Tag: ซึมเศร้า
-
ตรวจสอบพฤติกรรมตนเอง ว่าคุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า?!
ตรวจสอบพฤติกรรมตนเอง ว่าคุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า?! ปัจจุบันนี้โรคซึมเศร้า เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น แต่ประชากรที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าก็ยังมักจะไม่ทราบว่าตนเองมีอาการของโรคนี้อยู่ มีมากด้วยนะคะเป็นจำนวนถึงร้อยละ 5-7 ของจำนวนประชากรเลยทีเดียว เป็นโรคร้ายแรงที่ให้ผู้ป่วยที่ไม่มากรักษาถึงกับฆ่าตัวตายได้เลยทีเดียว และส่วนหนึ่งของสาเหตุที่สำคัญก็คือมาจากพันธุกรรมด้วย คือหากในครอบครัวหรือพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย คู่แฝดเป็นโรคซึมเศร้าขึ้นมา ก็มักจะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมศร้ามากกว่าคนอื่น ๆ ยิ่งถ้าเป็นคู่แฝดกันด้วยแล้ว จะมีโอกาสมากถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว โรคซึมเศร้านี้ไม่จำเป็นว่าชีวิตต้องได้รับความทุกข์เศร้าอะไรก็ป่วยได้ บางคนชีวิตดีทุกอย่าง หน้าที่การงานดี ครอบครัวดี ลูกดี การเงินดี จู่ ๆ ก็เศร้าขึ้นมาได้ ซึ่งก็คือเกิดจากยีนหรือพันธุกรรมนี่แหล่ะ แต่ปัจจัยภายนอกก็มีผลเช่นกัน บางคนมียีนอยู่แล้วมาเจอกับมรสุมชีวิตอีกก็ยิ่งกระตุ้นให้ป่วยได้มากขึ้น แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นโรคนี้หรือยัง ก็ให้สังเกตจากอาการดังต่อไปนี้ หากมีอาการห้าข้อขึ้นไป ติดต่อกันนานเกินสองอาทิตย์ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว – อารมณ์ซึมเศร้า ก้าวร้าว หงุดหงิด – ไม่สนใจสิ่งรอบตัว – รู้สึกไม่ค่อยมีสมาธิทำอะไร – อ่อนเพลีย – ทำทุกอย่างชื่องช้าไปหมด – ทานอาหารมากขึ้นหรือทานน้อยลง – นอนมากขึ้นหรือนอนน้อยลง – ตำหนิตัวเอง…
-
สวดมนต์ช่วยเยียวยารักษาโรคได้
สวดมนต์ช่วยเยียวยารักษาโรคได้ การสวดมนต์นั้นเป็นเครื่องช่วยนำสู่สมาธิได้ ทำให้ผู้สวดจดจ่ออยู่กับบทสวด ใจไม่ฟุ้งไปที่อื่นจึงเกิดสมาธิได้ง่ายมาก เมื่อร่างกายเข้าสู่สมาธิจะหลั่งสารที่กระตุ้นระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้จิตใจและร่างกายมีความผ่อนคลาย สร้างภูมิต้านทานได้ดีขึ้น เมื่อเจ็บป่วยก็จะดีขึ้นตามลำดับ ช่วยบำบัดอาการเจ็บป่วยและเยียวยารักษาโรคได้มากมายไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน ซึมเศร้า มะเร็ง ไมเกรน ออทิสติก โรคอ้วน นอนไม่หลับ พาร์กินสัน ฯลฯ ซึ่งสามารถทำได้หลายแบบได้แก่ 1. สวดมนต์ด้วยตนเอง อาจตื่นมาสวดตอนเช้าหรือก่อนเข้านอน แต่ไม่ควรสวดหลังกินอาหารทันที อาจสวดบทสั้น ๆ ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีก็จะทำให้ร่างกายหลั่งสารซีโรโทนินออกมา หากสวดบทยาวจะช่วยให้ผ่อนคลายและเกิดความศรัทธา ขณะสวดมนต์ให้หลับตาสวดให้เกิดเสียงดังให้ตัวเองได้ยิน 2. การสวดให้ผู้อื่นฟัง อาจเป็นการฟังพระสวด หรือเปิดเทปฟัง ยิ่งหากผู้สวดมีสมาธิ เสียงจะนุ่มและทุม ทำให้เกิดคลื่นที่ช่วยเยียวยาผู้ฟังได้ แต่หากผู้สวดไม่มีสมาธิหรือไม่มีความเมตตาจะไม่ช่วยเยียวยาอาการป่วยเลย 3. การสวดมนต์ให้แก่ผู้อื่น เป็นการส่งความปรารถนาดีไปสู่ผู้ป่วยจากคลื่นที่เป็นบวก เมื่อเราคิดจะส่งสัญญาณนี้ออกไปสู่ที่ไกล ๆในรูปของคลื่นไฟฟ้า ช่วยเยียวยารักษาผู้อื่นได้ บทสวดมนต์นั้นมีอยู่มากมาย สามารถเลือกบทที่ชอบสวดได้ตามต้องการ เลือกบทที่สวดแล้วสบายใจอย่างอิติปิโสก็ได้ แล้วสวดเท่าอายุ หรือหากต้องการให้ตัวเองหรือผู้อื่นหายเจ็บป่วย นิยมสวดโพชฌงค์เจ็ด ซึ่งมีความแตกต่างจากบทอื่น…
-
แดนซ์กังนัมสไตล์ บริหารร่างกายได้ยอดเยี่ยม
แดนซ์กังนัมสไตล์ บริหารร่างกายได้ยอดเยี่ยม การออกกำลังกายสำหรับบางคนก็เป็นเรื่องที่ไม่ชอบเอาเสียเลย แต่ตรงกันข้ามสำหรับบางคนการออกกำลังกายเป็นสิ่งเสพติดที่ถ้าไม่ได้ทำวันไหนแล้วรู้สึกขาดอะไร ๆ ไป การออกกำลังกายเป็นการสร้างเสริมสุขภาวะวิธีหนึ่ง ยิ่งทำก็ยิ่งแข็งแรงและห่างไกลโรค โดยรูปแบบการออกกำลังนั้น ควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับร่างกายของตนเอง มีความสุขและทำได้ง่ายไม่ลำบาก ซึ่งตอนนี้การออกกำลังกายด้วยการเต้นกังนัมสไตล์ก็เป็นอีกรูปแบบที่น่าสนใจเช่นกัน ทำไมการเต้นจึงมีประโยชน์? มีผลการศึกษาการเต้นโดยวิทยาลัยการแพทย์ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ สหรัฐอเมริกา ศึกษาเกี่ยวกับการเต้นที่ไม่เป็นเพียงแค่การออกกำลังกาย แต่ยังช่วยบำบัดสมองส่วนการรับรู้ การตัดสินใจ ช่วยบำบัดรักษาผู้ป่วยซึมเศร้า และผู้ป่วยความจำเสื่อมได้ อีกทั้งการได้ลองทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย อย่างการเต้นรำเป็นหมู่คณะยังช่วยให้จิตใจมีความสดใส มีชีวิตชีวามากขึ้น ช่วยให้ประสาทตื่นตัว พัฒนาทักษะการเข้าสังคม กระตุ้นสมองส่วนควบคุมการตัดสินใจ กระตุ้นการคิดวิเคราะห์และความฉลาดให้มากขึ้นได้ด้วย อีกทั้งเมื่อออกกำลังกายจนชีพจรเต้นเร็วถึง 120 ครั้งต่อนาที โกรธฮอร์โมนจะหลั่งและเหงื่อออกจะเกิดการเผาผลาญพลังงาน สุขภาพแข็งแรง ขับของเสียต่าง ๆ ออกมาจากร่างากย ล่าสุดนี้การเต้นกังนัมสไตล์กำลังโด่งดังไปทั่วโลก เพราะท่วงท่าต่าง ๆ นั้นเหมาะสำหรับการเต้นประกอบเพลงเพื่อออกกำลังกาย ช่วยอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายหนัก เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ใช้เต้นเพื่อลดน้ำหนักได้ สนุกและได้พละกำลังเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งท่าที่โด่งดังจากเพลงนี้มากก็ได้แก่ท่าขี่ม้าและท่าโยนห่วงคล้องม้า ช่วยกระชับต้นขา ยกสะโพก ลดหน้าท้อง ลดไขมันตามส่วนต่าง ๆ ได้ ว่าแล้วเย็นนี้ชวนเพื่อร่วมงาน ชวนพี่น้องลูกหลานมาเปิดเพลงนี้แล้วเต้นออกกำลังกายกันดีกว่า ถ้าเต้นไม่เป็นก็ให้เด็ก…
-
โรคซึมเศร้าในฤดูหนาว
โรคซึมเศร้าในฤดูหนาว โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล หรือ Seasonal Affective Depression SAD นั้น ไม่ค่อยพบในเมืองไทยมากเท่าไร แต่มักจะพบในประเทศที่มีช่วงฤดูหนาวที่ยาวนาน แต่แม้จะพบได้น้อยแต่ก็ไม่ใช่ไม่พบเลย โดยอาการของโรคก็จะรู้สึกวิตกกังวล ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย ขาดความสนใจในกิจกรรมปกติ ปลีกตัวออกจากสัง และไม่มีสมาธิ รู้สึกหมดเรี่ยวหมดแรง นอนมากขึ้น อยากอาหารมากขึ้น อ้วนขึ้น พบได้มากในผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี เกิดได้ในเด็ก วัยรุ่น กว่าสามในสี่จะเป็นเพศหญิง สาเหตุของอาการ SAD ยังไม่ชัดเจนนัก แต่คาดว่าน่าจะมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของแสงอาทิตย์ ซึ่งในหน้าหนาวจะมีแสงอาทิตย์น้อยลง นาฬิกาชีวภาพในร่างกายจะทำงานช้าลงไปด้วย การหลั่งสารเคมีในสมองก็พลอยช้าตามลงไป การบำบัดโรคนี้นั้น ปัจจุบันมีการนำเอาแสงสีฟ้า (light phototherapy) มาบำบัดควบคู่ไปกับอาการซึมเศร้าด้วย นอกจากนี้แล้วผู้ป่วยควรหันกลับมาดูแลตัวเอง เอาร่างกายเอาจิตใจออกมาอยู่กับธรรมชาติภายนอกมากขึ้น ดีกว่าอุดอู้อยู่แต่ในห้องมืด ๆ รับพลังงานจากแสงอาทิตย์จะทำให้มีชีวิตชีวามากขึ้น จัดเวลาทำงานและเวลาพักผ่อนให้สมดุลกัน ไม่ปล่อยให้ความเครียดเข้าจู่โจม ทานอาหารที่สมดุลกับความต้องการของร่างกาย การออกกำลังกายก็ช่วยให้กระชุ่มกระชวยได้มากขึ้น เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาและให้พอเพียงกับความต้องการ พูดคุยกับญาติมิตรเพื่อนฝูง หาเวลาไปทำสมาธิ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ตามที่ชอบก็ได้
-
ดวงตาที่สาม ตั้งอยู่บริเวณกลางหน้าผากหว่างคิ้วทั้งสอง
ดวงตาที่สาม ตั้งอยู่บริเวณกลางหน้าผากหว่างคิ้วทั้งสอง บริเวณกึ่งกลางหน้าผากกลางหว่างคิ้วทั้งสองข้างนั้น ชาวอินเดียโบราณเรียกตำแหน่งนี้ว่า ตาที่สาม ของคนเรา ซึ่งหากอธิบายในด้านของการทำงานของสมองส่วนหน้าแล้ว ดวงตาที่สามจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. สมองส่วนหน้าช่วงกลางช่วยปรับสมดุลของการทำงานของร่างกาย ระหว่างประสาทซิมพาเทติก (ประสาทคันเร่ง) และประสาทพาราซิมพาเทติก (ประสาทคันเบรก) ให้สามารถทำงานได้อย่างกระฉับกระเฉงแต่เป็นไปอย่างเรียบสงบ เมื่อประสาทซิมพาเทติก หรือประสาทคันเร่งทำงานมากไป จะทำให้มีแต่ความแข็งขันเคร่งเครียด หงุดหงิด โมโหง่าย หากประสาทเบรกทำงานมากไปจะเฉื่อนชา นอนไปวัน ๆ เบื่อ ซึมเศร้า 2. สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น สื่อสารทางจิตกับผู้อื่นได้ดี 3. มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ผ่านกลไกของประสาทที่ชื่อว่า เซลล์กระจกเงา หรือ มิร์เร่อ นิวร่อน ทำให้มีความรัก ความเห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือผู้คน 4. ควบคุมอารมณ์ไว้ไม่ทำให้เกิดความหุนหันพลันแล่น มีความนิ่ง สงบ 5. ควบคุมความกลัวอย่างไร้เหตุผลหรือมีอาการตื่นตูม 6. รู้จักยับยั้งช่างใจ คิดก่อนพูด คิดก่อนทำ 7. มีความรู้แจ้ง รู้ทันจิตใจของตนเอง เข้าใจพื้นเพความเป็นมาของตนเอง รู้จุดอ่อนจุดแข็งและเป้าหมายของชีวิตตนเอง 8. มีความหยั่งรู้ความรู้สึกของตนเอง โดยเฉพาะเมื่อเครียด…
-
ภาวะซึมเศร้า ทำให้โรคทรุดลง
ภาวะซึมเศร้า ทำให้โรคทรุดลง ภาวะซึมเศร้านั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงและตัวพยากรณ์โรคที่สำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น ภาวะซึมเศร้าจะทำให้เพิ่มโอกาสในอ้วนขึ้นร้อนละ 58 และในทางตรงข้างความอ้วนก็เพิ่มโอกาสซึมเศร้าด้วยร้อนละ 27-55 ภาวะซึมเศร้าเพิ่มโอกาสกล้ามเนื้อตายได้มากกว่าครึ่ง และผู้ที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หากมีอาการซึมเศร้าด้วยจะเพิ่มโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่าสองเท่าเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับผู้ป้วยที่ไม่เป็นโรคซึมเศร้า การใช้จิตบำบัดจึงช่วยลดความซึมเศร้าได้ดีกว่าการใช้ยาอยู่บ้าง การทำจิตบำบัดง่าย ๆ สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องนอนอยู่บ้านจนเกิดความรู้สึกหมดหวังแล้วนั้น ลองพูดคุย ชวนคนอื่น ๆ มาเยี่ยมเยียนบ่อย ๆ และสนับสนุนให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเอง ช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง หรือหาอะไรให้เขาทำแก้เซ็งแบบที่เขาชอบ บางรายก็ใช้วิธีการนวดกดจุดเพื่อลดปวด และใช้การทำสมาธิบำบัดเข้ามาช่วยด้วย การทำสมาธิบำบัดนั้นจะช่วยลดอการปวดได้ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดีขึ้น การทำจิตบำบัดด้วยการทำสมาธิเป็นการเยียวยาตนเอง ทำให้ร่างกายหลังเอนโดรฟีนส์ ทำให้มีความสุขใจมากขึ้น เบิกบาน สดชื่นและมองโลกในแง่ดี อาการซึมเศร้าจะลดลง ความทุกข์ทรมานจะลดลงและเพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย ซึ่งการทำสมาธิบำบัดนี้สามารถประยุกต์ใช้ในคนไข้โรคเรื้องรังอื่น ๆ ได้อีกหลายโรค เพียงการหายใจเข้าออก ลึก ๆ ยาว ๆ อย่างน้อยหนึ่งร้อยครั้งในแต่ละวัน ก็ช่วยได้มากแล้ว ยิ่งหากฝึกไปเรื่อย ๆ จะพบว่าจิตใจมีความสบาย ร่างกายมีความเจ็บปวดน้อยลงไปเองจริง ๆ
-
สารสื่อประสาทที่มีประโยชน์ต่อความจำในผู้สูงวัย
สารสื่อประสาทที่มีประโยชน์ต่อความจำในผู้สูงวัย สมองของผู้สูงวัยนั้น นอกจากจะต้องการการออกกำลังกาย การใช้ความคิด หัดใช้สมองอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงการกินอาหารที่มีประโยชน์แล้ว ยังต้องการสารสื่อประสาทเพื่อช่วยให้สมองสั่งการ รับรู้ เคลื่อนไหว จดจำ และรู้สึก ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์สมองและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย สารสื่อประสาทเหล่านี้มีมากกว่าหกสิบชนิด เช่น – เอนดอร์ฟิน ทำให้สมองรู้สึกปลอดโปร่งโล่งสบาย – ซีโรโทนิน ทำให้นอนหลับได้ดี ลดความกังวลใจ – โพรแอนโทรไซยานิดินส์ ช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองและรับออกซิเจนได้มากขึ้น ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ประสาท พบได้มากในดาร์คช็อกโกแลต ที่มีส่วนผสมของโกโก้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 – อะเซทิลโคลีน รักษาความจำ ลดความขี้ลืม ซึมเศร้า มีลักษณะคล้ายไขมัน หากขาดสารนี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ หากร่างกายได้รับโคลีนมากขึ้นจะช่วยให้ความจำดีขึ้น โคลีนนี้พบได้มากในไข่แดง เครื่องใน ตับวัว นมสด ถั่วลิสง ข้าวกล้อง ธัญพืช มันฝรั่ง กะหล่ำปลี กล้วย ฯลฯ นอกจากการมีสารสื่อประสาทในสมองแล้ว ร่างกายของผู้สูงวัยยังต้องการอาหารดี ๆ และการบำรุงสุขภาพอีกด้วย โดยควรดูแลสุขภาพและปฏิบัติตัวได้แก่ ทานอาหารให้มีความพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย…
-
มาทำความเข้าใจ….กับโรคซึมเศร้า กันเถอะ!!!
มาทำความเข้าใจ….กับโรคซึมเศร้า กันเถอะ!!! มีหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าอยู่มาก วันนี้ลองมาทำความรู้จักกับโรคนี้กันค่ะ โรคซึมเศร้านี้เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง มีอาการซึมเศร้าในระดับที่แตกต่างกันไปตั้งแต่น้อยไปหามาก อาการก็คือจะมีอารมณ์ที่ไม่แจ่มใส เศร้าหมอง หดหู่ เป็นทุกข์ จนถึงท้อแท้ เบื่อชีวิต คิดว่าตนเองไม่มีค่า อยากตายและอาจฆ่าตัวตายได้ โดยสาเหตุของโรคนี้มาจากปัจจัยหลายด้านของจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นสังคม สิ่งแวดล้อมและชีวภาพ โดยมักเกิดอาการหลังจากความสูญเสียหรือพลัดพรากที่กระทบกระเทือนใจอย่างแรง เช่น บุคคลที่รักตายจาก คนรักตีจาก ความกดดันด้านการเงิน การงาน การเรียน ความว้าเหว่ โดดเดี่ยว ขาดความรักความอบอุ่น เป็นต้น และผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ น้ำหนักลด ผอม ขาดสมาธิ ความจำเสื่อม อ่อนเพลีย เบื่อหน่ายกิจกรรมและการงานที่เคยชอบทำ ความรู้สึกทางเพศหมดไป อาจเก็บตัว ไม่เข้าสังคม ขาดความมั่นใจในตนเอง เครียดและวิตกกังวลง่าย เห็นแต่แง่ร้าย ไม่เห็นทางแก้ปัญหา โดยโรคนี้ที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น หลงผิด หูแว่ว มักเกิดกับผู้ใหญ่วัยต้นจนถึงวันกลางคน เกิดได้ง่ายไม่จำเป็นต้องมีความเครียดเป็นสาเหตุ เป็นอันตรายตรงที่อาจฆ่าตัวตายได้ทุกเมื่อ แต่โรคนี้สามารถตอบสนองการรักษาได้ดี ด้วยการใช้ยาและจิตบำบัดก็จะทำให้หายป่วยได้…
-
หัวเราะรักษาโรคได้สารพัด ลองดูสิ!!
หัวเราะรักษาโรคได้สารพัด ลองดูสิ!! การอยู่ในบ้านหรือในสังคมที่อุดมความสดชื่น เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะสนุกครื้นเครงนั้น ช่วยให้อารมณ์สดใจ จิตใจมีสุขภาพดีขึ้นได้มากเลยนะคะ ยิ่งโดยเฉพาะในครอบครัวใดที่มีคนที่ป่วยหนักอยู่ การสร้างบรรยากาศที่ดีขึ้นในครอบครัว ช่วยลดความรู้สึกเจ็บปวดลงได้อย่างไม่น่าเชื่อ แต่เราหาเวลาแต่ละวันอยู่ร่วมกัน แล้วผลัดกันเล่าเรื่องราวขำขันแบ่งปันกันฟัง หรือถ้านึกมุขไม่ออกจะเปิดหนังตลก ทอล์คโชว์ขำ ๆ ดูด้วยกันก็ดีเช่นกัน การหัวเราะอย่างเป็นธรรมชาติทำให้ความรู้สึกเกร็งหรือฝืนหมดไป (การรับน้องหรือปฐมนิเทศพนักงานจึงมักเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ เพราะช่วยละลายพฤติกรรมให้เปิดใจเข้าหากันได้มากกว่า) อีกทั้งการหัวเราะยังสร้างบรรยากาศดีขึ้นในบ้าน กระชับความสัมพันธ์ให้ดีขึ้นได้ นอกจากนี้แล้วการหัวเราะมีประโยชน์ดังต่อไปนี้อีกค่ะ – การหัวเราะช่วยลดความเจ็บปวด ร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น – รักษาอาการซึมเศร้า ช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนิน และโดปามีนมากขึ้น จิตใจจึงสงบเยือกเย็น – เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ ที่เห็นได้ชัดก็คือป้องกันโรคหวัดได้ – การหัวเราะช่วยลดน้ำหนัก เพราะการหัวเราะแม้วันละเพียง 1-5 นาทีต่อวัน สักวันละสิบครั้ง จะช่วยลดความอยากอาหาร จึงมีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งจะแตกต่างกับความเครียดอย่างสิ้นเชิง ยิ่งเครียดน้ำหนักก็ยิ่งขึ้นเพราะอยากอาหารมากกว่าเดิมนั่นเอง – การเปล่งเสียงหัวเราะช่วยบริหารกล้ามเนื้อหัวใจได้ เหมาะแม้สำหรับผู้ป่วยที่นอนบนเตียงและผู้สูงอายุด้วย – การหัวเราะช่วยบริหารกล้ามเนื้อบนใบหน้า และส่วนอื่น ๆ ที่กระเพื่อมขึ้นลงเวลาหัวเราะ เท่ากับได้บริหารร่างกายเบา ๆ…
-
ดูแลพ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านให้ดีก่อนเกิดอันตราย
ดูแลพ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านให้ดีก่อนเกิดอันตราย เวลาผ่านไปเร็วนะคะ แป๊บ ๆ เราก็โตกันเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว และในทางเดียวกันพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ของเราก็แก่ลงไปด้วยเช่นกัน หันไปดูแลท่านกันหน่อยนะคะว่าสุขภาพท่านเป็นอย่างไรบ้าง แม้จะไม่มีโรคร้ายปรากฎออกมาให้เห็นแต่การที่ท่านอายุมากขึ้นแล้ว ก็อาจต้องการความเชื่อเหลือดูแลอยู่บ้างแล้วล่ะค่ะ ลองสังเกตดูว่า… 1. ท่านมีน้ำหนักลดลงบ้างหรือไม่ หากจู่ ๆ ก็น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ แสดงว่าอาจมีบางอย่างผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคขาดสารอาหาร ซึมเศร้า ความจำเสื่อม โรคมะเร็งหรือหัวใจล้มเหลว ควรพาไปพบแพทย์ตรวจสุขภาพให้เป็นประจำนะคะ 2. ดูว่าชีวิตประจำวันท่านเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เช่น ยังมีแรงอาบน้ำแปรงฟันเองหรือเปล่า มีแรงทำกับข้าว หรือแต่งเนื้อแต่งตัวอยู่หรือเปล่า หรือยังทำงานบ้านอยู่เหมือนเดิมได้หรือเปล่า 3. ลองสังเกตการณ์เดินของท่านดูว่ายังเดินเป็นปกติหรือเปล่า สามารถเดินไกล ๆ ไหวหรือเปล่า หรือต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุง 4. อีกทั้งยังควรสังเกตในบ้านด้วยว่ายังเรียบร้อยอยู่หรือไม่ เช่น หลอดไฟขาดเปลี่ยนหรือเปล่า หญ้าตัดหรือไม่ หนังสือพิมพ์หน้าบ้านเก็บหรือเปล่า จานไม่ได้ล้างหลาย ๆ วันเพราะอะไร เครื่องใช้ไฟฟ้าเปิดทิ้งไว้บ่อย ๆ หรือเปล่า เป็นต้น เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติก็ได้ 5. ท่านยังสามารถเดินขึ้นลงบันไดชันๆ…