Tag: กระดูกหัก
-
7 วิธีป้องกันกระดูกพรุนเมื่อเข้าสู่วัยชรา
7 วิธีป้องกันกระดูกพรุนเมื่อเข้าสู่วัยชรา จะเห็นได้ว่าเมื่อคนสูงอายุกันมากขึ้น ร่างกายจะดูเตี้ยลง หลังค่อมและขาโก่งขึ้น บางคนแค่เพียงประสบอุบัติเหตุลื่นหกล้มหรือโดนกระแทกเบา ๆ กระดูกก็หักแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากภาวะกระดูกพรุนหรือกระดูกบางตัวลงนั่นเอง กระบวนการนี้เกิดจากการที่กระดูกเรามีการสร้างตัวและสลายตัวออกมาในรูปของแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือดตลอดเวลา หากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่มากพอก็จะสูญเสียมวลกระดูกไปเรื่อย ๆ จนกระดูกบางในที่สุด ในเด็กจะมีการสร้างมวลกระดูกมากกว่าสลายตัว กระดูกจึงแข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดสูงสุดเมื่ออายุ 30-35 ปี แล้วหลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ บางตัวลงเพราะมีการสลายตัวมากกว่าสร้าง ยิ่งผู้หญิงด้วยแล้วยิ่งมีการสลายตัวมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า เนื่องจากภาวะของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงในวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน การดูแลสุขภาพของกระดูกจึงควรเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนอายุ 30 ปี หากพ้นจากนี้แล้วร่างกายจะไม่สามารถสะสมเนื้อกระดูกให้แข็งแรงได้ การป้องกันกระดูกพรุนจึงควรเตรียมพร้อมไว้ดังต่อไปนี้ 1. ทานอาหารที่มีแคลเซียมให้มาก ไม่ว่าจะเป็น นม โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งฝอย กระดูกอ่อนของสัตว์ เต้าหู้แข็ง ถั่วแดง ผักใบเขียว ทานสลับกันไปทุกวัน เพราะการจะมีกระดูกแข็งแรงได้นั้นมิได้อาศัยแต่เพียงแคลเซียมอย่างเดียว แต่ต้องการสารอาหารที่หลากหลายด้วย 2. ควรหมั่นออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก เช่น การเดิน การวิ่ง การขึ้นลงบนได กระโดดเชือก เต้นแอโรบิก เพราะกระตุ้นให้ร่างกายดูดแคลเซียมให้มากขึ้น…
-
ปรับไลฟ์สไตล์ ป้องกันกระดูกพรุนแต่เนิ่น ๆ
ปรับไลฟ์สไตล์ ป้องกันกระดูกพรุนแต่เนิ่น ๆ สำหรับสตรีแล้วมีความเสี่ยงในการกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้ถึงร้อยละ 30-40 เลยทีเดียว การกระดูกหักในช่วงวัยชรานั้นเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตที่ทุกข์ทรมานอีกสาเหตุหนึ่งเลยทีเดียว โดยผู้ที่มีอาการของกระดูกพรุนนั้น ก็คือมักจะกระดูกหักเพราะอุบัติเหตุเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนที่มักจะหักก็คือข้อต่อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ และส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการยุบตัวของกระดูกสันหลังทำให้ปวดหลัง หรือมีอาการปวดหลังเรื้อรัง , หลงดูโก่งขึ้น หรือกระดูกแตกหักง่าย ซึ่งเป็นอันตรายมาก ควรรับรับการรักษาทันที และป้องกันไว้ก่อนที่จะลุกลามไปมากกว่านี้ 1. ทานอาหารให้ครบถ้วยทุกหมวดหมู่ โดยเฉพาะอาหารตามธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด เพื่อให้ร่างกายรับสารอาหารอย่างเต็มที่ ควรทานอาหารให้หลากหลายเพื่อรับวิตามินและแร่ธาตุให้ครบถ้วนตามที่ต้องการ 2. ทานอาหารที่มีแคลซียมทั้งหลาย เช่น นมไขมันต่ำ เต้าหู ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง กุ้งฝอย ผักใบเขียวและธัญพืช ฯลฯ 3. หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า น้ำอัดลม และอาหารที่ไขมันสูง ที่อาจทำให้เกิดการสลายแคลเซียมจากกระดูก รวมไปถึงลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ธัญพืชที่ผ่านกระบวนการมากเกินไป และน้ำตาลด้วย เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรด ส่งผลให้มีการสลายแร่ธาตุบางอย่างรวมถึงแคลเซียมด้วย 4. ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ไม่ว่าจะเป็น ชา กาแฟ…
-
แพทย์ติง ดื่มนมมากเกิน อาจย่อยสลายมวลกระดูกได้
แพทย์ติง ดื่มนมมากเกิน อาจย่อยสลายมวลกระดูกได้ การดื่มนมนั้นจำเป็นต้องดื่มแต่พอดีเพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมแต่พอที่ร่างกายที่ต้องการ เพราะแคลเซียมที่อยู่ในนมนั้นมาพร้อมกับฟอสฟอรัส ซึ่งมีคุณสมบัติในการย่อยสลายมวลกระดูกได้ จึงทำให้เกิดภาวะโรคกระดูกพรุน ทำให้กระดูกหักและเปราะได้ง่าย ซึ่งโรคกระดูกพรุนนี้ มักคุกคามผู้สูงวัยอย่างเงียบ ๆ แต่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในผู้สูงวัยชาวไทย อีกทั้งการรับรู้ข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์มากพอ ทั้งนี้การดื่มนมนั้นสามารถป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ แคลเซียมในนั้นนั้นมีคุณสมบัติในการยับยั้งการผุกร่อนของกระดูก และการสลายตัวของมวลกระดูก แต่ต้องดื่มในปริมาณที่เหมาะสม โดยแคลเซียมที่ควรได้รับมาจากนมน้ำไม่ควรเกิน 500 ซีซีต่อวัน จะทำให้ได้รับแคลเซียมประมาณ 500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ในน้ำนมนั้นจะประกอบไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัสในอัตรา 3 ต่อ 2 ส่วน หากเราดื่มนมมากกว่าครึ่งลิตรต่อวัน ก็อาจทำให้ร่างกายได้รับฟอสฟอรัสมากเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของต่อมพาราไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนออกมาจนสลายกระดูกจนเป็นเหตุให้กระดูกพรุน กระดูกเปราะ เพราะเนื้อหรือมวลกระดูกบางลงนั่นเอง ในแต่ละช่วงอายุนั้นร่างกายมีความต้องการแคลเซียมที่แตกต่างกันไป – วัยเด็ก ควรได้รับแคลเซียม 600 มิลลิกรัมต่อวัน – วัยรุ่น ควรได้รับแคลเซียม 1,000-1,500 มิลลิกรัมต่อวัน – ผู้ใหญ่ ควรได้รับแคลเซียม 800-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน – หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับแคลเซียม 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน – ผู้สูงอายุหรือวัยทอง…