Tag: ขาดสมาธิ
-
เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดแบบง่าย ๆ
เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดแบบง่าย ๆ เดี๋ยวนี้การใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันสร้างความเครียดและความวิตกกังวลให้เราแทบจะทุกช่วงเวลาของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่วัยเด็ก วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน มีครอบครัว จนถึงวัยชรา เรามีความเครียดกันตั้งแต่ระดับเล็ก ๆ จนถึงระดับใหญ่ ๆ ที่สร้างผลกระทบต่อร่างกาย ความเครียดไม่ได้สร้างปัญหาทางจิตใจเท่านั้นแต่ยังสร้างปัญหาต่อสุขภาพอีกด้วย เพราะเมื่อเครียดก็มักนอนไม่หลับ พาลทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ ป่วยง่ายหายยาก ขาดสมาธิ และพัฒนาไปสู่โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้เสียชีวิตได้ ความเครียดจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว หากรู้ตัวว่าเริ่มเครียดขึ้นมาแล้ว ซึ่งจะสามารถเห็นได้จากอาการดังนี้ ไม่ว่าจะเป็น อาการวิงเวียนศีรษะ มึนงง เบื่ออาหาร หายใจถี่ แรง เร็ว เหงื่อออก กล้ามเนื้อเกร็ง นอนไม่หลับ มือเท้าเย็น หน้าซีด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ฯลฯ หากมิได้เกิดจากโรคอื่น ๆ แล้วก็ให้ลองเทคนิคการผ่อนคลายความเครียดดังต่อไปนี้ดูนะคะ เทคนิคแรก วิธีผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว โดยการนอนราบลงบนพื้นหรือบนที่นอน นอนเหยียดตัวตรง เท้าทั้งสองข้างวางห่างกันเล็กน้อย แขนแนบข้างลำตัว กำมือให้แน่น เกร็งไหล่ ยกไหล่ขึ้น เกร็งไว้ 1…
-
มาทำความเข้าใจ….กับโรคซึมเศร้า กันเถอะ!!!
มาทำความเข้าใจ….กับโรคซึมเศร้า กันเถอะ!!! มีหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าอยู่มาก วันนี้ลองมาทำความรู้จักกับโรคนี้กันค่ะ โรคซึมเศร้านี้เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง มีอาการซึมเศร้าในระดับที่แตกต่างกันไปตั้งแต่น้อยไปหามาก อาการก็คือจะมีอารมณ์ที่ไม่แจ่มใส เศร้าหมอง หดหู่ เป็นทุกข์ จนถึงท้อแท้ เบื่อชีวิต คิดว่าตนเองไม่มีค่า อยากตายและอาจฆ่าตัวตายได้ โดยสาเหตุของโรคนี้มาจากปัจจัยหลายด้านของจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นสังคม สิ่งแวดล้อมและชีวภาพ โดยมักเกิดอาการหลังจากความสูญเสียหรือพลัดพรากที่กระทบกระเทือนใจอย่างแรง เช่น บุคคลที่รักตายจาก คนรักตีจาก ความกดดันด้านการเงิน การงาน การเรียน ความว้าเหว่ โดดเดี่ยว ขาดความรักความอบอุ่น เป็นต้น และผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ น้ำหนักลด ผอม ขาดสมาธิ ความจำเสื่อม อ่อนเพลีย เบื่อหน่ายกิจกรรมและการงานที่เคยชอบทำ ความรู้สึกทางเพศหมดไป อาจเก็บตัว ไม่เข้าสังคม ขาดความมั่นใจในตนเอง เครียดและวิตกกังวลง่าย เห็นแต่แง่ร้าย ไม่เห็นทางแก้ปัญหา โดยโรคนี้ที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น หลงผิด หูแว่ว มักเกิดกับผู้ใหญ่วัยต้นจนถึงวันกลางคน เกิดได้ง่ายไม่จำเป็นต้องมีความเครียดเป็นสาเหตุ เป็นอันตรายตรงที่อาจฆ่าตัวตายได้ทุกเมื่อ แต่โรคนี้สามารถตอบสนองการรักษาได้ดี ด้วยการใช้ยาและจิตบำบัดก็จะทำให้หายป่วยได้…