Tag: กระดูกอ่อน
-
ทำความเข้าใจกันใหม่ แคลเซียมไม่ได้รักษากระดูกได้ทุกโรคเสมอไป
ทำความเข้าใจกันใหม่ แคลเซียมไม่ได้รักษากระดูกได้ทุกโรคเสมอไป หากจะพูดถึงโรคกระดูกที่พบกันได้มากในประเทศไทยนั้น ก็เห็นจะไม่พ้น โรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน และกระดูกอ่อน ซึ่งทั้งสามโรคนี้ไม่ได้เป็นโรคเดียวกัน การรักษาก็มีความแตกต่างกันไป แต่ก็ยังการถูกนำไปโฆษณาขายแคลเซียมกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีการให้ข้อมูลและคำแนะนำที่ผิด ๆ เกี่ยวกับแคลเซียมและการรักษาโรคกระดูกอยู่มาก แม้แต่แพทย์หลายท่านก็ยังนิยมให้ผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ ทานแคลเซียม โดยไม่ได้พิจารณาถึงชนิดของโรคที่เป็นจริง ๆ นอกจากไม่ได้ประโยชน์แล้วยังอาจสิ้นเปลืองโดยใช้เหตุอีกด้วย ทำให้เกิดผลข้างเคียงและฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ของแคลเซียมอีกต่างหาก การจะใช้แคลเซียมมารักษาโรคกระดูกได้ตรงจุดนั้นควรรู้จักกับโรคกระดูกทั้งสามแบบข้างต้นเพื่อให้เห็นความแตกต่างก่อน ดังต่อไปนี้ 1. โรคกระดูกเสื่อม เป็นโรคที่มีการเสื่อมของกระดูกอ่อนของข้อที่มีการเคลื่อนไหวมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อเท้า ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อมือ ข้อศอก ฯลฯ การเสื่อมนี้หมรยถึงการเสียความยืดหยุ่น เกิดความเสื่อมและสึกหรอ จึงทำให้ปวดขัดตามข้อ ข้อโปนและผิดรูป พบมากในผู้ใช้แรงงาน ผู้ที่ใช้ร่างกายมาก และผู้สูงอายุ ซึ่งการรักษาในโรงพยาบาล หมอก็จะจ่ายยาแก้ปวด แก้อักเสบ ลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ แคลเซียม และกลูโคซามีนให้ด้วย แต่หมอไม่ได้รู้เลยว่า แคลเซียมและยาลดกรดนั้นกินด้วยกันอาจทำให้ท้องผูก และแคลเซียมไม่มีประโยชน์อะไรกับโรคเลย การรักษานั้นก็คือการให้ยาบรรเทาปวด ลดการใช้งานข้อนั้น และให้ยาเสริมกระดูกพวกกลูโคซามีนเท่านั้นก็เพียงพอ 2. โรคกระดูกพรุนหรือกระดูกโปร่งบาง หรือเรียกว่ากระดูกผุ เป็นการเสื่อมของกระดูกแข็งซึ่งมีเนื้อเยื่อกระดูกและแคลเซียมลดลง…
-
นักวิจัย พัฒนาการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนเทียม โดยปลูกจากเซลล์เริ่มต้น
นักวิจัย พัฒนาการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนเทียม โดยปลูกจากเซลล์เริ่มต้น กระดูกอ่อนเสื่อมเป็นอาการที่สร้างความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย การผ่าตัดก็ไม่ได้ช่วยให้อาการเจ็บปวดหายไปแต่อย่างไร ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกอ่อนเทียมแบบพลาสติกหรือแบบทำงานเหล็กรู้ดีว่า กระดูกอ่อนเทียมเหล่านี้ยังเป็นต้นเหตุของความเจ็บปวดเช่นกันและยังทำให้เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวกอีกด้วย แต่การพัฒนากระดูกอ่อนเทียมเพื่อทดแทนกระดูกอ่อนที่เสื่อม ที่ทนทาน รับน้ำหนักและรองแรงกระแทกได้ดี เป็นงานที่ท้าทายมาก ทีมงานของศาสตราจารย์ Guilak ที่ Duke University ได้ร่วมมือกับทีมงานนักวิทยาศาสตร์จาก Harvard University ในรัฐ Massachusetts ในการพัฒนากระดูกอ่อนเทียม จากการสร้างเนื้อเยื่อใหม่จากสเต็มเซลล์ ทีมวิจัยทำการปลูกเซลล์เริ่มต้นจากตัวคนไข้ ปลูกให้เป็นกระดูกอ่อนเทียมภายในแบบที่ทำจากแผ่นผ้าซ้อนกันเป็นชั้นๆ เจ็ดชั้นที่ประสานติดกันด้วยกาวน้ำเพื่อความเเข็งแรง กระดูกอ่อนเทียมที่ปลูกได้จะมีความหนาหนึ่งมิลลิเมตร ศาสตราจารย์ Guilak กล่าวว่าหากปลูกกระดูกอ่อนเทียมได้สำเร็จ การผ่าตัดรักษาอาการกระดูกเสื่อมจะซับซ้อนและเจ็บปวดน้อยลงเพราะเพียงเเค่ผ่าตัดเอากระดูกอ่อนที่เสื่อมออกและนำกระดูกอ่อนเทียมที่ปลูกจากเซลล์เริ่มต้นของผู้ป่วยใส่ทดแทนโดยที่ศัลยแพทย์ไม่ต้องตัดข้อกระดูกส่วนอื่นๆ ออกแต่อย่างใด ขณะนี้ ศาสตราจารย์ Guilak และทีมงานกำลังวางแผนจะทำการทดลองรักษาอาการกระดูกอ่อนเสื่อมด้วยกระดูกอ่อนเทียมปลูกจากเซลล์เริ่มต้นนี้ในสัตว์ทดลองเสียก่อนเพื่อทดสอบดูประสิทธิภาพ