Tag: ถุงลมโป่งพอง
-
จุดเริ่มต้นของโรคถุงลมโป่งพอง
จุดเริ่มต้นของโรคถุงลมโป่งพอง สาเหตุหนึ่งที่สำคัญมากของโรคถุงลมโป่งพองก็คือ บุหรี่นั่นเอง มักเกิดโรคนี้ในผู้ที่สูบบุหรี่จัดนานกว่า 10-20 ปี ขึ้นไป พิษจากบุหรี่จะทำลายเยื่อบุหลอดลมและถุงลมในปอดทีละน้อยไปเรื่อย ๆ ในที่สุดถุงลมปอดจะพิการ คือไม่สามารถทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนอากาศ หอบเหนื่อยง่าย และมักติดเชื้อที่ปอดซ้ำซาก นอกจากบุหรี่แล้ว การได้รับมลพิษในอากาศ จากควันหุงต้ม การก่อไฟในสถานที่ปิดทึบก็ทำให้เป็นโรคถุงลมโป่งพองได้เช่นกัน อาการของผู้ที่สูบบุหรี่จัดมาหลายปีนั้นจะมีอาการของหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ตื่นนอนตอนเช้าจะไอมีเสมหะหรือขากเสมหะในลำคอตั้งแต่ตื่นนอน ไอมีเสมหะเรื้อรังเป็นเดือนเป็นปี ส่วนมากมักจะนึกว่าเป็นเรื่องปกติจึงไม่ใส่ใจดูแล จนเริ่มไอถี่ขึ้นตลอดวันและมีเสมหะจำนวนมาก ในช่วงแรกเสมหะจะมีสีขาว และกลายเป็นสีเขียวเหรือเหลือง มีไข้หรือหอบเหนื่อยจากการติดเชื้อ หากยังไม่หยุดสูบบุหรี่อาการจะยิ่งหนักไปเรื่อย ๆ เหนื่อยง่าย หอบแม้แต่เวลาเดิน หรือพูด หรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในระยะหลังหากอาการกำเริบหนักอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนจนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ในระยะที่รุนแรงนั้น ผู้ป่วยจะเบื่ออาหารผ่ายผอม น้ำหนักลด หอบเหนื่อยและทุกข์ทรมานอยู่ตลอดเวลา โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต ต้องพบแพทย์และใช้ยารักษาอย่างต่อเนื่อง หากในระยะแรกเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาดก็จะทำให้โรคไม่ลุกลามมากนัก แต่หากไม่หยุดสูบก็อาจลุกลามรุนแรง และมักเสียชีวิตด้วยภาวการณ์หายใจล้มเหลว ปอกอักเสบหรือปอดทะลุ โดยมากจะเสียชีวิตกว่าร้อยละ 50 ภายใน 10 ปี หลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคถุงลมโป่งพอง หากตรวจพบว่าเป็นโรคนี้แล้ว ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ 1. พบแพทย์เพื่อรับยาและทานยาให้สม่ำเสมอ…
-
หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ
หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ อาการโรคทางเดินหายใจมีหลายโรคค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ฯลฯ เราสามารถหลีกเลี่ยงโรคเหล่านี้ได้ด้วยการดูแลตนเองดังต่อไปนี้ 1. รักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอ ไม่ควรเล่นน้ำหรือแช่น้ำนาน ๆ สวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสนิท ไม่เปียกชื้อ หากเข้าหน้าหนาวควรสวมเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น 2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัด หรือผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าปิดปากหากต้องคลุกคลีหรือเข้าใจผู้เป็นโรคชนิดนี้อยู่ และไม่ควรใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน 3. ในช่วงที่มีโรคทางเดินหายใจระบาด ควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์เช็ดมือ 4. ในเด็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวและผู้ที่อายุมากว่า 65 ปี รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ เป็นโรคหัวใจ โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง เอดส์ โรคอ้วน ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไว้ด้วย ในส่วนของการรักษาตัวเบื้องต้นหากติดเชื้อโรคทางเดินหายใจเช่นไข้หวัดมาแล้ว ก็คือควรอยู่ห่างจากการอยู่ในที่ชุมชน อย่าคลุกคลีกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการแพร่เชื้อ แยกเตียงนอนกับลูกหรือสามีภรรรยา ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก หรือหน้ากากอนามัย ไม่ควรไอจามใส่ผู้อื่น ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ควรอาบน้ำอุ่น ๆ หรือเช็ดตัวแทน แล้วดื่มน้ำมาก ๆ กินแต่อาหารที่ย่อยง่าย ดื่มน้ำ…
-
พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง
พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง บุหรี่เป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคจากปอดที่เรียกว่า “โรคถุงลมปอดโป่งพอง” ได้ง่าย พบมากในผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 45-65 ปีขึ้นไป มักสูบบุหรี่กันมานานกว่า 10 ปี จนในที่สุดปอดก็พิการ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยหอบง่าย ติดเชื้อที่ปอดซ้ำซาก นอกจากบุหรี่แล้ว ก็ยังมีสาเหตุอื่นด้วยได้แก่ มลพิษในอากาศ ควันไฟหุงต้มอาหารที่ก่อไฟในที่ขาดอาการถ่ายเท เป็นต้น อาการของโรคถุงลมปอดโป่งพอง ก็คือ ระยะแรกจะมีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไอหนัก ไอมีเสมหะเป็นแรมเดือนแรมปี ไอหรือขาดเสมหะในคอหลังจากตื่นนอนตอนเช้า และไอถี่ขึ้นเป็นตลอดทั้งวัน เสมหะช่วงแรงจะมีสีขาวและกลายเป็นเหลืองหรือเขียว มีไข้หรือหอบเหนื่อยเป็นครั้งคราว หากผู้ป่วยยังไม่เลิกสูบบุหรี่ ก็จะยิ่งมีอาการเหนื่อยง่ายมากขึ้น แม้เวลาเดิน พูด หรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ และหากเป็นเช่นนี้ต่อไป จะรุนแรงขึ้นจนแม้อยู่เฉย ๆ ก็เหนื่อยหอบ เพราะถุงลมปอดพิการอย่างรุนแรง ไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้แล้ว ในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร จนน้ำหนักลด หอบตลอดเวลา และทุกข์ทรมานมาก การรักษาโรคถุงลมปอดโป่งพองนั้น แพทย์จะรักษาตามความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปจะให้ยาขยายหลอดลมเพื่อสูดพ่น ต่อมาก็อาจจ่ายเป็นยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นด้วย หากมีการติดเชื้อก็จะให้ยาปฏิชีวนะ สำหรับรายที่หอบรุนแรง ปอดอักเสบแพทย์ก็จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเพราะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ต้องให้ออกซิเจน โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง…
-
การดูแลตนเองในที่ที่มีควันไฟ
การดูแลตนเองในที่ที่มีควันไฟ แม้ในเมืองจะไม่ค่อยเห็นการเผาขยะหรือเผาฟาง เผาหญ้าแห้งกันมากนัก แต่ตามต่างจังหวัดหรือชนบทยังมีการเผาไหม้ที่เกิดจากคนเผามากอยู่ดี การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์เหล่านี้ทำให้เกิดเขม่าควัน ฝุ่นละออง และก๊าซพิษต่าง ๆ ซึ่งสามารถเข้าสู่ปอดทำให้ปอดอักเสบ นานเข้าก็อาจทำให้เกิดโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพองหรือมะเร็งปอดได้ นอกจากการเผาขยะแล้ว การหุงข้างด้วยฟืน การก่อไฟผิง การสูบบุหรี่หรือแม้กระทั่งการจุดธูป จึงเป็นการก่อมลพิษโดยตรงที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนในครอบครัวและชุมชนใกล้เคียงอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ทำให้ผู้ที่เข้าปะทะกับควันเหล่านี้มีอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล น้ำมูกไหล หากเป็นโรคทางเดินหายใจอยู่ก่อนแล้ว ก็อาจทำให้โรคกำเริบได้ กลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุดก็เห็นจะเป็นกลุ่มเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ฯลฯ มีข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพเมื่อประสบกับควันไฟอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ดังต่อไปนี้ค่ะ – ควรสวมหน้ากากอนามัยที่ทำจากผ้าฝ้ายหรือผ้าลินินหลาย ๆ ชั้น หากทำให้เปียกด้วยก็จะยิ่งช่วยกรองฝุ่นควันได้ดีขึ้น และเมื่อเริ่มอึดอัดหายใจไม่สะดวกหรือสกปรกแล้วก็ควรเปลี่ยนผืนใหม่ด้วย – ปิดประตูหน้าต่างไม่ให้ควันไฟลอยเข้าภายในบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย หากมีแอร์คอนดิชั่นหรือเครื่องกรองอากาศควรทำความสะอาดระบบกรองเป็นประจำ – ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงไว้เสมอ หากภายในครอบครัวมีกลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยควรสังเกตอาการ และหากมีสิ่งผิดปกติควรรับส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยเร็ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราทุกคนในสังคมควรร่วมมือกัน หลีกเลี่ยงการก่อควันไฟซึ่งทำให้เป็นอันตรายและก่อมลพิษ หากทำได้ทุกคนก็จะทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้นไปด้วยค่ะ
-
โรคถุงลมโป่งพอง เป็นได้ก็สุขได้
โรคถุงลมโป่งพอง เป็นได้ก็สุขได้ แม้ว่าโรคถุงลมโป่งพอง หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้น จะเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีอาการทุเลาลง หรือกำเริบน้อยลงไม่ได้ เพราะจุดเริ่มต้นของโรคนี้เกิดจากการสูบบุหรี่มานาน จึงระคายเคืองเยื่อบุผิวของหลอดลมจนอักเสบ หากเป็นแล้วเราก็ต้องจัดการดูแลสุขภาพของเราให้ดี ด้วยการปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้ 1. หยุดสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เพราะนี่คือต้นเหตุของโรค รวมทั้งหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีควันหรือไอสารเคมีที่สร้างความระคายเคืองต่อปอดและหลอดลม เพราะผู้ป่วยโรคนี้จะมีความไวต่อสารกระตุ้นเหล่านี้มาก ทำให้หลอดลมตีบเฉียบพลันได้ 2. อาหารประเภทแป้งให้พลังงานน้อยกว่าไขมัน แต่จะได้คาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาผลาญมากกว่า ทำให้ระบบการหายใจต้องทำงานหนักขึ้น ควรทานไขมันที่ดีมีคอเลสเตอรอลต่ำ มีไขมันอิ่มตัวต่ำได้แก่ ปลาที่มีกรดไขมันโอเม้าสาม ช่วยต้านการอักเสบ น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก และโปรตีนคุณภาพสูงอย่างเนื้อปลา ไข่ขาว เนื้อไก่ เป็ด หมูไม่ติดหนังหรือมัน อีกทั้งควรทานผักหลากสีเพื่อให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่ครบถ้วน แถมยังได้สารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันเซลล์ของร่างกายอีกด้วย 3. ดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียง เพราะน้ำจะทำให้เสมหะเหลวขึ้น ควรดื่มอย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน เลี่ยงเครื่องดื่มหวาน ๆ ผสมน้ำตาล ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุดแล้วยังทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นด้วย 4. ออกกำลังกายยืดเส้นยืดสายกล้ามเนื้อทุกส่วน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ช่วยหายใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อของคอ ไหล่ รอบสะบัก หน้าอก แล้วต่อด้วยกายบริหารกล้ามเนื้อคอ ไหล่…
-
ใช้ชีวิตอย่างไร…ห่างไกลมะเร็งร้าย
ใช้ชีวิตอย่างไร…ห่างไกลมะเร็งร้าย คุณทราบหรือไม่คะว่า หากเราบริหารจัดการวิถีการใช้ชีวิตให้ดีแล้ว จะสามารถป้องกันการเป็นโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ 30-40 เชียวนะคะ แล้วยังสามารถป้องกันโรคอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ อาการไขมันในเส้นเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ตลอดจนโรคกระดูกพรุนได้ด้วย วันนี้มาดูคำแนะนำในการใช้ชีวิตเพื่อให้ห่างไกลจากมะเร็งกันนะคะ 1. คุณควรเลิกบุหรี่ เพราะคุณทราบหรือไม่คะว่าหากคุณสูบบุหรี่มากกว่า 1 ซอง หรือ 20 มวนต่อวันเป็นเวลา 10 ปีนั้น คุณจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า! เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และหากคุณสูบอยู่แล้วเกิดอยากเลิกขึ้นมาก็สามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ 60 การสูบบุหรี่ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดอย่างเดียว แต่ยังเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ หรือโรคถุงลมโป่งพองได้อีกด้วย 2. คุณควรเลิกดื่มสุรา หรือหากจำเป็นต้องดื่มเพื่อเข้าสังคมก็จำกัดไว้แค่วันละไม่เกิน 1 แก้ว ผู้ที่ดื่มสุรามากกว่า 3 แก้วต่อวันจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นถึงเกือบสิบเท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม แต่ถ้าคุณยังไม่เลิกดื่มแล้วยังสูบบุหรี่มากกว่าวันละ 1 ซองอีก ก็จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งมากขึ้นเป็น 50 เท่าเลยทีเดียว! น่ากลัวเอามาก ๆ ค่ะ 3. คุณควรปรับพฤติกรรมการกิน ดังต่อไปนี้…