Tag: ความดันโลหิตต่ำ

  • อาการของผู้ที่แพ้อาหาร

    อาการของผู้ที่แพ้อาหาร

    อาการของผู้ที่แพ้อาหาร ผู้ที่เผลอไปทานอาหารที่ตัวเองแพ้เข้า หรือไปสัมผัสอาหารชนิดนั้น ๆ อาจเกิดอาการแพ้ขึ้นในทันทีหรือราวไม่เกิน 2 ชั่วโมงหลังจากการทานอาหาร แม้จะแตะต้องเพียงแค่นิดเดียวก็ตาม ซึ่งจะแสดงอาการออกมาดังต่อไปนี้ มีผื่นลมพิษ คันและบวมบริเวณผิวหนัง เกิดอาการบวมบริเวณปาก ลิ้น คอ ใบหน้าและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย รู้สึกคัดจมูก หายใจหวีดเสียงดังเหมือนคนหอบหืด หายใจลำบาก ท้องร่วง ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนเวียนหัว หน้ามืดเป็นลม แต่ในส่วนที่มีอาการรุนแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตนั้นจะแสดงอาการได้แก่ หลอดลมหดเกร็งลม เพราะคอและหลอมลมบวม ทำให้หายใจลำบาก ความดันโลหิตต่ำลงจนถึงระดับที่ทำให้ช็อกได้ ชีพจรเต้นเร็ว หน้ามืดเป็นลมได้ แต่ถ้าจะแยกอาการที่เกิดขึ้นตามอวัยวะก็สามารถแยกได้ดังนี้ – บริเวณผิวหนัง อาจจะแสดงออกด้วยอาการคัน แดง เป็นลมพิษ ตัวร้อน มีอาการบวมที่หนังตาและปาก – บริเวณทางเดินอาหาร จะคันปาก ปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน – ทางเดินหายใจ จะคัดจมูก น้ำมูกไกล ไอ เสียงแหบ คันในคอ กลืนลำบาก หายใจเสียงดัง หายใจลำบาก…

  • แยกความแตกต่าง และทำความเข้าใจ ความดันโลหิตสูง กับ ความดันโลหิตต่ำ

    แยกความแตกต่าง และทำความเข้าใจ ความดันโลหิตสูง กับ ความดันโลหิตต่ำ

    แยกความแตกต่าง และทำความเข้าใจ ความดันโลหิตสูง กับ ความดันโลหิตต่ำ เชื่อได้เลยว่า หากพูดถึงคำว่าโรคความดันโลหิตสูง ผู้อ่านต้องเข้าใจว่าสูงเกินตัวเลข 140/90 มิลลิเมตรปรอทเป็นแน่ แต่ความจริงแล้วการจะบอกว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้น ต้องพิจารณามากกว่าตัวเลขบนเครื่องวัด โดยทั่วไปคนมักเข้าใจว่าอาการของโรคความดันโลหิตสูงก็คือ ปวดหัว เวียนหัว แต่ความจริงแล้วคนไข้ที่มาด้วยอาการปวดหัวจากความดันโลหิตสูงนั้นมีไม่กี่ราย และทุกรายจะมีความดันสูงมากชนิดเฉียบพลันซึ่งเกิดจากโรคได้น้อย มักพบว่าเกิดจากความเครียดหรือความกลัวเมื่อปวดศีรษะจนทำให้ความดันสูงได้ คนที่มีความดันโลหิตสูงแล้วอาจไม่มีอาการให้เห็น แต่ถ้าจะแสดงอาการก็แสดงว่าผลของความดันสูงนั้นกระทบต่อหลอดเลือดและหัวใจแล้ว ทำให้เกิดหัวใจโต บีบเลือดไม่ปกติ หัวใจล้มเหลว เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ตามัว ไตเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น การวัดความดันโลหิตนั้นเป็นเรื่องสำคัญเพราะหากความดันสูงไม่จริงแล้วไปกินยาลดเข้าก็จะเป็นอันตรายได้ ความดันโลหิตของคนเรามีปัจจัยทำให้แกว่งขึ้นลงได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ความเจ็บปวด ตื่นเต้น ตกใจ กังวล เครียด การวัดความดันโลหิตจึงต้องให้ผู้ป่วยนั่งพักให้สบายและผ่อนคลายก่อน แล้วจึงวัดหลาย ๆ รั้งแล้วค่อยนำค่ามาพิจารณา บางครั้งแพทย์อาจต้องพิจารณาสภาพร่างกายและความเจ็บป่วยด้วยไม่ใช่ดูแค่ตัวเลขเท่านั้น ในส่วนของความดันโลหิตต่ำนั้น มักเข้าใจกันผิดบ่อย ๆ เพราะมันไม่ใช่โรคแต่เป็นความผิดปกติของแรงดันโลหิต มักเกิดในผู้ป่วยหนัก เช่น บาดเจ็บรุนแรงจนเสียเลือดมาก เสียน้ำและเกลือแร่มาก โลหิตเป็นพิษ หัวใจล้มเหลว หรือระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เป็นต้น บางครั้งก็พบได้ในผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง…

  • ดูแลตัวเอง…ไม่ให้หน้ามืดวิงเวียนบ่อย ๆ

    ดูแลตัวเอง…ไม่ให้หน้ามืดวิงเวียนบ่อย ๆ

    ดูแลตัวเอง…ไม่ให้หน้ามืดวิงเวียนบ่อย ๆ โดยทั่วไปแล้วความดันปกติของคนเราจะอยู่ที่ 90 – 130 (ตัวบน) / 60 – 90 (ตัวล่าง) มิลลิเมตรปรอท แต่ถ้ามีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90 / 60 ก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีอาการความดันโลหิตต่ำค่ะ ซึ่งเกิดจากจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ การขาดสารน้ำจากการเสียเหงื่อมาก ท้องเสีย เสียเลือด หรือความอ่อนแอจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ เลือดจาง ฯลฯ โดยบางรายอาจไม่จำเป็นต้องแสดงอาการออกมา แต่บางรายก็มักมีอาการอ่อนเพลียหน้ามืด มึนงง เวลาลุกนั่งหรือเวลายืน หรือเวลาเปลี่ยนท่าเร็ว พาลจะทำให้เป็นลมได้ หากมีอาการเรื้อรัง กับมีอาการดังต่อไปนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น เจ็บหน้าอกรุนแรง ท้องเสียหรือปวดท้องอย่างมาก อาเจียนมาก ถ่ายเป็นสีดำ ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว เหงื่อแตก ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน แต่หากไม่ได้มีอาการดังกล่าวเป็นแต่เพียงอาการหน้ามืด วิงเวียนบ่อย ๆ เท่านั้นก็ควรดูแลตัวเองด้วยการปฏิบัติดังต่อไปนี้ค่ะ – เวลาเปลี่ยนท่าให้ค่อย ๆ ลุก เช่น หากตื่นนอนควรค่อย ๆ นั่งก่อนสักครู่แล้วจึงค่อยลุกขึ้นยืน…