Tag: การทานอาหาร
-
11 เทคนิคการทานอาหารเพื่อสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
11 เทคนิคการทานอาหารเพื่อสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง การทานอาหารให้ครบถ้วนทั้งห้าหมู่ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและไม่เจ็บป่วยได้ง่าย ซึ่งจะบอกว่าง่าย ๆ แสนง่าย แต่ทำไมบางคนก็ยังเป็นโรคขาดสารอาหารบางประเภทอยู่ดี บางทีอาจจะเป็นเพราะไม่รู้จักเทคนิคการทานอาหารให้ถูกต้องก็ได้ วันนี้มาลองดูเทคนิคการทานอาหารหลาย ๆ ข้อ ที่สรุปออกมาเป็นกฎง่าย ๆ ให้คุณไปลองทำตามกันนะคะ 1. ต้องทานอาหารเช้า อาหารเช้าจะทำให้คุณมีพลังสดใสไปได้ทั้งวัน ช่วยลดอัตราความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด การทานอาหารเช้ายังทำให้หิวอาหารมื้ออื่น ๆ ลดลงอีกด้วย ซึ่งเวลาในการทานอาหารเช้าควรอยู่ในช่วง เจ็ดโมงถึงไม่เกินเก้าโมงเช้า เพราะเป็นระยะเวลาที่กระเพาะอาหารเริ่มทำงาน หากไม่มีอาหารตกถึงท้องในช่วงนี้ กระเพาะอาหารก็จะไปดูดสารอาหารจากอุจจาระออกมา .. ฟังแบบนี้แล้วจะทานข้าวเช้าไหม? 2. เปลี่ยนไปใช้น้ำมันที่แม้จะมีราคาแพง แต่ดีต่อสุขภาพดีกว่า อย่างน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันดอกทานตะวัน เหล่านี้มีกรดไขมันอิ่มตัวที่มีประโยชน์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้ มีสารต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยยับยั้งการก่อมะเร็ง มีเบต้าคาโรทีนและวิตามินเอสูง ป้องกันโรคผิวหนังและริ้วรอยเหี่ยวย่นอื่น ๆ 3. ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตรขึ้นไป เพราะน้ำจะช่วยให้ร่างกายสดชื่นได้ตลอดวัน ช่วยขับถ่ายของเสียง หล่อเลี้ยงเซลล์ในร่างกายให้ชุ่มชื่น รักษาความเข้มข้นของเลือดให้เป็นปกติ โดยให้ดื่มน้ำตามเวลาดังนี้ – ตื่นเช้า ดื่มน้ำ 1 แก้วหรือประมาณ…
-
7 เคล็ดลับการทานอาหารนอกบ้านอย่างไร ปลอดภัยจากโรคท้องร่วง
7 เคล็ดลับการทานอาหารนอกบ้านอย่างไร ปลอดภัยจากโรคท้องร่วง ในช่วงไตรมาสแรกของปี หรือในช่วงสามเดือนนี้ อธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์โสภพ เมฆธน ได้เปิดเผยว่า คนไทยป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษแล้วถึง สามหมื่นกว่าคน อีกทั้งยังมีความเกรงกลัวต่อโรคท้องร่วงอาหารเป็นพิษมากที่สุดเมื่อเดินทางไปข้างนอกบ้าน พร้อมแนะวิธีเลือกอาหารเวลาต้องทานข้าวนอกบ้านให้ห่างไกลจากโรคท้องร่วงด้วย อีกทั้งนพ.โสภณ เมฆธน ยังเปิดเผยอีกว่าจากข้อมูลเฝ้าระวังโรคอาหารเป็นพิษ โดยสำนักระบาดวิทยา ในช่วงสามเดือนแรกของปี พบผู้ป่วยแล้ว 31,627 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 49.79 ต่อแสนประชากร ซึ่งอันดับสูงสุด 5 อันดับแรกคือ อุดรธานี หนองบัวลำภู อุบลราชธานี บุรีรัมย์ จังหวัดตราด ซึ่งโรคอาหารเป็นพิษดังกล่าวเกิดจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารพิษที่เชื้อโรคสร้างเข้าไป ซึ่งการปนเปื้อนอาจเกิดตั้งแต่แหล่งผลิตอาหาร แหล่งปรุง เสิร์ฟอาหาร หรือแม้กระทั่งปนเปื้อนขณะกิน สำหรับอาการของโรคที่พบได้มากก็คือ มีอาการท้องร่วง อุจจาระเหลว มีอาการปวดท้องมาก คลื่นไส้อาเจียน มีไข้และปวดเมื่อยเนื้อตัว รวมทั้งปวดข้ออีกด้วย ฯลฯ “ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษมักไม่ค่อยมีอาการรุงแรง ยกเว้นได้รับเชื้อชนิดรุนแรง หรือในรายที่เสียน้ำในร่างกายไปมาก รวมไปถึงคนแก่และเด็กเป็นต้น โดยโรคนี้สามารถรักษาตามอาการด้วยการให้สารละลายเกลือแร่ทดแทน และน้ำตาลทางปาก” อธิบดี คร. กล่าว โดยวิธีป้องกันโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษนั้นต้องป้องกันกันที่ต้นเหตุก็คือ…