Tag: น้ำมัน

  • 10 ข้อการใช้น้ำมันทอดอาหาร เลี่ยงมะเร็งได้

    10 ข้อการใช้น้ำมันทอดอาหาร เลี่ยงมะเร็งได้

    10 ข้อการใช้น้ำมันทอดอาหาร เลี่ยงมะเร็งได้ อาหารทอดซ้ำเป็นอาหารที่ทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากที่สุดชนิดหนึ่ง ยิ่งหากเป็นอาหารที่ซื้อจากผู้ประกอบอาหารขายแล้วก็มักจะใช้น้ำมันทอดซ้ำเพื่อประหยัดต้นทุนเสมอ ดังนั้นการซื้ออาหารจากร้านเหล่านี้จึงทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากกว่าการซื้อหามาปรุงเอง ในส่วนของผู้ที่ปรุงอาหารทานเอง จึงควรระมัดระวังการใช้น้ำมันให้มาก ลองนำเอาวิธีการเหล่านี้ไปใช้เป็นคู่มือการประกอบอาหารของคุณกันนะคะ 1. ควรใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารมากกว่าน้ำมันสัตว์ เพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ 2. ควรใช้น้ำมันที่เหมาะสำหรับการทอดเช่น น้ำมันปาล์มโอเลอิน ที่มีความคงตัวและเกิดควันช้า 3. ไม่ควรใช้น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันหมู น้ำมันวัว และไขมันอื่น ๆ ทอดอาหาร เพื่อน้ำมันเหล่านี้มีสภาพไม่คงตัวและเสื่อมสภาพเร็ว 4. หากน้ำมันที่ใช้ทอดมีลักษณะที่เปลี่ยนไป เช่น มีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวข้น เป็นสีดำ เกิดฟอง ควัน เหม็นไหม้ มีไอน้ำมัน ทำให้ระคายเคืองตาและลำคอ ให้เปลี่ยนน้ำมันทอดใหม่ทันทีอย่าเสียดายค่ะ 5. ในระหว่างและหลังการทอดอาหารควรกรองกากอาหารทิ้งด้วย โดยเฉพาะอาหารที่มีการชุบแป้ง ควรใช้ตะแกรงหรือผ้าขาวบางกรองเศษอาหารและผงขนาดเล็กออกจากน้ำมัน 6. เพื่อลดการแตกตัวของน้ำมันและชะลอการเสื่อมสลายของน้ำมันทอดอาหาร ควรซับน้ำมันส่วนเกินบริเวณผิวหน้าอาหารดิบก่อนจุ่มลงไปทอดในกะทะ 7. ควรทอดอาหารครั้งละไม่มาก เพื่อให้ความร้อนเกิดขึ้นกับน้ำมันน้อยและใช้เวลาการทอดน้อยลง 8. ไม่ควรทอดด้วยไฟแรงเกินไปนัก 9. ควรเปลี่ยนน้ำมันทอดบ่อย ๆ หากทอดอาหารที่มีเครื่องปรุงเป็นเกลือหรือมีเครื่องปรุงจำนวนมาก…

  • น้ำมันแต่ละชนิด มีคุณค่าต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

    น้ำมันแต่ละชนิด มีคุณค่าต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

    น้ำมันแต่ละชนิด มีคุณค่าต่อร่างกายอย่างไรบ้าง? เดี๋ยวนี้น้ำมันสำหรับปรุงอาหารมีให้เลือกมากมายหลายชนิดเลยนะคะ ซึ่งการเลือกซื้อมาปรุงอาหารบริโภคเนี่ยก็ควรศึกษาให้ดีก่อนค่ะว่าน้ำมันแต่ละชนิดนั้นเหมาะสำหรับทำอาหารชนิดใด ความร้อนในระดับใด และมีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกายด้วย วันนี้เราจะมาเรียนรู้ไปด้วยกันค่ะ – น้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวเชิงเดียวมากที่สุด จึงช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง มีวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีนสูง ทำให้ผิวหนังอ่อนเยาว์ ยืดหยุ่นตัวได้ดี ลดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้ แต่ก็มีจุดเกิดควันที่ต่ำ จึงเหมาะสำหรับเป็นน้ำมันสลัด ไม่เหมาะสำหรับการทอด หรืออาหารที่ต้องผ่านความร้อน และมีราคาค่อนข้างสูงกว่าน้ำมันชนิดอื่น ๆ – น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน อุดมไปด้วยกรดไลโนเลอิก ช่วยลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ มีวิตามินอีสูงด้วย จึงช่วยในเรื่องของผิวพรรณ แต่เมื่อโดนความร้อนจะเกิดอนุมูลอิสระได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับการผัดอาหารที่ใช้ความร้อนเพียงปานกลาง – น้ำมันรำข้าว เป็นน้ำมันที่มีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันมะกอก แต่มีราคาไม่แพง มีสารโอรีซานอลมากซึ่งไม่พบในน้ำมันพืชนิดอื่นนัก ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และลดระดับของคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยปรับสมดุลในสตรีวัยทองได้ดี – น้ำมันปาล์ม อุดมไปด้วยวิตามินอีและเป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในระดับปานกลาง ทนความร้อนสูงได้มากกว่าน้ำมันชนิดอื่นจึงเหมาะสำหรับการทอดที่สุด แต่มีกรดไขมันอิ่มตัวและกรดไลโนเลอิกต่ำกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ อาจทำให้คอเลสเตอรอลสูงได้ – น้ำมันงา มีสารเซซามอลที่มีสรรพคุณช่วยชะลอความชรา ลดความดันโลหิตและการแพร่การจายตัวของเซลล์มะเร็งได้ ป้องกันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจ บรรเทาอาการท้องผูกได้ด้วย

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำดีกว่านะ

    หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำดีกว่านะ

    หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำดีกว่านะ อาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำพบได้มากในท้องตลาดจริง ๆ นับตั้งแต่เช้าที่เราทานปาท่องโก๋ทอด ก็ใช้น้ำมันทอดซ้ำ ลูกชิ้นไส้กรอกทอด ทอดมัน เฟรนส์ฟราย ฯลฯ ล้วนก็ใช้น้ำมันทอดซ้ำในการปรุงอาหารทั้งนั้น อาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก เพราะมีสารที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และอาจทำให้ร่างกายได้รับสารก่อมะเร็งอีกด้วย สารดังกล่าวก็คือสารโพล่าร์ และโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน พบได้ทั้งในน้ำมันที่ทอดและจากไอระเหยขณะทอด เป็นอันตรายทั้งผู้ขายและผู้บริโภคนั้นเอง ซึ่งน้ำมันที่เสื่อมสภาพจากการทอดซ้ำนั้น เมื่อดูด้วยสายตาจะพบว่ามีความข้นหนืดมากกว่าปกติ มีสีดำเป็นฟองมาก เหม็นไหม้ เกิดควันมากขณะทอด น้ำมันปรุงอาหารจะเสื่อมสภาพได้มากเมื่อถูกความร้อนสูงและมีความชื้น ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจนเกิดสารโพลาร์ ยิ่งเติมเครื่องปรุงหรือเกลือลงไปด้วยแล้ว ยิ่งเท่ากับเป็นการเร่งให้เกิดสารโพล่าร์มากขึ้นเท่านั้น ในภาคเหนือเองก็มีการใช้น้ำมันทอดซ้ำสำหรับการแคบหมูกับอยู่เนือง ๆ การใช้น้ำมันซ้ำ และนำเอาน้ำมันหมูไปแบ่งขายอีก อาจทำให้ผู้บริโภคและผู้ผลิตได้รับอันตรายจากสารต่าง ๆ ดังนั้นหลีกเลี่ยงได้ก็จะเป็นการดีกว่าค่ะ

  • เลือกกินน้ำมันอย่างไรให้ปลอดภัย

    เลือกกินน้ำมันอย่างไรให้ปลอดภัย

    เลือกกินน้ำมันอย่างไรให้ปลอดภัย เพราะการโฆษณาทั้งสื่อทีวีและโทรทัศน์นั้นมีผลต่อการกินอยู่ของเราคนไทยมาก สินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหลายจึงได้นำเอาคอนเซปท์ในเรื่องของคำว่า “เพื่อสุขภาพ” เข้ามาเป็นดึงดูดใจ เช่น น้ำมันพืชที่ไม่มีคอเลสเตอรอล เป็นต้น อาจทำให้คนที่รับชมโฆษณเข้าใจว่าพอไม่มีคอเลสเตอรอลแล้ว สามารถทานเท่าไรก็ได้ ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ แต่ความจริงแล้วนี่เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะการเลือกใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหารรวมทั้งการเลือกทานอาหารนอกบ้าน ล้วนเป็นปัจจัยในการควบคุมคอเลสเตอรอลทั้งสิ้น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้แนะนำให้คนเราควรกินไขมันที่ดีต่อสุขภาพ โดยได้พลังงานจากไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมดในแต่ละวัน โดยได้จากกรดไขมันอิ่มตัวไม่เกินร้อยละ 10 สำหรับผู้ที่มีร่างกายปกติ และไม่เกินร้อยละ 7 สำหรับคนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หรือหากจะคิดให้ง่ายเข้าก็คือทานน้ำมันได้ไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวันนั่นเอง ดังนั้นการเลือกน้ำมันสำหรับปรุงอาหารควรเลือกใช้ดังนี้ – น้ำมันสำหรับการปรุงที่ใช้อุณหภูมิสูง เช่น การผัดไฟแรง การทอด ควรเลือกใช้น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันเมล็ดชา และน้ำมันดอกคำฝอย – น้ำมันสำหรับการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนไม่สูงนักแนะนำเป็น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันดอกทานตะวัน – และน้ำมันสำหรับการปรุงอาหารที่ผ่านความร้อน หรือผ่านความร้อนต่ำ ควรเลือกใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว และเนย แม้บนฉลาดของน้ำมันจะเขียนว่ามีคลอเลสเตอรอลต่ำ แต่ความจริงแล้วยังไม่ไขมันทรานส์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายมากกว่าไขมันอิ่มตัวเสียอีก ซึ่งควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด้วยเพราะจะไปเพิ่มคอเลสเตอรอลตัวไม่ดี หรือ LDL ให้มากขึ้น…

  • ดูแลตับให้เป็น…ต้องรู้เวลาทำงานของร่างกาย

    ดูแลตับให้เป็น…ต้องรู้เวลาทำงานของร่างกาย

    ดูแลตับให้เป็น…ต้องรู้เวลาทำงานของร่างกาย พฤติกรรมที่เราทำกันจนเคยชินทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการนอนดึกตื่นสาย กินมากจนล้นกระเพาะ ไม่ยอมกินอาหารเช้า กินยามากเกินไป และกินแต่อาหารปรุงแต่งไปด้วยสีผสมอาหาร วัตถุกันเสีย วัตถุปรุงแต่ง ร่วมทั้งกินอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันด้อยคุณภาพและไม่เป็นประโยชน์ ซึ่งนอกการลดการบริโภคน้ำมันลง แล้วเปลี่ยนน้ำมันมาเป็นน้ำมะกอกที่ดีต่อสุขภาพแล้ว ก็ยังควรดูแลร่างกายตามตารางเวลาที่อวัยวะต่าง ๆ ทำงานอย่างถูกต้องด้วย ตับของเราและอวัยวะต่าง ๆ ของเราจึงจะมีสุขภาพดีไม่เสื่อมสภาพไปก่อนวัยอันควร ต่อไปนี้คือตารางเวลาการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ที่เราควรนำไปปรับใช้ให้ดีต่อร่างกายเราค่ะ 1. ช่วงเวลา 21.00-23.00 น. ช่วงนี้ร่างกายจะกำจัดสารพิษต่าง ๆ โดยระบบต่อต้านเชื้อโรคภายในร่างกาย หรือระบบน้ำเหลือง ซึ่งช่วงเวลานี้ควรเอาไว้พักผ่อน และผ่อนคลายด้วยการเข้านอน 2. ช่วงเวลา 23.00-01.00 น. ช่วงนี้ตับจะเริ่มกระบวนการกำจัดสารพิษ ช่วงนี้จึงควรหลับอย่างสนิท เพื่อให้ช่วงเวลาหลังจากนี้ ก็จะเป็นช่วงเวลากำจัดสารพิษในน้ำดีซึ่งควรได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่เช่นกัน 3. ช่วงเวลา 01.00-03.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ปอดจะกำจัดสารพิษ ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับปอดจึงมักไอรุนแรงในช่วงเวลานี้ ซึ่งเป็นระบบการกำจัดสารพิษโดยอัตโนมัติ จึงไม่จำเป็นต้องทานยาแก้ไขใด ๆ 4. ช่วงเวลา 05.00-07.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลำไส้ใหญ่กำจัดสารพิษ เราจึงควรขับถ่ายในเวลานี้ 5.…