Tag: ฉายแสง
-
“ขมิ้นชัน” สมุนไพรป้องกันมะเร็ง
“ขมิ้นชัน” สมุนไพรป้องกันมะเร็ง ในขณะที่ความสะดวกสบายทันสมัยของโลกกำลังก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ โรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็งกลับกลายเป็นภัยคุกคามมนุษยชาติ มากยิ่งกว่าในยุคไหน ๆ แต่อย่างไรก็ดี ยังโชคดีที่คนไทยเรายังมีสมุนไพรอยู่ชนิดหนึ่ง ที่หาทานได้ง่าย และเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้กันมาช้านานที่อาจจะเป็นความหวังใหม่ในการรักษาโรคมะเร็ง สมุนไพรชนิดนั้นก็คือ “ขมิ้นชัน” นั่นเองค่ะ ขมิ้นชันมีสารที่ช่วยยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่ที่ไปหล่อเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ช่วยยับยั้งการแบ่งตัว และทำให้กลไกที่ทำให้เซลล์ตายเป็นปกติ จึงช่วยหยุดยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยคีโม ทำให้การฉายรังสีมีประสิทธิภาพดีขึ้น โดยขมิ้นชันช่วยให้เซลล์มะเร็งไวต่อการฉายรังสี และช่วยป้องกันเซลล์ปกติมิให้ถูกรังสีทำลายได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งการกินขมิ้นชันยังไม่มีผลข้างเคียง ไม่มีความเป็นพิษต่อร่างกายอีกด้วย แต่ขมิ้นชันเองก็ต้องมีข้อควรระวังในการใช้งานเช่นกัน 1. ผู้ป่วยที่มีอาการท่อน้ำดีอุดตันไม่ควรกินขมิ้นชัน เพราะอาจทำให้น้ำดีหลั่งออกมาแล้วตกตะกอนในถุงน้ำดี ยิ่งทำให้อุดตันมากขึ้นและปวดขึ้นด้วย แต่หากเป็นคนปกติทานจะกระตุ้นการหลั่งน้ำดีป้องกันการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้ 2. ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดเช่น ยาวาร์ฟาริน จะเสริมฤทธิ์กันทำให้เลือดออกมากกว่าเดิม จึงไม่ควรทานขมิ้นชัน อย่างไรก็ดี ขมิ้นชันก็ไม่ใช่ยารักษาโรคมะเร็ง ไม่พบความเป็นพิษและสามารถปลูกได้ทั่วประเทศ แม้จะทานเข้าไปก็ไม่ก่อให้เกิดผลเสีย หากคนไทยหันมากินขมิ้นชันมากขึ้นก็จะช่วยต้านทานการก่อกำเนิดของเซลล์มะเร็งได้ จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในระยะยาว
-
เฝ้าระวัง…โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
—
by
เฝ้าระวัง…โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในประเทศไทยนั้นพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ชายมากเป็นอันดับสาม รอบจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด ในส่วนผู้หญิงพบเป็นอันดับที่ห้า โรคนี้นั้นยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนแต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างได้แก่ – อายุมากกว่า 50 ปีขึ้น – มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน – มีประวัติเคยเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเต้านมก่อน – ตรวจพบเคยมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบมาก่อน – มีภาวะโรคอ้วน สูบบุหรี่ – ฯลฯ ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่โดยด่วน ได้แก่ อุจจาระมีมูกเลือดหรือเป็นสีดำ หรือสีดำแดง หรือการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือท้องผูกและท้องเสีย ขนาดของอุจจาระเล็กกว่าปกติ รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด แน่นท้อง อึดอัดท้อง ปวดท้อง อาเจียน อ่อนเพลีย น้ำหนักลดโดยไม่รู้ตัว ฯลฯ การรักษานั้นสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งและตำแหน่งของโรค ทั้งการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด การรักษาด้วยรังสี การใช้หลายวิธีร่วมกัน เป็นต้น การปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้แก่ การกินอาหารที่ปรุงสุกสะอาด กินผักและผลไม้มาก ๆ เพิ่มกากใยในลำไส้ เพื่ออุจจาระได้ง่าย หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด มีไขมันสูง รักษาน้ำหนักตัวให้ได้มากตรฐาน ออกกำลังกายสม่ำเสมอและงดการสูบบุหรี่…
-
โรคมะเร็งและแนวทางการรักษา
โรคมะเร็งและแนวทางการรักษา โรคมะเร็งในปัจจุบันนี้ พบได้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ยิ่งโดยเฉพาะเพสหญิงด้วยแล้ว ทั้งวิถีชีวิตและการกินอาหรก็เลียนแบบไปทางตะวันตกมากขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากในผู้หญิงจึงเปลี่ยนแปลงไปตามแนวทางผู้หญิงตะวันตกมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งอาการผิดปกติสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเป็นมะเร็งนั้นจะได้แก่อาการอ่อนเพลีย ร่วมกับอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลงไปประมาณร้อยละ 10 ของร่างกายภายในหกเดือน (แต่ถ้าขึ้น ๆ ลง ๆ ถือว่าปกติ) แต่อาการเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นโรคมะเร็งอย่างเดียว อาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่นได้ด้วย การรักษามะเร็งนั้นมีการรักษาร่วมกันหลายวิธี ทั้งการผ่าตัด การรักษาด้วยเคมี การฉายแสง ในส่วนของการผ่าตัดนั้นใช้ได้กับมะเร็งแทบทุกชนิดแต่ต้องดูความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นระยะของโรค หรืออวัยวะนั้นผ่าตัดได้หรือไม่ ส่วนมะเร็งที่เลือกผ่าตัดเป็นอันดับแรก ๆ ก็คือ มะเร็งตับ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งช่องปากระยะต้น มะเร็งเต้านม มดลูก ต่อมลูกหมากระยะต้น เป็นต้น สำหรับวิธีเคมีบำบัด จะใช้เพื่อลดการกระจายตัวของโรคไปที่อื่นหลังการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ก็มีมะเร็งบางชนิดที่ทำได้แค่การให้เคมีบำบัดอย่างเดียว เช่น มะเร็งเม็ดเลือด และบางครั้งก็มีการให้ยาเคมีบำบัด ร่วมกับการฉายรังสี เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น มะเร็งศีรษะและลำคอ ในส่วนของการให้ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่แล้วจะเป็นยาฉีดที่ให้ทางหลอดเลือดดำ หรืออาจให้ยาเคมีบำบัดทางอุปกรณ์พิเศษที่ต่อเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่ได้โดยตรง เนื่องจากการให้ยาเคมีบำบัดต้องให้หลายครั้ง ซึ่งต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพราะอาจมีอาการหลังจากให้ยาได้ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นไส้…