Tag: ดูดบุหรี่

  • รณรงค์สร้างครอบครัวไร้ควันบุหรี่

    รณรงค์สร้างครอบครัวไร้ควันบุหรี่

    รณรงค์สร้างครอบครัวไร้ควันบุหรี่ มีผลการวิจัยพบว่า เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีผู้ปกครองหรือคนในบ้านสูบบุหรี่นั้น กว่าร้อยละ 40 เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นคนที่สูบบุหรี่ด้วย ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้เด็กสูบบุหรี่ก็คือ ผู้ใหญ่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ต้องเลิกบุหรี่ให้ได้ก่อน เด็กจึงจะทำตาม นอกจากนี้แล้วยังควรสอดส่องคนอื่นไม่ให้มาสูบบุหรี่ในสนามเด็กเล่น โรงเรียน ศูนย์เลี้ยงเด็ก รวมไปถึงสถานที่ปลอดควันบุหรี่อื่น ๆ อีกทั้งยังไม่ควรพาเด็กเข้าไปในสถานที่ที่มีการอนุญาตให้สูบบุหรี่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร หรือสถานที่ใด ๆ หากลูกๆ เริ่มไปสูบบุหรี่เข้าแล้ว อยากช่วยให้เข้าเลิกก็ต้องมาทำความเข้าใจร่วมกันคือ 1. ชวนลูกคุยทำความเข้าใจถึงผลร้ายของการสูบบุหรี่ อีกทั้งการสูบบุหรี่ก่อนอายุ 18 ปีนั้นก็เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายด้วย 2. ดูแลและให้เวลาลูกอย่างใกล้ชิด ให้ความสนิทสนมเปิดโอกาสให้ปรึกษาได้ทุกเรื่อง และควรเปิดโอกาสให้ลูกได้รับรู้ถึงปัญหาและผลร้ายของยาเสพติด เลือกใช้ภาษาที่ดี ไม่ใช่การตำหนิหรือดุด่า 3. จับตาดูบ้างว่าเพื่อนในกลุ่มของลูกใช้สารเสพติดหรือไม่ 4. สร้างค่านิยมที่ดีให้กับลูก และสอนลูกว่าการสูบบุหรี่ไม่ใช่เรื่องของคนเท่ แต่เป็นเรื่องน่ารังเกียจ 5. สร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น จะพัฒนาความรักความอบอุ่นในครอบครัว ระหว่างพ่อแม่และลูก การมีครอบครัวเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจจะช่วยให้เด็ก ๆ ห่างไกลยาเสพติดได้อย่างแน่นอนค่ะ หากในวันนี้มีสมาชิกในครอบครัวยังสูบบุหรี่อยู่ ควรพากันเลิกเถอะค่ะ เพื่อโลกที่สดใส ไร้ควันพิษ เพื่อชีวิตของคนที่เรารักทุกคนด้วยค่ะ  

  • โรคถุงลมโป่งพอง เป็นได้ก็สุขได้

    โรคถุงลมโป่งพอง เป็นได้ก็สุขได้

    โรคถุงลมโป่งพอง เป็นได้ก็สุขได้ แม้ว่าโรคถุงลมโป่งพอง หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้น จะเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีอาการทุเลาลง หรือกำเริบน้อยลงไม่ได้ เพราะจุดเริ่มต้นของโรคนี้เกิดจากการสูบบุหรี่มานาน จึงระคายเคืองเยื่อบุผิวของหลอดลมจนอักเสบ หากเป็นแล้วเราก็ต้องจัดการดูแลสุขภาพของเราให้ดี ด้วยการปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้ 1. หยุดสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เพราะนี่คือต้นเหตุของโรค รวมทั้งหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีควันหรือไอสารเคมีที่สร้างความระคายเคืองต่อปอดและหลอดลม เพราะผู้ป่วยโรคนี้จะมีความไวต่อสารกระตุ้นเหล่านี้มาก ทำให้หลอดลมตีบเฉียบพลันได้ 2. อาหารประเภทแป้งให้พลังงานน้อยกว่าไขมัน แต่จะได้คาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาผลาญมากกว่า ทำให้ระบบการหายใจต้องทำงานหนักขึ้น ควรทานไขมันที่ดีมีคอเลสเตอรอลต่ำ มีไขมันอิ่มตัวต่ำได้แก่ ปลาที่มีกรดไขมันโอเม้าสาม ช่วยต้านการอักเสบ น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก และโปรตีนคุณภาพสูงอย่างเนื้อปลา ไข่ขาว เนื้อไก่ เป็ด หมูไม่ติดหนังหรือมัน อีกทั้งควรทานผักหลากสีเพื่อให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่ครบถ้วน แถมยังได้สารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันเซลล์ของร่างกายอีกด้วย 3. ดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียง เพราะน้ำจะทำให้เสมหะเหลวขึ้น ควรดื่มอย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน เลี่ยงเครื่องดื่มหวาน ๆ ผสมน้ำตาล ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุดแล้วยังทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นด้วย 4. ออกกำลังกายยืดเส้นยืดสายกล้ามเนื้อทุกส่วน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ช่วยหายใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อของคอ ไหล่ รอบสะบัก หน้าอก แล้วต่อด้วยกายบริหารกล้ามเนื้อคอ ไหล่…