Tag: คางทูม
-
วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด
วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และเด็กในครรภ์ คุณผู้หญิงทุกคนที่กำลังตั้งครรภ์ควรได้รับวัคซีนตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ แต่ก็มีบางรายที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนการตั้งครรภ์ หรือได้รับไม่ครบทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคระหว่างการตั้งครรภ์ได้ วัคซีนที่แนะนำให้ฉีดไว้เพื่อป้องกันสุขภาพได้แก่ – วัคซีนป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก แม้ว่าหญิงตั้งครรภ์ผู้นั้นจะเคยได้รับวัคซีนมาก่อนก็ยังต้องฉีดไว้อยู่ดี ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการฉีดเพื่อให้ภูมิคุ้มกันนี้ไปสู่ลูกด้วยก็คือ ในช่วงอายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ เป็นวัคซีนที่มีอยู่ครบในเข็มเดียว สาเหตุที่ต้องฉีดเป็นเพราะว่าขณะนี้โรคคอตีบอาจกลับมาระบาดได้อีก โรคไอกรนเด็กมักจะติดเชื้อมาจากแม่ และบาดทะยักก็ยังเป็นการป้องกันการติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์และคลอดด้วย – วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพราะเป็นโรคที่ทำอันตรายกับคนท้องได้มากกว่าคนธรรมดา หากติดเชื้อขึ้นมาจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากกว่าปกติได้ ทั้งเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ปอดบวม หัวใจวาย 1 เข็มจะป้องกันได้ 1 ปี – วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นวัคซีนสำคัญที่จำเป็นต้องฉีด หากไม่เคยได้รับวัคซีนเลยหรือเจาะเลือดแล้วไม่มีภูมิต้านทานเลย หญิงตั้งครรภ์จะมีโอกาสเสี่ยงได้ง่าย เช่น ได้รับจากสามีที่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี – หากในบ้านเลี้ยงสัตว์ไว้ ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ถ้าไม่แน่ใจว่ามีเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่ก็ให้ฉีดวัคซีนได้ทันที นอกจากนี้แล้วยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ไข้สมองอักเสบ หัด คางทูม หัดเยอรมัน โปลิโอ วัณโรค ฯลฯ…
-
นักวิจัยอเมริกัน เร่งพัฒนายาฆ่าเชื้อไวรัสแบบครอบจักรวาล
นักวิจัยอเมริกัน เร่งพัฒนายาฆ่าเชื้อไวรัสแบบครอบจักรวาล เชื้อไวรัสมีลักษณะประหลาดอย่างหนึ่ง แม้ว่าจะตายไปแล้ว เชื้อไวรัสมีโครงสร้างทั่วไปทางพันธุกรรมที่ช่วยให้มันก่อให้เกิดโรคได้ แต่เชื้อไวรัสไม่มีความสามารถแพร่พันธุ์ได้ในตัว เหมือนกับเชื้อเเบคทีเรีย ที่แตกตัวเพิ่มจำนวนขึ้นจากดีเอ็นเอของตัวมันเองหลังจากเข้าไปในร่างกายของคน นักวิจัยอเมริกันค้นพบสารเคมีกลุ่มหนึ่งที่หยุดยั้งเชื้อไวรัสที่เข้าไปในเซลล์ของผู้ติดเชื้อไม่ให้แตกตัวเพิ่มรวมทั้งเชื้อไวรัสมาร์บวก (Marburg) เชื้อไวรัสอีโบล่า (Ebola) ที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกชนิดหนึ่งและเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดและคางทูม แต่นักวิจัยพบว่าสารเคมีที่ค้นพบไม่สามารถสกัดกั้นการแพร่ตัวของเชื้อไวรัสได้ทุกชนิดและใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์เนื่องจากเชื้อไวรัสเอดส์เข้าไปในตัวเซลล์และแทรกแซงการทำงานของเซลล์แตกต่างไปจากเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ นักวิจัยหวังว่าผลการศึกษานี้อาจจะนำไปสู่การพัฒนายาต้านไวรัสแบบครอบจักรวาลเพื่อบำบัดการติดเชื้อไวรัสที่ยังรักษาไม่ได้ในปัจจุบัน คล้ายๆกับยาปฏิชีวนะที่ใช้บำบัดการติดเชื้อเเบคทีเรีย ทีมงานต้องการค้นหาตัวยาที่มีประสิทธิภาพในการสกัดกั้นระบบการแตกตัวของเชื้อไวรัสในเซลล์ร่างกายผู้ติดเชื้อเพื่อไม่ให้เกิดโรค หากทำได้ ก็จะเป็นหนทางนำไปสู่การพัฒนายาตัวใหม่ขึ้นมาบำบัดการติดเชื้อไวรัสเหล่านี้ได้ในอนาคต