Tag: ข้อเข่าเสื่อม

  • สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

    สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

    สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ในผู้สูงอายุนั้น พบปัญหาข้อเสื่อมและกระดูกพรุนได้มาก มักเกิดกับข้อใหญ่ ๆ ของร่างกาย ได้แก่ ข้อสะโพก กระดูกสันหลัก และข้อเข่าด้วย พบได้มากในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเนื่องจากในวัยหมดประจำเดือน ร่างกายผู้หญิงจะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนไปด้วย อีกทั้งหากในวัยหนุ่มสาวไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เมื่ออายุมากขึ้นเริ่มอ้วนขึ้น เข่าก็ต้องรับน้ำหนักส่วนเกินมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่าย ซึ่งสัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณกำลังเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ก็ได้แก่ 1. เริ่มเจ็บเข่า ปวดแต่ไม่มาก แรก ๆ จะเริ่มรู้สึกขัด ๆ เข่าเวลาใช้งานก่อน แต่เมื่อพักก็จะดีขึ้น แต่หากทิ้งไว้นานและยังคงใช้งานต่อเนื่องก็อาจปวดจนเดินไม่ไหว 2. เข่าบวม จะพบได้ในระยะที่เข่าเริ่มเสื่อมมากแล้วและได้รับแรงกระแทกสูง เข่าจะบวมจนเห็นได้ชัดและเริ่มมีอาการปวดมากขึ้น หากรักษาอาการบวมก็จะทุเลาปวดได้ แต่หากกลับมาลงน้ำหนักอีกก็จะบวมได้อีก 3. อาการเข่าอ่อนหรือเข่าฝืด จะเป็นในช่วงที่เข่ายังไม่บวม เวลานั่งจะลุกไม่ขึ้นเพราะเข่าอ่อนและเหยียดไม่ออก ต้องค่อย ๆ พยุงตัว อาการจะเป็นมากขึ้นจนสุดท้ายเข่าจะผิดรูปและเข่าโก่งงอได้ เมื่อเริ่มสงสัยว่าตนเองจะมีอาการข้อเข่าเสื่อมแล้วไม่ควรปล่อยให้เป็นมากขึ้น ควรเข้ารับการรักษา และควรดูแลตัวเองเพื่อมิให้อาการลุกลามมากขึ้นดังต่อไปนี้ – รักษาน้ำหนักตัวให้ได้มาตรฐาน อย่าปล่อยให้อ้วน หรือน้ำหนักเกิน – ไม่ควรให้มีแรงกระแทกต่อหัวเข่า เช่น การกระโดดเชือก วิ่ง หรือมีการกระแทกข้อ แต่ให้ออกกำลังเข่าที่ช่วยให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบเข่าแข็งแรง…

  • ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเสื่อม

    ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเสื่อม

    ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเสื่อม ปัจจุบันมีคนไทยเป็นโรคข้อเสื่อมและกระดูกพรุนมากถึงกว่าเจ็ดล้านคนเลยทีเดียว พบมากในผู้ที่มีอายุสี่สิบปีขึ้นและผู้สูงอายุด้วย ซึ่งนับวันตัวเลขผู้ป่วยก็จะยิ่งมากขึ้น เพราะประเทศไทยกำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุนั่นเอง โรคข้อเสื่อมนี้เป็นอาการที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนที่ฉาบผิวกระดูกข้อต่อไว้ไม่ให้เสียดสีกันยามเคลื่อนไหว แต่เมื่อกระดูกอ่อนหรือพรุน กระดูกข้อต่อก็จะเสียดสีกันจนเป็นผลให้เกิดการอักเสบ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติ ทำให้กิจวัตรที่เคยทำเป็นประจำมีปัญหาได้ หากคุณไม่อยากเป็นโรคข้อเสื่อมก่อนวัย ควรดูแลร่างกายตัวเองดังต่อไปนี้นะคะ 1. ควบคุมน้ำหนักไว้ให้ได้มาตรฐาน อย่าปล่อยตัวให้อ้วน เพราะนี่คือสาเหตุใหญ่ของโรคข้อเสื่อมเลยก็ว่าได้ ยิ่งอ้วนมากเท่าไร ข้อต่อก็ยิ่งรับน้ำหนักมาขึ้นเท่านั้น หากในช่วงต้นชีวิตที่ยังไม่มีอาการโรคข้อเสื่อม ได้ลดน้ำหนักและรักษาน้ำหนักไว้ในมาตรฐานตลอดเวลา กับทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นการหลีกเลี่ยงโรคข้อเสื่อมได้ดีเลยทีเดียว 2. ไม่อยู่ในอิริยาบถที่ทำให้เกิดโรคข้อ เช่น การนั่งยอง ๆ นั่งกับพื้น ผุดลุกผุดนั่งบ่อย ๆ ขึ้นลงบันไดเป็นประจำ หรือทิ้งน้ำหนักลงขาข้างเดียว ทำให้ข้อต่อช่วงเข่า ขาลงไปมีปัญหาได้ แม้แต่ผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หากไม่หมั่นขยับท่าทางบ่อยๆ และนั่งก้มคอหรือก้มหลังทำงานมาก ๆ ก็อาจทำให้ข้อต่อบริเวณคอและกระดูกสันหลังส่วนเอวมีปัญหาได้เช่นกัน หากไม่อยากปวดข้ออย่าก้มคอนาน ๆ ให้นั่งพิงพนักเก้าอี้ไว้ และลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายบ่อย ๆ ด้วยนะคะ 3. ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ช่วยพยุงกระดูกเอาไว้ ลดโรคข้อเสื่อมได้ และการออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อนี้ควรปรึกษาเทรนเนอร์หรือผู้ชำนาญจะดีที่สุดค่ะ 4. การใช้อาหารและยา หากเป็นโรคข้อเสื่อในระยะแรก ๆ นั้น…

  • เข่าเสื่อม.. ยืน เดิน ขยับ ก็เจ็บทุกท่า

    เข่าเสื่อม.. ยืน เดิน ขยับ ก็เจ็บทุกท่า

    เข่าเสื่อม.. ยืน เดิน ขยับ ก็เจ็บทุกท่า โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นภาวการณ์สึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ เนื่องจากความเสื่อมของวัยและการใช้งาน หากผิวข้อมีการเสียดสีกันก็จะทำให้ปวดข้อเข่าตามมา ไม่ว่าจะอยู่ในท่าใด จะยืน เดิน ขยับก็เจ็บไปหมด ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นได้แก่ ยิ่งอายุมากขึ้นเข่าก็ยิ่งเสื่อมได้มากขึ้น มักพบในเพศหญิงมากกว่าผู้ชายด้วย หากคนในครอบครัวมีอาการข้อเข่าเสื่อม ลูกหลานก็มีสิทธิเป็นโรคนี้ได้มากกว่าปกติ แต่แม้จะยังไม่แก่และในครอบครัวไม่มีใครเป็นโรค น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานก็ทำให้หัวเข่าต้องรับน้ำหนักและแรงกดทับมากทำให้เสื่อมเร็วได้เช่นกัน รวมไปถึงอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น เอ็นหรือหมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด หรือมีกระดูกผิวข้อแตก เป็นต้น อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ จะมีอาการปวดเข่ามากขึ้นในระหว่างการใช้งาน และจะทุเลาลงในช่วงพักการใช้ขา มีอาการข้อยึดติดซึ่งหากเป็นมากก็อาจทำให้การยืดเหยียดข้อเข่าทำได้ลำบาก ข้อบวมซึ่งอาจเกิดจากเยื่อบุข้ออักเสบหรือมีการสร้างน้ำไขข้อมากขึ้น เวลาเดินหรือเคลื่อนไหวกมักได้ยินเสียงกระดูกเสียดสีกัน หากปล่อยให้เป็นรุนแรงมากขึ้น ก็จะทำให้ข้อผิดรูปหรือขาโก่งได้ และหากมีอาการข้อหลวมด้วยก็จะทำให้รู้สึกไม่ค่อยมั่นคงเวลาเดินหรือยืน กล้ามเนื้อข้อจะมีขนาดเล็กลงและเสื่อมแรงลง ซึ่งโรคข้อเข่าเสื่อมในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จะมีก็แต่การรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดและทำให้ข้อกลับคืนสภาพที่พอใช้งานได้เท่านั้น รวมทั้งป้องกันหรือแก้ไขการผิดรูปของข้อ โดยแล้วแต่การพิจารณาของแพทย์ตามความเหมาะสมของคนไข้แต่ละคนไป ซึ่งการรักษาจะมีทั้งแบบผ่าตัดและไม่ต้องผ่าตัด การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดนั้น ก็ได้แก่ 1. ปรับวิธีชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงการทำงานของข้อให้น้อยลง ไม่นั่งคุกเข่า พับเพียบ ยอง ๆ หรือนั่งขัดสมาธิ รวมไปถึงไม่ควรขึ้นลงบันไดด้วยแต่หากจำเป็นก็ขอให้เดินอย่างช้า ๆ ทีละขั้น ไม่ควรยืนหรือนั่งในท่าใดนาน…

  • การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

    การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

    การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ผู้สูงอายุนั้นจะเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยจากสาเหตุสี่ประการได้แก่ 1. ความเสื่อมโทรมลงของอวัยวะซึ่งเป็นไปตามวัย 2. พฤติกรรมและการดูแลสุขภาพเท่าที่ผ่านมา 3. การเปลี่ยนแปลงไปของเซลล์ภายในร่างกาย 4. ปัจจัยที่ถ่ายทอดกันมากทางพันธุกรรม หลายโรคนั้นสามารถป้องกันได้ ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพไว้ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอาหารการกินที่ควรกินให้ครบหมู่ แต่ให้เน้นผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานหรือเค็มจัด ดื่มน้ำมาก ๆ และหมั่นออกกำลังกายในแบบที่ชอบ เพื่อลดภาวะอ้วนน้ำหนักเกินอันเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังได้อีกหลายโรคไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและข้อเข่าเสื่อม ทั้งยังเป็นสาเหตุของมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย การพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐานจึงเป็นมาตรการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีอีกอย่างหนึ่งด้วย ในผู้สูงอายุนั้นควรมีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้เป็นพิเศษ เช่น สังเกตว่ามีแผลเรื้อรังไม่หายบ้างหรือเปล่า มีปัญหาการกลืนหรือย่อยอาหารหรือไม่ รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ท้องเสีย ท้องผูกเรื้อรังบ้างหรือเปล่า ฯลฯ เหล่านี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายให้ละเอียดต่อไป โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุนั้นสามารถป้องกันและดูแลตนเองเพื่อลดความรุนแรงได้ อย่างเช่น – โรคไขข้อเสื่อม ควรดูแลไม่ให้น้ำหนักมากเกินจนไปส่งผลให้ข้อเข่ารับน้ำหนักตัวเกิน หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อให้แข็งแรง ทนุถนอมข้อเข่าให้มาก ๆ อย่างเคลื่อนไหวร่างกายหรือบิดข้อมากเกินไป ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สบาย หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ หรือคุกเข่าเพื่อลดการแรงกระทำต่อข้อ ป้องกันการหกล้มด้วยการฝึกเดินหรือใช้เครื่องพยุงร่างกาย ปรับสภาพแวดล้อในบ้านด้วยการทำพื้นไม่ให้ลื่น…

  • ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อม

    ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อม

    ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อม ส่วนใหญ่แล้วเราจะพบว่าคนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐานนั้น มักจะเข่าเสื่อมง่ายกว่าคนทั่วไป เกิดความเจ็บปวดหรือเมื่อยขัดบริเวณเข่าทุกย่างก้าว มีความรู้สึกเมื่อยขัด หรือตึงบริเวณน่องและข้อพับเข่า เคลื่อนไหวข้อได้ไม่เต็มที่ มีเสียงดังออกมาจากข้อ เข่าบวม มีน้ำในข้อ หรือเข้อเข่าคดผิดรูป รวมไปถึงเข่าโก่ง ฯลฯ อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ เกิดขึ้นและเป็น ๆ หาย ๆ ยิ่งเข่าเสื่อมาก็จะยิ่งมีอาการรุนแรงขึ้น จนกระทั่งปวดตลอดเวลา การรักษานั้นก็สามารถได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการทำกายภาพลำบัด การกินยาแก้ปวด แก้อักเสบ การผ่าตัดจัดแนวกระดูก การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ฯลฯ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการรักษาก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เราควรป้องกันอาการข้อเข่าเสื่อมด้วยตนเอง ด้วยการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันดังต่อไปนี้ค่ะ – อย่าปล่อยให้น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน เพราะเวลาเราเดินเข่าจะรับน้ำหนักมากว่าน้ำหนักถึว 3 เท่า ยิ่งหากเป็นการวิ่งด้วยแล้ว เข่าจะรับน้ำหนักมากถึง 5 เท่า ถ้าลดน้ำหนักได้ก็จะลดภาระเข่าลงไปได้มาก เข่าก็จะเสื่อมช้าลงไปด้วย – ไม่ควรนั่งบนพื้น นั่งขัดสมาธิ คุกเข่าหรือนั่งยอง รวมทั้งการนั่งราบบนพื้น เพราะท่านั่งเหล่านี้จะทำให้ผิวข้อเสียดสีกันทำให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้น ควรนั่งบนเก้าอี้ที่มีความสูงระดับเข่าดีกว่า – เข้าห้องน้ำที่มีโถนั่งแบบชักโครก ไม่ควรนั่งยองเพราะจะทำให้ข้อเข่าเสียสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับทำให้เลือดไปเลี้ยงขาน้อย ขาชาอ่อนแรงได้ –…

  • การชะลอความเสื่อม และลดอาการปวดข้อเข่า

    การชะลอความเสื่อม และลดอาการปวดข้อเข่า

    การชะลอความเสื่อม และลดอาการปวดข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อม ความจริงแล้วมักจะเกิดในผู้สูงอายุเป็นหลัก เกิดขึ้นจากความเสื่อมของร่างกาย และตอนนี้มักพบว่าแม้วัยจะยังไม่เข้าสู่วัยชรา หากใช้ข้อเข่าอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีน้ำหนักตัวเกินมาก ก็อาจมีปัญหาข้อเข่าเสื่อมได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ซึ่งสาเหตุของการมีข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยนั้นก็คือ การใช้ขา หรือข้อเข่ามากเกินไป, ยืน เดิน วิ่ง ทำให้น้ำหนักของร่างกายกดลงบนเข่ามากขึ้น 3-4 เท่าตัว, ผู้ที่มีอาชีพต้องยกหรือแบกของหนัก, คนอ้วนน้ำหนักเกิน, ประสบอุบัติเหตุบริเวณเข่า, ติดเชื้อโรคข้อเข่าบางชนิด ฯลฯ เหล่านี้ ทำให้ข้อเข่าต้องแบกรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นทุกขณะที่เดินหรือยืน ความเจ็บปวดจึงตามมาทุกย่างก้าว โดยอาการของโรคนี้เมื่อเริ่มแรกจะรู้สึก เมื่อยตึง ๆ ที่น่องและข้อพับเข่าก่อน เคลื่อนไหวไม่เต็มที่ ข้อขัด มีเสียงดังกรอบแกรนเวลาขยับข้อ บวม มีน้ำในข้อ ปวด จนถึงเข่าบิดหรือผิดรูปไปเลย ซึ่งอาการที่แสดงออกขึ้นอยู่ว่าเป็นมากหรือน้อย สำหรับผู้ที่มีอาการโรคข้ออักเสบแล้ว นอกจากการไปพบแพทย์เพื่อขอรับการรักษาก็ควรดูแลตัวเองและชะลอความเสื่อมของโรคข้อดังต่อไปนี้ค่ะ – เมื่อมีอาการปวดและบวมขึ้น ให้ใช้ความร้อนประคบบริเวณเข่า จะช่วยลดความเกร็งของกล้ามเนื้อรอบ ๆ เข่า ลดความปวดได้ – ชะลอความเสื่อมด้วยการสร้างกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรง ด้วยท่าบริหารนี้ นั่งเก้าอี้หลังติดพนักแล้วเหยียดเข่าให้ตรง เกร็งค้างไว้ 10 วินาทีแล้วค่อย ๆ…

  • อาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และคำแนะนำในการดูแล

    อาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และคำแนะนำในการดูแล

    อาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และคำแนะนำในการดูแล ในผู้สูงอายุนั้นที่มักจะพบกันบ่อย ๆ นอกจากโรคประจำตัวอื่น ๆ แล้วก็ยังมีอาการข้อเสื่อมและกระดูกพรุนที่พบได้บ่อยด้วยเช่นกัน มักเกิดกับข้อใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ข้อต่อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง และข้อเข่า พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะเป็นผลสืบเนื่องมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ขาดหายไป จนทำให้กระดูกพรุนและในวัยหนุ่มสาวไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกเอาไว้ พออายุมากเข้าจึงทำให้ข้อต่าง ๆ รับน้ำหนักส่วนเกินไม่ไหว เมื่อกล้ามเนื้ออ่อนแอลง ทำให้ข้อเสื่อมและเกิดความเจ็บปวดขึ้นมาได้ ซึ่งมีสัญญาเตือนด้วยอาการปวดดังต่อไปนี้ 1. มักมีอาการเจ็บแบบขัด ๆ จะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้เข่า แต่เมื่อได้พักจะรูสึกสบายขึ้น แต่หากทิ้งไว้ไม่ดูแล หรือยังคงใช้งานอย่างต่อเนื่องก็อาจปวดมากจนเดินไม่ไหวก็ได้ 2. ข้อเข่าบวมขึ้น ยิ่งโดยเฉพาะเมื่อเข่าได้รับแรงกระแทกสูง เข่าจะปวดออกมาจนเห็นได้ชัด หากได้รับการรักษาก็อาจจะบรรเทาลง แต่หากกลับไปใช้งานหนักอีกก็สามารถบวมได้อีก 3. อาการเข่าอ่อน หรือเข่าฝืด มักจะเกิดขึ้นตอนที่เข่ายังไม่บวม ลุกนั่งลำบาก ต้องค่อย ๆ ยืดตัวยืน และค่อย ๆ ย่อตัวนั่งจึงจะนั่งลง บางรายเป็นมากจนหัวเข่าผิดรูปหรือเข่าโก่งก็มี ดังนั้นเมื่อมีสัญญาเตือนอาการข้อเข่าเสื่อมแล้ว ควรรีบดูแลตัวเองและเข้ารับการรักษา ก่อนที่จะรักษาได้ยากดังนี้ค่ะ – อย่าปล่อยให้น้ำหนักตัวมากหรืออ้วนเกินไป รักษาน้ำหนักให้สมดุ – พยายามอย่าใช้เข่าทำงานมากเกินไป เช่น…