Tag: ความดันสูง

  • หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน

    หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน

    หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบปัจจุบัน ทั้งโภชนาการที่ล้นเกิน และอบายมุขทั้งหลาย ทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปีกว่าปีละเกือบล้านคน โรคนี้ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว มีความยืดหยุ่นน้อยลง ความเร็วของการไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองแตกหรือหลอดเลือดสมองตีบ และอาจมีโอกาสเป็นโรคไตวายได้ โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่อาจทำลายชีวิตคนได้ตลอดเวลา เราจึงควรดูแลร่างกายตัวเองแต่เนิ่น ๆ ดังนี้ หลักข้อแรก ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ควรรักษาค่าดัชนีมวลกายไว้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร หลักข้อที่สอง ทานอาหารและเลือกทานเฉพาะที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่การกินอาหารที่มีปริมาณสัดส่วนสารอาหารที่พอเพียงต่อร่างกาย ลดอาการที่มีรสชาติหวาน ทานแป้งและน้ำตาลแต่พอดี ลดอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มสัดส่วนของผักและผลไม้ที่มีรสหวานให้น้อยลง ทานธัญพืชให้เป็นประจำ รวมไปถึงการกินอาหารที่รสเค็มอาหารที่ปรุงด้วยเกลือ ซีอิ๊วน้ำปลา กะปิ ปลาร้า ให้น้อยลง และไม่ควรปรุงอาหารเพิ่มเองด้วย หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบ ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ไก่ทอด แฮม เบคอน หากต้องการปรุงรสอาหารเพิ่มแนะนำให้เติมมะนาว พริก น้ำส้มสายชูหมัก เครื่องเทศหรือสมุนไพร แทนเครื่องปรุงรสเค็มทั้งหลาย และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่และไม่ควรอยู่ในที่ที่มีแต่ควันบุหรี่ด้วย หลักข้อที่สาม ขยับเขยื้อนเนื้อตัวอยู่ตลอดเวลา หันมาเดินให้มากขึ้น…

  • แยกความแตกต่าง และทำความเข้าใจ ความดันโลหิตสูง กับ ความดันโลหิตต่ำ

    แยกความแตกต่าง และทำความเข้าใจ ความดันโลหิตสูง กับ ความดันโลหิตต่ำ

    แยกความแตกต่าง และทำความเข้าใจ ความดันโลหิตสูง กับ ความดันโลหิตต่ำ เชื่อได้เลยว่า หากพูดถึงคำว่าโรคความดันโลหิตสูง ผู้อ่านต้องเข้าใจว่าสูงเกินตัวเลข 140/90 มิลลิเมตรปรอทเป็นแน่ แต่ความจริงแล้วการจะบอกว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้น ต้องพิจารณามากกว่าตัวเลขบนเครื่องวัด โดยทั่วไปคนมักเข้าใจว่าอาการของโรคความดันโลหิตสูงก็คือ ปวดหัว เวียนหัว แต่ความจริงแล้วคนไข้ที่มาด้วยอาการปวดหัวจากความดันโลหิตสูงนั้นมีไม่กี่ราย และทุกรายจะมีความดันสูงมากชนิดเฉียบพลันซึ่งเกิดจากโรคได้น้อย มักพบว่าเกิดจากความเครียดหรือความกลัวเมื่อปวดศีรษะจนทำให้ความดันสูงได้ คนที่มีความดันโลหิตสูงแล้วอาจไม่มีอาการให้เห็น แต่ถ้าจะแสดงอาการก็แสดงว่าผลของความดันสูงนั้นกระทบต่อหลอดเลือดและหัวใจแล้ว ทำให้เกิดหัวใจโต บีบเลือดไม่ปกติ หัวใจล้มเหลว เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ตามัว ไตเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น การวัดความดันโลหิตนั้นเป็นเรื่องสำคัญเพราะหากความดันสูงไม่จริงแล้วไปกินยาลดเข้าก็จะเป็นอันตรายได้ ความดันโลหิตของคนเรามีปัจจัยทำให้แกว่งขึ้นลงได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ความเจ็บปวด ตื่นเต้น ตกใจ กังวล เครียด การวัดความดันโลหิตจึงต้องให้ผู้ป่วยนั่งพักให้สบายและผ่อนคลายก่อน แล้วจึงวัดหลาย ๆ รั้งแล้วค่อยนำค่ามาพิจารณา บางครั้งแพทย์อาจต้องพิจารณาสภาพร่างกายและความเจ็บป่วยด้วยไม่ใช่ดูแค่ตัวเลขเท่านั้น ในส่วนของความดันโลหิตต่ำนั้น มักเข้าใจกันผิดบ่อย ๆ เพราะมันไม่ใช่โรคแต่เป็นความผิดปกติของแรงดันโลหิต มักเกิดในผู้ป่วยหนัก เช่น บาดเจ็บรุนแรงจนเสียเลือดมาก เสียน้ำและเกลือแร่มาก โลหิตเป็นพิษ หัวใจล้มเหลว หรือระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เป็นต้น บางครั้งก็พบได้ในผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง…

  • อันตรายของมะเฟืองที่มีต่อผู้ป่วยโรคไต

    อันตรายของมะเฟืองที่มีต่อผู้ป่วยโรคไต

    อันตรายของมะเฟืองที่มีต่อผู้ป่วยโรคไต การกินมะเฟืองมากเกินไป มีผลต่อร่างกายถึงขั้นทำให้ไตวายเฉียบพลันได้ ซึ่งนี่เป็นข้อมูลจาก รศ.นพ. ม.ล. ชาครีย์ กิติยากร ซึ่งเป็นอายุรแพทย์หน่วยโรคไต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้กล่าวว่า ปัจจุบันนี้มีบทความที่เผยแพร่ผ่านเสื่อต่าง ๆ มากมาย ชักชวนให้มากินมะเฟืองสดกัน โดยระบุว่าช่วยรักษาโรคและลดน้ำตาลในเลือดได้ ทำให้มีผู้คนหลงเชื่อและซื้อมากินกันมากมาย บางคนกินมากจนเกิดผลเสียต่อร่างกาย และที่อันตรายกว่านั้นคือพบผู้ป่วยอยู่ในภาวะไตวายเฉียบพลันเป็นจำนวนมากหลังการกินมะเฟืองสด หรือนำมะเฟือง โดยผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะออกน้อย บวมน้ำ ความดันสูง อ่อนเพลีย น้ำท่วมปอด บางรายอาจมีอาการสะดึก ต้องรักษาด้วยการฟอกเลือดล้างไต หากเป็นผู้ป่วยที่เดิมมีไตปกติอยู่แล้ว ไตจะสามารถกลับมาทำงานตามปกติได้ แต่อาจต้องใช้เวลา 3-4 อาทิตย์ แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีโรคไตอยู่ก่อน การรักษาอาจทำให้การทำงานของไตดีขึ้นบ้าง แต่ไม่เท่าเดิม อาจต้องได้รับการฟอกไตตลอดไป เพราะว่าในมะเฟืองนั้นมีสารออกซาเลตสูงมาก เมื่อถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายจะถูกขับออกทางไต ทำให้ไตวายเฉียบพลันได้ และเพราะออกซาเลตไปจับตัวกับแคลเซียมในร่างกายเกิดเป็นผลิตออกซาเลต เมื่อตกผลึกเป็นจำนวนมากในเนื้อไตก็จะทำให้เกิดการอุดตัน ไตสูญเสียการทำงานหรือไตวายได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังทำให้พิษต่อระบบประสาท ทำให้สมองบวม ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ สะอึก อาเจียน แล้วตามด้วยภาวะซึมและชักได้ จนตอนนี้ก็มีรายงานพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากการกินมะเฟืองไปแล้วด้วย พิษจากการกินมะเฟืองนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง – ความแข็งแรงของผู้ป่วย หากเป็นผู้ป่วยโรคไตอยู่แล้วอาจเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้…

  • ใช้ชีวิตให้ดี ห่างไกลจากโรคไต

    ใช้ชีวิตให้ดี ห่างไกลจากโรคไต

    ใช้ชีวิตให้ดี ห่างไกลจากโรคไต  ไตของคนเรานั้น เป็นอวัยวะที่มีขนาดเท่ากับกำปั้นของเจ้าของ มีรูปร่างคล้ายถั่วแดง อยู่บริเวณด้านหลังของลำตัวในระดับของกระดูกซี่โครงส่วนล่าง ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ ควบคุมการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย กรองของเสียในร่างกาย หากไตบกพร่องก็อาจทำให้คุณเป็นโรคไตได้ด้วย โรคไตนั้นมีหลายชนิด แต่ที่อันตรายที่สุดเห็นจะเป็นไตวายเรื้อรัง มีอาการที่เห็นได้ก็คือ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ซึม วิงเวียน ปวดหัว การรับรสเปลี่ยนไป มีอาการชาตามปลายมือและปลายเท้า รวมทั้งน้ำหนักตัวลดลงได้ และที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคไตที่สำคัญคือ พฤติกรรมการถ่ายปัสสาวะเปลี่ยนไปทั้งในเรื่องความถี่ ปริมาณของน้ำปัสสาวะ สีของปัสสาวะ เช่น เข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นเวลากลางคืน ปริมาณลดน้อยลง ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือมีเลือดปนออกมา รวมทังปวดหลังปวดเอว ความดันโลหิตสูง หน้าบวม เท้าบวมและท้องบวม กลุ่มเสี่ยงในการเป็นโรคไตวายนั้นจะมีอยู่สองกลุ่มก็คือ กลุ่มที่เป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตอยู่แล้ว เช่น ความดันสูง หรือเบาหวาน กับอีกกลุ่มคือเป็นโรคไตซ่อนอยู่ และไม่เคยแสดงอาการอะไรออกมาเลย ไม่เคยป่วยเจ้าโรงพยาบาลแต่ความจริงมีโรคไตซ่อนอยู่ หากไม่ตรวจก็จะไม่รู้ว่าเป็นโรคไต โรคไตนี้สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้โดย – อย่าทรมานไตมากเกินไป ด้วยการกินยาที่ซื้อมาเอง หรือกินยาผิดขนาด ผิดชนิด และปริมาณ รวมทั้งกินยาซ้ำซ้อนไปหมด หากซื้อยามากินเองไม่ปรึกษาแพทย์อาจทำให้เกิดผลเสียต่อไต ทำให้ไตอักเสบและเป็นโรคไตได้ –…

  • แพทย์ชี้ คนไทยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น โดยไม่รู้ตัว

    แพทย์ชี้ คนไทยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น โดยไม่รู้ตัว

    แพทย์ชี้ คนไทยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น โดยไม่รู้ตัว สภาวะตึงเครียดในปัจจุบันส่งผลให้จำนวนผู้ป่วย “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน” มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยพบว่าสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ มาจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงเป็นอันดับ 2 เป็นรองเพียงแค่โรคมะเร็งเท่านั้น และจากสถิติที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นก็คือ 30% ของจำนวนผู้ป่วยเหล่านี้มักไม่ปรากฏอาการหรือมีสัญญาณของโรคที่น่าสงสัยใดๆ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ จนกระทั่งมารู้ตัวอีกทีก็เมื่อพบว่าอาการของโรคถึงขั้นรุนแรงแล้ว สถิติผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดจากทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดในปีที่ผ่านมาประมาณว่า มีจำนวนผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากโรคดังกล่าว สูงถึงกว่า 10 ล้านคน และคาดว่า ในอีก 5 ปี ข้างหน้า จำนวนการตายจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ 13 ล้านคนมาจากประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก ในประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นถึง 20 เท่า โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือ ส่วนสาเหตุของการเกิดภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนั้นพบว่า สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ การใช้ชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ การทำงานที่แข่งขันกับเวลา ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันสูง เบาหวาน ความอ้วน การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย ความเครียด และอาหาร โดยอาการเบื้องต้นผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกตรงกลางร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย บางรายมีปวดร้าวขึ้นไปตามคอ อาการเป็นมากขึ้นเวลาออกแรง…