Tag: นมแม่

  • ความแตกต่างระหว่างนมแม่และนมผสม

    ความแตกต่างระหว่างนมแม่และนมผสม

    ความแตกต่างระหว่างนมแม่และนมผสม ในแต่ละปีนั้นมีเด็กแพ้นมวัว หรือนมที่ผสมนมวัวสูงมากถึงปีละสองหมื่นรายเลยทีเดียวนะคะ นอกจากนี้แล้วนมแม่ก็ยังมีประโยชน์กับร่างกายของทารกมากกว่านมผสมอีกด้วย และนี่คือข้อมูลความแตกต่างระหว่างนมทั้งสองชนิดค่ะ ในนมแม่นั้นจะมีโปรตีนเวย์ถึงร้อยละ 70 จึงย่อยได้ง่าย มีอัตราโปรตีนรวมเพียงร้อยละ 0.9 ด้วย และไม่มีโปรตีนที่ทำให้เด็กเกิดอาการแพ้ ในนมแม่มีทอรีนที่มีประโยชน์ต่อจอประสาทตาของเด็ก มีแคลเซียมต่อโพแทสเซี่ยมสูงจึงช่วยพัฒนากระดูกและฟัน สามารถลดและป้องกันกระดูกหักทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้ มีสารแลคโตเฟอรินช่วยป้องกันท้องเสีย มีเกลือน้ำดีช่วยให้ย่อยและดูดซึมได้ง่าย มีโปรสตาแกรนดินช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้ และไม่มีแลคโตโกลบุลินซึ่งเป็นสารแปลกปลอมอันก่อให้เกิดภูมิแพ้ รวมไปถึงการให้เด็กทารกได้ดูดนมแม่จะทำให้ฟันกรามสบกันได้พอดี ในขณะที่นมผสมนั้นมีโปรตีนเวย์เพียงร้อยละ 30 จึงย่อยได้ยากกว่า และมีโปรตีนรวมกว่าร้อยละ 3 ซึ่งมากเกินไป มีโปรตีนที่ทำให้เด็กแพ้นมได้ ไม่มีทอรีนอยู่เลย รวมทั้งมีปริมาณแคลเซียมต่อโพแทสเซียมต่ำ จึงทำให้กระดูกพรุนได้ ไม่มีสารแลคโตเฟอรินช่วยป้องกันท้องเสีย และเติมเหล็กลงไปในนมมากเกินไปจนอาจทำให้ท้องเสียได้ง่าย ไม่มีโปรสตาแกลนดิน แต่กลับมีเบร้า แลกโตโกลบุลิน ที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ การดื่มนมผสมจากขวดจะทำให้ฟันกรามไม่สบกัน ทีนี้ก็เห็นกันชัด ๆ ไปแล้วว่านมแม่ดีกว่านมผสมนมวัวอย่างไร ทางที่ดีให้ลูกได้กินนมแม่จนถึงอายุหกเดือนเถอะนะคะ จะได้แข็งแรงไปตลอดชั่วอายุขัยเลยค่ะ

  • เสริมสร้างไอคิว และพัฒนาการทางสมอง ให้ลูกด้วยนมแม่

    เสริมสร้างไอคิว และพัฒนาการทางสมอง ให้ลูกด้วยนมแม่

    เสริมสร้างไอคิว และพัฒนาการทางสมอง ให้ลูกด้วยนมแม่ สำหรับเด็กทารกแล้ว น้ำนมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดของเขา เป็นอาหารจากอกแม่ที่ไหลออกจากอกสู่ปากสู่ ไม่เพียงทำให้ลูกอิ่มท้องเท่านั้น แต่ยังสร้างภูมิคุ้มกันและการเจริญเติบโตให้กับลูกได้อย่างเหมาะสม พัฒนาทั้งทางร่างกายและทางจิตใจลูกพร้อมทั้งแม่ได้อย่างยอดเยี่ยม สาเหตุที่จำเป็นต้องเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ก็เป็นเพราะ ในน้ำนมแม่ทำให้ลูกฉลาดหรือมีไอคิวที่สูงขึ้นได้ แม้ว่าความฉลาดหรือไอคิวของเด็กจะขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญสามประการก็คือ การเลี้ยงดู กรรมพันธุ์จากพ่อแม่และอาหารที่เหมาะสมก็ตาม แต่นมแม่ก็ยังเป็นตัวช่วยสำคัญในการทำให้สมองลูกเจริญเติบโตได้อย่างดีและสมบูรณ์มากขึ้นด้วย เป็นเพราะว่า 1. ในน้ำนมแม่นั้นมีไขมันที่จำเพาะสำหรับสมองเด็กทารก โดยในระยะหกเดือนแรกนี้ร่างกายหนูน้อยยังย่อยไขมันไม่ได้เต็มที่ แต่ในนมแม่มีน้ำย่อยไขมันมาด้วย ดังนั้นไขมันจากนมแม่จึงถูกนำไปใช้สร้างสมองได้สมบูรณ์เต็มที่ต่างจากนมกระป๋องตามโฆษณา 2. สารอาหารหลายร้อยชนิดในนมแม่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองและจอประสาทตา ดังนั้นเด็กที่กินนมแม่จึงมีสมองดี ดวงตามองเห็นได้ชัดเจน และทำให้พัฒนาการรวดเร็วขึ้น 3. เวลาให้นมลูกด้วยนมตนเอง แม่ต้องอุ้มลูกไว้ในอ้อมกอดวันละหลาย ๆ ครั้ง การอุ้มลูกจะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทำให้เซลล์สมองมีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น ยิ่งเชื่อมโยงมากก็ยิ่งฉบาดมาก หากเชื่อมโยงน้อยสมองส่วนนั้นก็จะฝ่อตัวไปในที่สุด ความจำเป็นที่ต้องให้ทารกดื่มนมแม่เป็นเวลาหกเดือน จากที่เคยเข้าใจว่าให้นมแม่แค่สี่เดือน ก็เป็นเพราะว่า น้ำย่อยของเด็กจะสร้างครบและพร้อมจะย่อยอาหารทุกอย่างเมื่ออายุครบหกเดือนขึ้นไป ซึ่งในอดีตที่ให้เด็กหัดกินอาหารอื่นเมื่อครบสี่เดือน ก็เป็นการเผื่อให้ร่างกายได้สร้างน้ำย่อยให้ครบพอดี แต่จากข้อมูลสถิติแล้วพบว่า เด็กที่กินนมแม่ผสมกับข้าวเร็วกว่าหกเดือน จะเจ็บป่วยบ่อยเมื่อเทียบกับเด็กที่ดื่มนมแม่ล้วน ๆ ดังนั้นเราจึงควรให้ลูกดื่มแต่นมแม่อย่างเดียวตลอดหกเดือนแรก นอกจากนั้นแล้วการดื่มนมแม่อย่างเดียวตลอดหกเดือนยังช่วยลดโอกาสท้องเสีย เกิดโรคทางเดินหายใจหรือโรคภูมิแพ้ แล้วยังส่งผลดีต่อพัฒนาการทางสมองเด็กมากกว่า ดังนั้นคุณแม่ทั้งหลายของให้มั่นใจเถอะว่าการให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวลูกไม่ขาดน้ำหรือสารอาหารแน่นอน และในระยะหกเดือนแรกสมองลูกจะเติบโตเร็วมากการดื่มนมแม่จึงเหมาะที่สุด หากให้ทานอาหารชนิดอื่น ระบบทางเดือนอาหารลูกยังไม่สามารถย่อยได้เต็มที่ อาจทำให้ลูกเจ็บป่วยบ่อยเพราะอาหารอื่นลงไปแย่งพื้นที่นมแม่ที่มีสารอาหารเต็มเปี่ยมด้วย อีกทั้งยังอาจทำให้ลูกได้รับเชื้อโรคที่ปะปนมากับอาหารชนิดอื่นหรือแพ้โปรตีนจากนมอื่น ๆ…

  • ปรับความเชื่อเกี่ยวกับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เสียใหม่

    ปรับความเชื่อเกี่ยวกับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เสียใหม่

    ปรับความเชื่อเกี่ยวกับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เสียใหม่ การเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองนั้นเป็นความรู้สึกที่ดีมากเกินกว่าจะพรรณนาออกมาได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยิ่งรณรงค์ให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองกันมากขึ้น แต่ก็ยังมีความเชื่อบางอย่างที่อาจน่าสงสัยอยู่บ้าง เรามาลองหาคำตอบกันในวันนี้ค่ะ – หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ครบหกเดือนแล้ว ต้องใช้นมชนิดอื่นให้ลูกดื่มด้วย ไม่เป็นความจริง เพราะนมแม่นั้นมีคุณค่าทุกอย่างที่เหมาะสมและพอเหมาะกับทารก และมีมากกว่านมชนิดอื่น ๆ ด้วย แต่เด็กทารกที่อายุมากกว่าหกเดือนแล้ว ให้เริ่มกินอาหารเสริมสำหรรับทารก เพื่อให้ทารกได้รู้จักวิธีการกินและได้รับธาตุเหล็กจากอาหารชนิดอื่น ๆ นอกจากนมแม่ เพราะในระยะ 7-9 เดือนหากดื่มนมแม่อย่างเดียวเด็กอาจได้รับธาตุเหล็กไม่พอ ดังนั้นหากทารกกินนมแม่ และกินอาหารเสริมไปด้วยได้ นมวัวหรือนมอื่น ๆ ก็ไม่จำเป็นเลย – นมผงสำหรับทารกสมัยนี้นั้น ดีพอ ๆ กับนมแม่ ไม่เป็นความจริง แม้นมผงสมัยใหม่นี้คล้ายคลึงกับนมแม่แค่ผิวเผินเท่านั้น เพราะนมผงไม่มีแอนติบอดี เซลล์ที่มีชีวิต เอนไซม์ และฮอร์โมนด้วย แม้นมผงจะมีสารอาหารชนิดอื่นที่มากกว่านมแม่ รวมทั้งโปรตีนด้วย แต่โดยพื้นฐานแล้วแตกต่างจากสารอาหารในนมแม่ นมผงต่าง ๆ ไม่มีความแตกต่างของสารอาหารไม่ว่าจะวันเวลาใด แต่นมแม่ถูกสร้างขึ้นตามความเหมาะสมกับลูกของคุณโดยเฉพาะเท่านั้น – ทำความสะอาดหัวนมแม่ทุกครั้งก่อนลูกดูด ไม่เป็นความจริง หากให้ทารกดื่มนมผงนั้นต้องใส่ใจเรื่องความสะอาด เพราะนมผงไม่ได้ช่วยป้องกันทารกจากการติดเชื้อ และยังปนเปื้อยและเป็นแหล่งแพร่แบคทีเรียได้ง่ายด้วย แต่ในนมแม่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อให้กับทารกอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องล้างทำความหัวนมตนเองก่อน เพราะอาจทำให้ยุ่งยากอีกด้วยแล้วยังทำให้ไขมันตามธรรมชาติที่ช่วยต่อต้านแบคทีเรียออกไปจากหัวนมด้วย –…

  • รู้หรือไม่! น้ำนมมารดา เป็นสุดยอดอาหารที่ดีที่สุดแก่เด็กทารก

    รู้หรือไม่! น้ำนมมารดา เป็นสุดยอดอาหารที่ดีที่สุดแก่เด็กทารก

    รู้หรือไม่! น้ำนมมารดา เป็นสุดยอดอาหารที่ดีที่สุดแก่เด็กทารก แพทย์แนะนำมารดา ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังจากคลอดลูก ชี้เป็นสิ่งที่สำคัญต่อเด็กมาก เพราะ น้ำนมแม่มีคอลอสตรัมที่มีประโยชน์ทางโภชนาการอย่างมหาศาลแก่ลูกและยังมีคุณสมบัติช่วยต้านทานโรค นี่ทำให้การให้นมลูกในช่วงไม่กี่ชั่วโมงแรกหลังคลอดมีความสำคัญมาก รายงานนี้ชี้ว่าคอลอสตรัมในน้ำนมแม่หลังคลอดลูกมีบทบาทเป็นภูมิต้านทานโรคตัวแรกให้แก่เด็กทารก แต่ในหลายๆวัฒนธรรม อย่างในประเทศไนเจอร์ คนเชื่อว่าคอเลสตรัมในน้ำนมแม่เป็นอันตราย แพทย์ชี้ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เพราะแท้จริงแล้วนั้นน้ำนมแม่มีประโยชน์ต่อเด็กมหาศาล รายงานเรื่องสุดยอดอาหารแก่เด็กทารกหรือ Super food for Babies นี้ยังแนะนำให้ทุกประเทศออกกฏหมายอนุญาตให้ผู้หญิงลาคลอดได้นา 14 สัปดาห์และมีมาตรการสนับสนุนให้คุณแม่เดินหน้าเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาต่อไปหลังจากกลับไปทำงาน อุปสรรคอีกอย่างหนึ่งต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมมมารดาคือการโฆษณาของบริษัทผู้ผลิตนมผงทารกแม้จะมีกฏระเบียบระดับนานาชาติที่บังคับไม่ให้บริษัทผู้ผลิตนมผงมุ่งเป้าการโฆษณาโดยตรงที่ตัวมารดาและเจ้าหน้าที่บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือโรงพยาบาลแล้วก็ตาม เธอกล่าวว่าความพยายามป้องกันการเสียชีวิตของเด็กทารกเห็นผลคืบหน้ามากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแต่เธอเชื่อว่าเราจะสามารถช่วยป้องกันการเสียชีวิตในเด็กทารกได้อีกจำนวนมากหากมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองกันเพิ่มมากขึ้น