Tag: คัดจมูก
-
การป้องกัน…ไข้หวัดในเด็กเล็ก
การป้องกัน…ไข้หวัดในเด็กเล็ก โรคหวัดเป็นโรคติดเชื้อที่เด็ก ๆ เป็นกันมากที่สุด ยิ่งอยู่ในวัยที่ต้องเข้าไปอยู่ในเนอสเซอรี่ โรงเรียนอนุบาลทั้งหลายแล้ว ยิ่งติดต่อกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เด็กบางคนเป็นหวัดแทบทุกเดือน เพราะเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นหวัดได้นั้นมีมากกว่าสองร้อยชนิด อาการของเด็กที่เป็นหวัดนั้น โดยมากจะมีอาการ คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ มีไข้ ปวดศีรษะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็ก ๆ อย่างใกล้ชิดด้วยการให้เด็กจิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ กินอาหารเหลวหรืออาหารที่ย่อยง่าย หากยังกินนมแม่อยู่ก็ให้ดูดนมบ่อยขึ้น ดูแลน้ำมูกให้จมูกโล่ง ให้เด็กได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ให้เด็กปิดปากเวลาไอหรือจาม และแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อด้วย รวมไปถึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือแม้กระทั่งปอดบวม ซึ่งหากเกิดความผิดปกติได้แก่ มีไข้สูงเกินกว่าสองวัน เด็กร้องกวนโยเย เจ็บหู ไอมากหรือไอเสียงก้อง หายใจแรงจนซี่โครงบุ๋ม หรือหายใจถี่เร็ว ควรรีบพบแพทย์ เพื่อป้องกันอันตราย ในระยะนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กมาหาหมอตามนัดและให้ลูกทานยาให้ครบ อย่าหยุดยาเองโดยพละการ ไม่ใช่เห็นว่าอาการทุเลาแล้วจึงหยุดยาเอง ทำแบบนี้เป็นอันตรายมากเพราะจะทำให้ติดเชื้อแทรกซ้อนอื่นได้ง่าย และทำให้ดื้อยาด้วย และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการป้องกันเด็กมิให้เป็นไข้หวัดเสียตั้งแต่แรก ได้แก่การดูสุขภาพของเด็กให้แข็งแรง โดย – ทานอาหารให้ครบหมู่และเหมาะสมตามวัยของเด็ก – ปล่อยให้เด็กได้วิ่งเล่นกลางแจ้งเพื่อเป็นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ – ให้เด็กได้เข้านอนแต่หัวค่ำและนอนหลับอย่างพอเพียงทุกวัน…
-
ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป.
ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป. เพื่อสภาวะอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้วงจรของยุงลายซึ่งเป็นพาหะสำคัญของโรคไข้เลือดออก มีระยะที่สั้นลง นั้นจึงทำให้แพร่พันธุ์ได้เร็วมากขึ้น โอกาสในการแพร่เชื้อของยุงก็มากขึ้นไปด้วย จะเห็นได้ว่าเมื่อไรที่ประเทศไทยเข้าสู่หน้าฝน ไข้เลือดออกก็ระบาดอย่างหนัก หากผู้ติดเชื้อเป็นเด็กอายุ 5-14 ปีแล้วล่ะก็ มีความเสี่ยงมากที่จะเสียชีวิต จะเห็นได้ว่าปีหลัง ๆ ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นแสนคน และเสียชีวิตกันเป็นหลักพัน และขยายความเสี่ยงออกมาสู่เด็กโตและวัยผู้ใหญ่ก็ป่วยด้วยไข้เลือดออกกันมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการจัดการกับต้นกำเนิดของยุงลายพาหะของโรคไข้เลือดออกนั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในชุมชน ให้ลงมือช่วยกันอย่างเอาจริงเอาจังและมีความต่อเนื่อง จึงจะสามารถควบคุมการระบาดได้ โดยอาศัยมาตรการ 4 ป. ดังต่อไปนี้ 1. ปิด คือการใช้ฝาไปปิดภาชนะเก็บน้ำต่าง ๆ ให้หมด ไม่ว่าจะเป็นกระถางต้นไม้ อ่างน้ำ โอ่ง แทงค์เก็บน้ำ ฯลฯ 2. เปลี่ยน คือการหมั่นเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ หรือจานรองขาตู้กับข้าว โดยการหมั่นเปลี่ยนทุกอาทิตย์ หรือหยอดเกลือหรือผสมน้ำส้มสายชูลงในน้ำดังกล่าว ป้องกันการวางไข่ของยุงลายได้ 3. ปล่อย ก็คือการปล่อยปลาหางนกยูง ปลาสอด ลงไปในอ่างบัว บ่อน้ำ โอ่งน้ำเพื่อกินลูกน้ำเป็นอาหาร ถือเป็นการตัดตอนการแพร่พันธุ์ของยุงลายไปได้ 4. ปรับปรุง บ้านทุกหลังในหมู่บ้านหรือชุมชน…
-
การรักษาโรคภูมิแพ้ และทางเดินหายใจ
การรักษาโรคภูมิแพ้ และทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้นั้น เป็นโรคที่สมัยนี้คนรุ่นใหม่ที่อาศัยอยู่ท่ามกลางมลพิษเริ่มเป็นกันมากขึ้น โรคภูมิแพ้เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยากับ “สารก่อภูมิแพ้” เช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ หรือขนสัตว์ชนิดต่าง ๆ ฯลฯ จนร่างกายปล่อยสารที่เรียกว่าฮิสตามีนอกมา จึงทำให้เยื่อบุของร่างกายนั้นเกิดอาการระคายเคืองขึ้น ซึ่งอาการหลัก ๆ ของผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจก็คือ มีน้ำมูกใส จาม คัดจมูก คันจมูก บางท่านก็มีอาการของไซนัสอักเสบ และมีอาการที่ดวงตาด้วย เช่น คันตา ตาแดง ขอบตาคล้ำ หรือบางคนก็มีอาการที่หูก็คือหูอื้อ หรือหูชั้นกลางอักเสบได้ด้วย ซึ่งการจะหลีกเลี่ยงอาการภูมิแพ้ได้นั้น ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าเราแพ้อะไรบ้าง ซึ่งวิธีการที่จะรู้ได้ก็คือการทดสอบภูมิแพ้ โดยแพทย์จะทำการหยดน้ำยาสลัดจากสารก่อภูมิแพ้บนผิวหนังของเราแล้วใช้เข็มสะกิดที่ผิวหนัง ซึ่งการทดสอบนี้จะไม่เจ็บและจะทราบผลภายในระยะเวลาแค่ 15 นาทีเท่านั้น และเมื่อเราได้ทราบแล้วว่าเราแพ้สารอะไร ก็จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงสารก่ออาการแพ้นั้นได้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของการรักษาและดูแลตนเองร่วมกันทั้งแพทย์และผู้ป่วยจะเป็นดังต่อไปนี้ 1. ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ตนเองแพ้ เช่น หากแพ้ขนสัตว์ก็ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ไว้ในบ้าน หรือหากแพ้ไรฝุ่น ก็ไม่ควรปูพรมในห้องนอน หรือควรทำความสะอาดเครื่องนอนด้วยน้ำร้อนทุกสองสัปดาห์ หรืออาจเปลี่ยนไปใช้เครื่องนอนที่สามารถกันไรฝุ่นได้ 2. หากสัมผัสกับสารก่ออาการแพ้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ทานยาแก้แพ้พวกยาแอนตี้ฮิสตามีนบางชนิด แต่ก็อาจทำให้มีอาการง่วงนอน คอแห้ง ปากแห้ง หรือปัสสาวะลำบากได้ด้วย 3.…
-
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคไซนัสอักเสบ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคไซนัสอักเสบ โรคไซนัสอักเสบ ที่หลายคนรู้จักชื่อกันดีนี้ มักจะมีหลายคนที่เข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคนี้ ทั้งที่ป่วยเป็นไข้หวัดคัดจมูกธรรมดาเท่านั้น กับทั้งยังคิดว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย เป็นแล้วต้องกลับมาเป็นอีก ซึ่งนี่คือความเข้าใจที่ผิดทั้งสิ้น ความจริงแล้วโรคไซนัสอักเสบนั้นมักเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดทั่วไปแล้วติดเชื้อในโพรงจมูกจนลุกลามเข้าไปในโพรงไซนัส ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะหายได้เอง แต่ในบางครั้งอาจมีเชื้อแบคทีเรียติดมาบ้างทำให้โรคไม่หายขาดและรุนแรงขึ้น การรักษาเพื่อที่จะไม่กลับมาเป็นอีกก็คือต้องพบแพทย์เพื่อรักษาให้หายขาดนั่นเอง อาการของไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการคัดแน่นจมูก มีน้ำมูกหรือเสมหะลงคอสีเหลืองหรือเขียว มีอาการปวดบริเวณ หัวตา หว่างคิ้ว ใบหน้า และตามโหนกแก้ม การได้กลิ่นลดลงและมีอาการเกิน 10 วัน หรือมีอาการแย่ลงใน 5 วันแรกก็ควรมาพบแพทย์ได้แล้ว อาการของโรคแบ่งออกเป็นกลุ่มเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มเฉียบพลันจะมีอาการน้อยกว่า 12 สัปดาห์ และกลุ่มเรื้อรังจะมีอาการมาเกิน 12 สัปดาห์ขึ้นไป ทำให้การรักษามีความแตกต่างกัน โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากจะเป็นกลุ่มที่ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่รับยากดภูมิระหว่างการทำเคมีบำบัด หรือภาวะขาดภูมิคุ้มกันตั้งแต่เกิดเป็นต้น โรคไซนัสอักเสบไม่มีสาเหตุจากพันธุกรรม อีกทั้งยังเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้เข้าใจผิดคิดว่าตนป่วยเป็นโรคไซนัสอักเสบได้ ดังนั้นจึงควรพบแพทย์เพื่อรักการวินิจฉัย โดยในปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดได้ว่าผู้ป่วยจมูกอักเสบภูมิแพ้เกิดจากไซนัสอักเสบได้บ่อยกว่าคนที่เป็นภูมิแพ้หรือไม่ แต่การสูบบุหรี่ทำให้การงานของเยื่อบุโพรงไซนัสทำงานบกพร่องได้ ในส่วนของการรักษา โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลันหากมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสมักจะหายได้เอง แต่ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียกควรมาพบแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก เพื่อทำการส่องกล้องเข้าไปตรวจช่องโพรงจมูกและไซนัส ซึ่งหากมิใช่แพทย์เฉพาะทางหรือไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญโรคไซนัสมักให้คนไข้ทำการเอกซเรย์ วิธีนี้ไม่แม่นยำนัก ทั้งยังทำให้เสียค่าใช้จ่ายโดยสิ้นเปลือง…