Tag: ความดัน

  • กินมื้อดึก…ร่างกายเสื่อมโทรมรวดเร็ว

    กินมื้อดึก…ร่างกายเสื่อมโทรมรวดเร็ว

    กินมื้อดึก…ร่างกายเสื่อมโทรมรวดเร็ว คนที่ชอบทานอาหารมื้อดึก ๆ นั้น ถ้าสังเกตสุขภาพร่างกายของเค้าจะพบว่าเป็นคนที่ไม่แข็งแรง และมีความไม่ปกติกับร่างกายหลายส่วน ทั้งการตื่นสาย ท้องอืด ระบบการย่อยรวนเร เป็นโรคกรดไหลย้อน หรือโรคกระเพาะอาหาร ตลอดจนคนที่กินมื้อดึกยังทำให้ร่างกายทำงานหนักกว่าปกติ แทนที่ร่างกายจะได้พักผ่อนในยามค่ำคืนกลับต้องมาย่อยอาหารที่มักจะเป็นมื้อใหญ่เสียด้วย ดังนั้นร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมสภาพด้วยการเริ่มต้นเป็นโรคอ้วน เบาหวาน โรคความดัน นอนไม่หลับ ฯลฯ จนสุขภาพทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่าร่างกายแก่กว่าอายุจริงไปมากเลยนั่นล่ะค่ะ การจะทราบได้ว่าคุณเป็นคนที่กินมื้อดึกหรือเปล่า ก็ให้ลองสังเกตที่มื้อเช้านั่นล่ะค่ะว่า รู้สึกจุกตื้ออยู่ หรือไม่อยากอาหารเช้าหรือเปล่า นั่นเป็นเพราะยังอิ่มจากการที่กินไว้ตั้งแต่เมื่อคืน กว่าจะได้กินก็มื้อเที่ยงไปแล้ว หรือไปมื้อบ่ายเลย ส่วนมื้อเย็นก็มักจะเป็นหลังสองทุ่มขึ้นไปและมักจะกินมื้อใหญ่ด้วย คนที่กินมื้อดึกมักจะนอนไม่หลับในเวลากลางคืน (เพราะร่างกายกำลังย่อยอาหาร) แต่มาง่วงเหงาในเวลากลางวัน อีกอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือคนกินดึกจะเจ้าเนื้อจนอวบอ้วนกว่าคนอื่น ๆ ด้วย หากไม่อยากเจ็บป่วยด้วยโรคภัยนานาชนิดและโรคอ้วนด้วยแล้ว ควรปรับพฤติกรรมการกินเสียใหม่ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยการทานข้าวเช้าทุกวัน และทานทุกมื้อให้เป็นเวลาด้วย มื้อเย็นควรทานก่อนนอนประมาณ 3 ชั่วโมง หรือก่อนหกโมงเย็น เพื่อให้ร่างกายได้ย่อยอาหารได้อย่างเต็มที่ เข้าใจว่าช่วงแรกนั้นทำได้ยาก แต่ก็ค่อย ๆ ต้องปรับไปค่ะ ระหว่างนี้มื้อเย็นสามารถทานอาหารที่สร้างเมลาโทนินได้ เช่น แกงขี้เหล็กหรือข้าวโพด เพื่อให้หลับได้ง่ายจะได้ไม่ต้องหิวตอนดึก ๆ ค่ะ

  • World Cancer Research Fund แห่งประเทศอังกฤษ ยันอาหารไทยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง!

    World Cancer Research Fund แห่งประเทศอังกฤษ ยันอาหารไทยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง!

    World Cancer Research Fund แห่งประเทศอังกฤษ ยันอาหารไทยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง! มีองค์การที่สำคัญแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร ก็คือ องค์กรวิจัยมะเร็งโลก หรือ World cancer research fund ได้แนะนำให้คนในชาติของตนเองเมื่อไปทานอาหารนอกบ้านหรือนอกประเทศแล้ว ให้ทานอาหารจากประเทศจีน อิตาลี อินเดีย และอาหารไทย เพราะจัดว่าเป็นอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการสูงและมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก นั่นเป็นเพราะว่าอาหารไทยเองเป็นอาหารที่รสชาติอร่อย มีสัดส่วนของสารอาหารที่พอเหมาะและมีคุณภาพ มีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาค และมีให้อาหารให้เลือกกินหลากหลายในแต่ละฤดูกาล แต่สำหรับคนไทยกลับกินอาหารไทยน้อยลงเอง มีการดัดแปลงสูตรกันมากขึ้น หรือนิยมทานอาหารจานด่วนกันมากขึ้น ซึ่งอาหารจานด่วนเหล่านี้ มักมีแคลอรี่สูง มีสัดส่วนของแป้ง ไขมัน และเนื้อสัตว์มากขึ้น ปรุงแต่งรสชาติมากขึ้น เพิ่มนมเนย ไขมันต่าง ๆ เข้าไปมากกว่าเดิม สมดุลของสารอาหารจึงเสียไป ทำให้ตัวคนไทยเองมีภาวะเป็นโรคอ้วนกันมากขึ้น สุขภาพเสื่อมโทรม ทั้งที่เป็นเจ้าของอาหารที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งในโลก แล้วในอาหารไทยมีดีอะไร ต่างชาติจึงแนะนำให้ทานกัน หากจะนับอาหารที่เด่น ๆ และอร่อยถูกปากชาวต่างชาติ ก็ได้แก่ – ต้มยำต่าง ๆ มีแคลอรี่ต่ำ มีสมุนไพรบำรุงร่างกาย และมีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันสูง – แกงเลียง…

  • กินปลาทูน่าและปลาแซลมอนกันเถอะ…ช่วยลดความดันได้นะ

    กินปลาทูน่าและปลาแซลมอนกันเถอะ…ช่วยลดความดันได้นะ

    กินปลาทูน่าและปลาแซลมอนกันเถอะ…ช่วยลดความดันได้นะ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่าปลาทูน่าและปลาแซลมอน ซึ่งอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้าสามนั้น  สามารถป้องกันการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ แล้วยังช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย ซึ่งผลการวิจัยนี้ทางด้านมหาวิทยาวอชิงตันก็ได้มีความเห็นที่สอดคล้ายไปในทางเดียวกัน แล้วยังแนะอีกว่าสำหรับผู้สูงวัยที่ทานปลาทูน่าสัปดาห์ละ 3 ครั้งขึ้นไปนั้น ช่วยลดภาวะความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ถึง 50% เลยทีเดียว แต่การทานทูน่าที่จะเป็นประโยชน์และดีต่อสุขภาพได้จริงๆ นั้น ควรปรุงให้สุกด้วยวิธี นึ่ง อบ หรือย่างเท่านั้น  เพราะหากนำไปทอด จะทำให้ผู้ที่รับประทานไม่ได้รับประโยชน์จากการลดภาวะความเสี่ยงโรคหัวใจ   ในส่วนของคนไทยนั้นการหาปลาทูน่าและปลาแซลมอนมาทานเป็นประจำอาจเป็นเรื่องยาก  คุณอาจลองเลือกซื้อน้ำมันโอเมก้าสามที่สกัดจากปลาแซลมอนมาทานแทนก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าค่ะ

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ ส่วนมากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เรื่องการดูแลตัวเอง

    ผู้ป่วยโรคหัวใจ ส่วนมากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เรื่องการดูแลตัวเอง

    ผู้ป่วยโรคหัวใจ ส่วนมากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เรื่องการดูแลตัวเอง นักวิจัยชาวแคนนาดา สำรวจพบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่ ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ เพื่อดูแลสุขภาพของตัวเอง และยังมีผู้ป่วยที่ยังโรคหัวใจและโรคเล้นเลือดสมองแตกที่ยังไม่ยอมเลิกสูบบุหรี่ แต่ก็ยังมีผู้ป่วยโรคหัวใจอยู่อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งน้อยมาก ที่ยอมปฏิบัติตรามคำสั่งแพทย์ และใส่ใจดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจในส่วนเรื่องรายได้ของผู้ป่วยนั้น จริงๆแล้วไม่ได้มีส่วนมากนัก ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังเกิดอาการเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง ทั้งนี้คนรายได้สูงจะมีพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารดีกว่าคนรายได้น้อยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นักวิจัยให้คำแนะนำว่า สิ่งที่ดีที่สุดคือ ผู้ป่วยต้องมีกำลังใจและ ฮึดกลับมาดูแลสุขภาพตัวเองอย่างต่อเนื่อง แนะนำให้มีการออกกำลังกายเล็กๆน้อยๆ แต่สม่ำเสมอ หรือเดินอย่างน้อย 10,000 ก้าว จะเป็นทางที่ดีต่อสุขภาพ