Tag: ตรวจสุขภาพ
-
การตรวจร่างกายก่อนแต่งงาน แพทย์จะตรวจอะไรบ้าง?
การตรวจร่างกายก่อนแต่งงาน แพทย์จะตรวจอะไรบ้าง? การเตรียมตัวไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลก่อนสมรสนั้น โรงพยาบาลแทบทุกแห่งล้วนมีบริการนี้ทั้งสิ้น ซึ่งนอกจากตรวจสุขภาพ โรคติดต่อต่าง ๆ ทางเพศสัมพันธ์แล้วก็ยังให้คำแนะนำในการเตรียมตัวมีบุตรด้วย แล้วขั้นตอนการตวจเข้ามีอะไรบ้าง มาดูกันนะคะ การตรวจสุขภาพก่อนสมรสนั้น คุณผู้หญิงทั้งหลายไม่ต้องกลัวไปค่ะ ไม่ใช่ว่าไปพบหมอสูตินรีแพทย์แล้วจะต้องโดนตรวจภายในทุกครั้ง แต่เขาจะตรวจสุขภาพว่ามีความแข็งแรงขนาดไหนเท่านั้นเอง จะมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน เจาะเลือด หาความเข้มข้มของเลือดและภาวะเลือดจางด้วย ซึ่งในส่วนของผู้ที่ภายในครอบครัวมีประวัติเลือดจางมาก่อนก็จะได้รับการตรวจ Haemoglobin typing นอกจากนี้แล้วก้๗มีการตรวจดูหมู่โลหิต ดูว่าเป็นกลุ่ม Rh ใด มีลักษณะของเม็ดเลือดขาว น้ำตาลในเลือดหรือมีเชื้อเลือดบวกซิฟิลิสหรือเอดส์ด้วยหรือไม่ ตรวจภูมิคุ้มกันเชื้อหัดเยอรมัน เชื้อไวรัสตับอักเสบบี หากยังไม่มีภูมิคุ้มกัน คุณหมอก็จะเสริมภูมิให้เลยจะได้ไม่มีปัญหาในการตั้งครรภ์ หากทั้งคู่ต้องการให้ฝ่ายหญิงคุมกำเนิด คุณหมอก็จะให้คำปรึกษาเรื่องการคุม มีทั้งการกินยาคุมกำเนิดและการฉีดยาคุมกำเนิด ซึ่งยากินคุมกำเนิดนี้ไม่ควรซื้อกินเองเพราะหากมีโรคบางโรคอยู่ก่อน ก็อาจทำให้ลุกลามได้ เช่น หากเป็นเนื้องอกเต้านม มดลูก หรือรังไข่อยู่ หากกินยาคุมสุ่มสี่สุ่มห้า ก็อาจกลายเป็นเนื้อร้ายได้ ดังนั้นแพทย์ก็จะตรวจร่างกายในส่วนเหล่านี้ทั้งหมดด้วย และแพทย์จะให้คำปรึกษาให้ด้านการคุมกำเนิด ว่าแต่ละวิธีและแต่ละฝ่ายนั้น ใครควรคุมกำเนิดไว้ และคุมอย่างไร นานเท่าไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร รวมไปถึงหากต้องการมีบุตรแล้วจะต้องทำอย่างไรด้วย ซึ่งก็ขึ้นอยู่ความสะดวกของคู่สมรสด้วยค่ะ
-
เรื่องควรรู้…ก่อนการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน
เรื่องควรรู้…ก่อนการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน การจะใช้ชีวิตคู่ให้ราบรื่นและมีความสุขนั้น ทั้งสองฝ่ายต่างก็จำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจ รวมทั้งปรับตัวเข้าหากัน ดังนั้นทั้งคู่จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวและศึกษาซึ่งกันและกันก่อนแต่งงาน เพื่อให้ชีวิตคู่ที่ทั้งสองเลือกที่จะใช้ชีวิตด้วยกันมีความสุขอย่างยั่งยืนค่ะ อันดับแรกจึงควรศึกษากันและกันก่อนว่ามีความพร้อมมากน้อยขนาดในการอยู่ร่วมกัน ทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม พิจารณาว่าการที่เลือกกันและกันนี้ไม่ใช่การเลือกด้วยอารมณ์เท่านั้นแต่เลือกด้วยความเหมาะสมด้วย ประกอบการมีชีวิตคู่จำเป็นต้องมีทุนทรัพย์ที่ใช้ในการสร้างครอบครัว และอันดับสุดท้ายที่ต้องคำนึงก็คือ ควรเข้าตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบความพร้อมในการมีครอบครัว และตรวจว่าทั้งสองฝ่ายมีโรคทางพันธุกรรมหรือโรคอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อชีวิตแต่งงานด้วยหรือไม่ ซึ่งการเข้าตรวจสุขภาพก่อนการมีครอบครัวนี้ก็เพื่อ 1. ตรวจให้แน่ใจว่ามีอาการหรือสิ่งผิดปกติใด ๆ ที่จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ในอนาคตหรือไม่ 2. เพื่อค้นหาความบกพร่องต่าง ๆ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อการมีเพศสัมพันธ์และเป็นอุปสรรคในการตั้งครรภ์ 3. ตรวจเลือดเพื่อหาระดับน้ำตาลและความเข้มข้นของเม็ดเลือด ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี โรคเลือดธาลัสซีเมีย รวมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย 4. ตรวจปอดเพื่อหาความผิดปกติ 5. เพื่อการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ป้องกันโรคหัดเยอรมันและบาดทะยัก 6. เพื่อให้ทั้งคู่ได้รับคำแนะนำในเรื่องการวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิดและความรู้เรื่องเพศ ฯลฯ ชีวิตคู่จริง ๆ ไม่ได้เหมือนในละครเสมอไป ที่พอจบเรื่องก็แฮปปี้เอนดิ้ง แต่จริง ๆ แล้วเป็นการเริ่มต้นใหม่ของชีวิตอีกแบบหนึ่งต่างหาก หากทั้งคู่พร้อมที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน พร้อมที่จะพบสุขพบทุกข์ด้วยกันและรับผิดชอบเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยกัน รวมทั้งร่วมกันสร้างสรรค์สังคม ชุมชนและบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป ชีวิตคู่ก็จะมีความสุขร่วมกันไปได้ตลอดรอดฝั่งค่ะ
-
ดูแลพ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านให้ดีก่อนเกิดอันตราย
ดูแลพ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านให้ดีก่อนเกิดอันตราย เวลาผ่านไปเร็วนะคะ แป๊บ ๆ เราก็โตกันเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว และในทางเดียวกันพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ของเราก็แก่ลงไปด้วยเช่นกัน หันไปดูแลท่านกันหน่อยนะคะว่าสุขภาพท่านเป็นอย่างไรบ้าง แม้จะไม่มีโรคร้ายปรากฎออกมาให้เห็นแต่การที่ท่านอายุมากขึ้นแล้ว ก็อาจต้องการความเชื่อเหลือดูแลอยู่บ้างแล้วล่ะค่ะ ลองสังเกตดูว่า… 1. ท่านมีน้ำหนักลดลงบ้างหรือไม่ หากจู่ ๆ ก็น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ แสดงว่าอาจมีบางอย่างผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคขาดสารอาหาร ซึมเศร้า ความจำเสื่อม โรคมะเร็งหรือหัวใจล้มเหลว ควรพาไปพบแพทย์ตรวจสุขภาพให้เป็นประจำนะคะ 2. ดูว่าชีวิตประจำวันท่านเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เช่น ยังมีแรงอาบน้ำแปรงฟันเองหรือเปล่า มีแรงทำกับข้าว หรือแต่งเนื้อแต่งตัวอยู่หรือเปล่า หรือยังทำงานบ้านอยู่เหมือนเดิมได้หรือเปล่า 3. ลองสังเกตการณ์เดินของท่านดูว่ายังเดินเป็นปกติหรือเปล่า สามารถเดินไกล ๆ ไหวหรือเปล่า หรือต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุง 4. อีกทั้งยังควรสังเกตในบ้านด้วยว่ายังเรียบร้อยอยู่หรือไม่ เช่น หลอดไฟขาดเปลี่ยนหรือเปล่า หญ้าตัดหรือไม่ หนังสือพิมพ์หน้าบ้านเก็บหรือเปล่า จานไม่ได้ล้างหลาย ๆ วันเพราะอะไร เครื่องใช้ไฟฟ้าเปิดทิ้งไว้บ่อย ๆ หรือเปล่า เป็นต้น เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติก็ได้ 5. ท่านยังสามารถเดินขึ้นลงบันไดชันๆ…
-
สัญญาณเตือน 7 ประการ อาการของโรคมะเร็ง
สัญญาณเตือน 7 ประการ อาการของโรคมะเร็ง วันนี้เรามีเกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับสัญญาณเตือนของการเกิดโรคมะเร็งมาฝากเพื่อนๆกันค่ะ … 1. มีการเปลี่ยนแปลงในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เช่น มีเลือดออก ท้องเสียหรือท้องผูกผิดปกติ 2. มีแผลเรื้อรังที่ไม่หาย โดยเป็นนานมากกว่า 3 สัปดาห์ 3. มีเลือดออก หรือมีน้ำคัดหลั่งไหลออกมาจากบริเวณช่องต่าง ๆ ของร่างกายผิดปกติ เช่น หัวนม , จมูก , ช่องคลอด เป็นต้น 4. คลำได้ก้อนที่เต้านม หรือที่อื่น ๆ ของร่างกาย 5. ท้องอืด อาหารไม่ย่อย มีอาการปวดท้อง กลืนลำบาก เป็นต้น 6. ไฝหรือจุดเล็ก ๆ ตามร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น โตขึ้น มีสีผิดปกติหรือมีเลือดออก 7. อาการไอที่ผิดปกติ เช่น ไอปนเลือด ไอเรื้อรัง หรือเสียงแหบ อาการทั้งหมดที่กล่าวมา…