถูกบ่งชี้ว่าคุณเป็นโรคกรดไหลย้อนอย่างชัดเจน จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาลดกรด ช่วยลดอาการแสบร้อนกลางอก และบรรเทาอาการจากกรดไหลย้อนได้ ยาลดกรดจะลดปริมาณของกรดในกระเพาะอาหารและเพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหาร วิธีนี้ได้ผลดีในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง หรือแสบร้อนกลางอกเป็นครั้งคราว ถ้าอาการของคุณบ่งชี้ว่าเป็นภาวะกรดไหลย้อนอย่างชัดเจนจะทำการรักษาโดยใช้ยาลดกรดซึ่งต้องมีคุณสมบัติในการรักษาอาการแสบร้อนกลางอก และเป็นยาที่มีประสิทธิภาพบรรเทาอาการจากกรดไหลย้อนได้ เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและเพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหาร ในการกำจัดกรดซึ่งจะช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารใช้ได้ผลดีในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงหรือมีอาการแสบร้อนหน้าอกเป็นครั้งคราว แล้วยาลดกรดยังช่วยดูดซับแก๊สในกระเพาะอาหาร ลดการเรอเปรี้ยวและความดันในท้อง และนอกจากนี้แล้ว เรายังควรดูแลตัวเองด้วยการปฏิบัติตามหลักดังต่อไปนี้ค่ะ ควรปรับพฤติกรรมการกินอาหารให้ทานเป็นมื้อเล็ก ๆ วันละ 4-6 มื้อ หัดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ๆ เพื่อลดภาระของกระเพาะอาหาร ไม่ควรทานอาหารทอด อาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน หรืออาหารที่มีไขมันสูง ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่คับแน่นเพราะจะเป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้องกรดก็อาจจะไหลย้อนกลับขึ้นมาได้อีก…