Tag: ความทุกข์

  • คิดอย่างไร..ให้จิตใจไร้ทุกข์?

    คิดอย่างไร..ให้จิตใจไร้ทุกข์?

    คิดอย่างไร..ให้จิตใจไร้ทุกข์? ความทุกข์เป็นสิ่งที่ไม่เข้าใครออกใคร มาเร็ว ไปก็เร็ว แถมเวลาที่คิดจะคงอยู่ในตัวเรา ก็อยู่ได้นานแสนนาน เชิญออกไปก็ไม่ยอมออก.. พลอยให้จิตใจเศร้าหมอง ขาดความสุข ความเบิกบาน ซึ่งความทุกข์นี้ก็เกิดจากความคิดของเรานั่นเอง แล้วเราจะปรับความคิดให้เหมาะสมเพื่อให้จิตใจเป็นสุขได้อย่างไรบ้าง? 1. ยืดหยุ่นมากขึ้น เอาผิด จับผิดคนอื่น ๆ ให้น้อยลง รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา ลดทิฐิมานะลง ให้อภัยให้ง่ายขึ้น ไม่ถือโทษโกรธเคืองนาน ๆ หัดลืมอะไรง่าย ๆ เสียบ้างชีวิตจะมีความสุขขึ้นอีกเยอะ 2. มีเหตุผล อย่าเชื่ออะไรง่าย ๆ หัดใช้สติปัญหาหาข้อเท็จจริงก่อนค่อยเชื่อ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของคนอื่นที่มาหลอกได้ 3. คิดหลาย ๆ มุม ทั้งด้านดีและด้านไม่ดี เพราะไม่ว่าใครจะเป็นตัวเราหรือคนอื่นต่างก็มีด้านที่ดีและไม่ดีทั้งสิ้น การมองด้านเดียวทำให้เกิดทุกข์ และควรมองในมุมมองของคนอื่นบ้าง เช่น คนรักของเราคิดอย่างไร เจ้านายมองเราอย่างไร ลูกคิดอะไรอยู่ จะช่วยให้มองอะไรได้กว้างไกลกว่าเดิม มีทุกข์น้อยลงไปด้วย 4. คิดแต่เรื่องดี ๆ ที่ชอบใจพอดี การคิดเรื่องร้ายทำให้ดึงเรื่องร้ายเข้ามามากขึ้น ไม่ทำให้สุขใจ แถมยังเป็นทุกข์ขึ้นไปอีก คิดถึงเรื่องดี ๆ…

  • แก่นแท้แห่งธรรม แก่นแท้แห่งชีวิต

    แก่นแท้แห่งธรรม แก่นแท้แห่งชีวิต

    แก่นแท้แห่งธรรม แก่นแท้แห่งชีวิต ด้วยความเครียดและความวุ่นวายที่มีมากในประเทศแถบตะวัน ทำให้เกิดผู้ที่สนใจศึกษาพุทธศาสนามากขึ้น โดยเฉพาะในเล่ม How to get the Buddhahood นั้น ผู้เขียนได้เขียนเจาะจงให้ชาวตะวันตกที่ไม่คุ้นเคยพุทธศาสนาได้เข้าใจหลักธรรมและนำไปประยุกต์ใช้เพื่อขจัดความทุกข์และความเครียด โดยมีวิธีปฏิบัติที่เรียบง่ายเข้าใจง่ายห้าข้อดังต่อไปนี้ 1. หัดควบคุมความคิด ทำจิตใจให้สงบและตามรู้ลมหายใจเข้าออก แม้เพียง 3 ครั้งก็ได้ผล แล้วเฝ้าสังเกตความคิดจรและความรู้สึกที่เกิดขึ้น ขจัดความคิดด้านลบออกไปไม่ว่าจะเป็น ความสงสัย ความเกลียด ความหวาดระแวง ความกลัว ฯลฯ แล้วเสริมสร้างความคิดแง่บวกเข้าไปแทน เช่น ความรัก ความเมตตา โดยอาศัยองค์ประกอบของมรรคแปด 2. อยู่กับปัจจุบัน มีสติรู้ตัวอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เช่น มีสติทุกอิริยาบถ การอยู่กับโลกของความจริงเป็นจะเข้าใจในไตรลักษณ์ เข้าใจการเกิดดับ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน เข้าใจว่าทุกสิ่งต้องเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ 3. เข้าใจการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของสรรพสิ่ง จิตใจจะละจากความยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง ปล่อยการครอบครอง 4. เมื่อเข้าใจความเป็นไตรลักษณ์ ก็จะไม่เข้าครอบครอง เมื่อไม่ครอบครองก็ไม่มีจิตใจที่เห็นแก่ตัว นำไปสู่ความรักความเมตตาต่อผู้อื่น 5. การมีความรักความเมตตาต่อผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์ใจไร้เงื่อนไข ช่วยเหลือผู้อื่นอย่างไม่หวังผลตอบแทน…