Tag: กระดูกเปราะ

  • หัวใจหลัก 3 ประการห่างไกลโรคกระดูกพรุน

    หัวใจหลัก 3 ประการห่างไกลโรคกระดูกพรุน

    หัวใจหลัก 3 ประการห่างไกลโรคกระดูกพรุน หากคุณอยู่ในช่วงอายุหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีปัญหาโรคกระดูกพรุน เรามาป้องกันไว้ก่อนดีกว่า ด้วยหัวใจหลัก 3 ประการดังต่อไปนี้ค่ะ หัวใจหลักข้อที่ 1 ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ เหตุผลก็เป็นเพราะว่าผิวหนังของเราจะผลิตวิตามินดีออกมาเมื่อถูกแสงแดด ส่วนอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินดีนั้นมีจำกัด พบได้น้อยในไขมันปลา และไข่เท่านั้น คนส่วนใหญ่ในโลกไม่ค่อยได้รับวิตามินดีจากแสงแดดเท่าไร เป็นเพราะหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการที่ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมและมลพิษอยู่มาก การสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด การใช้ครีมกันแดด ผู้คนเริ่มใช้ชีวิตในร่มกันมากขึ้น ฯลฯ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ผลิตวิตามินดีได้น้อยกว่าคนหนุ่มสาวถึงสี่เท่า จึงควรกินวิตามินดีชนิดที่เป็นอาหารเสริมช่วยลดความเสี่ยงในการกระดูกเปราะแตกได้ถึงร้อยละ 20 หัวใจหลักข้อที่ 2 ทานอาหารที่มีแคลเซียมและโปรตีนให้พอเพียง ด้วยการดื่มนม ทานผักใบเขียว และถั่วต่าง ๆ รวมทั้งผลไม้ที่มีแคลเซียมสูง น้ำแร่ก็ใช่ด้วย การที่ต้องเสริมโปรตีนเข้าไปด้วยนั้นก็เพื่อให้กล้ามเนื้อทั่วร่างมีความแข็งแรงมีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยกระดูกในการรับแรง เสริมแรงกระดูกมิให้แตกหักง่ายได้อีกประการหนึ่ง ในผู้สูงอายุที่ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอก็จะมีความเสี่ยงเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง และมวลกล้ามเนื้อลดลง จนส่งผลให้หกล้มกระดูกหักได้ง่าย หัวใจหลักข้อที่ 3 ออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก เพิ่มแรงกดให้กับกระดูก และสร้างความแข็งแกร่งให้กล้ามเนื้อ อย่างเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง การเดินขึ้นลงบันได กระโดดเชือก สเตปแอโรบิค ก็ได้เช่นกัน แล้วยังเสริมความคล่องตัว และความสมดุลของร่างกาย ลดโอกาสการหกล้มลงได้ร้อยละ 25-40…

  • แพทย์ติง ดื่มนมมากเกิน อาจย่อยสลายมวลกระดูกได้

    แพทย์ติง ดื่มนมมากเกิน อาจย่อยสลายมวลกระดูกได้

    แพทย์ติง ดื่มนมมากเกิน อาจย่อยสลายมวลกระดูกได้ การดื่มนมนั้นจำเป็นต้องดื่มแต่พอดีเพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมแต่พอที่ร่างกายที่ต้องการ เพราะแคลเซียมที่อยู่ในนมนั้นมาพร้อมกับฟอสฟอรัส ซึ่งมีคุณสมบัติในการย่อยสลายมวลกระดูกได้ จึงทำให้เกิดภาวะโรคกระดูกพรุน ทำให้กระดูกหักและเปราะได้ง่าย ซึ่งโรคกระดูกพรุนนี้ มักคุกคามผู้สูงวัยอย่างเงียบ ๆ แต่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในผู้สูงวัยชาวไทย อีกทั้งการรับรู้ข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์มากพอ ทั้งนี้การดื่มนมนั้นสามารถป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ แคลเซียมในนั้นนั้นมีคุณสมบัติในการยับยั้งการผุกร่อนของกระดูก และการสลายตัวของมวลกระดูก แต่ต้องดื่มในปริมาณที่เหมาะสม โดยแคลเซียมที่ควรได้รับมาจากนมน้ำไม่ควรเกิน 500 ซีซีต่อวัน จะทำให้ได้รับแคลเซียมประมาณ 500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ในน้ำนมนั้นจะประกอบไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัสในอัตรา 3 ต่อ 2 ส่วน หากเราดื่มนมมากกว่าครึ่งลิตรต่อวัน ก็อาจทำให้ร่างกายได้รับฟอสฟอรัสมากเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของต่อมพาราไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนออกมาจนสลายกระดูกจนเป็นเหตุให้กระดูกพรุน กระดูกเปราะ เพราะเนื้อหรือมวลกระดูกบางลงนั่นเอง ในแต่ละช่วงอายุนั้นร่างกายมีความต้องการแคลเซียมที่แตกต่างกันไป – วัยเด็ก ควรได้รับแคลเซียม 600 มิลลิกรัมต่อวัน – วัยรุ่น ควรได้รับแคลเซียม 1,000-1,500 มิลลิกรัมต่อวัน – ผู้ใหญ่ ควรได้รับแคลเซียม 800-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน – หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับแคลเซียม 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน – ผู้สูงอายุหรือวัยทอง…

  • ยา aleglitazar ที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานนั้น ไม่ได้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ

    ยา aleglitazar ที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานนั้น ไม่ได้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ

    ยา aleglitazar ที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานนั้น ไม่ได้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ นักวิจัยได้ศึกษาเรื่องตัวยา aleglitazar ซึ่งเป็นยาที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในร่างกายนั้น ไม่ได้ส่งผลให้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจ โรคหัวใจล้มเหลว หรือการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองในกลุ่มคนไข้โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และผู้ที่เพิ่งมีอาการหัวใจล้มเหลว หรืออาการปวดเค้นหัวใจอยู่เรื่อยๆได้ ปัจจุบัน โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจนั้นยังคงเป็นสาเหตุหลักของการตายในกลุ่มคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่ ซึ่งไม่มีการรักษาด้วยยาที่ส่งผลต่อเบาหวาน หรือการควบคุมระดับกลูโคสอย่างเข้มงวดใดที่แสดงให้เห็นว่าจะสามารถลดความยุ่งยากของหัวใจหรือหลอดเลือดของหัวใจในกลุ่มคนไข้ดังกล่าวได้เลย โดยในการลดลองระยะที่ 2 นั้น aleglitazar สามารถลดระดับกลูโคสในเลือด ไตรกลีเซอไรด์ LCL และเพิ่มระดับของ HDL ให้สูงขึ้นได้ แพทย์และนักวิทยาศาสต์ก็ได้มีการทดลองเรื่องนี้กับผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยการสุ่มให้ยา aleglitazar และการให้ยาหลอก โดยใช้เวลาประมาณ 104 สัปดาห์ พบว่า ไม่ได้ผล นักวิทยาศาสตร์พบว่าถึงแม้ aleglitazar นั้นจะลดระดับกลูโคสในเลือดและทำให้ระดับของ HDC และไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นก็ตาม ตัวยาดังกล่าวนั้นไม่ได้ลดเวลาของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ อาการหัวใจล้มเหลว หรือการที่เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตันแต่อย่างใด ซึ่งเหตุดังกล่าวได้เกิดขึ้นในคนไข้จำนวนที่ได้รับยา aleglitazar 344 ราย (9.5%)  และ 360 ราย (10%) ในกลุ่มคนไข้ที่ได้รับยาหลอก และตัวยา aleglitazar นั้นได้ถูกเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติของไต…