Tag: ฉี่หนู
-
การป้องกันโรคฉี่หนู
การป้องกันโรคฉี่หนู ในช่วงฤดูฝนที่มักมีน้ำท่วมขัง เป็นระยะที่มีการระบาดของโรคเลปโตสไปโรซิสหรือโรคฉี่หนูได้ง่ายมาก ดังนั้นเราจึงควบคุมดูแล และป้องกันโรคฉี่หนูด้วยการปฏิบัติตัวตามนี้ค่ะ 1. กำจัดหนูในบริเวณที่อยู่อาศัย บ้านพัก สถานที่ทำงาน ร้านอาหาร ตลาด สถานที่ท่องเที่ยว ทุกที่ที่ต้องมีคนเข้าไปใช้งาน 2. ไม่ควรทานอาหารค้างคืนที่เก็บไม่มิดชิด เพราะอาจมีหนูมากินก็ได้ 3. หากต้องทำงานลุยน้ำ ลุยโคลนหรือต้องเกี่ยวข้องกับสัตว์ที่เป็นพาหะ ควรสวมถุงมือยาง รองเท้าบู้ตให้มิดชิด และอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายด้วยสบู่ให้หมดจดหลังจากเสร็จงาน 4. ไม่ควรลงไปเล่นน้ำหรือว่ายน้ำในแหล่งที่อาจมีเชื้อโรคปนเปื้อน เช่น แหล่งน้ำกินของวัว ควาย หมู ทั้งหลาย และควรดูแลเด็ก ๆ ไม่ให้เล่นน้ำด้วย 5. เกษตรกรที่ทำปศุสัตว์ควรแยกบริเวณเลี้ยงสัตว์กับคนอยู่อาศัยให้ชัดเจน กั้นคอกให้เป็นบริเวณ แยกภาชนะใส่น้ำของสัตว์และของคนออกจากกัน ห้ามใช้ร่วมกัน 6. แม้สัตว์จะได้รับการฉีดวัคซีนไม่ให้แสดงอาการของโรคแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าจะรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายไม่ได้ ดังนั้นก็ยังควรระวังจะแพร่เชื้อมาสู่คนได้อยู่ดี 7. ในวัคซีนที่ฉีดให้คนนั้นไม่ได้ป้องกันโรคฉี่หนูได้ทุกเชื้อ และการไล่ฉีดทุกเชื้อก็เป็นไปได้ยากด้วย และเป็นวัคซีนที่ไม่ได้ป้องกันตลอดชีวิตเหมือนวัคซีนชนิดอื่น ๆ จึงไม่แนะนำให้ฉีด 8. แม้จะเคยเป็นโรคนี้มาแล้ว ผู้ป่วยก็จะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อย่อยชนิดนี้เท่านั้น แต่ไม่ได้ป้องกันเชื้อย่อยชนิดอื่น ๆ ดังนั้นก็อาจเป็นใหม่จากเชื้อย่อยตัวอื่นได้อีก 9. หากในบ้านมีผู้ป่วยก็ไม่จำเป็นต้องแยกห้องนอน…
-
ชาวสวนชาวไร่ระวังโรคฉี่หนูในฤดูฝน
ชาวสวนชาวไร่ระวังโรคฉี่หนูในฤดูฝน ในหน้าฝนที่มีน้ำขังเฉอะแฉะ และในนาข้าวในไร่สวนต่าง ๆ นั้น เป็นช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อโรคฉี่หนูมาก เพราะเชื้อจะแฝงตัวอยู่ตามแหล่งน้ำขังต่าง ๆ พบได้ตั้งแต่ในช่วงฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว ผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อก็คือผู้ที่เหยียบย่ำหรือทำงานอยู่ในแหล่งน้ำขัง รวมทั้งชาวสวน ชาวไร่ ชาวนา คนเลี้ยงสัตว์ คนขุดลอกคลองบึง หรือเด็ก ๆ ที่ชอบกระโดดน้ำเล่นตามแหล่งน้ำธรรมชาติด้วย เชื้อฉี่หนู หรือเชื้อเลปโตสไปโรซิสนั้นจะอาศัยอยู่บริเวณท่อไตของสัตว์กัดแทก จำพวก หนู กระรอก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ โดยพบว่าหนูทุกชนิดเป็นตัวแพร่เชื้อที่สำคัญ ซึ่งเชื้อจะถูกขับออกมากับปัสสาวะของสัตว์และปนเปื้อนตามแหล่งน้ำ พื้นดินแฉะทั่วไป เชื้อโรคนี้สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล หรือเยื่อบุอ่อนต่าง ๆ เช่น จมูก ตา หรือในปาก ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ การกินน้ำและกินอาหารที่ปนเปื้อนฉี่ของสัตว์เหล่านี้ก็ทำให้เกิดโรคได้เหมือนกัน อาการของโรคฉี่หนูจะมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรงเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู้กับปริมาณของเชื้อและภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย โดยจะฟักตัวในร่างกายประมาณ 2-3 อาทิตย์แล้วจึงแสดงอาการ ไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะบริเวณน่อง มีรอยเขียวช้ำบริเวณผิวหนัง เยื่อบุตาอักเสบมีเลือดไหลออกในลูกตา ผู้ที่รักษาไม่ทันอาจตายเพราะภาวะไตวาย ตับวายหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ด้วย หากคนในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดมีอาการดังกล่าวมาหลังจากไปสัมผัสแหล่งน้ำท่วม ควรรีบพาไปพบแพทย์ ผู้ที่จำเป็นต้องเหยียบย่ำเข้าไปในแหล่งน้ำชื้นแฉะควรแต่งกันให้รัดกุม สวมรองเท้าบู้ทกันน้ำได้ ทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งหลังจากเสร็จงาน ไม่ควรใช้น้ำตามแหล่งน้ำนั้นล้างหน้าหรือล้างแผง หากมีบาดแผลหรือแผลถลอกควรใช้พลาสติกกันน้ำปิดแผลและหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำขังหรือพื้นดินชื้นแฉะด้วย…
-
หน้าฝนระวังโรคฉี่หนู
หน้าฝนระวังโรคฉี่หนู ในระยะเวลาที่ฝนกำลังตกพรำไม่เว้นแต่ละวันในระยะนี้ ทำให้ผู้ที่ไม่ค่อยดูแลรักษาตัวเองเท่าไรอาจป่วยเป็นโรคฉี่หนูได้ ซึ่งโรคฉี่หนูนี้เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์ประเภทสัตว์กัดแทะขนาดเล็ก เช่น หนู กะรอก และยังสามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นได้ไม่ว่าจะเป็น หมา แมว วัว ควาย ฯลฯ ซึ่งหนูนั้นเป็นตัวการแพร่เชื้อที่สำคัญมาก โดยเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคเลปโตสไปโรซิสหรือฉี่หนูนี้จะถูกขับออกมาจากปัสสาวะของหนู แล้วปนเปื้อนอยู่ตามแหล่งน้ำสกปรก ท่อน้ำขัง ที่เฉอะแฉะ พื้นดินแฉะ ๆ ผู้ที่เข้าไปเดินย่ำหรือสัมผัสกับแหล่งน้ำเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นชาวไรชาวสวน ผู้ที่ทำปศุสัตว์ ผู้ที่ขุดลอกคูคลอง ผู้ทำประมง หาปลา ปู หรือเด็ก ๆ ที่เล่นน้ำ เมื่อสัมผัสกับน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้เข้าไป จะทำให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลเล็ก ๆ หรือเยื่อบุบอบบาง ไม่ว่าจะเป็น จมูก ตา ปาก ก็จะทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้การทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อก็สามารถติดโรคได้ด้วย อาการของโรคฉี่หนูนี้ มีหลายระดับ ซึ่งอาจแสดงอาการเพียงเล็กน้อยหรือแสดงอาการรุนแรงจนเสียชีวิตได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายผู้ติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันและปริมาณของเชื้อด้วย ซึ่งระยะแสดงอาการจะอยู่ที่ราว 2-3 สัปดาห์ อาการนั้นจะแสดงออกมาเป็น การมีไข้สูง มักปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากยิ่งโดยเฉพาะบริเวณน่อง ปรากฏรอยจ้ำเลือดหรือรอยช้ำเขียวตามผิวหนัง เยื่อบุตาอักเสบและมีเลือดออกในลูกตา หากมีอาการที่รุนแรงแล้วไม่ยอมรับการรักษาอาจเสียชีวิตจากตับวายหรือไตวาย และเยื่อหุ้นสมองอักเสบได้…