Tag: การดูแลผู้ป่วย
-
การปรับตัวเข้าหา ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
การปรับตัวเข้าหา ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ไม่ง่ายเลย.. สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ในครอบครัว เพราะโรคนี้จะทำให้เขาเหล่านั้นมีอาการหลงลืม สูญเสียความรับรู้และความรู้สึกนึกคิดไป รวมทั้งการตัดสินใจและการไขปัญหาต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรต่าง ๆ ได้ตามปกติ ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด เมื่อนานไปก็อาจทำให้ผู้ดูแลป่วยจนกลายเป็นโรคเครียดตามไปอีกคน หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่จำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แบบนี้ ก็ลองนำเอาวิธีการปรับตัวดังกล่าวต่อไปนี้ไปปรับดูนะคะ – ทำความเข้าใจและยอมรับว่าสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นหรือทำนั้น ไม่ได้แกล้งหรือเรียกร้องความสนใจ แต่เป็นความผิดปกติทางสมอง – ไม่ควรโกรธตอบผู้ป่วย เพราะเขาทำไปเพราะอาการป่วยไม่ได้ตั้งใจ – ในเวลาที่เหน็ดเหนื่อยลองหาเวลาพักผ่อน แล้วหาคนมาสับเปลี่ยนดูแลบ้าง อธิบายการดูแลให้คนที่ดูแลแทนคุณเข้าใจ เขาจะได้เข้าใจเห็นใจและเต็มใจมาช่วยเหลือคุณบ้าง – ลองหากำลังใจด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ที่ดูแลผู้ป่วยด้วยกัน จะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และจะได้นำเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกัน แถมยังได้กำลังใจมาช่วยเหลือกันและกันอีกด้วย – หางานอดิเรกมาทำคลายเครียด หรือออกกำลังกาย โยคะ ทำสมาธิ หรือฟังเพลงคลายเครียด เพื่อผ่อนใจจิตใจด้วยตัวเอง – หากมีความเครียดมาก หรือพยายามรักษาอาการเครียดแล้วไม่ดีขึ้น จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันแล้วก็ควรขอรับการรักษาจากจิตแพทย์เถอะนะคะ ความเครียดนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ควรมีมามากหรือนานเกินไป ควรดูแลตัวเองให้มีความผ่อนคลาย เพื่อจะได้นำกำลังกายไปดูแลผู้ป่วยให้มีอาการที่ดีขึ้นต่อไปได้ค่ะ
-
คู่มือการดูแล ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม
คู่มือการดูแล ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม สำหรับในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมนั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากผู้อยู่ใกล้ชิดเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรรู้จักวิธีการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมที่ถูกต้อง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยเองและผู้ดูแลกันเถอะค่ะ 1. ผู้ที่ดูแลใกล้ชิดทุกคนคนทำความรู้จักและศึกษาโรคสมองเสื่อมนี้ให้มาก เพื่อจะได้สามารถแก้ปัญหาบางประการได้เหมาะสมและทันท่วงที 2. ผู้ป่วยสมองเสื่อมมักมีปัญหาหลายอย่างพร้อมกัน ควรแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดก่อน จะทำให้การดูแลทำได้ง่ายขึ้น 3. หากผู้ป่วยยังอยู่ในภาวะป่วยเริ่มแรก ยังมีอาการไม่มาก ควรพูดคุยให้ยอมรับฟังและเข้าใจเหตุผล รวมทั้งอธิบายข้อจำกัดของผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งบอกความรู้สึกของผู้ดูแลให้ผู้ป่วยเข้าใจ 4. ควรมีความยืดหยุ่นและใช้สัญชาติญาติรวมทั้งจินตนาการในการดูแลให้มาก อย่ายึดติดอะไรมากนัก เช่น หากคนไข้อยากสวมหมวกนอน ซึ่งก็ไม่ได้เป็นอันตรายอะไร ก็ไม่ควรห้าม 5. ปรับทัศนคติการมองว่าการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นเรื่องไม่เคร่งเครียด จะทำให้อารมณ์ดีขึ้น 6. ผู้ดูแลควรผ่อนคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอและปล่อยวางบ้าง เพราะการดูแลผู้ป่วยโรคนี้จะทำให้เครียด หงุดหงิด และเหนื่อยง่าย และอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ในระยะยาว 7. มีการพูดคุยสื่อสารกับคนป่วย เกี่ยวกับขั้นตอนการทำกิจกรรมอย่างละเอียด สั้น ๆ ง่าย ๆ เช่น การอาบน้ำ ซึ่งแม้จะดูเหมือนง่ายแต่สำหรับผู้ป่วยแล้วเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ผู้ดูแลควรมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดด้วย 8. พยายามจัดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยให้เหมือนกันทุกวัน อย่าสับเปลี่ยนไปมาเพื่อให้เกิดความเคยชิน ผู้ป่วยจะได้เรียนรู้และช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ก็อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง 9. อย่าวิพากษ์วิจารณ์ผู้ป่วยผู้ป่วยต่อหน้า…
-
แนวทางการรักษาแบบประคับประคอง นอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบัน
แนวทางการรักษาแบบประคับประคอง นอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบัน สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว หากพูดถึงเรื่องความตายขึ้นมา ก็มักจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงกัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความกลัวการตาย กลัวความเจ็บปวด กลัวภาวะความโดดเด่นจากความตาย กลัวว่าไม่รู้ว่าตายแล้วไปไหน ดังนั้นจึงมักจะหวังกันว่าเมื่อเวลาเจ็บป่วยใกล้ตายเข้าจริง ๆ แล้วคงจะได้รับการดูแลมิให้ต้องทุกข์ทรมาน แม้แพทย์และพยายามจะมีจรรยาบรรณที่ได้รับการปลูกฝังมาว่าจะดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถ แม้หมดหวังกจะคงให้การรักษาต่อไปอย่างประคับประคองแม้จะรู้กันดีกว่าหมดหวังแล้วก็ตาม ซึ่งในปัจจุบันนี้ผู้ป่วยมีสิทธิอีกประการหนึ่งที่สามารถทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับการบริการสาธารณสุขเพียงเพื่อยืดชีวิตไว้ในวาระสุดท้าย หรือเพื่อยุติความทรมานจากการเจ็บป่วย ตามมาตรา 12 ของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติปี 2550 โดยมีเจตนาให้ผู้ป่วยได้กำหนดชะตาชีวิตของตนเอง เพื่อให้แพทย์และญาติมิตรได้ใช้เวลาที่เหลือในการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดขั้นตอนการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ นำไปสู่มุมมองใหม่ของการรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายจากแพทย์และพยาบาลที่มีความเข้าใจเรื่องชีวิตและความตายมากขึ้น จึงได้มีการเชื่อมโยงวิธีการรักษาทางจิตวิญญาณเข้ามา แต่ก็ยังคำนึงถึงวิธีการที่จะบรรเทาไม่ให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานอยู่ดี เป็นการรักษาแบบประคับประคองหรือการบำบัด ที่สำคัญ เมื่อพบว่าผู้ป่วยอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แล้ว ซึ่งแนวทางการรักษานอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบันนี้ได้แก่การนำเอาวิทยาการต่างๆ เข้ามาช่วย ไม่ว่าจะป็น การใช้ศิลปะบำบัด การสวดมนต์ ดนตรีบำบัด การฟังธรรม การทำสมาธิ ขึ้นอยู่กับความเชื่อและความศรัทธาของผู้ป่วยในทุกศาสนาให้สามารถยอมรับความจริงของชีวิตยามเมื่อความตายคืบคลานมาเยือนแล้วได้ โดยมีตัวอย่างมาแล้วว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งสามารถลดความทรมานลงได้เมื่อได้ยินเสียงพระสวด หรือฟังเสียงสวดมนต์ที่ได้เคยสวดประจำ แล้วยังมีการน้อมนำให้ผู้ป่วยได้ขอขมาพระรัตนตรัย พ่อแม่ ผู้มีพระคุณ นำการแผ่เมตตา การให้ผู้ป่วยและญาติมิตรและผู้ที่เกี่ยวข้องได้กล่าวอโหสิกรรมซึ่งกันและการเป็นต้น ความตายนั้นเป็นธรรมดา แต่เมื่อถึงเวลาที่ตนเองต้องเดินทางไกลจริง ๆ แล้ว บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะยอมรับได้ จึงจำเป็นที่ผู้รักษาและญาติมิตรต้องส่งผู้ป่วยไปอย่างสงบและทรมานน้อยที่สุดค่ะ