Tag: ตับอักเสบเรื้อรัง

  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มักเป็นตลอดชีวิต หากปล่อยปละละเลยหรือขาดการดูแล ก็อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงจนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมไปถึงอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่จะค่อย ๆ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลงจนเกิดโรคแทรกซ้อนได้ทุกระบบ ซึ่งได้แก่ – หลอดเลือดแดงทั้งเล็กและใหญ่ทั่วร่างกายแข็งและตีบ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสื่อมได้ เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตามัว ตาบอด ไตวายเรื้อรัง ประสาทเสื้อ ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้า ท้องเดินหรือท้องผูก – โรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง – หน้าซีดเป็นลมเวลาลุกขึ้นยืน – องคชาตไม่แข็งตัว – หลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้หัวใจวายเสียชีวิตได้ – อัมพาต – ความจำเสื่อม – ติดเชื้อได้ง่าย เพราะเบาหวานทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง และอาจติดเชื้อซ้ำซาก เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ โรคเชื้อราที่ผิวหนัง ฝี พุพอง – การติดเชื้อรุนแรง เช่น กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบ วัณโรค –…

  • ไวรัสตับอักเสบซี อันตราย แต่ป้องกันได้ถ้าเข้าใจ

    ไวรัสตับอักเสบซี อันตราย แต่ป้องกันได้ถ้าเข้าใจ

    ไวรัสตับอักเสบซี อันตราย แต่ป้องกันได้ถ้าเข้าใจ ไวรัสตับอักเสบซี เป็นเชื้อไวรัสที่ค้นพบมาเป็นเวลาสิบกว่าปีแล้ว ทำให้ตับอักเสบได้แบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ทำให้เกิดเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้ เป็นเชื้อไวรัสตับอักเสบที่รุนแรงมากกว่าเชื้อชนิดอื่น ไม่มีวัคซีนป้องกัน ทำได้เพียงให้ยาลดไวรัสและป้องกันการเกิดมะเร็งตับเท่านั้น โรคนี้สามารถติดต่อได้ทางเลือดและผลิตภัณฑ์ทางเลือดทุกชนิด โดยเฉพาะหากเคยได้รับมาก่อนปี 2535 ติดต่อได้ทางเข็มฉีดยา ทางการสักหรือเจาะหูด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน การฟอกไต การสักตัว สักคิ้ว สักขอบตา อุปกรณ์เสริมสวยไม่ว่าจะเป็นการทำผม ทำเล็บที่ใช้มีดโกน กรรไกร เป็นต้น การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี ในผู้ที่เป็นตับอักเสบเฉียบพลัน เนื่องจากโรคนี้ผู้ป่วยมักไม่ค่อยแสดงอาการ จึงไม่มีการรักษาใด ๆ เป็นเพียงการดูแลตามอาการเท่านั้น ไม่นอนดึกและหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง แต่ในผู้ที่เป็นตับอักเสบเรื้อรังนั้น มียาที่ใช้เป็นมาตรฐานในการรักษาอยู่สองตัวร่วมกันก็คือ ยาฉีดในกลุ่มอินเตอร์เฟอรอนกับยาไรบาไวริน ซึ่งเป็นยากิน ทั้งสองชนิดช่วยกำจัดไวรัสให้หมดไปและไม่เป็นซ้ำอีกมีผลถึงร้อยละ 50 ในส่วนของการป้องกันไวรัสตับอักเสบซีนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อทุกอย่าง เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ไม่เข้าร้านสัก เจาะ หรือทำผมทำเล็บที่ไม่ได้มาตรฐาน ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงการดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงไว้อย่างสม่ำเสมอด้วย  

  • ตับแข็งไม่ได้เกิดจากการกินเหล้าเท่านั้น

    ตับแข็งไม่ได้เกิดจากการกินเหล้าเท่านั้น

    ตับแข็งไม่ได้เกิดจากการกินเหล้าเท่านั้น โรคตับ นั้นมีสาเหตุหลายประการ ซึ่งภาวะไขมันพอกตับนั่นก็เป็นอีกปัญหาที่พบมาก เกิดได้จากการดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การรับสารพิษสารเคมีต่าง ๆ ภาวะขาดอาหาร หรือได้รับสารอาหารมากเกินไปจนร่างกายสะสมไว้ในรูปแบบไตรกลีเซอไรด์ในตับ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังนั้นกว่าร้อยละ 60 มีภาวะไขมันพอกตับ และมักมีปัจจัยต่อไปนี้ร่วมด้วย ได้แก่ อ้วนลงพุง ไขมันที่ลำตัวมากกว่าแขนขา เป็นเบาหวาน มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ไขมันพอกตับนี้ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการออกมา กว่าจะรู้ตัวก็มักเป็นโรคตับอักเสบหรือตับแข็งไปแล้ว มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นจะแสดงอาการออกมา ซึ่งอาจมีอาการปวดแน่นชายโครงขวา อ่อนเพลียง่าย ๆ ผู้ที่มีกรรมพันธุ์ครอบครัว ญาติพี่น้องเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ยิ่งควรให้ความใส่ใจกับสุขภาพมากเป็นพิเศษ ได้แก่… – ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ดูแลอาหารการกิน เลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยกะทิ น้ำมัน นม เนย ชีส กุ้ง ปูไข่ ไข่แดง และอื่น ๆ รวมไปถึงอาหารที่มีน้ำตาลและแป้งมากด้วย เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของไตรกลีเซอร์ไรด์ในตับได้ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย – หมั่นตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อให้ทราบความผิดปกติของร่างกายในส่วนต่าง ๆ รวมทั้งตับด้วย และควรดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเหมาะสม –…

  • โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง

    โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง

    โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง ภาวะตับอักเสบเรื้อรังนั้นหมายถึง การอักเสบของตับที่นานเกินกว่าหกเดือนขึ้นไป ตรวจเลือดแล้วพบร่องรอยการอักเสบ มีสาเหตุมาจากพิษสุราเรื้อรัง พิษจากยาหรือสมุนไพรบางชนิด การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ไขมันพอกตับ หรือภาวะภูมิต้านทานตนเอง ไม่ว่าจะมีสาเหตุจากข้อใดก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีหรือไวรัสตับอักเสบซีซึ่งสามารถป้องกันและลดอันตรายลงได้ โรคนี้จะไม่แสดงอาการใด ๆ จนกว่าจะเกิดโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับแทรกซ้อน บางรายไม่มีอาการแต่ตรวจเลือดพบได้ อาจมีอาการได้แก่ รู้สึกอ่อนเพลียซึ่งมักเป็นมากขึ้นตอนบ่ายหรือเย็น นอกจากนี้ยังมีไข้ต่ำ ๆ คลื่นไส้เบื่ออาหาร ท้องอืดเฟ้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อเป็นต้น ในระยะท้ายที่เริ่มเป็นตับแข็งและมะเร็งตับแล้วก็จะมีอาการอ่อนเพลีย ดีซ่าย น้ำหนักลด ท้องบวม เท้าบวม ยิ่งหากเป็นผู้ที่มีพี่น้องเป็นพาหะของโรคนี้หรือเป็นโรคตับอักเสบอยู่แล้ว ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือด และหากพบว่าเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสควรปฏิบัติตามดังนี้ 1. พบแพทย์ กินยา และเข้ารักษาตามเวลา ซึ่งอาจกินเวลาเป็นแรมปีหรือตลอดชีวิต 2. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด 3. ห้ามบริจาคเลือด 4. หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยา มีดโกน หรือแปรงสีฟันร่วมกับผู้อื่น 5. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือใช้ถุงยางอนามัยป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ 6. ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิดมีพิษต่อตับทำให้อักเสบรุนแรงได้ ในส่วนของการป้องกันสามารถทำได้โดย 1. ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบี 2. ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์…