Tag: ทารก

  • ปรับความเชื่อเกี่ยวกับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เสียใหม่

    ปรับความเชื่อเกี่ยวกับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เสียใหม่

    ปรับความเชื่อเกี่ยวกับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เสียใหม่ การเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองนั้นเป็นความรู้สึกที่ดีมากเกินกว่าจะพรรณนาออกมาได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยิ่งรณรงค์ให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองกันมากขึ้น แต่ก็ยังมีความเชื่อบางอย่างที่อาจน่าสงสัยอยู่บ้าง เรามาลองหาคำตอบกันในวันนี้ค่ะ – หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ครบหกเดือนแล้ว ต้องใช้นมชนิดอื่นให้ลูกดื่มด้วย ไม่เป็นความจริง เพราะนมแม่นั้นมีคุณค่าทุกอย่างที่เหมาะสมและพอเหมาะกับทารก และมีมากกว่านมชนิดอื่น ๆ ด้วย แต่เด็กทารกที่อายุมากกว่าหกเดือนแล้ว ให้เริ่มกินอาหารเสริมสำหรรับทารก เพื่อให้ทารกได้รู้จักวิธีการกินและได้รับธาตุเหล็กจากอาหารชนิดอื่น ๆ นอกจากนมแม่ เพราะในระยะ 7-9 เดือนหากดื่มนมแม่อย่างเดียวเด็กอาจได้รับธาตุเหล็กไม่พอ ดังนั้นหากทารกกินนมแม่ และกินอาหารเสริมไปด้วยได้ นมวัวหรือนมอื่น ๆ ก็ไม่จำเป็นเลย – นมผงสำหรับทารกสมัยนี้นั้น ดีพอ ๆ กับนมแม่ ไม่เป็นความจริง แม้นมผงสมัยใหม่นี้คล้ายคลึงกับนมแม่แค่ผิวเผินเท่านั้น เพราะนมผงไม่มีแอนติบอดี เซลล์ที่มีชีวิต เอนไซม์ และฮอร์โมนด้วย แม้นมผงจะมีสารอาหารชนิดอื่นที่มากกว่านมแม่ รวมทั้งโปรตีนด้วย แต่โดยพื้นฐานแล้วแตกต่างจากสารอาหารในนมแม่ นมผงต่าง ๆ ไม่มีความแตกต่างของสารอาหารไม่ว่าจะวันเวลาใด แต่นมแม่ถูกสร้างขึ้นตามความเหมาะสมกับลูกของคุณโดยเฉพาะเท่านั้น – ทำความสะอาดหัวนมแม่ทุกครั้งก่อนลูกดูด ไม่เป็นความจริง หากให้ทารกดื่มนมผงนั้นต้องใส่ใจเรื่องความสะอาด เพราะนมผงไม่ได้ช่วยป้องกันทารกจากการติดเชื้อ และยังปนเปื้อยและเป็นแหล่งแพร่แบคทีเรียได้ง่ายด้วย แต่ในนมแม่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อให้กับทารกอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องล้างทำความหัวนมตนเองก่อน เพราะอาจทำให้ยุ่งยากอีกด้วยแล้วยังทำให้ไขมันตามธรรมชาติที่ช่วยต่อต้านแบคทีเรียออกไปจากหัวนมด้วย –…

  • นักวิจัยอเมริกันพบว่า หากโปรตีนในรกของมารดาต่ำ อาจส่งผลต่อระบบประสาทของเด็กได้

    นักวิจัยอเมริกันพบว่า หากโปรตีนในรกของมารดาต่ำ อาจส่งผลต่อระบบประสาทของเด็กได้

    นักวิจัยอเมริกันพบว่า หากโปรตีนในรกของมารดาต่ำ อาจส่งผลต่อระบบประสาทของเด็กได้ นักวิจัยค้นพบว่า ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ มีระดับโปรตีนในรกอยู่ในระดับต่ำ หรือมีความเครียด อาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาทางระบบประสาท หรือสาเหตุของการเกิดโรคออทิสซึ่มและโรคจิตหลอนได้ ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ออฟเพนซิลเวเนีย รัฐฟิลลาเดลเฟีย เปิดเผยว่าผู้หญิงที่เครียดในขณะกำลังตั้งครรภ์จะส่งผ่านโปรตีนพิเศษชนิดหนึ่งไปสู่ทารกในครรภ์ในระดับต่ำกว่าปกติ ซึ่งมีผลให้เกิดความผิดปกติทางพัฒนาทางสมองในทารก ระดับโปรตีนชนิดนี้ในระดับต่ำที่สุดพบในสายรกของทารกเพศชาย เนื่องจากยีนที่ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป ยีนเหล่านี้จะปรับเปลี่ยนไปตามสภาวะเเวดล้อมในรกที่ตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้นกับตัวมารดา อาหารที่มารดารับประทาน รวมถึงการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของมารดาและกิจกรรมอื่นๆ สำหรับโรคจิตหลอนเป็นอาการทางระบบประสาทที่ผู้ป่วยสร้างมโนภาพขึ้นมาเอง ส่วนผู้ป่วยโรคออทิสซึ่มมีความผิดปกติในด้านการสื่อสารและการเข้าสังคม ทีมนักวิจัยให้เหตุผลว่ายีนตัวที่มีบทบาทในการเกิดโรคด้อยพัฒนาทางสมองอาจจะเกี่ยวข้องกับโครโมโซมเอ็กซ์ซึ่งเป็นโครโมโซมเพศหญิง ทีมนักวิจัยค้นพบว่าเกิดระดับโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่าโปรตีน OGT ในรกของลูกหนูตัวเมียสูงกว่าในรกของลูกหนูตัวผู้ นอกจากนี้ ระดับโปรตีนตัวนี้ยังมีระดับต่ำในรกของหนูตั้งท้องที่อยู่ในภาวะเครียดเมื่อเทียบกับหนูตั้งท้องที่ปลอดจากความเครียด หัวหน้าทีมวิจัยไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าโปรตีนโอจีทีมีผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองในมนุษย์ แต่ชี้ว่าการตรวจหาระดับของโปรตีนโอจีทีในรกทารกในครรภ์อาจจะช่วยให้ระบุได้ว่าทารกคนไหนมีความเสี่ยงสูงต่อโรคออทิสซึ่มและโรคจิตหลอนที่เป็นผลสืบเนื่องจากความเครียดของมารดาขณะตั้งครรภ์ และ โปรตีนตัวนี้จะช่วยให้แพทย์รู้ว่าทารกคนไหนที่ต้องติดตามดูพัฒนาการเป็นพิเศษ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กมีความเสี่ยงสูงต่อความบกพร่องเหล่านี้และหาทางแก้ไขปัญหาแต่เนิ่นๆ และในกรณีของโรคออทิสซึ่ม นักวิจัยเเนะนำว่าการแก้ไขปัญหาแต่เนิ่นๆจะเป็นประโยชน์ในการช่วยปรับปรุงความสามารถในการสื่อสารของเด็ก

  • แพทย์ชี้ โฟลิคเอซิดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มได้

    แพทย์ชี้ โฟลิคเอซิดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มได้

    แพทย์ชี้ โฟลิคเอซิดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มได้ แพทย์ชี้ ว่าโฟลิคเอซิดช่วยป้องกันความพิการทางสมองของทารกในครรภ์รวมทั้งออติสซึ่มได้หากผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์รับประทานวิตามินชนิดนี้เสริมตั้งแต่ก่อนตั้งท้องจนถึงช่วงสองเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ด็อกเตอร์พอล สุเรน แห่งสถาบันสุขภาพประเทศนอร์เวย์ แนะนำว่า ผักใบเขียว ผลไม้และถั่วชนิดต่างๆมีสารโฟลิคเอซิดซึ่งเป็นวิตามินบีอยู่แล้วตามธรรมชาติ มีคุณสมบัติช่วยให้ร่างกายสร้างเซลล์ใหม่ๆที่เเข็งแรง การรับประทานวิตามินต่างๆก่อนตั้งภรรค์ รวมทั้งกรดที่โฟลิคเอซิด จะช่วยให้ทารกในครรภ์สร้างหลอดประสาทได้อย่างสมบูรณ์ หลอดประสาทของตัวอ่อนทารกในครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นของสมองมนุษย์และจะปิดในช่วงต้นๆของพัฒนาการของตัวอ่อนและหากหลอดประสาทปิดไม่สนิทจะทำให้เกิดความบกพร่องใน หลอดประสาทที่ก่อให้เกิดความผิดปกติในกระดูกสันหลังที่เรียกว่า Spina bifida ทีมวิจัยทำการค้นคว้าข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในช่วงต้นของผู้หญิงสองกลุ่ม โดยแม่กลุ่มแรกรับประทานโฟลิคเอซิดตั้งเเต่เริ่มตั้งครรภ์ แต่อีกกลุ่มหนึ่งเริ่มกินโฟลิคเอซิดในช่วงหลังตั้งครรภ์สามเดือนแรก ผลปรากฏว่าหญิงที่รับประทานโฟลิคเอซิดเสริมตั้งแต่ช่วงต้นของการตั้งท้อง ทารกในครรภ์จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มลดลงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับหญิงที่เริ่มรับประทานโฟลิคเอซิดล่าช้าคือเริ่มในระยะหลังสามเดือนเเรกของตั้งครรภ์ ความเสี่ยงที่ทารกจะเป็นโรคออติสซึ่มจะไม่ลดลงเลย การเริ่มต้นรับประทานโฟลิคเอซิดเสริมกับระยะของการตั้งครรภ์มีความเกี่ยวพันกันมากหากต้องการลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคออติสซึ่ม ผู้หญิงควรเริ่มกินโฟลิคเอซิดเสริมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งหลังตั้งครรภ์ได้สองเดือน ผลการสำรวจโดย The March of Dimes หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กภาคเอกชนในสหรัฐ เปิดเผยว่า ผู้หญิงชาวสหรัฐน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์รู้ว่าโฟลิคเอซิดช่วยลดความพิการของทารกตั้งแต่ในครรภ์