Tag: ฆ่าตัวตาย

  • ฆ่าตัวตาย.. ช่วยได้ก็ควรช่วยก่อน

    ฆ่าตัวตาย.. ช่วยได้ก็ควรช่วยก่อน

    ฆ่าตัวตาย.. ช่วยได้ก็ควรช่วยก่อน แม้ข่าวฆ่าตัวตายจะไม่มากเท่าข่าวฆ่ากันตาย แต่โดยสถิติจากการสำรวจแล้วปริมาณคนที่ฆ่าตัวตายกลับมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี หากเรามีคนที่ใกล้ชิดอยู่ในความทุกข์อย่างยิ่งและมีท่าทีอาจจะปลิดชีวิตตัวเอง เราควรให้ความช่วยเหลือกับเขา แต่จะช่วยอย่างไรดี? วันนี้ขอนำเอาคำแนะนำจากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีมาฝากคุณผู้อ่านกันค่ะ – ให้ความสนใจกับคำพูดของเขา อย่าคิดไปเองว่าเขาพูดเล่นหรือเรียกร้องความสนใจ เพราะแม้ในสายตาเราจะมองว่าปัญหาของเขาไม่ได้รุนแรง แต่ต่างคนก็ต่างมีความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เท่ากัน การที่เขาจะฆ่าตัวตายหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเรามองว่าปัญหาของเขาเล็กหรือใหญ่ แต่ขึ้นอยู่กับว่าเขามองปัญหาของตัวเองอย่างไร – การฆ่าตัวตายยังไม่ได้เป็นการตัดสินใจที่แน่นอนแล้ว แต่ยังสองจิตสองใจ ลังเลอยู่มาก คนฆ่าตัวตายทุกคนอยากมีชีวิตอยู่ แต่เขาทนทุกข์ทรมานต่อไปไม่ไหว หากได้รับความช่วยเหลือหรือมีคนชี้แนะ เขาก็ยังเปลี่ยนใจได้ – แม้เขาจะไม่พูดออกมา เราก็ควรเข้าหาไปช่วยเหลือก่อน เพราะในช่วงนี้เขาจะอ่อนไหวและเจ็บปวดกับเรื่องราวรอบตัวมาก กลัวไม่มีใครช่วย กลัวการถูกปฏิเสธ กลัวไม่มีใครเข้าใจ ฯลฯ สภาวะจิตใจที่ตกต่ำมากขนาดนี้หากไม่มีคนยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ เขาก็จะจมอยู่ในความทุกข์เช่นนั้นจนอาจตัดสินใจฆ่าตัวตาย – “การฟัง” คือสิ่งที่สำคัญที่สุด บางครั้งคุณไม่จำเป็นต้องทำอะไร แค่ทำให้เขาสบายใจขึ้นชงอะไรอุ่น ๆ ให้ดื่ม หรือน้ำเย็น ๆ ให้สบายใจก็ได้ ให้เขาพูดสิ่งที่อึดอัดออกมา ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องพูดหรือให้กำลังใจอย่างไร ความจริงแล้วการฟังก็คือการแสดงความจริง และความปรารถนาดีในรูปแบบหนึ่ง แล้วทุกอย่างมันจะเป็นไปเองโดยธรรมชาติ เมื่อเขารับรู้ถึงจิตใจที่ดีของเรา เขาจะเปิดใจเล่าให้เราฟังเอง อย่าเพิ่งไปขัดหรือแย้งเขาด้วยมุมมองของเรา ถ้าเขาคิดเหมือนเราก็คงไม่ทุกข์แบบนี้ แค่ให้เขารู้ว่าเราอยู่ข้าง…

  • 10 วิธีขจัดความเครียด

    10 วิธีขจัดความเครียด

    10 วิธีขจัดความเครียด ความเครียดที่ใครต่อใครก็เป็นกันอยู่นั้น ท่านอาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาของชีวิตเรา แต่ความจริงแล้วหากมีความเครียดที่มากเกินไป อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพเราได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง แผลในกระเพาะอาหาร โรคหัวใจ โรคอ้วน เบาหวาน หรือฆ่าตัวตาย ตลอดจนเรื่อยจนถึงปัญหากับสังคมรอบข้าง และความจำได้ด้วย ความเครียดจึงเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม แต่ควรหาทางขจัดความเครียดออกไปจะดีกว่าค่ะ 1. หากมีความเครียดที่เกิดจากการต้องไปทำอะไรแปลกใหม่ เช่น การสัมภาษณ์งาน หรือนำเสนอผลงาน ให้ลองนึกภาพเหตุการณ์หรือวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อสร้างความมั่นใจให้มากขึ้น ให้มองเห็นแต่ภาพดี ๆ แต่ความสำเร็จเท่านั้น กับทั้งเตรียมตอบคำถาม แก้สถานการณ์ไว้ด้วย 2. มองด้านดีของปัญหา จะทำให้สบายใจได้มากขึ้น 3. ลองวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าหากมีเหตุการณ์ด้านลบเกิดขึ้นจะทำอะไรกับชีวิต เช่น บริษัทปลดออกจากงาน เป็นต้น 4. เวลาสมองเกิดความตึงเครียดให้ใช้วิธีหายใจเข้าออกลึก ๆ 5. สร้างอารมณ์ที่ดีขึ้นด้วยการเปลี่ยนความคิดจากความเครียดหรือเรื่องที่ไม่สบายใจอย่างฉับพลันไปเป็นเรื่องที่ทำให้มีความสุข เช่น มองดูภาพสัตว์เลี้ยง หรือลูก ๆ หรือเด็กทารกที่ทำให้อารมณ์ดี 6. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อดู เพราะความเครียดมากทำให้เราเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ตัว ค่อย ๆ ไล่ผ่อนคลายไปทีละส่วน ๆ 7. การออกกำลังกายให้เหงื่อออกช่วยลดความเครียดได้…

  • ปัจจัยที่อาจทำให้คนเสี่ยงฆ่าตัวตาย

    ปัจจัยที่อาจทำให้คนเสี่ยงฆ่าตัวตาย

    ปัจจัยที่อาจทำให้คนเสี่ยงฆ่าตัวตาย แต่ละปีนั้น ทั่วโลกมีผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าหนึ่งล้านราย แม้แต่ในประเทศไทยเองก็มีอัตราการฆ่าตัวตายเฉลี่ยถึงหกรายต่อประชากรหนึ่งแสนคน สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อจิตใจของคนใกล้ตัวอย่างมากด้วย ซึ่งผู้ชายนั้นจะมีการฆ่าตัวตายมากกว่าผู้หญิง นับเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมีสาเหตุได้มากมาย ซึ่งมีปัจจัยนำที่จะทำให้คนเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายดังต่อไปนี้ – มีปัญหาสุขภาพจิต โรคจิต อารมณ์แปรปรวน ภาวะซึมเศร้า – มีประวัติทำร้ายตนเองมาก่อน – มีปัญหาสุขภาพจิตและใช้ยาเสพติดร่วมด้วย – ในครอบครัวเคยมีคนฆ่าตัวตาย – มีความโดดเดี่ยวสิ้นหวัง ถูกตัดขาดจากสังคมและผู้คน – เกิดความสูญเสียด้านความสัมพันธ์ การเงิน การงาน สังคม – เจ็บป่วย – มีบุคลิกภาพแบบก้าวร้าว หุนหันพลันแล่น – ไม่มีโอกาส หรือมีอุปสรรคในการเข้ารับการรักษาทางจิตเวช – อับอายในปัญหาสุขภาพจิตและการใช้ยาเสพติด จึงไม่เต็มใจรับการช่วยเหลือหรือรักษา – มีประสบการณ์หรืออิทธิพลจากการฆ่าตัวตายของคนรัก ทั้งคนในครอบครัว เพื่อนสนิท ดาราหรือคนดังที่ตนชื่นชอบ ทั้งประสบการณ์ตรงหรือได้รับจากสื่อต่าง ๆ – ศาสนาและลัทธิความเชื่อบางอย่าง ที่เชื่อว่าการฆ่าตัวตายเป็นการแก้ปัญหาที่น่ายกย่อง – มีความสามารถใช้การเข้าถึงอาวุธหรือเครื่องมือทำร้ายตนเองได้ง่าย เช่น มีด ปืน ฯลฯ ดังนั้นหากคนในครอบครัวมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย…

  • มาทำความเข้าใจ….กับโรคซึมเศร้า กันเถอะ!!!

    มาทำความเข้าใจ….กับโรคซึมเศร้า กันเถอะ!!!

    มาทำความเข้าใจ….กับโรคซึมเศร้า กันเถอะ!!! มีหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าอยู่มาก วันนี้ลองมาทำความรู้จักกับโรคนี้กันค่ะ โรคซึมเศร้านี้เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง มีอาการซึมเศร้าในระดับที่แตกต่างกันไปตั้งแต่น้อยไปหามาก อาการก็คือจะมีอารมณ์ที่ไม่แจ่มใส เศร้าหมอง หดหู่ เป็นทุกข์ จนถึงท้อแท้ เบื่อชีวิต คิดว่าตนเองไม่มีค่า อยากตายและอาจฆ่าตัวตายได้ โดยสาเหตุของโรคนี้มาจากปัจจัยหลายด้านของจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นสังคม สิ่งแวดล้อมและชีวภาพ โดยมักเกิดอาการหลังจากความสูญเสียหรือพลัดพรากที่กระทบกระเทือนใจอย่างแรง เช่น บุคคลที่รักตายจาก คนรักตีจาก ความกดดันด้านการเงิน การงาน การเรียน ความว้าเหว่ โดดเดี่ยว ขาดความรักความอบอุ่น เป็นต้น และผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ น้ำหนักลด ผอม ขาดสมาธิ ความจำเสื่อม อ่อนเพลีย เบื่อหน่ายกิจกรรมและการงานที่เคยชอบทำ ความรู้สึกทางเพศหมดไป อาจเก็บตัว ไม่เข้าสังคม ขาดความมั่นใจในตนเอง เครียดและวิตกกังวลง่าย เห็นแต่แง่ร้าย ไม่เห็นทางแก้ปัญหา โดยโรคนี้ที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น หลงผิด หูแว่ว มักเกิดกับผู้ใหญ่วัยต้นจนถึงวันกลางคน เกิดได้ง่ายไม่จำเป็นต้องมีความเครียดเป็นสาเหตุ เป็นอันตรายตรงที่อาจฆ่าตัวตายได้ทุกเมื่อ แต่โรคนี้สามารถตอบสนองการรักษาได้ดี ด้วยการใช้ยาและจิตบำบัดก็จะทำให้หายป่วยได้…

  • ป้องกันการฆ่าตัวตายของคนใกล้ชิด

    ป้องกันการฆ่าตัวตายของคนใกล้ชิด

    ป้องกันการฆ่าตัวตายของคนใกล้ชิด เชื่อหรือไม่คะ แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายถึงปีละกว่า 1 ล้านคนหรือเฉลี่ย 1 คนทุก ๆ 40 วินาทีเลยนะคะ นี่ยังไม่นับว่ายังมีคนพยายามฆ่าตัวตายอีกประมาณ 10-20 ล้านคนจากทั่วโลกตัว  แม้แต่ในประเทศไทยเองจากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตนั้น มีคนไทยฆ่าตัวตายกันกว่าปีละหกแสนคนเลยทีเดียว  นับเป็นปัญหาสำคัญมากในระดับโลก จนทำให้องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ทุกวันที่ 10 กันยายนของทุกปีเป็นวัน ป้องกันการฆ่าตัวตายโลก World Suicide Prevention Day   แม้สาเหตุการฆ่าตัวตายจะซับซ้อนและมีหลากหลายปัจจัย แต่นักจิตวิทยาก็ยืนยันว่าปัจจัยที่มีผลต่อการฆ่าตัวตายทุกเพศทุกวัยคือโรคซึมเศร้าค่ะ จากข้อสังเกตของ พญ. อภิสมัย  ศรีรังสรรค์  จิตแพทย์โรงพยาบาลศรีธัญญา  ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่าผู้ที่มีความเสี่ยงคิดฆ่าตัวตายมักเป็นคนโสด มีนิสัยหุนหันพลันแล่น, คนที่เป็นโรคร้าย  โดยผู้ชายจะมีอัตราการฆ่าตัวตายแล้วสำเร็จมากกว่าผู้หญิง และเกิดขึ้นกับกลุ่มวัยรุ่นและผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่น ๆ ญาติและผู้อยู่ใกล้ชิดควรเปลี่ยนความเชื่อที่มองว่า การฆ่าตัวตายเป็นการเรียกร้องความสนใจ เปลี่ยนเป็นมองว่านั่นคือสัญญาณขอความช่วยเหลือ  ซึ่งจะทำให้เอาใจใส่และให้ความดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น  หากพบสัญญาณดังกล่าวควรแสดงการดูแล และให้ความช่วยเหลือด้วยการเข้าไปสอบถามก่อน และให้เขาได้รู้ว่าคนรอบข้างก็เจ็บปวดไปกับเขาด้วยเช่นกัน  เท่านี้ก็จะช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายได้ หากคนรอบข้างคุณแสดงอาการที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายหรือโรคซึมเศร้าออกมา ควรดูแลใกล้ชิดและพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาและป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า