Tag: การห้ามเลือด

  • เคล็ดลับหยุดเลือดกำเดาไหลในฤดูร้อน

    เคล็ดลับหยุดเลือดกำเดาไหลในฤดูร้อน

    เคล็ดลับหยุดเลือดกำเดาไหลในฤดูร้อน อาการเลือดออกจากจมูก หรือ เลือดกำเดาไหลนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ก็มักมิใช่เรื่องร้ายแรง และมักหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา ซึ่งการรักษาที่เราใช้กันมานานแล้วก็คือการหยุดเลือดด้วยการประคบด้วยผ้าห่อน้ำแข็ง ร่วมกันการกดบีบจมูกเพื่อห้ามเลือด นอกจากนี้แล้วการแพทย์แผนไทยยังแนะนำสมุนไพรสำหรับห้ามเลือดกำเดาไหลไว้หลายวิธีอีกด้วยค่ะ 1. ใช้ใบพลูที่ทานกับเมี่ยง หรือเคี้ยวกับหมากนั่นล่ะค่ะ มาหนึ่งใบ ม้วนให้กลมเหมือนบุหรี่แล้วขยี้ให้ปลายด้านหนึ่งพอช้ำ นำปลายข้างนั้นสอดเข้าไปในรูจมูกข้างที่เลือดไหล ทิ้งไว้หนึ่งชั่วโมง เลือดจะหยุดไหลได้ เพราะในใบพลูมีคุณสมบัติในการรักษาแผลได้ดี 2. ใช้น้ำมะนาว ½ ลูก+เกลือ ½ ช้อนชา+น้ำตาลไม่ขัดขาว ½ ช้อนโต๊ะ นำมาชงกับน้ำร้อนดื่มก่อนอาหาร จะช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน และเลือดกำเดาไหลได้ด้วย 3. นำรากต้นข้าวที่ถอนมาทั้งรากทั้งโคนแล้ว 1 ต้น ล้างให้สะอาดแล้วนำมาต้มกับน้ำหนึ่งลิตรแล้วกรองเอาแต่น้ำดื่ม ครั้งละแก้ว ก่อนอาหารเช้าเย็น 4. นำรากต้นฝรั่งหนึ่งกำมือ ล้างสะอาดแล้วต้มกับน้ำหนึ่งลิตร กรองเอาแต่น้ำ แล้วดื่มครั้งละ 1 แก้วก่อนอาหารเช้าและเย็น 5. ใช้รากหัวใช้เท้า 15 กรัม ล้างให้สะอาดแล้วคั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำน้ำที่ได้หยดเข้าทางจมูกข้างที่เลือดกำเดาไหล 1-2 หยด จะช่วยห้ามเลือดได้ 6. ลองใช้รากไพล 7…

  • สิ่งที่ควรทำเมื่อฟันน้ำนม.. ไปก่อนเวลา

    สิ่งที่ควรทำเมื่อฟันน้ำนม.. ไปก่อนเวลา

    สิ่งที่ควรทำเมื่อฟันน้ำนม.. ไปก่อนเวลา หากเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้ฟันน้ำนมของลูกต้องหลุดก่อนเวลาอันควร หรือหลุดออกไปก่อนที่จะโยกและหลุดเองตามธรรมชาติ หากเกิดจากการกระแทกหรืออุบัติเหตุ เหงือกอาจฉีกขาด ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรทำก็คือควรห้ามเลือดก่อน เพราะบริเวณเหงือนั้นมีเส้นเลือดอยู่มาก หากคุณแม่โวยวายตกใจ ลูกก็จะยิ่งตกใจกับปริมาณเลือดด้วยค่ะ การห้ามเลือดให้ทำดังต่อไปนี้ – ใช้สำลีสะอาดหรือผ้าสะอาดชุบน้ำเย็น ๆ วางประคบบนเหงือก แล้วใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งกดบีบเหงือกเอาไว้ ให้ลูกน้อยอมน้ำแข็งให้เส้นเลือดหดตัวลงลดอาการบวมลงได้ แต่ยังคงต้องห้ามเลือดต่อไปเพราะ การอมน้ำแข็งไม่ได้ช่วยห้ามเลือด – ต่อมาให้ดูที่ฟันน้ำนมว่าหักหรือหลุดหรือไม่ ถ้าโยกเล็กน้อยให้นำผ้าซับเลือดให้หยุด แล้วเลี่ยงการใช้ฟันซี่นั่นเป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์ โดยให้กินแต่อาหารอ่อน ๆ ให้แปรงฟันได้แต่ให้แปรงเบา ๆ และควรพาไปพบทันตแพทย์เพื่อเอกซเรย์ว่ารากฟันไม่ได้หัก – หากฟันไม่ได้หลุดออกมา หลังจากหายดีแล้ว จะเห็นว่าฟันอาจมีสีคล้ำขึ้น เพราะเลือดที่ออกก่อนหน้านี้ แต่หากลูกไม่รู้สึกปวดก็ไม่มีอันตรายใด ๆ – แต่หากตรวจพบว่าฟันน้ำนม หัก บิ่น หรืออาจยุบหายเข้าไปในกระดูกขากรรไกร ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาต่อฟันแท้ ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจทันทีค่ะ