Tag: ดนตรีบำบัด
-
ดนตรีบำบัด บำบัดทุกข์ทางใจและทางกาย
ดนตรีบำบัด บำบัดทุกข์ทางใจและทางกาย ดนตรีบำบัดหมายถึงการนำเอาดนตรีหรือส่วนประกอบอื่น ๆ มาใช้เพื่อบำบัดฟื้นฟูเยียวยาร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ของผู้ป่วย ดนตรีจะทำให้อารมณ์ด้านลบที่ถูกเก็บไว้ในร่างกายและจิตใจเปิดเผยออกมา เมื่อได้รับการดูแลด้วยกระบวนการที่เหมาะสมก็จะทำให้เกิดกำลังใจ และพบความสมดุลของอารมณ์ ทำให้ต่อสู้กับโรคภัยทั้งทางกายทางใจได้ ซึ่งสามารถบำบัดได้ด้วยการฟังและการเล่น เคยมีหลักฐานทางการแพทย์ว่าเสียงดนตรีช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในระหว่างการคลอดได้ ด้วยการฟังดนตรีคลาสสิก ปัจจุบันนี้ได้มีการทำดนตรีแนวใหม่ที่เรียกว่า New age music เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย สร้างสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ มักนิยมเปิดในระหว่างการนั่งสมาธิ เล่นโยคะ หรือระหว่างการพักผ่อนหรือบำบัดในสปา ดนตรีบำบัดนั้นสามารถใช้ได้ทุกวัย และบรรเทาปัญหาที่แตกต่างกันได้หลากหลายทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ปัญหาพัฒนาการบกพร่อง ปัญหาโรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ ความพิการทั้งทางกาย และยังเหมาะสำหรับคนปกติทั่วไปที่ต้องการผ่อนคลายจากความตึงเครียดและปลดปล่อยอารมณ์ด้วย ประโยชน์ของดนตรีบำบัดนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น.. ช่วยปรับสภาพจิตใจให้สมดุล ลดความวิตกกังวล กระตุ้นประสาทสัมผัส เสริมสร้างความจำ พัฒนาการเรียนรู้ สร้างสมาธิ ช่วยให้มีทักษะหลายด้านดีขึ้น พัฒนาการเคลื่อนไหว ลดความเครียดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดความเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการรักษา และส่งเสริมกระบวนการบำบัดทางจิตเวชได้ดีเยี่ยม ฯลฯ โดยทั่วไปแล้วดนตรีบำบัดสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้ โดยไม่มีรูปแบบที่ตายตัว โดยเริ่มจากการประเมินผู้รับบำบัดแล้วค่อยวางแผนการบำบัดและเลือกดนตรีให้เหมาะสมไปสำหรับแต่ละราย ซึ่งการแพทย์ทางเลือกในปัจจุบันเริ่มมีบทบาทที่ชัดเจนในการช่วยการแพทย์แผนปัจจุบันในการรักษาและดูแลสุขภาพของคนไข้ มีหลายโรงพยาบาลที่นำเอาดนตรีบำบัดเข้าไปเป็นส่วนร่วมในการรักษามากขึ้น…
-
แนวทางการรักษาแบบประคับประคอง นอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบัน
แนวทางการรักษาแบบประคับประคอง นอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบัน สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว หากพูดถึงเรื่องความตายขึ้นมา ก็มักจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงกัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความกลัวการตาย กลัวความเจ็บปวด กลัวภาวะความโดดเด่นจากความตาย กลัวว่าไม่รู้ว่าตายแล้วไปไหน ดังนั้นจึงมักจะหวังกันว่าเมื่อเวลาเจ็บป่วยใกล้ตายเข้าจริง ๆ แล้วคงจะได้รับการดูแลมิให้ต้องทุกข์ทรมาน แม้แพทย์และพยายามจะมีจรรยาบรรณที่ได้รับการปลูกฝังมาว่าจะดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถ แม้หมดหวังกจะคงให้การรักษาต่อไปอย่างประคับประคองแม้จะรู้กันดีกว่าหมดหวังแล้วก็ตาม ซึ่งในปัจจุบันนี้ผู้ป่วยมีสิทธิอีกประการหนึ่งที่สามารถทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับการบริการสาธารณสุขเพียงเพื่อยืดชีวิตไว้ในวาระสุดท้าย หรือเพื่อยุติความทรมานจากการเจ็บป่วย ตามมาตรา 12 ของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติปี 2550 โดยมีเจตนาให้ผู้ป่วยได้กำหนดชะตาชีวิตของตนเอง เพื่อให้แพทย์และญาติมิตรได้ใช้เวลาที่เหลือในการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดขั้นตอนการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ นำไปสู่มุมมองใหม่ของการรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายจากแพทย์และพยาบาลที่มีความเข้าใจเรื่องชีวิตและความตายมากขึ้น จึงได้มีการเชื่อมโยงวิธีการรักษาทางจิตวิญญาณเข้ามา แต่ก็ยังคำนึงถึงวิธีการที่จะบรรเทาไม่ให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานอยู่ดี เป็นการรักษาแบบประคับประคองหรือการบำบัด ที่สำคัญ เมื่อพบว่าผู้ป่วยอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แล้ว ซึ่งแนวทางการรักษานอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบันนี้ได้แก่การนำเอาวิทยาการต่างๆ เข้ามาช่วย ไม่ว่าจะป็น การใช้ศิลปะบำบัด การสวดมนต์ ดนตรีบำบัด การฟังธรรม การทำสมาธิ ขึ้นอยู่กับความเชื่อและความศรัทธาของผู้ป่วยในทุกศาสนาให้สามารถยอมรับความจริงของชีวิตยามเมื่อความตายคืบคลานมาเยือนแล้วได้ โดยมีตัวอย่างมาแล้วว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งสามารถลดความทรมานลงได้เมื่อได้ยินเสียงพระสวด หรือฟังเสียงสวดมนต์ที่ได้เคยสวดประจำ แล้วยังมีการน้อมนำให้ผู้ป่วยได้ขอขมาพระรัตนตรัย พ่อแม่ ผู้มีพระคุณ นำการแผ่เมตตา การให้ผู้ป่วยและญาติมิตรและผู้ที่เกี่ยวข้องได้กล่าวอโหสิกรรมซึ่งกันและการเป็นต้น ความตายนั้นเป็นธรรมดา แต่เมื่อถึงเวลาที่ตนเองต้องเดินทางไกลจริง ๆ แล้ว บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะยอมรับได้ จึงจำเป็นที่ผู้รักษาและญาติมิตรต้องส่งผู้ป่วยไปอย่างสงบและทรมานน้อยที่สุดค่ะ
-
รู้หรือไม่! เสียงดนตรี ช่วยบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการหนัก
รู้หรือไม่! เสียงดนตรี ช่วยบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการหนัก โรงพยาบาลหลายแห่งในสหรัฐต่างใช้วิธีบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยแตกต่างกันไปหลายวิธีด้วยกัน นอกเหนือจากการใช้ยารักษาคนไข้แล้ว ยังมีการบำบัดด้วยการนวด การสะกดจิตและการใช้เสียงดนตรีเพื่อผ่อนคลาย ด็อกเตอร์ Sandra Seidliecki นักวิทยาศาสตร์อาวุโสประจำสถาบันการพยาบาลที่โรงพยาบาล Cleveland Clinic ในรัฐ Ohio อธิบายถึงถึงเรื่องนี้ว่ามีเหตุผลสองสามประการ ที่โรงพยาบาลหันไปใช้เสียงดนตรีในการบำบัดผู้ป่วย แต่เหตุผลแรกก็คือเสียงดนตรีมีราคาไม่แพงและเสียงดนตรีมีผลดีอย่างมากในการช่วยลดความเจ็บปวด ทางโรงพยาบาลได้ศึกษาค้นคว้าผลดีของเสียงดนตรีต่อผู้ป่วยมามากต่อมาก โดยเฉพาะ ด็อกเตอร์ Marian Good ที่ศึกษาวิจัยผลของเสียงดนตรีต่อความเจ็บปวดรุนแรงในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดในช่องท้อง ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดช่องท้องต้องใช้ยาลดอาการปวดประเภทที่ทำจากฝิ่น และใช้ยาปริมาณลดลงหลังใช้เสียงดนตรีบำบัดประกอบด้วย ด้านด็อกเตอร์ Sandra Seidliecki กล่าวว่า หากคุณเพลิดเพลินกับการฟังเสียงดนตรี คุณจะลืมอย่างอื่นไปหมดทำให้รู้สึกว่าเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว แพทย์หญิงทั้งสองต่างเห็นด้วยกับท่อนหนึ่งจากเพลงของบ้อบ มาร์ลี่ ที่ครวญว่า One good thing about music, when it hits you, you feel no pain”