Tag: คอเลสตอรอล
-
เลือกกินน้ำมันอย่างไรให้ปลอดภัย
เลือกกินน้ำมันอย่างไรให้ปลอดภัย เพราะการโฆษณาทั้งสื่อทีวีและโทรทัศน์นั้นมีผลต่อการกินอยู่ของเราคนไทยมาก สินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหลายจึงได้นำเอาคอนเซปท์ในเรื่องของคำว่า “เพื่อสุขภาพ” เข้ามาเป็นดึงดูดใจ เช่น น้ำมันพืชที่ไม่มีคอเลสเตอรอล เป็นต้น อาจทำให้คนที่รับชมโฆษณเข้าใจว่าพอไม่มีคอเลสเตอรอลแล้ว สามารถทานเท่าไรก็ได้ ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ แต่ความจริงแล้วนี่เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะการเลือกใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหารรวมทั้งการเลือกทานอาหารนอกบ้าน ล้วนเป็นปัจจัยในการควบคุมคอเลสเตอรอลทั้งสิ้น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้แนะนำให้คนเราควรกินไขมันที่ดีต่อสุขภาพ โดยได้พลังงานจากไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมดในแต่ละวัน โดยได้จากกรดไขมันอิ่มตัวไม่เกินร้อยละ 10 สำหรับผู้ที่มีร่างกายปกติ และไม่เกินร้อยละ 7 สำหรับคนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หรือหากจะคิดให้ง่ายเข้าก็คือทานน้ำมันได้ไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวันนั่นเอง ดังนั้นการเลือกน้ำมันสำหรับปรุงอาหารควรเลือกใช้ดังนี้ – น้ำมันสำหรับการปรุงที่ใช้อุณหภูมิสูง เช่น การผัดไฟแรง การทอด ควรเลือกใช้น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันเมล็ดชา และน้ำมันดอกคำฝอย – น้ำมันสำหรับการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนไม่สูงนักแนะนำเป็น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันดอกทานตะวัน – และน้ำมันสำหรับการปรุงอาหารที่ผ่านความร้อน หรือผ่านความร้อนต่ำ ควรเลือกใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว และเนย แม้บนฉลาดของน้ำมันจะเขียนว่ามีคลอเลสเตอรอลต่ำ แต่ความจริงแล้วยังไม่ไขมันทรานส์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายมากกว่าไขมันอิ่มตัวเสียอีก ซึ่งควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด้วยเพราะจะไปเพิ่มคอเลสเตอรอลตัวไม่ดี หรือ LDL ให้มากขึ้น…
-
มารู้จักกับอาหารลดคอเลสเตอรอล
มารู้จักกับอาหารลดคอเลสเตอรอล สำหรับคอเลสเตอรอลนั้นก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกัน ในด้านการเสริมสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย แต่หากมีมากจนเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้ถึงแก่ความตายได้ ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้ร่างกายเราได้รับคอเลสเตอรอลสูงเกินไปนั้น ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ความดันโลหิต ไขมัน โรคอ้วน ความเค็มหรือเกลือ ความหวานหรือน้ำตาล รวมไปถึงการขาดการออกกำลังกายและความเครียดด้วย แล้วอาหารชนิดใดบ้างที่เราควรทานเพื่อช่วยลดปัญหาคอเลสเตอรอลในร่างกาย 1. ถั่วเมล็ดแห้ง 2. กระเทียมสด 3. ผักผลไม้หลากสี 4. นมพร่องมันหรือ หรือนมขาดมันเนย 5. หลีกเลี่ยงอาหารที่ประกอบด้วยเนื้อแดง 6. ปลาทะเล 7. ข้าวหรือธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง โฮลเกรน 8. ผักสีเขียวเข้ม เช่น ผักคะน้า บร็อกโคลี่ ผักตำลึง ฯลฯ 9. เลือกใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหาร
-
หากผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้รับประทานยาเพียงมื้อละเม็ด พวกเค้าจะทานยานี้ต่อไปตามที่หมอสั่ง
หากผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้รับประทานยาเพียงมื้อละเม็ด พวกเค้าจะทานยานี้ต่อไปตามที่หมอสั่ง ผู้ป่วยหลายคนที่เป็นโรคหัวใจหรือป่วยด้วยอาการสมองขาดเลือดหล่อเลี้ยงเพราะเส้นเลือดอุดตันจากคอเลสเตอรอล มักไม่รับประทานยาเป็นประจำตามคำสั่งแพทย์โดยผู้ป่วยจำนวนมากเลิกรับประทานยาภายในเวลาสามเดือนหลังจากล้มป่วยเนื่องจากต้องรับประทานยาครั้งละหลายเม็ด ผู้ป่วยหลายคนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือเสี่ยงที่จะเกิดอาการสมองขาดเลือดหล่อเลี้ยงอาจต้องรับประทานยามื้อละหลายเม็ด ยาเเต่ละเม็ดมีคุณสมบัติต่างกันไป อาทิ เพื่อลดความดันโลหิต บางเม็ดช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และบางคนอาจต้องรับประทานยาช่วยป้องกันหัวใจวายร่วมด้วย ด็อกเตอร์ทอมเป็นหัวหน้าการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในกลุ่มผู้ป่วยมากกว่าสองพันคน เกือบ 90 % ของผู้ป่วยในการวิจัยล้มป่วยด้วยอาการสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงหรือเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ อีกสิบเปอร์เซ็นต์มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะล้มป่วยด้วยอาการทั้งสองอย่างดังกล่าว ครึ่งหนึ่ีงของผู้เข้าร่วมการวิจัยได้รับยาเเบบเม็ดเดียวเรียกว่า โพลีพิล (Polypill) ในการลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิตสูงและป้องกันอาการหัวใจวาย ในขณะที่ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งต้องรับประทานยาแบบหลายเม็ดต่อไป ด็อกเตอร์ทอม กล่าวว่าผลการวิจัยที่ได้แสดงให้เห็นผลดีของยารักษาแบบเม็ดเดียวหรือโพลีพิล การทดลองใช้ยาบำบัดเเบบโพลีพิลมีผลดีโดยเฉพาะต่อผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดที่ไม่รับประทานยาตามกำหนด ด็อกเตอร์ทอม กล่าวปิดท้ายว่า ยาโพลีพิลจะมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาผู้ป่วยไม่รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์และช่วยให้การบำบัดโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะในการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้ประโยชน์จากยาขนานนี้มากที่สุดคือผู้ป่วยที่มักไม่รับประทานยาแบบหลายเม็ดตามคำสั่งแพทย์ตั้งแต่ในช่วงต้นๆของการทดลองรักษา