Tag: กำจัดยุง

  • นักวิจัยชี้ว่า การกำจัดลูกยุง LSM จะช่วยควบคุมโรคมาลาเรียได้

    นักวิจัยชี้ว่า การกำจัดลูกยุง LSM จะช่วยควบคุมโรคมาลาเรียได้

    นักวิจัยชี้ว่า การกำจัดลูกยุง LSM จะช่วยควบคุมโรคมาลาเรียได้ การควบคุมมาลาเรียด้วยการจัดการแหล่งตัวอ่อนยุง เป็นการกำจัดลูกยุงก่อนโตเต็มวัยกลายเป็นพาหะของโรค เป็นวิธีที่ได้ผลในการมุ่งเป้ากำจัดลูกยุงในแหล่งน้ำขัง ในขณะเดียวกันการใช้มุงเคลือบยากันยุงกับการฉีดพ่นยาฆ่ายุงเป็นวิธีที่มุ่งเป้าที่ยุงโตเต็มวัยแล้ว การควบคุมลูกยุงน่าจะใช้เป็นวิธีเสริมแก่มาตรการควบคุมมาลาเรียวิธีอื่นๆ แต่ไม่ควรใช้ทดแทนกัน เธอกล่าวว่าการควบคุมลูกยุงน่าจะเป็นวิธีควบคุมมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพเหมาะกับสภาพเเวดล้อมในเขตเมือง ยกตัวอย่างว่าการทำลายแหล่งน้ำขังที่เป็นที่อยู่ของลูกยุงเป็นการถาวรด้วยการสูบน้ำทิ้งหรือถมดินหรือขุดลอกระบบท่อน้ำทิ้งเพื่อทำลายที่อยู่ของลูกยุง เป็นการตัดวงจรชีวิตของยุง นอกจากนี้การควบคุมลูกยุงยังสามารถทำได้ด้วยการเติมยาฆ่าลูกยุงลงไปแหล่งน้ำขัง การศึกษาเรื่องนี้หลายชิ้นพบว่าค่าใช่จ่ายในการกำจัดลูกยุงน่าจะพอๆกับค่าใช้จ่ายในการป้องกันยุงด้วยการใช้มุ้งเคลือบยากันยุงและใช้ยาฆ่ายุงพ่นภายในตัวอาคารบ้านเรือน โครงการรณรงค์ปราบปรามมาลาเรีย Roll Back Malaria รายงานว่าค่าใช้จ่ายในการต่อต้านมาลาเรียทั่วโลกอยู่ที่ราว 5 ถึง 6 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี  

  • นักวิทยาศาสตร์แอฟริกา คว้ารางวัลจากวิธีการกำจัดยุง ให้พ้นจากโรคมาลาเรีย

    นักวิทยาศาสตร์แอฟริกา คว้ารางวัลจากวิธีการกำจัดยุง ให้พ้นจากโรคมาลาเรีย

    นักวิทยาศาสตร์แอฟริกา คว้ารางวัลจากวิธีการกำจัดยุง ให้พ้นจากโรคมาลาเรีย นักวิทยาศาสตร์จากแอฟริกาได้รับรางวัลผลการวิจัยยอดเยี่ยมจาก Royal Society แห่งสหราชอณาจักร หลังจากสามารถค้นพบวิธีการใหม่ในการกำจัดฝูงยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย สิ่งที่สำคัญมากของระบบการผสมพันธุ์ของยุงนี้ก็คือว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เขาเดินเข้าไปในจุดที่ศึกษา เขาจะพบฝูงยุงบินอยู่ในจุดนั้นเป็นประจำทุกๆวัน นี่ทำให้การกำจัดยุงทำได้ง่ายมากขึ้น ประเทศ Burkina Faso เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อมาลาเรียสูงที่สุดในโลก ด็อกเตอร์เดียเบทพบว่า ในช่วงฤดูฝนใน Burkina Faso บางบ้านมียุงอยู่ภายในบ้านถึงเก้าร้อยตัว หากสามารถทำลายยุงตัวผู้ได้สำเร็จ จะส่งผลให้จำนวนประชากรยุงตัวผู้ลดลงอย่างมาก จนมีจำนวนยุงตัวเมียมากกว่า เขากล่าวว่า ยุงตัวเมียต้องมียุงตัวผู้ผสมพันธุ์จึงจะสามารถออกไข่ได้ แต่เมื่อไม่มียุงตัวผู้ผสมพันธุ์ด้วย ก็จะไม่สามารถออกไข่และทำให้ไม่มีลูกยุง และเมื่อไม่มียุง ก็หมายความว่าไม่มีเชื้อมาลาเรีย ผลการวิจัยเรื่องนี้จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี ในการควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียแบบใหม่ๆต่อไป อาทิ การใช้ยุงตกแต่งพันธุกรรมและการควบคุมประชากรยุงด้วยการทำหมันยุงตัวผู้ ถึงขณะนี้ การควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียต้องพึ่งพาการกางมุ้งเคลือบยากันยุงเป็นหลัก แต่มีความกังวลกันว่าจะไม่ได้ผลเพราะยุงเริ่มพัฒนาแรงต่อต้านต่อสารเคมีที่ใช้ ดังนั้นเขาเห็นว่ามีความจำเป็นในการพัฒนาวิธีใหม่ๆออกมาเพื่อควบคุมยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย แม้จะมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น ไข้มาลาเรียเป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตราวปีละหกแสนหกหมื่นคน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ในปีหน้า บริษัทยาอังกฤษ GlaxoSmithKline วางแผนที่จะยื่นขอใบอนุญาติเป็นผู้นำวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียออกสู่ตลาดเป็นรายแรกของโลก วัคซีนนี้เรียกว่า RTSS  องค์การอนามัยโลกชี้ว่าอาจจะสามารถนำวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียไปใช้ได้ในราวอีกสองปีข้างหน้า