Tag: กระดูกผุ

  • อันตรายในห้องน้ำที่ทำให้คุณป่วยซ้ำ ๆ ป่วยบ่อย ๆ

    อันตรายในห้องน้ำที่ทำให้คุณป่วยซ้ำ ๆ ป่วยบ่อย ๆ

    อันตรายในห้องน้ำที่ทำให้คุณป่วยซ้ำ ๆ ป่วยบ่อย ๆ ใครที่มีอาการเจ็บป่วยบ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ บางทีลองมาสังเกตห้องน้ำของคุณบ้างนะคะ ว่ามีเชื้อโรคร้ายแฝงอยู่บ้างหรือเปล่า ลองมาเช็คดูไปพร้อม ๆ กันนะคะ 1. ยาแนวในห้องน้ำทำให้เกิดโรคภูมิแพ้และระบบทางเดินหายใจ หากสูดดมในปริมาณมาก อาจทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ดังนั้นหลังจากการก่อสร้างบ้านหรือต่อเติมซ่อมแซมห้องน้ำ ควรเปิดประตู หรือพัดลมระบายอาการเพื่อระบายความเข้มข้นของสารเคมีจากยาแนวเหล่านี้ออกไปให้มากที่สุด 2. ความชื้นในห้องน้ำทำให้คุณป่วยได้ ไม่ควรปล่อยให้ห้องน้ำชื้น ควรเปิดพัดลมดูดอากาศและใช้ม๊อบถูกพื้น เช็คห้องน้ำให้หมาดหรือแห้งได้ก็จะยิ่งดี ป้องกันการก่อตัวของเชื้อราด้วย 3. ติดตั้งพัดลมดูดอากาศผิดตำแหน่ง เช่นติดไว้บนเพดาน ทำให้ความชื้นไม่ถูกระบายออกไป ทางที่ดีควรติดพัดลมระบายอากาศที่สามารถระบายอากาศสู่ภายนอกได้จะดีที่สุด 4. ใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์รุนแรง ยิ่งโดยเฉพาะที่มีส่วนผสมของแอมโมเนียและคลอรีน เพราะสารทั้งสองชนิดทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง ปอด และทำให้เกิดโรคหอบหืดได้ด้วย 5. ก๊อกน้ำไม่สะอาดหรือไม่ยอมทำความสะอาด แพร่เชื้อโรคได้มากที่สุดนะคะ เพราะก็อกน้ำเป็นส่วนที่ทุกคนในบ้านจับต้องมากที่สุดแต่มักได้รับการทำความสะอาดน้อยที่สุดด้วย 6. ม่านห้องน้ำแบบไวนิล มีสารที่ก่ออันตรายและสารก่อมะเร็งได้ ควรเปลี่ยนมาเป็นแบบโพลีเสเตอร์หรือไนลอนดีกว่า 7. น้ำยาทำความสะอาดสำเร็จรูปที่มีความสามารถในการกัดเซาะได้ดีนั้น จะทำความรุนแรงต่อผิวและกลิ่นฉุน ๆ ยังระคายเคืองทางเดินหายใจได้อีก ลองเปลี่ยนมาใช้เบกกิ้งโซดาซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เบเกอรี่ กับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ทำความสะอาดห้องน้ำดีกว่า นำสองอย่างนี้มาผสมกันแล้วป้ายไว้บนสิ่งสกปรกประมาณครึ่งชั่วโมงแล้วขัดล้างตามปกติ จะปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณมากกว่าค่ะ 8. ควรกรองคลอรีนออกจากน้ำด้วย…

  • พิษอันตรายจากสารตะกั่ว

    พิษอันตรายจากสารตะกั่ว

    พิษอันตรายจากสารตะกั่ว ตะกั่ว เป็นโลหะชนิดอ่อนที่สามารถพบได้ในธรรมชาติ เป็นโลหะที่มนุษย์สนใจความเป็นพิษของมันมากที่สุด เพราะมีการนำเอาตะกั่วมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมแบตเตอรี่รถยนต์, ตะกั่วอินทรีย์เป็นสารเคมีที่ใช้เติมน้ำมันเบนซิน, อุตสาหกรรมสีและสารเคมี, สารฆ่าแมลงจากตะกั่วอาร์เซนเนทในผสมสีทาอาคาร, สีที่ผสมในของเด็กเล่น, สีสำหรับวาดภาพ, สีที่ใช้พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ วารสารต่าง ๆ ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้มนุษย์ทุกคนมีโอกาสสัมผัสกับตะกั่วได้แทบทุกวัน นอกจากนี้แล้วยังมีการนำเอาตะกั่วออกไซด์มาใช้เป็นเครื่องสำอางค์ด้วย กองพิษวิทยาเคยตรวจพบแป้งโยตัวเด็กมีตะกั่วปนอยู่ถึงร้อยละ 74 อันตรายต่อเด็กมาก อีกทั้งคนทั่วไปยังได้รับสารตะกั่วจากท่อไอเสียรถยนต์ อาหาร น้ำ สิ่งแวดล้อมอื่นๆ ตะกั่วเป็นโลหะที่ไม่จำเป็นในกระบวนการดำรงชีวิต จึงมีการกำหนดมาตรฐานป้องกันสารตะกั่วปนเปื้อนในอากาศ น้ำและอาหาร เพื่อความปลอดภัยของประชากรหลายประเทศและประเทศไทยด้วย พิษเรื้อรังของตะกั่วนั้นจะแสดงอาการออกมาหลังจากได้รับตะกั่วทีละน้อย อาจใช้เวลาเป็นปีกว่าจะแสดงอาการ ตะกั่วนั้นเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปจับกับเม็ดเลือดแดง แทนที่เหล็กซึ่งใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดอาการโลหิตจาง ปริมาณเหล็กในน้ำเหลืองเพิ่มผิดปกติ ตะกั่วบางส่วนจะไปสะสมในกระดูก ทำให้มีอาการปวดตามข้อ กระดูกผุและหักง่าย หากสะสมที่รากฟันทำให้เห็นสีม่วงหรือสีดำที่เหงือก ทำให้ฟันหลุดได้ง่าย นอกจากนี้แล้วยังสะสมในไขมัน ระบบประสาท น้ำเหลือง ตับไต อาการพิษเรื้อรังที่พบได้บ่อย ๆ ก็คือ ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก…

  • ทำความเข้าใจกันใหม่ แคลเซียมไม่ได้รักษากระดูกได้ทุกโรคเสมอไป

    ทำความเข้าใจกันใหม่ แคลเซียมไม่ได้รักษากระดูกได้ทุกโรคเสมอไป

    ทำความเข้าใจกันใหม่ แคลเซียมไม่ได้รักษากระดูกได้ทุกโรคเสมอไป หากจะพูดถึงโรคกระดูกที่พบกันได้มากในประเทศไทยนั้น ก็เห็นจะไม่พ้น โรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน และกระดูกอ่อน ซึ่งทั้งสามโรคนี้ไม่ได้เป็นโรคเดียวกัน การรักษาก็มีความแตกต่างกันไป แต่ก็ยังการถูกนำไปโฆษณาขายแคลเซียมกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีการให้ข้อมูลและคำแนะนำที่ผิด ๆ เกี่ยวกับแคลเซียมและการรักษาโรคกระดูกอยู่มาก แม้แต่แพทย์หลายท่านก็ยังนิยมให้ผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ ทานแคลเซียม โดยไม่ได้พิจารณาถึงชนิดของโรคที่เป็นจริง ๆ นอกจากไม่ได้ประโยชน์แล้วยังอาจสิ้นเปลืองโดยใช้เหตุอีกด้วย ทำให้เกิดผลข้างเคียงและฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ของแคลเซียมอีกต่างหาก การจะใช้แคลเซียมมารักษาโรคกระดูกได้ตรงจุดนั้นควรรู้จักกับโรคกระดูกทั้งสามแบบข้างต้นเพื่อให้เห็นความแตกต่างก่อน ดังต่อไปนี้ 1. โรคกระดูกเสื่อม เป็นโรคที่มีการเสื่อมของกระดูกอ่อนของข้อที่มีการเคลื่อนไหวมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อเท้า ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อมือ ข้อศอก ฯลฯ การเสื่อมนี้หมรยถึงการเสียความยืดหยุ่น เกิดความเสื่อมและสึกหรอ จึงทำให้ปวดขัดตามข้อ ข้อโปนและผิดรูป พบมากในผู้ใช้แรงงาน ผู้ที่ใช้ร่างกายมาก และผู้สูงอายุ ซึ่งการรักษาในโรงพยาบาล หมอก็จะจ่ายยาแก้ปวด แก้อักเสบ ลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ แคลเซียม และกลูโคซามีนให้ด้วย แต่หมอไม่ได้รู้เลยว่า แคลเซียมและยาลดกรดนั้นกินด้วยกันอาจทำให้ท้องผูก และแคลเซียมไม่มีประโยชน์อะไรกับโรคเลย การรักษานั้นก็คือการให้ยาบรรเทาปวด ลดการใช้งานข้อนั้น และให้ยาเสริมกระดูกพวกกลูโคซามีนเท่านั้นก็เพียงพอ 2. โรคกระดูกพรุนหรือกระดูกโปร่งบาง หรือเรียกว่ากระดูกผุ เป็นการเสื่อมของกระดูกแข็งซึ่งมีเนื้อเยื่อกระดูกและแคลเซียมลดลง…