Tag: กรมสุขภาพจิต

  • ป้องกันการฆ่าตัวตายของคนใกล้ชิด

    ป้องกันการฆ่าตัวตายของคนใกล้ชิด

    ป้องกันการฆ่าตัวตายของคนใกล้ชิด เชื่อหรือไม่คะ แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายถึงปีละกว่า 1 ล้านคนหรือเฉลี่ย 1 คนทุก ๆ 40 วินาทีเลยนะคะ นี่ยังไม่นับว่ายังมีคนพยายามฆ่าตัวตายอีกประมาณ 10-20 ล้านคนจากทั่วโลกตัว  แม้แต่ในประเทศไทยเองจากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตนั้น มีคนไทยฆ่าตัวตายกันกว่าปีละหกแสนคนเลยทีเดียว  นับเป็นปัญหาสำคัญมากในระดับโลก จนทำให้องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ทุกวันที่ 10 กันยายนของทุกปีเป็นวัน ป้องกันการฆ่าตัวตายโลก World Suicide Prevention Day   แม้สาเหตุการฆ่าตัวตายจะซับซ้อนและมีหลากหลายปัจจัย แต่นักจิตวิทยาก็ยืนยันว่าปัจจัยที่มีผลต่อการฆ่าตัวตายทุกเพศทุกวัยคือโรคซึมเศร้าค่ะ จากข้อสังเกตของ พญ. อภิสมัย  ศรีรังสรรค์  จิตแพทย์โรงพยาบาลศรีธัญญา  ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่าผู้ที่มีความเสี่ยงคิดฆ่าตัวตายมักเป็นคนโสด มีนิสัยหุนหันพลันแล่น, คนที่เป็นโรคร้าย  โดยผู้ชายจะมีอัตราการฆ่าตัวตายแล้วสำเร็จมากกว่าผู้หญิง และเกิดขึ้นกับกลุ่มวัยรุ่นและผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่น ๆ ญาติและผู้อยู่ใกล้ชิดควรเปลี่ยนความเชื่อที่มองว่า การฆ่าตัวตายเป็นการเรียกร้องความสนใจ เปลี่ยนเป็นมองว่านั่นคือสัญญาณขอความช่วยเหลือ  ซึ่งจะทำให้เอาใจใส่และให้ความดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น  หากพบสัญญาณดังกล่าวควรแสดงการดูแล และให้ความช่วยเหลือด้วยการเข้าไปสอบถามก่อน และให้เขาได้รู้ว่าคนรอบข้างก็เจ็บปวดไปกับเขาด้วยเช่นกัน  เท่านี้ก็จะช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายได้ หากคนรอบข้างคุณแสดงอาการที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายหรือโรคซึมเศร้าออกมา ควรดูแลใกล้ชิดและพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาและป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า

  • การเมืองทำคนเครียดป่วย “โรคเครียดการเมือง” ล้นประเทศ

    การเมืองทำคนเครียดป่วย “โรคเครียดการเมือง” ล้นประเทศ

    การเมืองทำคนเครียดป่วย “โรคเครียดการเมือง” ล้นประเทศ กรมสุขภาพจิตห่วงคนไทยหวั่นเกิดโรคเครียดสะสมจากการเมืองจนกลายเป็นโรคชนิดใหม่.. โรคเครียดการเมือง หรือ Political Stress Syndrome (PSS) ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้ อาการทางร่างกาย 1. ปวดหัว 2. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 3. มีอาการตึงบริเวณต้นคอ ขมับ หรือแขนขา 4. นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือตื่นแล้วนอนต่อไม่ได้ 5. ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทั้ง ๆ ที่อยู่ในสภาพปกติ 6. หายใจไม่อิ่ม 7. แน่นท้อง ปวดท้อง อึดอัดในช่องท้อง 8. ชาตามร่างกาย อาการทางจิตใจ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งผู้ชุมนุม นักการเมือง ผู้ติดตามข่าวสารและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต 1. มีความวิตกกังวล ครุ่นคิดตลอด 2. หงุดหงิดฉุนเฉียวได้ง่าย 3. มีความก้าวร้าว 4. รู้สึกสิ้นหวัง เบื่อหน่าย…

  • ระวังโรคไบกอเร็กเซีย – โรคที่คิดว่าตัวเองตัวเล็กเกินไป

    ระวังโรคไบกอเร็กเซีย – โรคที่คิดว่าตัวเองตัวเล็กเกินไป

    ระวังโรคไบกอเร็กเซีย – โรคที่คิดว่าตัวเองตัวเล็กเกินไป นายแพทย์ วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ รองผอ.สำนักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ได้กล่าวถึงโรคทางจิตชนิดหนึ่งที่อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยเท่าไรนัก ก็คือโรค ไบกอเร็กเซีย (Bigorexia) หรือโรคที่คิดว่าร่างกายตัวเองเล็กเกินไป เป็นโรคที่ผู้ป่วยมักคิดว่าตัวเองยังมีรางกายที่ไม่กำยำหรือล่ำสันมากพอ จึงมักชอบส่องกระจกบ่อย ๆ ทั้งที่ตัวเองก็มีร่างกายที่กำยำอยู่แล้วทำให้ต้องเข้าฟิตเนส หรือเล่นเวทบ่อย ๆ หากไม่ได้เล่นก็จะเกิดอาการเครียดและซึมเศร้า โดยโรคนี้จะเกิดกับกลุ่มชายวัยรุ่นหรือวัยกลางคน ซึ่งเป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มที่คิดว่าตัวเองมีรูปร่างหรืออวัยวะที่ผิดปกติหรือ Body Dsymophic Diorder : BDD มีอาการผิดปรกติต่อการประเมินภาพลักษณ์ของตนเอง หมกมุ่นและย้ำคิดย้ำทำ กับเรื่องของรูปลักษณ์ตัวเอง ทั้งที่มีรูปร่างที่ปกติ แต่ก็สามารถหาจุดตำหนิได้เสมอ จนเกิดความทุกข์ ความเครียดซึมเศร้า จนกระทบต่อการใช้ชีวิต การทำงานและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ ซึ่งข้อสังเกตของผู้ป่วยในกลุ่มนี้ก็คือ 1. มักจะชอบส่องกระจกนาน ๆ แล้วก็หมกมุ่นกับภาพลักษณ์ของตัวเองจนเป็นสุขและสูญเสียความรับผิดชอบในภารกิจส่วนตัว 2. ชอบเอ่ยปากถามถึงรูปร่างหน้าตาของตนเองกับคนอื่นเสมอ แม้คนอื่นจะยืนยันความปกติแต่ก็ไม่เคยเชื่อ และมักจะถามย้ำเสมอ ๆ 3. หมดความมั่นใจในตัวเอง จนไม่กล้าเข้าสังคม มักแยกตัวจากคนอื่น สูญเสียการสร้างสัมพันธ์ภาพกับคนอื่น และสุดท้ายก็คือการโรคซึมเศร้า โดยโรคนี้ยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย แต่ในสหรัฐอเมริกาพบได้มากถึงร้อยละ…