Tag: ท้องเสีย

  • ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ?

    ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ?

    ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ? ปวดท้อง เป็นอาการป่วยพื้นฐานที่พบได้บอ่ย ๆ บางคนก็เป็นอยู่เป็นประจำจนไม่ได้ใส่ใจมากนัก คิดว่าเป็นได้เดี๋ยวก็หายไปเอง แต่หารู้ไม่ว่าอาการปวดท้องบางอย่างเป็นสัญญาณเตือนให้คุณรู้ว่า ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดดีกว่า ก่อนที่จะกลายเป็นโรคลุกลามได้ อาการปวดท้องนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่ปวดเล็กน้อย จนถึงปวดรุนแรงมาก อาการปวดอาจสัมพันธ์กับอวัยวะโดยตรงเช่น รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร ที่พบได้บ่อยจะเป็นการปวดท้องเพราะอวัยวะในทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งจะเป็นโรคใดก็ต้องวินิจฉัยว่าปวดที่ตำแหน่งไหน อาการปวดเป็นอย่างไร รวมไปถึงความรุนแรงและช่วงเวลาที่ปวดท้องด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการของโรคอื่น ๆ ที่ทำให้ปวดท้องได้ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดขนาดใหญ่ในช่องท้อง อาการหัวใจวายเฉียบพลัน ตับอักเสบ นิ่วในไต โรคลำไส้ โรคหัวใจและปอดอักเสบก็ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงได้เช่นกัน หากเป็นเพศหญิงก็ต้องนึกถึงสาเหตุของอวัยวะสืบพันธุ์ต่าง ๆ แม้แต่ผู้ป่วยโรคงูสวัดที่บริเวณท้องก็อาจทำให้ปวดท้องรุนแรงได้ ฯลฯ แต่กว่าครึ่งของคนที่ปวดท้องจะวินิจฉัยหาสาเหตุได้ผล ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งอาจหาสาเหตุไม่ได้ เมื่ออาการทุเลาหายไปก็ยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดอยู่ดี อาการปวดท้องที่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษานั้นก็ได้แก่ – ปวดนานกว่า 6 ชั่วโมงและมีอาการมากขึ้น – ปวดจนกินอะไรไดม่ได้ – ปวดท้องและอาเจียนมากกว่า 3-4 ครั้ง –…

  • ว่ายน้ำ หรือดำน้ำนาน ๆ ร่างกายขาดน้ำได้นะคะ

    ว่ายน้ำ หรือดำน้ำนาน ๆ ร่างกายขาดน้ำได้นะคะ

    ว่ายน้ำ หรือดำน้ำนาน ๆ ร่างกายขาดน้ำได้นะคะ คนที่ชอบว่ายน้ำ หรือดำน้ำนาน ๆ จะเกิดการสูญเสียความร้อนผ่านทางผิวหนัง เร็วกว่าอยู่บนบกถึง 20 เท่า ร่างกายจึงมีกลไกป้องกันการสูญเสียความร้อน โดยหลอดเลือดที่ผิวหนังของคนเราจะมีการหดตัว เพื่อให้มีการไหลเวียนเลือดที่จะนำพาความร้อนให้สูญเสียไปกับน้ำที่ผิวหนังนั้นลดลง เลือดในร่างกายเราจะถูกส่งไปยังอวัยวะภายในแทน เช่น หัวใจ ไต สมอง เป็นต้น การที่มีเลือดไหลผ่านไตมากขึ้นนั้นจะเกิดกระบวนการกรองที่ไตสูงขึ้น มีการผลิตปัสสาวะมากขึ้น ร่างกายจึงสูญเสียน้ำไปในรูปแบบของปัสสาวะ ทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ เมื่อเราแช่อยู่ในน้ำนาน ๆ นั่นเอง การขาดน้ำนาน ๆ จะส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือด ความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้น เลือดไหลเวียนได้ช้าลง เกิดการปลดปล่อยก๊ายในร่างกายจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ สู่เลือดช้าและยากขึ้น ทำให้มีการสะสมของก๊าซไนโตรเจนมากกว่าปกติ จนเกิดอาการ DCS ได้ ดังนั้นจึงควรป้องกันไว้ก่อน ด้วยการดื่มน้ำให้เพียงพอ ทั้งก่อนและหลังดำน้ำ วิธีการสังเกตก็คือให้ดื่มน้ำจนกว่าจะปัสสาวะออกมาจึงถือว่าเพียงพอ หลีกเลี่ยงครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ กาแฟ ช็อกโกแลต เพราะมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะได้ รวมไปถึงยากลุ่มยาขับปัสสาวะด้วย เพราะจะยิ่งทำให้การขาดน้ำรุนแรงมากขึ้น หากในระหว่างต้องดำน้ำเกิดเจ็บป่วยเป็นโรคท้องเสีย เมาเรือ เมาคลื่น ก็ควรดูแลในเรื่องของปริมาณน้ำในร่างกายมากเป็นพิเศษด้วยนะคะ

  • “ขิง” สมุนไพรสร้างความอบอุ่นในฤดูหนาว

    “ขิง” สมุนไพรสร้างความอบอุ่นในฤดูหนาว

    “ขิง” สมุนไพรสร้างความอบอุ่นในฤดูหนาว ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวนั้น จะเป็นช่วงที่ร่างกายอ่อนแอลงมากกว่าเดิม ทำให้เป็นหวัดได้ง่าย ระบบย่อยอาหารก็ไม่ดี ท้องเฟ้อ ท้องอืดได้ ดังนั้นอาหารที่เหมาะสำหรับฤดูหนาวก็ต้องเป็นอาหารธาตุร้อน มีรสชาติเผ็ดร้อนที่ให้ความอบอุ่นกับร่างกายคุณได้ ป้องกันไข้หวัดและความเจ็บป่วยนานาชนิดด้วยค่ะ ซึ่งสมุนไพรที่ให้ความอบอุ่นกับร่างกายเราและหาได้ง่ายในเมืองไทยก็คือ “ขิง” นั่นเอง ขิงเป็นสมุนไพรที่ถูกใช้กันมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้วในทวีปเอเชียนี้ นอกจากใช้ทำอาหารได้แล้วก็ยังนำเอามาสกัดเพื่อรักษาความเจ็บป่วยด้วย ในขิงมีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญก็คือ จิงเจอรอล และ โชกอร สองตัวนี้ช่วยรักษาอาหารท้องอืดท้องเฟ้อ หรือปวดมวนท้องด้วย หากคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรอยู่ สารออกฤทธิ์จากขิงจะส่งผ่านไปทางน้ำนม ทำให้ลูกน้อยไม่มีอาการท้องอืดได้ ผู้ที่มักมีอาการท้องเสีย ให้ทานอาหารที่ย่อยง่าย ลดอาการแข็งลง ๆ แล้วดื่มน้ำขิงช่วย จะลดการอักเสบที่เกิดจากพิษของเชื้อโรคในอาหาร ช่วยขับพิษออกจากร่างกาย ในส่วนผู้ที่เป็นไข้หวัด ไอ เจ็บคอ ปวดหัว การทานขิงสดช่วยได้มากเลย สำหรับคนที่มักจะเมารถ เมาเรือ คลื่นไส้ อาเจียนในเวลาที่อาหารเป็นพิษ ให้หยุดทานอาหารให้หมดแล้วพยายามขับของเสียออก แล้วตามด้วยน้ำขิงลงไป จะลดอาการคลื่นไส้ได้ดีมากเช่นกัน หากคุณอยู่นอกบ้าน หรือระหว่างเดินทาง หากมีอาการเมารถ เมาเรือ คุณควรหาน้ำขิงดื่ม หรือจะซื้อจิงเจอร์เอล มาดื่มก็บรรเทาได้เช่นกัน ในช่วงฤดูหนาวควรทานอาหารที่ปรุงด้วยขิงเปลี่ยนไปเมนูไปเรื่อย ๆ จะได้ไม่เบื่อ เช่น…

  • ทานอาหารให้ปลอดภัยในช่วงหน้าร้อน

    ทานอาหารให้ปลอดภัยในช่วงหน้าร้อน

    ทานอาหารให้ปลอดภัยในช่วงหน้าร้อน หน้าร้อนเป็นช่วงเวลาที่อาหารบูดเสียได้ง่าย เพราะอากาศร้อนทำให้เชื้อโรคต่าง ๆ เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ดังนั้นในช่วงหน้าร้อนจึงเป็นช่วงเวลาที่มักจะพบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษ ท้องร่วงท้องเสียได้บ่อยครั้ง เกิดขึ้นได้จากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด มีสารพิษเชื้อโรคปะปน อาหารที่ปรุงไม่สุก อาหารค้างคืนที่ไม่อุ่น อาหารกระป๋องที่หมดอายุแล้ว รวมไปถึง การจัดเก็บอาหารที่ไม่เหมาะสมและสุขอนามัยที่ไม่ดีของคนปรุงอาหารด้วย ทำให้มีเชื้อโรคหรือสารพิษปนเปื้อนในอาหารได้ รวมไปถึงการทานอาหารรสจัดก็ทำให้ท้องเสีย ท้องเดินได้เช่นกัน อาหารเป็นพิษนั้นจะมีอาการเกิดขึ้นหลังจากทานอาหารไปแล้วประมาณ 1 ชั่วโมงถึง 1 วัน ขึ้นกับชนิดและขนาดของเชื้อที่ได้รับเข้าไป จะทำให้มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำหรือมีมูกปนได้ อาจมีไข้ อ่อนเพลีย หากรุนแรงเชื้ออาจติดเข้าไปในกระแสเลือด เลือดเป็นพิษ และพิษจากพืชบางชนิดอาจมีผลต่อระบบประสาททำให้ชัก หมดสติและตายได้ และหากมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์.. ท้องเสียท้องเดินไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง อุจจาระมีมูกหรือเลือดปนกลิ่นเหม็นเหมือนกุ้งเน่า มีไข้สูง หนาวสั่น เพราะมีภาวะลำไส้อักเสบหรือติดเชื้อในกระแสเลือด หรือเด็กที่ท้องเสียอายุน้อยกว่า 3 ขวบ เป็นผู้สูงอายุ เป็นสตรีมีครรภ์ เพราะบุคคลเหล่านี้อาจเสียชีวิตได้ง่าย และจะทำให้เกิดความผิดปกติกับแม่หรือลูกในครรภ์ได้ด้วย การดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากอาการท้องเสียท้องเดิน และอาหารเป็นพิษ ก็คือการทานอาหารที่สดสะอาด ปลอดภัย ไม่ควรทานอาหารที่มีรสจัดหรือไม่สะอาด อาหารที่ไม่เคยทานมาก่อน…

  • นม.. ดื่มแล้วท้องเสีย จะแก้ไขอย่างไรดี

    นม.. ดื่มแล้วท้องเสีย จะแก้ไขอย่างไรดี

    นม.. ดื่มแล้วท้องเสีย จะแก้ไขอย่างไรดี น้ำนมของวัว แพะ แกะ หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดใดก็ตาม มักเป็นอาหารที่มีประโยชน์มาก มีวิตามิน เกลือแร่ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ที่มีสัดส่วนที่พอดีพอเหมาะสำหรับการเลี้ยงลูกน้อยให้เจริญเติบโตในช่วงที่ยังหาอาหารกินเองไม่ได้ และน้ำนมจากสัตว์หลายชนิดนั้น มนุษยเองก็สามารถนำเอามาดื่มได้ เพราะเป็นการเติมสารอาหารต่าง ๆ ให้กับร่างกาย ดังเช่น น้ำนมวัวเป็นต้น แต่หลายคนกลับดื่มนมวัวแล้วมีปัญหาท้องเสีย ทำให้เลิกดื่มไปเลย จึงเสียโอกาสในการได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะแคลเซียมในนม ซึ่งอาหารอื่นก็สามารถทดแทนได้เช่นกัน แต่ต้องทานในปริมาณมาก แต่ในขณะที่ดื่มนมวันละ 2-3 แก้วต่อวันก็ได้รับเพียงพอแล้ว ซึ่งง่ายและสะดวกกว่ากันมาก แล้วจะทำอย่างไรดีสำหรับคนที่มีอาการท้องเสียเพราะนม การที่ดื่มนมแล้วมีอาการท้องเสีย ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง ตดบ่อย ลำไส้ปั่นป่วนนั้น เพราะในน้ำนมสัตว์จะมีน้ำตาลแลคโทสเป็นส่วนประกอบ มนุษย์ทุกคนจะมีน้ำย่อยแลคโทสเหล่านั้นตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 5 ขวบแล้วก็จะค่อย ๆ หมดไป จนไม่สามารถย่อยน้ำตาลในนมหรือน้ำตาลแลคโทสได้ ยิ่งหากไม่ได้ดื่มนมวัวตั้งแต่เด็กก็ยิ่งมีปฏิกิริยามากขึ้นเมื่อเติบโตไป จึงทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้เมื่อดื่มนม การแก้ปัญหาผู้ที่มีอาการท้องเสียเพราะนมนี้ ก็คือให้พยายามดื่มวันละน้อย ๆ ก่อน แล้วค่อยเพิ่มขึ้นทีละนิดไปเรื่อย ๆ ควรดื่มหลังอาหารและดื่มร่วมกับอาหารชนิดอื่น ไม่ควรดื่มตอนท้องว่าง เพราะจะทำให้เกิดอาการไม่สบายท้องได้ แต่หากยังมีอาการอยู่…

  • พึงระวังโรคไวรัสลงลำไส้ ในเด็กอายุ 1 ขวบ

    พึงระวังโรคไวรัสลงลำไส้ ในเด็กอายุ 1 ขวบ

    พึงระวังโรคไวรัสลงลำไส้ ในเด็กอายุ 1 ขวบ อาการท้องเสียในเด็กวัย 2-3 เดือนแรกนั้นมักจะเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อโรค จากการดูแลขวดนมไม่สะอาดเพียงพอ เช่น ไม่ได้ต้มขวดนมหรือจุกนม แต่ในช่วง 4-6 เดือน มักจะเกิดจากการที่เด็กมักชอบหยิบของเข้าปาก หรือชอบดูดนิ้วมือ แต่ในเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไปนั้น อาการท้องเสียมักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสที่เรียกกันว่า โรคไวรัสลงลำไส้ ซึ่งเกิดจากอาหารเป็นพิษ โดยมีต้นเหตุคือไวรัสโรต้า โดยเด็กจะมีอาการดังต่อไปนี้ – มีไข้ตัวร้อนสูงมาก – คลื่นไส้อาเจียน – ถ่ายเป็นน้ำ ร่างกายขาดน้ำ – ผิวหนังบริเวณก้นอักเสบ เนื่องเด็กไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลกโทสได้ เชื้อไวรัสโรต้านี้เป็นสาเหตุให้เด็กที่อายุน้อยกว่าห้าขวบเป็นโรคท้องเสีย สามารถพบได้บ่อยทั้งปี แต่จะพบได้ถี่ขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธุ์ ส่วนเชื้ออื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอหิวาห์ บิด ไทรอยด์ ที่ทำให้ท้องเสียได้นั้น ในปัจจุบันพบได้น้อยลงแล้วเนื่องจากมีสุขอนามัยที่ดีขึ้น การดูแลรักษาอาการไวรัสลงลำไส้นี้ ควรดูแลในเรื่องของอาการขาดน้ำและรักษาตามอาการ ให้เด็กได้ทานอาหารอ่อน ๆ ดื่มนมและดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อเติมน้ำคืนสู่ร่างกายของเด็ก หากอาการของเด็กไม่ดีขึ้นควรรีบพาไปพบพบแพทย์ก่อนที่เด็กจะเสียชีวิตเพราะการขาดน้ำได้

  • การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

    การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

    การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ผู้สูงอายุนั้นจะเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยจากสาเหตุสี่ประการได้แก่ 1. ความเสื่อมโทรมลงของอวัยวะซึ่งเป็นไปตามวัย 2. พฤติกรรมและการดูแลสุขภาพเท่าที่ผ่านมา 3. การเปลี่ยนแปลงไปของเซลล์ภายในร่างกาย 4. ปัจจัยที่ถ่ายทอดกันมากทางพันธุกรรม หลายโรคนั้นสามารถป้องกันได้ ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพไว้ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอาหารการกินที่ควรกินให้ครบหมู่ แต่ให้เน้นผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานหรือเค็มจัด ดื่มน้ำมาก ๆ และหมั่นออกกำลังกายในแบบที่ชอบ เพื่อลดภาวะอ้วนน้ำหนักเกินอันเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังได้อีกหลายโรคไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและข้อเข่าเสื่อม ทั้งยังเป็นสาเหตุของมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย การพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐานจึงเป็นมาตรการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีอีกอย่างหนึ่งด้วย ในผู้สูงอายุนั้นควรมีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้เป็นพิเศษ เช่น สังเกตว่ามีแผลเรื้อรังไม่หายบ้างหรือเปล่า มีปัญหาการกลืนหรือย่อยอาหารหรือไม่ รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ท้องเสีย ท้องผูกเรื้อรังบ้างหรือเปล่า ฯลฯ เหล่านี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายให้ละเอียดต่อไป โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุนั้นสามารถป้องกันและดูแลตนเองเพื่อลดความรุนแรงได้ อย่างเช่น – โรคไขข้อเสื่อม ควรดูแลไม่ให้น้ำหนักมากเกินจนไปส่งผลให้ข้อเข่ารับน้ำหนักตัวเกิน หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อให้แข็งแรง ทนุถนอมข้อเข่าให้มาก ๆ อย่างเคลื่อนไหวร่างกายหรือบิดข้อมากเกินไป ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สบาย หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ หรือคุกเข่าเพื่อลดการแรงกระทำต่อข้อ ป้องกันการหกล้มด้วยการฝึกเดินหรือใช้เครื่องพยุงร่างกาย ปรับสภาพแวดล้อในบ้านด้วยการทำพื้นไม่ให้ลื่น…

  • ใช้ชีวิตให้ดี ห่างไกลจากโรคไต

    ใช้ชีวิตให้ดี ห่างไกลจากโรคไต

    ใช้ชีวิตให้ดี ห่างไกลจากโรคไต  ไตของคนเรานั้น เป็นอวัยวะที่มีขนาดเท่ากับกำปั้นของเจ้าของ มีรูปร่างคล้ายถั่วแดง อยู่บริเวณด้านหลังของลำตัวในระดับของกระดูกซี่โครงส่วนล่าง ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ ควบคุมการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย กรองของเสียในร่างกาย หากไตบกพร่องก็อาจทำให้คุณเป็นโรคไตได้ด้วย โรคไตนั้นมีหลายชนิด แต่ที่อันตรายที่สุดเห็นจะเป็นไตวายเรื้อรัง มีอาการที่เห็นได้ก็คือ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ซึม วิงเวียน ปวดหัว การรับรสเปลี่ยนไป มีอาการชาตามปลายมือและปลายเท้า รวมทั้งน้ำหนักตัวลดลงได้ และที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคไตที่สำคัญคือ พฤติกรรมการถ่ายปัสสาวะเปลี่ยนไปทั้งในเรื่องความถี่ ปริมาณของน้ำปัสสาวะ สีของปัสสาวะ เช่น เข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นเวลากลางคืน ปริมาณลดน้อยลง ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือมีเลือดปนออกมา รวมทังปวดหลังปวดเอว ความดันโลหิตสูง หน้าบวม เท้าบวมและท้องบวม กลุ่มเสี่ยงในการเป็นโรคไตวายนั้นจะมีอยู่สองกลุ่มก็คือ กลุ่มที่เป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตอยู่แล้ว เช่น ความดันสูง หรือเบาหวาน กับอีกกลุ่มคือเป็นโรคไตซ่อนอยู่ และไม่เคยแสดงอาการอะไรออกมาเลย ไม่เคยป่วยเจ้าโรงพยาบาลแต่ความจริงมีโรคไตซ่อนอยู่ หากไม่ตรวจก็จะไม่รู้ว่าเป็นโรคไต โรคไตนี้สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้โดย – อย่าทรมานไตมากเกินไป ด้วยการกินยาที่ซื้อมาเอง หรือกินยาผิดขนาด ผิดชนิด และปริมาณ รวมทั้งกินยาซ้ำซ้อนไปหมด หากซื้อยามากินเองไม่ปรึกษาแพทย์อาจทำให้เกิดผลเสียต่อไต ทำให้ไตอักเสบและเป็นโรคไตได้ –…

  • ดูแลตัวเอง…ไม่ให้หน้ามืดวิงเวียนบ่อย ๆ

    ดูแลตัวเอง…ไม่ให้หน้ามืดวิงเวียนบ่อย ๆ

    ดูแลตัวเอง…ไม่ให้หน้ามืดวิงเวียนบ่อย ๆ โดยทั่วไปแล้วความดันปกติของคนเราจะอยู่ที่ 90 – 130 (ตัวบน) / 60 – 90 (ตัวล่าง) มิลลิเมตรปรอท แต่ถ้ามีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90 / 60 ก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีอาการความดันโลหิตต่ำค่ะ ซึ่งเกิดจากจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ การขาดสารน้ำจากการเสียเหงื่อมาก ท้องเสีย เสียเลือด หรือความอ่อนแอจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ เลือดจาง ฯลฯ โดยบางรายอาจไม่จำเป็นต้องแสดงอาการออกมา แต่บางรายก็มักมีอาการอ่อนเพลียหน้ามืด มึนงง เวลาลุกนั่งหรือเวลายืน หรือเวลาเปลี่ยนท่าเร็ว พาลจะทำให้เป็นลมได้ หากมีอาการเรื้อรัง กับมีอาการดังต่อไปนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น เจ็บหน้าอกรุนแรง ท้องเสียหรือปวดท้องอย่างมาก อาเจียนมาก ถ่ายเป็นสีดำ ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว เหงื่อแตก ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน แต่หากไม่ได้มีอาการดังกล่าวเป็นแต่เพียงอาการหน้ามืด วิงเวียนบ่อย ๆ เท่านั้นก็ควรดูแลตัวเองด้วยการปฏิบัติดังต่อไปนี้ค่ะ – เวลาเปลี่ยนท่าให้ค่อย ๆ ลุก เช่น หากตื่นนอนควรค่อย ๆ นั่งก่อนสักครู่แล้วจึงค่อยลุกขึ้นยืน…

  • 10 บัญญัติเพื่อป้องกันโรคทางเดินอาหารทุกชนิด

    10 บัญญัติเพื่อป้องกันโรคทางเดินอาหารทุกชนิด

    10 บัญญัติเพื่อป้องกันโรคทางเดินอาหารทุกชนิด การกินเนื้อสัตว์ดิบ ๆ เป็นวัฒนธรรมการกินของชาวภาคเหนือ รวมไปถึงภาคอื่น ๆ ในบางจังหวะด้วย ซึ่งการทานอาหารเช่นนี้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะหลีกหนีภัยเช่นนี้ก็คือทานอาหารสุกสะอาดทุกชนิดนั้นเอง รับรองว่าปลอดภัยอย่างแน่นอน แล้วนอกจากนั้นเรายังนำบัญญัติ 10 ประการมาให้คุณ ๆ ทั้งหลายได้ปฏิบัติตามเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหารแทบทุกโรคด้วยค่ะ 1. ทานอาหารที่ปรุงสุกเต็มที่ด้วยความร้อนแล้วเท่านั้น หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์สุก ๆ ดิบ ๆ ไม่ว่าจะอร่อยขนาดไหนก็ตาม 2. ทานอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ ๆ ร้อน ๆ เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่เติบโตได้ในอากาศร้อน 3. อาหารที่ปรุงสุกแล้วหากยังไม่ทานทันที ควรเก็บใส่กล่องให้ปลอดภัยจากแมลง หรือในตู้เย็น ก่อนการนำมาทานทุกครั้งควรอุ่นให้ร้อนอย่างทั่วถึงก่อนทานด้วย และไม่ควรเก็บไว้ค้างมื้อ 4. แยกมีด แยกเขียง ช้อนและอุปกรณ์การทำอาหารทั้งหมดออกจากกันระหว่างอาหารที่สุกแล้วและอาหารที่ยังดิบอยู่ หรือยังไม่ได้ล้าง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อระหว่างกัน 5. เลือกทานแต่อาหารที่ผลิตอย่างสะอาดและปลอดภัย ไว้ใจได้ ผักผลไม้ต้องล้างให้สะอาดปลอดจากสารเคมีให้มากที่สุด 6. ก่อนทานอาหารและหลังการทานอาหารต้องล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทุกครั้ง รวมทั้งภายหลังการเข้าห้องน้ำ ควรใช้ช้อนกลางตักอาหารทุกครั้งด้วย 7. ทำความสะอาดอุปกรณ์การทำครัว โต๊ะปรุงอาหาร ล้างน้ำ ต้องล้างให้สะอาดทุกครั้งหลังการทำอาหารสด เพราะเชื้อโรคอาจปนเปื้อนบนพื้นที่เหล่านี้ได้ง่าย…