Tag: ดูแลผู้สูงอายุ

  • ดูแลผู้สูงอายุด้วยความรัก

    ดูแลผู้สูงอายุด้วยความรัก

    ดูแลผู้สูงอายุด้วยความรัก สำหรับวัยชราแล้ว อาหารทางใจ สำคัญกว่าอาหารใด ๆ ในโลก เพราะร่างกายที่ดีก็จะต้องมาพร้อมจิตใจที่ดี หากทำให้ผู้สูงอายุในบ้านมีความสุข รู้สึกดี สบาย สุขภาพก็จะพลอยดีไปด้วย ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุในบ้านจึงควรประกอบด้วยเคล็ดลับสามข้อต่อไปนี้ค่ะ 1. ให้ความใส่ใจ ลูกหลานที่ดูแลใกล้ชิดควรพูดคุย ให้ความสนใจ รับฟังและให้เกียติความคิดเห็นของท่าน เพราะบ่อยครั้งที่เราทำอะไรลงไปมักไม่ค่อยได้ถามหรือปรึกษาท่านเลย ทำให้ท่านรู้สึกสูญเสียความสำคัญในตัวเองลงไป จิตใจก็ห่อเหี่ยวลง ดังนั้นจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของท่านให้เหมือนเดิมจะช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นและร่างกายก็แข็งแรงด้วย นอกจากนี้ยังควรใส่ใจในเรื่องของอนามัยส่วนตัว การออกกำลังกายและอาหารที่เหมาะสมด้วย ควรเลือกอาหารที่ย่อยได้ง่ายให้ทานแต่มีโปรตีนสูง อาจจะเป็นเนื้อปลา เนื้อไก่ ไม่ติดมัน มีไขมันต่ำ จัดผักและผลไม้ไม่หวานให้ทานบ้าง พากันไปออกกำลังกายยืดเส้นยืดสายตามกำลังกาย จะช่วยให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น รวมทั้งควรพาไปพบแพทย์ตามนัดและตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องด้วย 2. รู้ใจว่าท่านต้องการอะไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร บางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องถามแล้ว เพราะเป็นคนใกล้ชิดกันก็น่าจะจำกัดได้ รู้นิสัยกันมากกว่าใคร ควรหาของอร่อยแบบที่ท่านชอบ หรือพากันไปเที่ยวบ้างจะได้สดใสขึ้น เรื่องไหนที่ท่านไม่ชอบก็หลีกเลี่ยงไม่ทำ หรือไม่ชวนกันคุย จิตใจจะได้ไม่ขุ่นมัวจนทำให้เสียสุขภาพได้ 3. เข้าใจว่าเมื่อสังขารเสื่อมไป จากที่เคยทำอะไร ๆ เองได้ก็ต้องหันมาพึ่งลูกหลาย ซึ่งในอนาคตทุกคนก็ต้องเป็นเช่นนั้น ดังนั้นเราจึงควรเข้าใจท่าน ไม่ควรไปบั่นทอนความรู้สึกให้แย่ลง และควรพูดจาดี ๆ ปฏิบัติต่อท่านด้วยความเคารพและให้เกียติเสมอด้วย และนอกจากนี้ลูกหลานก็ควรหมั่นสังเกตอาการ…

  • การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

    การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

    การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ผู้สูงอายุนั้นจะเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยจากสาเหตุสี่ประการได้แก่ 1. ความเสื่อมโทรมลงของอวัยวะซึ่งเป็นไปตามวัย 2. พฤติกรรมและการดูแลสุขภาพเท่าที่ผ่านมา 3. การเปลี่ยนแปลงไปของเซลล์ภายในร่างกาย 4. ปัจจัยที่ถ่ายทอดกันมากทางพันธุกรรม หลายโรคนั้นสามารถป้องกันได้ ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพไว้ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอาหารการกินที่ควรกินให้ครบหมู่ แต่ให้เน้นผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานหรือเค็มจัด ดื่มน้ำมาก ๆ และหมั่นออกกำลังกายในแบบที่ชอบ เพื่อลดภาวะอ้วนน้ำหนักเกินอันเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังได้อีกหลายโรคไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและข้อเข่าเสื่อม ทั้งยังเป็นสาเหตุของมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย การพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐานจึงเป็นมาตรการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีอีกอย่างหนึ่งด้วย ในผู้สูงอายุนั้นควรมีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้เป็นพิเศษ เช่น สังเกตว่ามีแผลเรื้อรังไม่หายบ้างหรือเปล่า มีปัญหาการกลืนหรือย่อยอาหารหรือไม่ รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ท้องเสีย ท้องผูกเรื้อรังบ้างหรือเปล่า ฯลฯ เหล่านี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายให้ละเอียดต่อไป โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุนั้นสามารถป้องกันและดูแลตนเองเพื่อลดความรุนแรงได้ อย่างเช่น – โรคไขข้อเสื่อม ควรดูแลไม่ให้น้ำหนักมากเกินจนไปส่งผลให้ข้อเข่ารับน้ำหนักตัวเกิน หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อให้แข็งแรง ทนุถนอมข้อเข่าให้มาก ๆ อย่างเคลื่อนไหวร่างกายหรือบิดข้อมากเกินไป ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สบาย หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ หรือคุกเข่าเพื่อลดการแรงกระทำต่อข้อ ป้องกันการหกล้มด้วยการฝึกเดินหรือใช้เครื่องพยุงร่างกาย ปรับสภาพแวดล้อในบ้านด้วยการทำพื้นไม่ให้ลื่น…

  • ดูแลพ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านให้ดีก่อนเกิดอันตราย

    ดูแลพ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านให้ดีก่อนเกิดอันตราย

    ดูแลพ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านให้ดีก่อนเกิดอันตราย เวลาผ่านไปเร็วนะคะ แป๊บ ๆ เราก็โตกันเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว และในทางเดียวกันพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ของเราก็แก่ลงไปด้วยเช่นกัน หันไปดูแลท่านกันหน่อยนะคะว่าสุขภาพท่านเป็นอย่างไรบ้าง แม้จะไม่มีโรคร้ายปรากฎออกมาให้เห็นแต่การที่ท่านอายุมากขึ้นแล้ว ก็อาจต้องการความเชื่อเหลือดูแลอยู่บ้างแล้วล่ะค่ะ ลองสังเกตดูว่า… 1. ท่านมีน้ำหนักลดลงบ้างหรือไม่ หากจู่ ๆ ก็น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ แสดงว่าอาจมีบางอย่างผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคขาดสารอาหาร ซึมเศร้า ความจำเสื่อม โรคมะเร็งหรือหัวใจล้มเหลว ควรพาไปพบแพทย์ตรวจสุขภาพให้เป็นประจำนะคะ 2. ดูว่าชีวิตประจำวันท่านเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เช่น ยังมีแรงอาบน้ำแปรงฟันเองหรือเปล่า มีแรงทำกับข้าว หรือแต่งเนื้อแต่งตัวอยู่หรือเปล่า หรือยังทำงานบ้านอยู่เหมือนเดิมได้หรือเปล่า 3. ลองสังเกตการณ์เดินของท่านดูว่ายังเดินเป็นปกติหรือเปล่า สามารถเดินไกล ๆ ไหวหรือเปล่า หรือต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุง 4. อีกทั้งยังควรสังเกตในบ้านด้วยว่ายังเรียบร้อยอยู่หรือไม่ เช่น หลอดไฟขาดเปลี่ยนหรือเปล่า หญ้าตัดหรือไม่ หนังสือพิมพ์หน้าบ้านเก็บหรือเปล่า จานไม่ได้ล้างหลาย ๆ วันเพราะอะไร เครื่องใช้ไฟฟ้าเปิดทิ้งไว้บ่อย ๆ หรือเปล่า เป็นต้น เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติก็ได้ 5. ท่านยังสามารถเดินขึ้นลงบันไดชันๆ…