Tag: นิ่ว

  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มักเป็นตลอดชีวิต หากปล่อยปละละเลยหรือขาดการดูแล ก็อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงจนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมไปถึงอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่จะค่อย ๆ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลงจนเกิดโรคแทรกซ้อนได้ทุกระบบ ซึ่งได้แก่ – หลอดเลือดแดงทั้งเล็กและใหญ่ทั่วร่างกายแข็งและตีบ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสื่อมได้ เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตามัว ตาบอด ไตวายเรื้อรัง ประสาทเสื้อ ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้า ท้องเดินหรือท้องผูก – โรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง – หน้าซีดเป็นลมเวลาลุกขึ้นยืน – องคชาตไม่แข็งตัว – หลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้หัวใจวายเสียชีวิตได้ – อัมพาต – ความจำเสื่อม – ติดเชื้อได้ง่าย เพราะเบาหวานทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง และอาจติดเชื้อซ้ำซาก เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ โรคเชื้อราที่ผิวหนัง ฝี พุพอง – การติดเชื้อรุนแรง เช่น กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบ วัณโรค –…

  • 6 สัญญาณเตือนโรคไต

    6 สัญญาณเตือนโรคไต

    6 สัญญาณเตือนโรคไต หากร่างกายของท่านส่งสัญญาณเตือนหกประการออกมาเช่นนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจเป็นโรคไตได้ 1. ถ่ายปัสสาวะขัดหรือถ่ายปัสสาวะลำลาก ท่านมีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะและอาจเป็นโรคไตด้วยก็ได้ 2. ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะในตอนกลางคืน โดยปกติกระเพาะปัสสาวะคนเราจะสามารถเก็บกักไว้ได้ประมาณหนึ่งแก้ว จึงไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะกลางดึก แต่คนที่เป็นโรคไตเรื้อรังจะไม่สามารถดูดน้ำกลับเข้าร่างกายได้ตามปกติ กลางคืนจึงปวดปัสสาวะมาก ทำให้ต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำ แต่หากท่านดื่มน้ำเป็นปกติก่อนนอนครั้งละ 1-2 แก้วแล้ว การลุกขึ้นมาปัสสาวะอาจไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่หากมากกว่านี้หรือไม่เคยเป็นมาก่อนควรรีบปรึกษาแพทย์ค่ะ 3. ปัสสาวะสีเลือด หรือสีน้ำล้างเนื้อ หรือขุ่นผิดปกติ แสดงว่าอาจมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ อาจเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีนิ่ว ไตอักเสบหรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะเป็นต้น 4. บวมรอบดวงตา หน้า เท้า มักพบได้ในคนที่เป็นโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต ส่วนอาการบวมที่พบได้ไตเรื้อรังคือบวมที่หลังเท้าและหน้าแข็ง ถ้าเป็นมากจะกดแล้วเป็นรอยบุ๋มลงไป 5. ปวดเอว ปวดหลัง มักมีสาเหตุมาจากมีนิ่วอยู่ในไต หรือในท่อไต อาการปวดเกิดจากการอุดตันของท่อไตหรือ ไตเป็นถุงน้ำพองออกมา จะปวดที่บริเวณบั้นเอวหรือชายโครงด้านหลัง มักปวดร้าวลงไปที่ท้องน้อย ขาอ่อน และอวัยวะเพศ และตามมาด้วยปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อหรือขุ่นขาว กะปริบกะปรอย หรือปวดหัวเหน่ารวมด้วย หากหมอเคาะที่หลังเบา ๆ จะปวดมากจนสะดุ้ง…

  • ความรู้ทางยาจาก “หอยแครง”

    ความรู้ทางยาจาก “หอยแครง”

    ความรู้ทางยาจาก “หอยแครง” หอยแครงเป็นยาชนิดหนึ่งนะคะ แต่เป็นยาในตำราแพทย์แผนไทยค่ะ จัดอยู่ในเปลือกหอย 9 เวลานำมาปรุงยาจะนำไปเผาไฟให้สุกจะได้ปูนหอย ซึ่งมีฤทธิ์ในการรักษาอาการเจ็บป่วยได้ดังต่อไปนี้ค่ะ – ลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยขับลม และบรรเทาอาการจุกเสียดในช่องท้อง – ช่วยให้ระบายแก๊สได้ดี ทำให้เรอได้ – ช่วยล้างลำไส้ – แก้กระษัยนิ่ว ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ – บำรุงไตพิการ – บำรุงกระดูก – ใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เพื่อรักษากระษัย หรือ ปวดท้องน้อยเป็นกำลัง – หากใช้ร่วมกับพืชและหอยชนิดอื่นๆ จะช่วยขับพยาธิได้ด้วย – รักษากระษัยจุก ด้วยการขับลม ล้างลำไส้ ขับปัสสาวะ แก้ท้องร่วง และสมานลำไส้ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นคือการนำเปลือกหอยไปปรุงยาแล้วนำมาทานเท่านั้น การปรุงยาก็จำเป็นต้องอาศัยแพทย์แผนไทยที่มีความรู้นะคะ อย่าเพิ่งไปลองทำเองค่ะ