Tag: นิ้วล็อค

  • ระวัง! 6 โรคยอดฮิตมนุษย์ออฟฟิศบ้าพลัง

    ระวัง! 6 โรคยอดฮิตมนุษย์ออฟฟิศบ้าพลัง

    ระวัง! 6 โรคยอดฮิตมนุษย์ออฟฟิศบ้าพลัง สำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศที่ทำงานกันหามรุ่งหามค่ำ แม้ตอนนี้จะยังมีร่างกายแข็งแรงอยู่ แต่ก็ใช่ว่าการทำงานใช้ร่างกายอย่างหนักหน่วงนั้นจะไม่สร้างปัญหาให้กับร่างกายนะคะ เพราะจากการวิจัยและสำรวจมาหลายสิบปีในวงการแพทย์ พบว่าเหล่ามนุษย์ออฟฟิศทั้งหลายนั้นมีอัตราความเจ็บป่วยจากการทำงานในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีอย่างน่ากลัว นั่นเป็นเพราะชาวออฟฟิศทั้งหลายมักปล่อยให้ปีศาจร้ายทำลายสุขภาพอย่าง โรคเครียด, การทำงานนานเกินไป, พฤติกรรมกินอาหารไม่ตรงเวลา และไม่ยอมออกกำลังกาย เหล่านี้มาเป็นตัวการร้ายทำลายสุขภาพ ซึ่งโรคร้ายที่ทำลายสุขภาพชาวออฟฟิศมากที่สุด 6 โรค ก็คือ 1. ต้อหิน และตาพร่า ทำให้มองภาพได้ไม่ชัด ตาสู้แสงไม่ได้ และอาจลุกลามทำให้ตาบอดไ 2. ไมเกรน ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ คลื่นไส้อ่อนเพลีย และเสียสมรรถภาพในการทำงาน 3. อาการนิ้วล็อค ทำให้นิ้วกระดิกไม่ได้ ตึง และรู้สึกเจ็บ กล้ามเนื้ออักเสบ 4. ปวดหลังเรื้อรัง รวมไปถึงอาการปวดไหล่ ต้นคอ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เป็นอัมพาตได้ 5. โรคอ้วน มีความเสี่ยงทำให้เป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ตลอดจนความดันโลหิตสูง 6. โรคกรดไหลย้อน เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งหลอดอาหาร สำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศทั้งหลายที่เริ่มมีอาการนี้แล้ว หรือยังไม่มีก็ควรหันมาดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยเคล็ดลับดังต่อไปนี้ – อย่าเพ่งจ้องจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป ควรพักผ่อนสายตาบ้าง…

  • หนุ่มนักกอล์ฟ และหนุ่มนักกล้าม ระวังนิ้วล็อค

    หนุ่มนักกอล์ฟ และหนุ่มนักกล้าม ระวังนิ้วล็อค

    หนุ่มนักกอล์ฟ และหนุ่มนักกล้าม ระวังนิ้วล็อค มีคำเตือนจาก  นพ.วิชัย วิจิตรพรกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน ในฐานะแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเชี่ยวชาญด้านนิ้วล็อค ได้กล่าวเตือนหนุ่ม ๆ ทั้งนักกอล์ฟและนักกล้ามทั้งหลาย ที่เล่นอย่างหักโหมและไม่สวมเครื่องป้องกัน ระวังจะเป็นโรคนิ้วล็อคได้  แม้โรคนี้จะพบได้มากเพศหญิงมากกว่าแต่สำหรับคนหนุ่มที่ไม่มีการป้องกันตัวจากการยกของหนัก ทั้งเล่นเวตและตีกอล์ฟก็มีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน สาเหตุของการเป็นโรคนิ้วล็อกนั้นเกิดจากการใช้มือ กระแทก บด และกระทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน  ปลอกฐานนิ้วจะแข็ง มีอาการเจ็บ กำไม่ลง หรือเมื่อกำลงก็จะเกิดอาการนิ้วล็อคเหยียดไม่ออก เช่นเดียวกับการตีกอล์ฟ เพราะทุกครั้งที่ตีจะเกิดแรงกระแทกกับนิ้วมือ เหมือนกับอาชีพกลุ่มช่างอื่น ๆ ได้แก่ ช่างตัดไม้ ที่ใช้เลื่อย ใช้ค้อน อีกด้วย นายแพทย์วิชัยได้กล่าวไว้ว่า “การตีกอล์ฟนั้น หากตีไม่หักโหมก็ไม่มีปัญหา  แต่หากตีกระแทกแรง ๆ ก็อาจเกิดปัญหานิ้วล็อคได้แม้แต่โปรกอล์ฟเองก็มีหลายรายที่มารักษาอยู่หลายรอบ เพราะเป็นทีละนิ้ว  สำหรับผู้ที่เล่นกล้ามหรือผู้ที่เล่นเวตนั้น จะเกิดกับผู้ที่เล่นแบบหนัก ๆ อยากได้กล้ามเนื้อเพราะโอกาสเกิดแรงกระแทกต่อมือมีมากกว่า แต่ผู้ที่ยกน้ำหนักไม่มากพวกนี้จะมีความเสี่ยงในการเป็นนิ้วล็อคน้อยกว่าผู้ที่เล่นหนัก ๆ” และไม่ว่าจะเป็นกีฬาตีกอล์ฟหรือเล่นเวต  ก็จำเป็นต้องมีการสวมถุงมือเพื่อป้องกัน หรือลดแรงกระแทก  แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ 100%  ที่ควรทำก็คืออย่าหักโหม ใช้มือให้น้อยลง การแช่น้ำอุ่นและฝึกกำแบมือก็พอช่วยได้  ซึ่งการรักษาในระยะแรกสามารถแช่น้ำอุ่นและประคบร้อนได้ แต่หากเป็นระยะที่สองต้องฉีกยารักษา…

  • นิ้วล็อค ภัยเงียบที่เกิดกับผู้หญิง แพทย์เตือนควรระวัง และย้ำไม่ควรมองข้าม

    นิ้วล็อค ภัยเงียบที่เกิดกับผู้หญิง แพทย์เตือนควรระวัง และย้ำไม่ควรมองข้าม

    นิ้วล็อค ภัยเงียบที่เกิดกับผู้หญิง แพทย์เตือนควรระวัง และย้ำไม่ควรมองข้าม แพทย์เตือนระวัง “โรคนิ้วล็อก” พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบมากในผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป ที่ใช้มือทำงานซ้ำๆ และผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือโรครูมาตอยด์ แนะควรพักการใช้มือและออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือเป็นระยะ… เมื่อวันที่ 2 เม.ย.57 นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปกติของนิ้วมือ ที่มีการสะดุดหรือล็อก ไม่สามารถกำหรือเหยียดนิ้วมือได้เป็นปกติ พบในเพศหญิงร้อยละ 80 และพบในเพศชายร้อยละ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อาจเป็นเพราะผู้หญิงใช้มือทำงานซ้ำๆ มากกว่าผู้ชาย เช่น หิ้วถุงหนักๆ บิดผ้าซักผ้า กวาดบ้านถูบ้าน สับหมูสับไก่ และมีพฤติกรรมเหล่านี้เป็นระยะเวลานานๆ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น อาการของโรคนิ้วล็อก คือในระยะแรกจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือกำมือไม่ถนัด หรือกำได้ไม่เต็มที่โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน เวลางอที่จะเหยียดนิ้วมือมักจะได้ยินเสียงดังกึก ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อกคือ เวลางอนิ้วจะเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งาน ซึ่งอาจเป็นเพียงนิ้วเดียว หรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ บางรายอาจรุนแรงถึงนิ้วบวมชา ติดแข็งจนไม่สามารถใช้งานได้ สำหรับวิธีการรักษาโรคนิ้วล็อก มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับอาการ และความรุนแรงของโรค…