Tag: ต้อหิน

  • ต้อหิน อาจทำให้คุณตาบอดได้แบบไม่รู้ตัว

    ต้อหิน อาจทำให้คุณตาบอดได้แบบไม่รู้ตัว

    ต้อหิน อาจทำให้คุณตาบอดได้แบบไม่รู้ตัว โรคต้อหิน เป็นโรคอันตรายที่ทำให้คนไทยตาบอดมากเป็นอันดับต้น ๆ เพราะเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการให้รู้ตัว จึงมักไม่ได้รับการรักษา ปัจจุบันมีคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสมาก และพบว่าผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่าตัว อาการของโรคต้อหินนี้ หมายถึงการเสียสมดุลระหว่างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา คือเมื่อมีการระบายออกไปน้อยกว่าการสร้างขึ้น จะเกิดการคั่งของน้ำในลูกตา ทำให้เกิดแรงดันในลูกตาสูงขึ้น บางครั้งสูงมากจนลูกตาแข็งเหมือนหิน ความดันในลูกตานี้จะมากจนไปกดเซลล์ประสาทจนตาเสื่อม ทำให้ลานสายตาแคบลง ตามัว และบอดได้ในที่สุด กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ ก็มักเป็นคนที่มีกรรมพันธุ์ในครอบครัวอยู่แล้ว, ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี, คนที่เคยกินหรือฉีด หรือทาสตีรอยด์มาก่อน, เคยผ่าตัดโรคทางตาหรือมีอุบัติเหตุทางตามาก่อน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน คอพอกเป็นพิษ คนที่สายตาสั้นหรือยาวมาก ทำให้การระบายน้ำในลูกตาออกยาก ฯลฯ อาการของต้อหิน หากเป็นแบบเฉียบพลันผู้ป่วยจะปวดหัว ปวดตารุนแรงมาก มองเห็นไฟเป้นวงแบบรุ้งกินน้ำ ผู้ป่วยจะไปรับการรักษาได้ทัน แต่ส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวเพราะความดันเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ดังนั้นจึงทุกคนที่อายุเกิน 35 ปีขึ้นไปจึงควรไปตรวจคัดกรองเป็นประจำ เพื่อเฝ้าระวังโรคต้อหิน เพราะหากมีการสูญเสียการมองเห็นแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาให้กลับมามองเห็นได้ชัดเจนอีก การตรวจสายตาแบบง่าย ๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ก็เพียงนำเอามือปิดตาไว้ทีละข้าง แล้วอ่านหนังสือหรือมองสิ่งของ เปรียบเทียบดูทั้งสองข้างว่าชัดเจนหรือเห็นได้กว้างเท่ากันหรือไม่ หากมีความผิดปกติควรไปขอรับการตรวจจากจักษุแพทย์เพิ่มเติม…

  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มักเป็นตลอดชีวิต หากปล่อยปละละเลยหรือขาดการดูแล ก็อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงจนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมไปถึงอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่จะค่อย ๆ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลงจนเกิดโรคแทรกซ้อนได้ทุกระบบ ซึ่งได้แก่ – หลอดเลือดแดงทั้งเล็กและใหญ่ทั่วร่างกายแข็งและตีบ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสื่อมได้ เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตามัว ตาบอด ไตวายเรื้อรัง ประสาทเสื้อ ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้า ท้องเดินหรือท้องผูก – โรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง – หน้าซีดเป็นลมเวลาลุกขึ้นยืน – องคชาตไม่แข็งตัว – หลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้หัวใจวายเสียชีวิตได้ – อัมพาต – ความจำเสื่อม – ติดเชื้อได้ง่าย เพราะเบาหวานทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง และอาจติดเชื้อซ้ำซาก เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ โรคเชื้อราที่ผิวหนัง ฝี พุพอง – การติดเชื้อรุนแรง เช่น กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบ วัณโรค –…

  • ระวังดวงตามีปัญหาจากยาสตีรอยด์ได้

    ระวังดวงตามีปัญหาจากยาสตีรอยด์ได้

    ระวังดวงตามีปัญหาจากยาสตีรอยด์ได้ ยาในกลุ่มสตีรอยด์หรือคอร์ติโคสตีรอยด์ เป็นยาที่สังเคราะห์จากฮอร์โมนชนิดหนึ่ง มีหลายประเภท ซึ่งในทางจักษุวิทยา นิยมใช้ยากลุ่มนี้ในการรักษาการอักเสบในช่องหน้าลูกตาหรือเยื่อบุตา หรือกระจกตาอักเสบบางประเภทได้ รวมทั้งการอักเสบหลังการผ่าตัด ฯลฯ ซึ่งข้อดีของยานี้ก็คือลดการอักเสบได้หลายโรค โดยเฉพาะการอักเสบหรือภูมิแพ้ชนิดที่เป็นรุนแรง แต่หากใช้อย่างต่อเนื่องก็อาจทำให้มีผลข้างเคียงได้หลายประการ 1. ต้อหิน หากหยอดยากลุ่มสตีรอยด์เกินกว่าสองอาทิตย์ขึ้นไปอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการระบายน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา ทำให้ความดันตาสูงขึ้นและทำลายขั้วประสาทตาจนเกิดต้อหินได้ ซึ่งในระยะแรกจะไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมาแต่จะค่อย ๆ แสดงอาการมากขึ้น จนสูญเสียลานสายตา ตาพร่ามัวจนสุดท้ายก็ตาบอด การรักษานั้นก็ควรรีบหยุดยาสตีรอยด์ที่ใช้อยู่ จะทำให้ความดันตาลดลง แต่หากเป็นต้อหินระยะรุนแรงแล้วแม้จะหยุดยาความดันตาก็อาจไม่ลดลง อาจต้องให้ยาลดความดันลูกตา เพื่อชะลอการสูญเสียสายตา และต้องติดตามรักษาอย่างต่อเนื่องด้วย 2. ต้อกระจก เกิดจากยาหยอดและยากิน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิซึมของเลนส์ตา เลนส์ตาจึงขุ่นและเป็นต้อกระจกได้ ผู้ป่วยจะตามัวโดยค่อย ๆ มัวลงคล้ายหมอกบัง การหยุดยาหลังจากเป็นไปแล้วจะไม่สามารถทำให้ดวงตากลับมาใสเหมือนเดิมได้อีก 3. ตาติดเชื้อ เกิดจากยาลดการอักเสบ ซึ่งยานี้ก็มีฤทธิ์ในการลดภูมิต้านของร่างกายได้ด้วย ทำให้เกิดการติดเชื้อบางอย่างได้ 4. เปลืองตาบางตัวลง มักเกิดจากยาหยอดหรือยาป้ายตา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อและเซลล์เม็ดสีของผิวหนังเปลือกตา ทำให้ผิวหนังบริเวณนี้สีดูจางและบางตัวลง 5. ผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ รูม่านตาขยายขึ้น หนังตาตก มักพบในรูปยาหยอดตา…

  • เพื่อความปลอดภัยควรตรวจต้อหินอย่างสม่ำเสมอ

    เพื่อความปลอดภัยควรตรวจต้อหินอย่างสม่ำเสมอ

    เพื่อความปลอดภัยควรตรวจต้อหินอย่างสม่ำเสมอ ต้อหิน หรือ Glaucoma นั้นเป็นโรคตาที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคชนิดนี้ในระยะแรก มักจะทราบตอนตาใกล้บอดแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาอาจตาบอดในที่สุด แต่จะรวดเร็วขนาดไหนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในแต่ละคน โรคต้อหิน นั้นแบ่งออกได้เป็นสี่แบบได้แก่ – ต้อหินชนิดมุมปิด พบได้ราวร้อยละ 10 เกิดความผิดปกติของโครงสร้างลูกตาทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา หากเกิดเฉียบพลันจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตา ตาดง ตามอง หรือมองไปที่ดวงไฟจะเห็นเป็นวงกลมจ้ารอบดวงไฟ อาจรุนแรงจนทำให้คลื่นไส้อาเจียน หากไม่รักษาตาจะบอดอย่างรวดเร็วในเวลาเพียงข้ามวัน ส่วนแบบเรื้อรังนั้นผู้ป่วยมักจะไม่ทราบและไม่มีอาการ มักปวดเล็กน้อยเป็นครั้วคราว เป็น ๆ หายๆ อยู่หลายปี รักษาโรคปวดหัวอยู่หลายปีจนไม่ทราบว่าเป็นต้อหิน – ต้อหิน ชนิดมุมเปิด ผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวดตาหรือตาแดง แต่ตาจะค่อย ๆ มัวลง อาจเปลี่ยนแปลงในระยะเป็นเดือนหรือเป็นปี หากไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือรักษาทันท่วงทีจะตาบอดในที่สุด – ต้อหิน ชนิดแทรกซ้อน มักเกิดจากความผิดปกติอย่างอื่นของดวงตา เช่น ตาอักเสบ ต้อกระจกที่สุกมาก อุบัติเหตุต่อดวงตา หรือเนื่องจากการใช้ยาหยอดตาบางชนิด การเปลี่ยนกระจกตา หรือการผ่าตัดต้อกระจก – ต้อหิน ในเด็กและทารก จะพบความผิดปกติตั้งแต่แรกคลอด อาจมีความผิดปกติทางร่างกายร่วมด้วย และโรคนี้มักถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาจสังเกตได้ว่าเด็กมีขนาดลูกตาที่ใหญ่กว่าปกติ…

  • อาการตาบอดสามารถรักษาได้หรือไม่?

    อาการตาบอดสามารถรักษาได้หรือไม่?

    อาการตาบอดสามารถรักษาได้หรือไม่? อาการตาบอดนั้น การที่จะบ่งบอกว่าจะรักษาได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับควรรุนแรงของอาการ ซึ่งอาการที่มักรักษาไม่หายมักจะเป็นตาเล็กหรือตาฝ่อแต่กำเนิด ต้อหินรุนแรง หรือตาบอดจากอุบัติเหตุร้ายแรง แต่ปัญหาสายตาบางชนิด เช่น โรคจอประสาทตาบอด ต้อกระจก หรือสายตาผิดปกติเหล่านี้ ก็อาจรักษาได้หายได้ การประเมินว่าตาข้างที่บอดนั้นจะรักษาให้หายได้กลับมามองเห็นได้อีกหรือไม่ มีวิธีทดสอบก็คือการฉายไฟให้สว่างเต็มที่ แล้วส่องเข้าหาตาข้างที่บอด เพื่อทดสอบผู้ป่วยว่าสามารถเห็นแสงไฟเปิดปิดได้บ้างหรือเปล่า หากยังพอมองเห็น แยกออกว่าไฟเปิดหรือไฟปิดได้ ก็แสดงว่ายังพอมีทางรักษาให้หายได้ ให้ปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อทดสอบและรับการรักษา ปัจจุบันนี้ ยังไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนหรือปลูกถ่ายดวงตาใหม่ได้ รวมทั้งจอประสาทตาด้วย ส่วนของดวงตาที่สามารถเปลี่ยนได้มีเพียงกระจกตาดำ ซึ่งต้องรอกระจกตาบริจาคมาแล้วนำมาผ่าตัดเปลี่ยนบริเวณกระจกตา ในส่วนของผู้ที่มีเลนส์ตาขุ่นมัวที่เรียกว่าต้อกระจก สามารถผ่าตัดออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมให้กลับมามองเห็นใหม่ได้อีก การดูแลรักษาดวงตาเพื่อป้องกันอาการตาบอดนั้น ควรดูแลตามวิธีดังต่อไปนี้ – หากทำงานที่เสี่ยงอันตราย ควรสวมหน้ากากหรืออุปกรณ์ป้องกัน รัดเข็มขัดนิรภัยขณะขับรถหรือนั่งรถ เพื่อป้องกันหน้ากระแทกกระจกรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุ – ตรวจสุขภาพสายตา และวัดความดันตาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปหรือมีคนในครอบครัวเป็นต้อหินมาก่อน – ควบคุมระดับน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หรือใช้ยาป้องกันการลดต่ำของภูมิคุ้มกัน CD4+ ในผู้ป่วย HIV ฯลฯ – ไม่ควรซื้อยาหยอดตามาใช้เอง เช่น ยากลุ่มสตีรอยด์ที่อาจทำให้ตาบอดจากต้อหินได้ – หากตาบอดหรือสายตาเลือนรางและจักษุแพทย์ไม่สามารถรักษาให้มองเห็นได้ ควรใช้เครื่องมือช่วยในการใช้สายตา ไม่ว่าจะเป็นกล้องส่องขยาย…

  • สุขภาพของดวงตากับยาสตีรอยด์

    สุขภาพของดวงตากับยาสตีรอยด์

    สุขภาพของดวงตากับยาสตีรอยด์ ยาสตีรอยด์ หรือชื่อเต็ม ๆ ว่า คอร์ติโคสตีรอยด์ เป็นยาที่เกิดจากการสังเคราะห์ฮอร์โมนชนิดหนึ่งในร่างกาย ออกฤทธิ์โดยมีผลต่อหลายระบบในร่างกาย นิยมนำมาใช้รักษาอาการอักเสบในโรคต่าง ๆ มีทั้งรูปแบบของยากิน ยาฉีด พ่น หยอด ป้าย ในด้านของการรักษาดวงตานั้นจะใช้ยากลุ่มสตีรอยด์นี้ในการรักษาอาการอักเสบในช่องหน้าลูกตา เยื่อบุตา หรือกระจกตาอักเสบบางแบบ รวมทั้งหลังการผ่าตัดตา ฯลฯ ซึ่งข้อดีของยานี้ก็คือสามารถลดการอักเสบได้หลายโรค โดยเฉพาะการอักเสบหรือภูมิแพ้ที่รุนแรง แต่หากใช้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อดวงตาได้ เช่น ต้อหิน, ต้อกระจก, การติดเชื้อของตา โดยเฉพาะกลุ่มไวรัสเริม, ผิวหนังเปลือกตาบางลง, หนังตาตก, รูม่านตาขยายขึ้น ฯลฯ ซึ่งในเรื่องนี้ขอนำเอาคำแนะนำของจักษุแพทย์ในการใช้ยาสตีรอยด์มาฝากคุณผู้อ่านดังนี้ค่ะ – หากมีอาการตาแดง คันเคืองตา ควรไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจก่อนว่ามีความจำเป็นต้องใช้ยาสตีรอยด์หรือไม่ ไม่ควรซื้อยาที่มีส่วนผสมของสตีรอยด์มาหยอดเอง โดยจะสามารถสังเกตได้จากฉลากที่เขียนกำกับข้างขวดยา เพราะอาจทำให้คุณได้รับผลข้างเคียงของยาโดยไม่รู้ตัว – ผู้ที่ต้องใช้ยาหยอดตากลุ่มสตีรอยด์เป็นเวลานาน ควรมาพบจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับความถี่ของการใช้ยา ขนาดของยา และระยะเวลาการใช้ยาให้เหมาะสม – หากผู้ป่วยมีอาการ ปวดตา ตามัว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ หรือหยอดตาแล้วไม่ดีขึ้น ควรรีบกลับมาพบแพทย์ก่อนนัด…

  • สาเหตุและชนิดของโรคต้อหิน

    สาเหตุและชนิดของโรคต้อหิน

    สาเหตุและชนิดของโรคต้อหิน ต้อหิน เป็นสาเหตุใหญ่ของการตาบอดของคนในโลกนี้รวมทั้งประเทศไทยด้วย มักพบได้บ่อยในผู้ทีมีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเป็นต้อหินในครอบคัว สายตาสั้นหรือสายตายาวมากผิดปกติ เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีประวัติใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน หรือเคยประสบอุบัติเหตุทางตามาก่อน กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเป็นต้อหินสูงขึ้น อาการของโรคต้อหิน จะเริ่มจากการสูญเสียการมองเห็นของลานสายตารอบนอกก่อน เมื่อโรครุนแรงขึ้น ลานสายตาจะแคบลงเรื่อย ๆ จนตาบอดในที่สุดหากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งสาเหตุของการเกิดต้อหิน แบ่งออกได้ดังนี้ 1. ต้อหินแบบมุมเปิด พบได้มากโดยเฉพาะคนที่อายุมากกว่า 40 ปี มักไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เกิดการสูญเสียการมองเห็นจากรอบนอกลานสายตาและค่อย ๆ ลามเข้ามาตรงกลางจนมืดในที่สุด 2. ต้อหินแต่กำเนิด พบได้ตั้งแต่เด็กทารกแรกเกิดจนถึงอาย 3 ขวบ เกิดจากระบบระบายน้ำในลูกตาไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ในครรภ์ 3. ต้อหินแบบมุมปิดเฉียบพลัน พบมากในคนเอเชียเกิดจากการมีการอุดตันของทางระบายน้ำทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ปวดตาและหัวคิ้วอย่างรุนแรง ตาแดง การมองเห็นลดลงอย่างรวดเร็ว คลื่นไส้อาเจียนด้วย ต้อหินกลุ่มนี้ต้องรักษาอย่างทันทีเพื่อลดอาการและป้องกันอาการตาบอด ซึ่งเกิดขึ้นได้ในช่วงข้ามวัน หากไม่ได้รับการลดความดันลูกตา 4. ต้อหินจากสาเหตุอื่น ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน อุบัติเหตุ การอุดตันของการระบายน้ำในลูกตาทำให้ความดันตาขึ้น อาจค่อยเป็นค่อยไปหรือเฉียบพลันก็ได้ การตรวจต้อหินนั้นทำได้ด้วยการตรวจสุขภาพทั่วไป วัดความดันลูกตา ตรวจลานสายตาและดูลักษณะของทางระบายน้ำในลูกตา…

  • ภาวะต้อกระจกและการรักษา

    ภาวะต้อกระจกและการรักษา

    ภาวะต้อกระจกและการรักษา ต้อกระจก นี้เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และยังเป็นสาเหตุอับดับต้น ๆ ของภาวะสายตาพิการในคนชราด้วย โดยอาการของต้อกระจกจะเป็นภาวะที่แก้วตาหรือเลนสด์ตามีลักษณะขุ่นขาว มัวลง ทึบแทบ ไม่ยอมให้แสงผ่านเข้าสู่ลูกตาไปกระทบจอตา จึงทำให้สายตาฝ้าฟางและมองไม่เห็นได้ในที่สุด สาเหตุของโรคนี้นั้นส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมสภาพตามวัย ส่วนใหญ่ผู้ที่อายุเกิด 60 ปีแล้วก็มักจะเป็นทุกราย แต่มีบางรายซึ่งเป็นส่วนใหญ่ที่เป็นมาแต่กำเนิดพบได้ในทารกที่เป็นหัดเยอรมันแต่กำเนิด หรือการได้รับบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนที่ตาอยางรุนแรง มีความผิดปกติของตา หรือเกิดจากการใช้ยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์ หรือกินสเตียรอยด์เข้าไปนาน ๆ การกินยาลดความอ้วนบางชนิด เกิดจากการถูกรังสีที่ตาเป็นเวลานาน รวมไปถึงการถูกแสงแดดหรือแสงยูวีก็ทำให้เกิดต้อกระจกได้ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะขาดอาหาร สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด ก็ทำให้เกิดต้อกระจกได้เร็วกว่าคนทั่วไป อาการของต้อกระจกนี้ ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตาค่อย ๆ มัวลง แรก ๆ จะเหมือนหมอกบัง มองที่มืดชัดกว่าที่สว่าง หรือถูกแสงสว่างตาจะพร่ามัว สู้แสงไม่ไหว เห็นภาพซ้อน ไม่เจ็บปวดหรือตาแดงแต่อย่างใด อาการตามัวจะแสดงอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ กินเวลาเป็นแรมเดือนแรมปี จนแก้วตาขุ่นขาวหมด (ต้มสุก) ก็จะมองไม่เห็น ต้อกระจกนี้คนชรามักจะมีอาการทั้งสองข้าง แต่จะสุกไม่พร้อมกัน ระยะแรกแก้วตาจะขุ่นบริเวณตรงกลาง มองในมืดรูม่านตาจะขยายเปิดทางใหแสงผ่านเข้าแก้วตาส่วนรอบนอกที่ยังใสจึงทำให้เห็นภาพได้ชัด แต่เมื่อมองในที่สว่างรูม่านตาจะหดเล็กลง แสงจะผ่อนเฉพาะแก้วตาส่วนกลางจึงทำให้ภาพพร่ามัว การรักษาโรคนี้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนแก้วตา หรือใช้วิธีสลายต้อด้วยคลื่นความถี่สูง…

  • อันตรายจากโรคต้อลม ต้อเนื้อ ชนิดต่าง ๆ และการป้องกันโรค

    อันตรายจากโรคต้อลม ต้อเนื้อ ชนิดต่าง ๆ และการป้องกันโรค

    อันตรายจากโรคต้อลม ต้อเนื้อ ชนิดต่าง ๆ และการป้องกันโรค โรคต้อที่ดวงตานั้นแบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่ ต้อกระจก ต้อหิน ต้อลม (ต้อเนื้อ) ซึ่งแต่ละโรคก็มีสาเหตุและอาการรวมไปถึงการรักษาที่แตกต่างกันไป แต่วันนี้จะนำเอาโรคต้อลม และต้อเนื้อที่มีคนเป็นกันมากในประเทศไทยมาอธิบาย และสาธยายถึงวิธีปฏิบัติตัวให้ฟังกันค่ะ ทั้งต้อลมและต้อเนื้อนี้คือความเสื่อมของเยื่อบุตาที่ได้รับความระคายเคืองเป็นประจำ ได้แก่ แสงแดด ลม ฝุ่น ความร้อน จะทำให้เยื่อบุตานูนขึ้น มักเกิดบริเวณที่หัวตาติดกับกระจกตาดำ มักเห็นเป็นเนื้อสีเหลืองเล็กน้อยถึงชมพูแดง หากเยื่อที่นูนขึ้นนี้อยู่ในบริเวณตาขาวเรียกว่า ต้อลม แต่ถ้าลามเข้าไปในส่วนของกระจกตาดำ เรียกว่า ต้อเนื้อ ต้อลมนั้นไม่ทำอันตรายต่อสายตาแต่อย่างใด อาการจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่เป็น แต่หากเป็นแล้วไม่ยอมดูแลรักษา ยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม ต้อลมก็อาจลุกลามกลายเป็นต้อเนื้อและอักเสบขึ้นได้ ซึ่งอาจมีอาการตาแดง สู้แสงไม่ได้ แสบตา เคืองตา น้ำตาลไหล เหมือนมีผงเข้าตาตลอดเวลา สายตาอาจเอียงเพิ่มขึ้น เห็นภาพซ้อนและมองไปในทิศต่าง ๆ ได้ไม่คล่องนัก และหากต้อเนื้อลุกลามเข้าไปในกระจกตาดำจะบังรูม่านตาจนทำให้ตามัวได้ หากอาการเป็นอังนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน สิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ทำให้เกิดโรคต้อลม ต้อเนื้อนั้นได้แก่ ดวงตาสัมผัสกับสิ่งระคายประจำ ทั้งความร้อน ความแห้ง ฝุ่นละออง แสงแดดมีไอร้อนและมียูวีสูง…

  • ระวัง! 6 โรคยอดฮิตมนุษย์ออฟฟิศบ้าพลัง

    ระวัง! 6 โรคยอดฮิตมนุษย์ออฟฟิศบ้าพลัง

    ระวัง! 6 โรคยอดฮิตมนุษย์ออฟฟิศบ้าพลัง สำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศที่ทำงานกันหามรุ่งหามค่ำ แม้ตอนนี้จะยังมีร่างกายแข็งแรงอยู่ แต่ก็ใช่ว่าการทำงานใช้ร่างกายอย่างหนักหน่วงนั้นจะไม่สร้างปัญหาให้กับร่างกายนะคะ เพราะจากการวิจัยและสำรวจมาหลายสิบปีในวงการแพทย์ พบว่าเหล่ามนุษย์ออฟฟิศทั้งหลายนั้นมีอัตราความเจ็บป่วยจากการทำงานในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีอย่างน่ากลัว นั่นเป็นเพราะชาวออฟฟิศทั้งหลายมักปล่อยให้ปีศาจร้ายทำลายสุขภาพอย่าง โรคเครียด, การทำงานนานเกินไป, พฤติกรรมกินอาหารไม่ตรงเวลา และไม่ยอมออกกำลังกาย เหล่านี้มาเป็นตัวการร้ายทำลายสุขภาพ ซึ่งโรคร้ายที่ทำลายสุขภาพชาวออฟฟิศมากที่สุด 6 โรค ก็คือ 1. ต้อหิน และตาพร่า ทำให้มองภาพได้ไม่ชัด ตาสู้แสงไม่ได้ และอาจลุกลามทำให้ตาบอดไ 2. ไมเกรน ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ คลื่นไส้อ่อนเพลีย และเสียสมรรถภาพในการทำงาน 3. อาการนิ้วล็อค ทำให้นิ้วกระดิกไม่ได้ ตึง และรู้สึกเจ็บ กล้ามเนื้ออักเสบ 4. ปวดหลังเรื้อรัง รวมไปถึงอาการปวดไหล่ ต้นคอ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เป็นอัมพาตได้ 5. โรคอ้วน มีความเสี่ยงทำให้เป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ตลอดจนความดันโลหิตสูง 6. โรคกรดไหลย้อน เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งหลอดอาหาร สำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศทั้งหลายที่เริ่มมีอาการนี้แล้ว หรือยังไม่มีก็ควรหันมาดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยเคล็ดลับดังต่อไปนี้ – อย่าเพ่งจ้องจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป ควรพักผ่อนสายตาบ้าง…