Tag: กัมพูชา

  • นักวิทยาศาสตร์ รายงานผลการวิจัยเรื่องพันธุกรรมของปรสิต และแหล่งที่มา

    นักวิทยาศาสตร์ รายงานผลการวิจัยเรื่องพันธุกรรมของปรสิต และแหล่งที่มา

    นักวิทยาศาสตร์ รายงานผลการวิจัยเรื่องพันธุกรรมของปรสิต และแหล่งที่มา นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบเกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรมของปรสิตดื้อยาต้านมาลาเรียและระบุว่าแหล่งของปรสิตมาจากภาคตะวันตกของกัมพูชา ซึงได้แพร่ไปในส่วนอื่นของเอเชียและแอฟริกาบ้างแล้ว นักวิจัยกล่าวว่า แม้จะยังไม่สามารถอธิบายอย่างแน่ชัดว่ากระบวนการดื้อยาทำงานอย่างไรแต่พบวิธีติดตามเพื่อศึกษาเชิงลึกต่อไป ในช่วงหกทศวรรษที่ผ่านมาปรสิตในภาคตะวันตกของกัมพูชาดื้อยาต้านมาลาเรียชนิดหลักสองชนิด ชนิดแรกคือยา Chloroquine และชนิดที่สองเป็นส่วนผสมของ Sulfadoxine และ Pyrimethamine ยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดขณะนี้คือ artemisinin ซึ่งพบการดื้อยานี้แล้วในปรสิตจากกัมพูชาเช่นกัน แต่ยังไม่แพร่ไปส่วนอื่นของโลก องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า มีรายงายการป่วยด้วยโรคมาลาเรีย 150 ล้านรายทั่วโลกในปี ค.ศ. 2010 และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 500,000 คน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การเสียชิวิตจากไข้มาลาเรียลดลงมากกว่า 25% ในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา

  • หน่วยงานเอกชนของอินเดีย ใช้เทคโนโลยีข้อมูลลายนิ้วมือ ในงานต่อต้านวัณโรค

    หน่วยงานเอกชนของอินเดีย ใช้เทคโนโลยีข้อมูลลายนิ้วมือ ในงานต่อต้านวัณโรค

    หน่วยงานเอกชนของอินเดีย ใช้เทคโนโลยีข้อมูลลายนิ้วมือ ในงานต่อต้านวัณโรค เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอินเดียกำลังสร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับการระบาดของวัณโรคสายพันธุ์ดื้อยาในขณะที่มีหน่วยงานพัฒนาเอกชนหน่วยงานหนึ่งในอินเดียใช้เทคโนโลยีข้อมูลลายนิ้วมือในงานต่อต้านวัณโรค ผู้เชี่ยวชาญประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อวัณโรคสายพันธุ์ดื้อยาแบบ MDR-TB แล้วราวหนึ่งแสนคนในอินเดีย แต่ด็อกเตอร์เชลลี่ บัตรา ผู้ก่อตั้งหน่วยงาน Operation Asha เกรงว่าตัวเลขจริงๆน่าจะสูงกว่าที่ประมาณไว้เพราะยังมีผู้ป่วยอีกหลายพันคนที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย วัณโรคสายพันธุ์ดื้อยาแบบ MDR-TB มีศักยภาพที่จะกลายเป็นโรคระบาดรุนแรง คร่าชีวิตคนหลายล้านคน เธอกล่าวว่าหากไม่รีบป้องกันการลุกลามของปัญหาหรือยังไม่ยอมรับความจริงว่ามีปัญหานี้เกิดขึ้น อินเดียก็จะประสบกับปัญหาสาธารณสุขใหญ่หลวง หน่วยงาน Operation Asha มีศูนย์อยู่เกือบทุกมุมเมือง ทางศูนย์ทุกแห่งบันทึกข้อมูลลายนิ้วมือของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ดูแลการบำบัดเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการรักษาแต่ละครั้งที่กำหนดไว้ หากผู้ป่วยไม่ไปรับยาตามกำหนด ทางศูนย์จะส่งข้อความไปเตือนและทำการติดตามหาตัวผู้ป่วย ระบบเฝ้าติดตามการรักษาแบบนี้ได้ผลช่วยลดปัญหาผู้ป่วยไม่ไปรับยารักษาวัณโรคตามกำหนดและป้องกันปัญหาโรคดื้อยาที่จะตามมา การติดตามการรักษาของหน่วยงานช่วยลดอัตราการรักษาตัวไม่ครบกำหนดลงมาอยู่ที่ 3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนระบบลายนิ้วมือช่วยลดปัญหานี้ลงได้อีก โดยอยู่ในอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นการช่วยประหยัดการสูญเสียค่ายาโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากวัณโรคดื้อยา MDR-TB จะสร้างความทรมานแก่ผู้ป่วยแล้ว ยังทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของทั้งตัวผู้ป่วยและของประเทศด้วย หน่วยงาน Operation Asha มีศูนย์บำบัดวัณโรคในหมู่บ้านและสลัม 3,000 พันแห่งในอินเดียและกัมพูชา ทางหน่วยงานหวังว่าความพยายามในระดับรากหญ้าที่หนุนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้จะช่วยลดปัญหาการกลายพันธุ์ของวัณโรคที่มีสาเหตุจากผู้ป่วยรักษาตัวไม่ครบตามระยะเวลาที่กำหนด