Tag: ทวีปแอฟริกา

  • ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา พุ่งเป็น 86 รายแล้ว

    ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา พุ่งเป็น 86 รายแล้ว

    ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา พุ่งเป็น 86 รายแล้ว ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา ในประเทศชายฝั่งทวีปแอฟริกาตะวันตกยังพุ่งไม่หยุด เพิ่มเป็น 86 รายแล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสไข้เลือดออกอีโบลา ในทวีปแอฟริกาทางตะวันตกเมื่อ 5 เม.ย.ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตได้เพิ่มขึ้นเป็น 86 รายแล้ว จากจำนวนผู้ป่วยที่ต้องสงสัยติดเชื้ออีโบลาทั้งหมด 137 ราย ที่น่าวิตกคือ การระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก นับตั้งแต่พบการระบาดในภูมิภาคนี้ครั้งแรกที่เมืองกูเกดัว ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศกินี ใกล้ชายแดนติดกับประเทศเซียร์รา ลีโอน และไลบีเรีย ตามรายงานของ WHO ระบุด้วยว่า มีผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลา ในกรุงโกนากรี เมืองหลวงของสาธารณรัฐกินี เสียชีวิตเพิ่มอีก 5 ราย ด้วยเหตุนี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทางการกินีต้องรีบแจ้งเตือนประชาชนในเมืองหลวงและเมืองต่างๆ ถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสอีโบลาในเวลานี้ ทั้งนี้ ที่ประเทศไลบีเรีย มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสอีโบลา ซึ่งจัดเป็นหน่ึ่งในไวรัสที่อันตรายที่สุดในยุคนี้แล้ว 7 ราย จากจำนวนผู้ป่วยที่ต้องสงสัยติดเชื้อ 14 ราย ขณะที่ประเทศเซียร์รา ลีโอน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 ราย

  • นักวิจัยจากสถาบันสุขภาพและโรคร้อน พบว่า ทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งกำเนิดของวัณโรค

    นักวิจัยจากสถาบันสุขภาพและโรคร้อน พบว่า ทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งกำเนิดของวัณโรค

    นักวิจัยจากสถาบันสุขภาพและโรคร้อน พบว่า ทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งกำเนิดของวัณโรค การศึกษาชิ้นล่าสุดเปิดเผยว่ามนุษย์กับเชื้อวัณโรคกำเนิดและวิวัฒนาการมาพร้อมๆกันในทวีปแอฟริกา ทีมนักวิจัยที่สถาบันสุขภาพและโรคเขตร้อนแห่งสวิสเซอร์เเลนด์ (Swiss Tropical and Public Health Institute) นำโดยศาสตราจารย์เซบ้าสเตียน แก็กโน ค้นพบว่าเชื้อวัณโรคกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริกาอย่างน้อยเมื่อ 70,000 ปีที่แล้ว ศาสตราจารย์แก็กโนอธิบายว่าทำไมทีมวิจัยต้องการศึกษาประวัติของเชื้อวัณโรค วิวัฒนาการของมนุษย์กับวิวัฒนาการของเชื้อวัณโรคตั้งแต่ในอดีต ไม่แค่เกิดขึ้นพร้อมๆกันแต่น่าจะพูดได้ว่าเกิดขึ้นพร้อมๆกันภายในร่างกายของมนุษย์เพราะเชื้อเเบคทีเรียอาศัยทั้งบนร่างกายคนและภายในร่างกายคน แบคทีเรียช่วยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ ทีมนักวิจัยกำลังพยายามศึกษาว่าเชื้อวัณโรคมีอันตรายต่อมนุษย์มาตั้งแต่ในอดีตหรือไม่ ระยะเวลาที่เชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกายคนโดยไม่ทำให้เกิดอาการป่วยนี้อาจจะยาวนานหลายสิบปีและคนส่วนใหญ่ที่มีเชื้อวัณโรคในร่างกายอยู่ในขณะนี้อาจจะไม่ป่วยด้วยโรคนี้ในอนาคต  น่าสนใจว่าทำไมกลุ่มคนห้าถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อวัณโรคจึงเเสดง อาการป่วย ผู้เชี่ยวชาญรู้ดีว่ามีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นเกี่ยวข้องด้วย อาทิ ผู้ติดเชื้อป่วยด้วยโรคเอดส์หรืออาจมีภาวะขาดอาหารร่วมด้วย นอกจากนี้โรคเบาหวานก็เป็นปัจจัยหนึ่งด้วยที่เพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ที่มีเชื้อวัณโรคในร่างกายเเสดงอาการป่วย ทำให้นักวิจัยเกิดความสงสัยว่าการติดเชื้อวัณโรคแบบไม่ก่อให้เกิดโรคอาจจะมีคุณต่อร่างกายคนเราเพราะอาจจะช่วยปกป้องร่างกายจากโรคติดต่อชนิดอื่นๆได้ ศาสตราจารย์แก็กโนชี้ว่าแม้ข้อสงสัยนี้ยังพิสูจน์ไม่ได้ นักวิจัยไม่สามารถเพิกเฉยต่อข้อสงสัยนี้ เชื้อวัณโรคหายไปจากทวีปแอฟริกาเมื่อมนุษย์เริ่มย้ายไปจากทวีปนี้ เมื่อราว 65,000 ถึง 70,000 ปีที่แล้ว แต่เมื่อราวหนึ่งหมื่นปีที่แล้ว เกิดการเปลี่ยนแปลงทางลักษณะประชากรในมนุษย์ยุคหินใหม่ เป็นช่วงที่มนุษย์เริ่มทำการเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ และนี่เป็นช่วงที่โรคติดต่อแพร่จากสัตว์เลี้ยงสู่คนเป็นครั้งแรก ศาสตราจารย์แก็กโน กล่าวว่านั่นทำให้เกิดความเชื่อกันอยู่นานหลายปีว่าเชื้อวัํณโรคเเพร่จากสัตว์สู่คน อย่างไรก็ตามผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าเชื้อวัณโรคเกิดขึ้นมานานก่อนหน้าที่มนุษย์จะเริ่มเลี้ยงสัตว์เสียอีก และเชื้อวัณโรคได้ปรับตัวเพื่อให้สามารถอาศัยอยู่ในร่างกายคนได้เนื่องจากไม่สามารถอยู่รอดได้ด้วยตนเองในสิ่งเเวดล้อมทั่วไป ทีมนักวิจัยหวังว่าการศึกษาเข้าใจถึงประวัติที่มาของเชื้อวัณโรคจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิธีบำบัดวัณโรควิธีใหม่ๆ และวัคซีนชนิดใหม่ๆออกมาป้องกันโรคนี้ ในปัจจุบัน พบว่ามีผู้ป่วยจากเชื้อวัณโรคแบบดื้อยาเพิ่มมากขึ้น นักวิจัยหวังว่าความรู้ที่ได้จากการศึกษานี้จะช่วยคาดเดาถึงลักษณะการแพร่ระบาดของวัณโรคในอนาคตได้  

  • AVAC สรุปความคืบหน้าเรื่อง โรคเอดส์ ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา

    AVAC สรุปความคืบหน้าเรื่อง โรคเอดส์ ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา

    AVAC สรุปความคืบหน้าเรื่อง โรคเอดส์ ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา รายงานฉบับนี้ชื่อว่า Research and Reality ที่ถูกนำเสนอที่งานประชุมนานาชาติว่าด้วยเรื่อง AIDS และโรคที่แพร่จากการมีเพศสัมพันธ์ในทวีปแอฟริกา AVAC ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรซึ่งมีภารกิจรณรงค์ต่อสู้การแพร่ของเชื้อ HIV เปิดเผยรายงานล่าสุดที่สรุปความคืบหน้าของการวิจัยเรื่อง AIDS ในรอบ 30 กว่าปีที่ผ่านมา รายงานฉบับนี้ชื่อว่า Research and Reality ที่ถูกนำเสนอที่งานประชุมนานาชาติว่าด้วยเรื่อง AIDS และโรคที่แพร่จากการมีเพศสัมพันธ์ในทวีปแอฟริกา ซึ่งมีแอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ Mitchel Warren ผู้อำนวยการบริหารของ AVAC กล่าวว่า หน่วยงานของสหประชาชาติตั้งเป้าหมายว่า ภายในอีก 2 ปีจากนี้ ควรจะมีประชากรโลก 15 ล้านคนที่ได้รับการบำบัดโรค AIDS ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่ต้องอาศัยการเตรียมตัวหลายเรื่อง ทั้งนี้ แม้ว่าปัจจุบันจะมีการคิดค้นวิธีลดการแพร่ของเชื้อ HIV เช่น เจลฆ่าเชื้อและยาต้านไวรัส แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้ถูกใช้อย่างสม่ำเสมอและกว้างขวางเท่าที่ควร Mitchel Warren แนะนำว่านอกจากการเพิ่มช่องทางการแก้ปัญหาแล้ว ควรมีการณรงค์ในระดับท้องถิ่นด้วย