Tag: ตาติดเชื้อ

  • ระวังดวงตามีปัญหาจากยาสตีรอยด์ได้

    ระวังดวงตามีปัญหาจากยาสตีรอยด์ได้

    ระวังดวงตามีปัญหาจากยาสตีรอยด์ได้ ยาในกลุ่มสตีรอยด์หรือคอร์ติโคสตีรอยด์ เป็นยาที่สังเคราะห์จากฮอร์โมนชนิดหนึ่ง มีหลายประเภท ซึ่งในทางจักษุวิทยา นิยมใช้ยากลุ่มนี้ในการรักษาการอักเสบในช่องหน้าลูกตาหรือเยื่อบุตา หรือกระจกตาอักเสบบางประเภทได้ รวมทั้งการอักเสบหลังการผ่าตัด ฯลฯ ซึ่งข้อดีของยานี้ก็คือลดการอักเสบได้หลายโรค โดยเฉพาะการอักเสบหรือภูมิแพ้ชนิดที่เป็นรุนแรง แต่หากใช้อย่างต่อเนื่องก็อาจทำให้มีผลข้างเคียงได้หลายประการ 1. ต้อหิน หากหยอดยากลุ่มสตีรอยด์เกินกว่าสองอาทิตย์ขึ้นไปอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการระบายน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา ทำให้ความดันตาสูงขึ้นและทำลายขั้วประสาทตาจนเกิดต้อหินได้ ซึ่งในระยะแรกจะไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมาแต่จะค่อย ๆ แสดงอาการมากขึ้น จนสูญเสียลานสายตา ตาพร่ามัวจนสุดท้ายก็ตาบอด การรักษานั้นก็ควรรีบหยุดยาสตีรอยด์ที่ใช้อยู่ จะทำให้ความดันตาลดลง แต่หากเป็นต้อหินระยะรุนแรงแล้วแม้จะหยุดยาความดันตาก็อาจไม่ลดลง อาจต้องให้ยาลดความดันลูกตา เพื่อชะลอการสูญเสียสายตา และต้องติดตามรักษาอย่างต่อเนื่องด้วย 2. ต้อกระจก เกิดจากยาหยอดและยากิน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิซึมของเลนส์ตา เลนส์ตาจึงขุ่นและเป็นต้อกระจกได้ ผู้ป่วยจะตามัวโดยค่อย ๆ มัวลงคล้ายหมอกบัง การหยุดยาหลังจากเป็นไปแล้วจะไม่สามารถทำให้ดวงตากลับมาใสเหมือนเดิมได้อีก 3. ตาติดเชื้อ เกิดจากยาลดการอักเสบ ซึ่งยานี้ก็มีฤทธิ์ในการลดภูมิต้านของร่างกายได้ด้วย ทำให้เกิดการติดเชื้อบางอย่างได้ 4. เปลืองตาบางตัวลง มักเกิดจากยาหยอดหรือยาป้ายตา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อและเซลล์เม็ดสีของผิวหนังเปลือกตา ทำให้ผิวหนังบริเวณนี้สีดูจางและบางตัวลง 5. ผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ รูม่านตาขยายขึ้น หนังตาตก มักพบในรูปยาหยอดตา…

  • ป้องกันโรคตาในหน้าฝนและระยะที่น้ำท่วม

    ป้องกันโรคตาในหน้าฝนและระยะที่น้ำท่วม

    ป้องกันโรคตาในหน้าฝนและระยะที่น้ำท่วม ในระยะหน้าฝนและระยะที่มีน้ำท่วมนี้ อาจมีเชื้อโรคที่ทำให้ดวงตาติดเชื้อได้ จึงเป็นระยะที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะเชื้อโรคเหล่านี้จะปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำที่ท่วมเอ่อขึ้นมา หากไม่อยากติดเชื้อควรทำตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้ 1. สังเกตความผิดปกติของดวงตา ไม่ว่าจะเป็นตาแดง ระคายเคือง ปวดรอบดวงตา แพ้แสง หรือแสบตา การมองเห็นลดลงหรือมัวลง น้ำตาไหลหรือมีขี้ตาผิดปกติ เหล่านี้ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อการรักษาอย่างเร็วที่สุด 2. ไม่ควรซื้อยาหลอดตามารักษาเองในกรณีที่ดวงตาติดเชื้อ ยาหยอดตาไม่สามารถรักษาโรคตาได้ทุกชนิด บางครั้งอาจเกิดผลเสียและผลข้างเคียงของยาหลอดตาบางชนิดด้วย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนดีกว่า 3. หากมีน้ำสกปรกกระเด็นเข้าดวงตาด้วยล้างตาด้วยน้ำสะอาด เช่นน้ำยาล้างตา หรือน้ำยาล้างคอนแทกเลนส์ที่ได้มาตรฐาน ไม่ควรใช้น้ำประปาล้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำประปาในพื้นที่ที่มีปัญหาของคุณภาพน้ำ 4. ทุกคนสามารถมีปัญหาโรคตาติดเชื้อได้ทุกคน พบมากในกลุ่มที่สวมคอนแทคเลนส์ หรือผู้ทีผ่านการผ่าตัดดวงตา ไม่ว่าจะเป็น การทำเลสิก การผ่าตัดต้อ ฯลฯ เหล่านี้ควรระวังเป็นพิเศษ 5. ผู้ที่มีปัญหาความผิดปกติของดวงตา ควรมีแว่นตาสำรองไว้เสมอในกรณีที่อาจไม่สะดวกในการสวมคอนแทคเลนส์ 6. สำหรับผู้ที่สวมคอนแทคเลนส์ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำที่ท่วม หรือหากเลี่ยงไม่ได้ควรหยุดการสวมใส่คอนแทคเลนส์ไปก่อน แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมแว่นป้องกันน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา ไม่ควรใช้น้ำประปาในการล้างหรือเก็บคอนแทคเลนส์ ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสดวงตาและคอนแทคเลนส์ ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อคอนแทคเลนส์โดยเฉพาะ รวมไปถึงยาหยอดตาต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน และควรศึกษาวิธีการสวมใส่และทำความสะอาดคอนแทคเลนส์อย่างถูกวิธีก่อนซื้อหามาใช้ด้วยนะคะ