Tag: ท้องร่วง
-
5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน
5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน เพราะในหน้าฝนมีอุณหภูมิที่เริ่มเย็นลง กับมีความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเช่นนี้ ทำให้มีหลายโรคที่ระบาดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งโรคดังกล่าวก็ได้แก่ 5 กลุ่มโรคต่อไปนี้ทำควรป้องกันการติดต่อมากเป็นพิเศษ 1. กลุ่มโรคทางเดินอาหาร ทั้งท้องร่วง ไทรอยด์ บิด อาหารเป็นพิษ เกิดจากการทานอาหารที่มีเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้และปวดบิดในท้อง หากติดเชื้อบิดก็อาจถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระได้ จึงควรระวังการทานอาหารมากเป็นพิเศษ ควรทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลางด้วย 2. กลุ่มโรคติดเชื้อทางเยื่อบุผิวหนังหรือบาดแผล ที่พบได้บ่อยก็โรคฉี่หนู อาการจะมีไข้สูง ปวดหัวมาก มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรนแรง ตาแดง มักเกิดในที่น้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ชาวไร่ชาวสวน ผู้ที่ทำงานกับการแช่น้ำ ในที่เฉอะแฉะ หรือผู้ที่ทำงานลอกท่อระบายน้ำ ทำงานเหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์ คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ฯลฯ 3. กลุ่มโรคทางเดินหายใจ ได้แก่ หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม รวมไปถึงโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีแหล่งแพร่ระบาดจากสัตว์ปีก ซึ่งเชื้ออาจข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในหน้าฝนได้ 4.…
-
ผักสด ผลไม้สด .. ไม่ใช่ทุกคนจะทานได้
ผักสด ผลไม้สด .. ไม่ใช่ทุกคนจะทานได้ ผักสดผลไม้สดนั้นเป็นอาหารที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาล ที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานและให้รสหวาน เกลือแร่และวิตามินที่เสริมสร้างความสมบูรณ์ของอวัยวะต่าง ๆ เส้นใยอาหารที่ช่วยให้การขับถ่ายเป็นไปได้ด้วย และลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ลดเบาหวานได้ด้วย และพืชบางชนิดให้ไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยเช่นกัน ฯลฯ การบริโภคผักสดและผลไม้สด จึงเป็นเรื่องที่ควรแนะนำและส่งเสริม แต่ทุกอย่างในโลกก็ต้องมีสองด้านเสมอ แม้แต่ในผักสด ผลไม้สดก็ตาม การบริโภคสด ๆ โดยไม่ผ่านความร้อนอาจได้รับอันตรายบางประการได้ เช่น ในผักอาจมีไข่พยาธิหรือพยาธิเจือปนอยู่ หากล้างไม่สะอาดอาจทำให้เกิดโรคท้องร่วงได้ รวมไปถึงผักผลไม้บางชนิดอาจมีสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่ อาจก่อให้เกิดสารพิษสะสมในร่างกาย อีกทั้งผู้ที่ป่วยด้วยบางโรคจำเป็นต้องระวังผักสดผลไม้สดบางชนิดด้วย เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปตัสเซี่ยมสูง ๆ เช่น กล้วย หรือส้ม เป็นต้น รวมไปถึงคนไข้อีกบางพวกที่การทานผักสดผลไม้สด เป็นเรื่องต้องห้ามที่สุด ก็คือ คนไข้ที่ได้รับเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง เพราะคนไข้จำพวกนี้ภายหลังจากที่ได้รับยาแล้วจะทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคต่ำลง ผู้ป่วยจึงอ่อนแอเกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย หากต้องการผักผลไม้ ต้องเป็นผ่านการทำให้สุกด้วยความร้อนแล้วเท่านั้น อีกทั้งผลไม้บางชนิดที่ต้องรับประทานทั้งเปลือกก็ห้ามรับประทานด้วย หากต้องการทานต้องปอกเปลือกทิ้งไปแล้วให้ทานในทันทีห้ามปล่อยทิ้งไว้ แม้การทานผักสดผลไม้สดจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ผู้ป่วยบางโรคก็เป็นเรื่องต้องห้ามเช่นกัน ดังนั้นหากท่านเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนดีกว่านะคะ
-
หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง
หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ในระยะที่อากาศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เริ่มมีฝนตกมากขึ้น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายค่อนข้างต่ำ หรือสุขภาพอ่อนแอเพราะปรับตัวไม่ทัน จึงเจ็บป่วยได่ง่าย ยิ่งโดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางลมหายใจจำพวกโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อกันได้ง่ายนั้น เราจึงยิ่งจำเป็นต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมในการป้องกันโรคติดต่อเหล่านี้นั่นเอง ซึ่งมีวิธีการดูแลตัวเองง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ – เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มป่วย เริ่มเป็นไข้ ไม่สบายรู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่พอ ยิ่งไม่ควรเข้าไปเสี่ยงในแหล่งชุมชนที่มีคนอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นตลาด ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล เพราะว่าร่างกายในช่วงที่มีภูมิต้านทานต่ำจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย – หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือหากไม่สะดวกในการล้างมือจะใช้เจลแอลกอฮอล์มาเช็ดก็ได้ ช่วยป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ดี ยิ่งหากอยู่ในช่วงที่กำลังมีอาการไอหรือจาม ยิ่มควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ เพราะหากนำมือไปป้ายตาก็อาจติดเชื้อตาอักเสบได้ หรือไปหยิบจับสิ่งของก็จะเท่ากับเป็นการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นอีกทาง – หลีกเลี่ยงและอยู่ห่างจากผู้ป่วยที่มีอาการเป็นหวัด ซึ่งหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง จะช่วยป้องกันเชื้อหวัดและโรคทางเดินหายใจได้ดี – หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แล้วพักผ่อนให้เพียงพอ – ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ สองลิตร – หากในบ้านของเรามีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุที่ป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ และควรป้องกันการแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นด้วยการไม่คลุกคลีกับผู้ใกล้ชิด ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกเมื่อไอหรือจาม และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วย – สำหรับกลุ่มผู้เสี่ยงสูง…
-
ความรู้ทางยาจาก “หอยแครง”
ความรู้ทางยาจาก “หอยแครง” หอยแครงเป็นยาชนิดหนึ่งนะคะ แต่เป็นยาในตำราแพทย์แผนไทยค่ะ จัดอยู่ในเปลือกหอย 9 เวลานำมาปรุงยาจะนำไปเผาไฟให้สุกจะได้ปูนหอย ซึ่งมีฤทธิ์ในการรักษาอาการเจ็บป่วยได้ดังต่อไปนี้ค่ะ – ลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยขับลม และบรรเทาอาการจุกเสียดในช่องท้อง – ช่วยให้ระบายแก๊สได้ดี ทำให้เรอได้ – ช่วยล้างลำไส้ – แก้กระษัยนิ่ว ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ – บำรุงไตพิการ – บำรุงกระดูก – ใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เพื่อรักษากระษัย หรือ ปวดท้องน้อยเป็นกำลัง – หากใช้ร่วมกับพืชและหอยชนิดอื่นๆ จะช่วยขับพยาธิได้ด้วย – รักษากระษัยจุก ด้วยการขับลม ล้างลำไส้ ขับปัสสาวะ แก้ท้องร่วง และสมานลำไส้ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นคือการนำเปลือกหอยไปปรุงยาแล้วนำมาทานเท่านั้น การปรุงยาก็จำเป็นต้องอาศัยแพทย์แผนไทยที่มีความรู้นะคะ อย่าเพิ่งไปลองทำเองค่ะ
-
10 ยาแพทย์แผนไทยราคาประหยัด ชุดละ 200 บาท
10 ยาแพทย์แผนไทยราคาประหยัด ชุดละ 200 บาท นายแพทย์ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยว่าขณะนี้ได้มีโครงการจัดทำชุดกล่องยาสมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพในครัวเรือน โดยยาสมุนไพรไทยนี้เหมือนเป็นยาประจำบ้านสำหรับดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไปได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาการผลิตให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงช่องทางของยาสมุนไพร และลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพลง กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย จึงได้มีการจัดทำยาแผนไทยประจำบ้านที่มีถึง 10 ตัวยาในกล่องเดียว สามารถรักษาได้ครอบคลุมทุกโรคพื้นฐาน ประกอบไปด้วย ยาหอม แก้ลมวิงเวียน, ขมิ้นชันแคปซูล รักษาแผลในกระเพาะ ลดอาการจุดเสีย ท้องอืดเฟ้อ, ฟ้าทะลายโจรแคปซูล บรรเทาหวัดและท้องเสีย, ยาเหลืองปิดสมุทร รักษาอาการท้องร่วง, ยาจันทลีลา ลดไข้ตัวร้อน และไข้เปลี่ยนฤดู, ยาธรณีสันฑฆาต รักษาอาการท้องผูก เป็นยาระบาย, น้ำมันเหลือง ทาแก้ปวดเมื่อย, คาลาไมน์พญายอ รักษาผื่นแพ้ แมลงสัตว์กัดต่อย, โลชั่นกันยุงตะไคร้หอม และ ยาเปลือกมังคุด รักษาแผลสด “เบื้องต้นจัดทำชุดยาแผนไทยประจำบ้านทั้งหมด 1 หมื่นชุด เพื่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลทุกแห่ง ทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน เพื่อใช้เป็นแบบอย่างในการเผยแพร่และให้ความรู้ประชาชนได้ซื้อเก็บไว้เป็นทางเลือกในแต่ละครัวเรือน โดยหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป ราคาประมาณ 200…
-
โรคท้องเสีย อาการธรรมดาที่อาจไม่ธรรมดา
โรคท้องเสีย อาการธรรมดาที่อาจไม่ธรรมดา อย่าเพิ่งแปลกใจที่หัวข้อเรื่องนี้อาจขัดความคิดของใครหลาย ๆ คน เพราะเข้าใจมาตลอดว่าอาการท้องเสียนั้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่บทความในวันนี้จะนำคุณผู้อ่านได้ไปเห็นว่าความจริงแล้วอาการท้องเสียนั้น อาจนำไปสู่อาการที่คาดไม่ถึงและเสียชีวิตได้เช่นกัน หากชะล่าใจ เรามาระแวดระวังเรื่องนี้ด้วยการใส่ใจกับอาการท้องเสียและหาความรู้กันใหม่ก่อนดีกว่า โรคท้องร่วง ท้องเสีย หรืออุจจาระร่วงนั้น หมายถึงการถ่ายอุจจาระเหลว หรืออุจจาระเป็นน้ำเกินกว่า 2 ครั้งในวันเดียว หรือการอุจจาระเป็นมูกปนเลือดเพียงครั้งเดียวก็ถือว่าท้องเสียแล้ว ซึ่งในอดีตนั้นจะเรียกการถ่ายอุจจาระที่ปนมูกเลือดว่าเป็นโรคบิด เพราะผู้ป่วยจะมีอาการปวดบิดในท้องขณะที่เบ่งอุจจาระไปด้วย โรคท้องเสียนั้นแบ่งออกได้เป็นสองชนิดก็คือ 1. โรคท้องเสียแบบเฉียบพลัน มักจะเกิดจากอาหารเป็นพิษ หรือติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย พยาธิในลำไส้ 2. โรคท้องเสียแบบเรื้อรัง ซึ่งมักมีอาการท้องเสียนานกว่า 2 อาทิตย์เป็นต้นไป มักไม่ได้เกิดจากอาหารเป็นพิษ หรือติดเชื้อ แต่เกิดจากการย่อยอาหารและการดูดซึมที่ผิดปกติ การอักเสบจากภูมิแพ้ หรือติดเชื้อ ตลอดจนเป็นมะเร็งในทางเดินอาหาร ดังนั้นโรคท้องเสียชนิดนี้จึงเป็นเรื่องไม่ธรรมดา หรือแม้แต่ท้องเสียแบบเฉียบพลันเอง ก็อาจพบได้ว่าทำให้เสียชีวิตได้เหมือนกัน ถ้าได้รับการรักษาไม่ถูกต้องหรือช้าเกินไป ส่วนใหญ่การเสียชีวิตจะเกิดจากภาวะช็อก หรือภาวะที่เกิดจากการขาดน้ำและเกลือแร่เป็นจำนวนมาก ส่วนน้อยที่จะเกิดจากภาวะโลหิตเป็นพิษ ซึ่งทั้งสองแบบมีอาการเตือนแต่อาจถถูกละเลยจากแพทย์และผู้ป่วยเอง เพราะถ้าสังเกตได้ทันก็จะรอดชีวิต ซึ่งทุกคนควรสังเกตอาการเหล่านี้เอาไว้ โดยสัญญาณอันตรายมีทั้งหมด 6 ข้อดังต่อไปนี้ และผุ้ป่วยต้องรีบบอกแพทย์ไม่ว่าแพทย์จะถามหรือไม่ก็ตาม อีกทั้งสัญญาณเตือน 6 ข้อนี้ยังสามารถใช้กับโรคที่เกิดอาการช็อกแทรกซ้อนอื่น…
-
7 เคล็ดลับการทานอาหารนอกบ้านอย่างไร ปลอดภัยจากโรคท้องร่วง
7 เคล็ดลับการทานอาหารนอกบ้านอย่างไร ปลอดภัยจากโรคท้องร่วง ในช่วงไตรมาสแรกของปี หรือในช่วงสามเดือนนี้ อธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์โสภพ เมฆธน ได้เปิดเผยว่า คนไทยป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษแล้วถึง สามหมื่นกว่าคน อีกทั้งยังมีความเกรงกลัวต่อโรคท้องร่วงอาหารเป็นพิษมากที่สุดเมื่อเดินทางไปข้างนอกบ้าน พร้อมแนะวิธีเลือกอาหารเวลาต้องทานข้าวนอกบ้านให้ห่างไกลจากโรคท้องร่วงด้วย อีกทั้งนพ.โสภณ เมฆธน ยังเปิดเผยอีกว่าจากข้อมูลเฝ้าระวังโรคอาหารเป็นพิษ โดยสำนักระบาดวิทยา ในช่วงสามเดือนแรกของปี พบผู้ป่วยแล้ว 31,627 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 49.79 ต่อแสนประชากร ซึ่งอันดับสูงสุด 5 อันดับแรกคือ อุดรธานี หนองบัวลำภู อุบลราชธานี บุรีรัมย์ จังหวัดตราด ซึ่งโรคอาหารเป็นพิษดังกล่าวเกิดจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารพิษที่เชื้อโรคสร้างเข้าไป ซึ่งการปนเปื้อนอาจเกิดตั้งแต่แหล่งผลิตอาหาร แหล่งปรุง เสิร์ฟอาหาร หรือแม้กระทั่งปนเปื้อนขณะกิน สำหรับอาการของโรคที่พบได้มากก็คือ มีอาการท้องร่วง อุจจาระเหลว มีอาการปวดท้องมาก คลื่นไส้อาเจียน มีไข้และปวดเมื่อยเนื้อตัว รวมทั้งปวดข้ออีกด้วย ฯลฯ “ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษมักไม่ค่อยมีอาการรุงแรง ยกเว้นได้รับเชื้อชนิดรุนแรง หรือในรายที่เสียน้ำในร่างกายไปมาก รวมไปถึงคนแก่และเด็กเป็นต้น โดยโรคนี้สามารถรักษาตามอาการด้วยการให้สารละลายเกลือแร่ทดแทน และน้ำตาลทางปาก” อธิบดี คร. กล่าว โดยวิธีป้องกันโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษนั้นต้องป้องกันกันที่ต้นเหตุก็คือ…
-
สงกรานต์ เทศกาลความสุข แต่เสี่ยงต่อโรค
สงกรานต์ เทศกาลความสุข แต่เสี่ยงต่อโรค วันปีใหม่ไทยกำลังจะมาถึง เทศกาลสงกรานต์คือเทศกาลแห่งความสนุก แต่รู้หรือไม่ว่า การเล่นน้ำสงกรานต์นั้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆมากมาย ยิ่งการที่เล่นน้ำที่สกปรกด้วยแล้วหละก็ เชื้อโรคต่างๆก็ยิ่งสามารถเข้าไปสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางหู จมูก ปาก หรือแม้การสัมผัสต่างๆ เนื่องจากเทสกาลสงกรานต์อยู่ในช่วงหน้าร้อน ยิ่งทำให้เชื้อโรคแบคทีเรียเติบโตได้ง่ายอีกด้วย สำหรับข้อแนะนำในการหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคจากการเล่นน้ำก็คือ การรับประทานอาหาร สมควรดูอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เนื่องด้วยอากาศที่ร้อนก็ไม่สมควรรับประทานอาหารที่มีกะทิหรือนม ซึ่งเป็นตัวเสี่ยงต่อเชื้อแบคทีเรีย และอาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรืออยากแรงก็คือท้องร่วงได้เลย อีกโรคที่คนมักมองข้ามและคิดว่าอาจจะไม่ร้ายแรงมาก แต่แท้จริงแล้วอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว โรคลมแดด หรือ โรคฮีทสโตรค (Heat Stroke) เป็นลมจากอากาศร้อน ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เกิดได้ในผู้ที่ร่างกายแข็งแรง ยิ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงที่อากาศค่อนข้างร้อนจัดทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากเป็นเวลานานๆ ร่างกายปรับตัวไม่ทัน สูญเสียเหงื่อมาก ระดับความเข้มข้นของเลือดและเกลือแร่ในร่างกายเข้มข้นเกินไป อาการเบื้องต้นได้แก่ รู้สึกกระหายน้ำมากๆ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ ช็อก หมดสติได้ ผู้ป่วยจะมีอาการตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีเหงื่อออก ซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่วๆ ไป ที่จะพบว่าจะมีเหงื่อออกด้วย…