Tag: กรดไหลย้อน

  • สุขภาพช่องปากและการตั้งครรภ์

    สุขภาพช่องปากและการตั้งครรภ์

    สุขภาพช่องปากและการตั้งครรภ์ ในระหว่างการตั้งครรภ์นั้น ช่องปากของคุณแม่ ก็เป็นส่วนที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน เพราะมีผลต่อสุขภาพโดยตรงของลูกในครรภ์ได้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็น… – การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้ระหว่างตั้งครรภ์ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ หรือมีหินปูนจำนวนมาก เป็นโรคปริทันต์ เหงือกบวม อักเสบมีเลือดออกได้ – ในมารดาที่มีภาวะเหงือกอักเสบรุนแรง มักจะคลอดลูกน้ำหนักตัวน้อย และคลอดก่อนกำหนดได้ – การคลื่นไส้แพ้ท้องอาเจียนบ่อย ทำให้มีกรดจากกระเพาะอาหารย้อนขึ้นมาในช่องปาก ทำให้ฟันสึกกร่อนได้เร็ว รวมไปถึงอาหารเปรี้ยว ๆ ก็เช่นกัน – หญิงตั้งครรภ์มักจะทานได้น้อย แต่ทานบ่อย การทานบ่อย ทานของหวาน อาหารเหนียวติดฟันทำให้ฟันผุได้ – การมีฟันผุที่ไม่ได้รักษาจะทำให้มีเชื้อแบคทีเรียในช่องปากเป็นจำนวนมาก อาจส่งผ่านไปสู่ลูกทางพันธุกรรม แต่ส่งผลได้ทางน้ำลาย เช่น การกอดจูบลูก การเป่าอาหาร การกัดแบ่ง และการใช้ช้อนร่วมกับลูก – สำหรับเด็กในครรภ์จะเริ่มสร้างฟันน้ำนมตั้งแต่อายุครรภ์ได้ 4-6 สัปดาห์ ซึ่งต้องการสารอาหารหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำพวกแคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งจะมีผลให้เคลือบฟันและเนื้อฟันมีความแข็งแรง ดังนั้นคำแนะนำสำหรับคุณแม่ในการดูแลช่องปากระหว่างการตั้งครรภ์ก็คือ 1. แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันทุกวัน ควรบ้วนปากหรือแปรงฟันทุกครั้งหลังอาหารว่างด้วย 2. หากแพ้ท้องอาเจียน ควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ เพื่อลดปริมาณกรดจากกระเพาะอาหาร แต่ห้ามแปรงฟันเป็นเวลาอย่างน้อย…

  • ผู้ป่วยหอบหืดควรหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นอาการดังนี้

    ผู้ป่วยหอบหืดควรหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นอาการดังนี้

    ผู้ป่วยหอบหืดควรหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นอาการดังนี้ 1. สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ละอองหญ้า วัชพืช ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่นตามที่นอน เฟอร์นิเจอร์ หรือของเล่นตุ๊กตาที่ทำจากนุ่นหรือมีขน เชื้อรา แมลงสาบรวมไปถึงสัตว์เลี้ยงในบ้าน อาหารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนมวัว ไข่ กุ้ง หอย ปลา ปู งา ถั่วเหลือง สีผสมอาหาร สารกันบูด ฯลฯ 2. สารเคมีและควันระคายเคืองต่าง ๆ เช่น ควันบุหรี่ ท่อไอเสีย ควันธูป ฝุ่นละออง สเปรย์ ยาฆ่าแมลง อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน หรืออากาศเย็นๆ กลิ่นฉุนต่าง ๆ ฯลฯ 3. อย่าปล่อยให้ตัวเองป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็น หวัด ไข้หวัด ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ 4. หากต้องการออกกำลังกาย ควรสูดพ่นยาขยายหลอดลมก่อนสักครึ่งชั่วโมงป้องกันอาการกำเริบ 5. หลีกเลี่ยงความเครียดต่าง ๆ 6.…

  • ทำความเข้าใจกันใหม่กับ…โรคกรดไหลย้อน

    ทำความเข้าใจกันใหม่กับ…โรคกรดไหลย้อน

    ทำความเข้าใจกันใหม่กับ…โรคกรดไหลย้อน เดี๋ยวนี้โรคกรดไหลย้อนไม่ใช่โรคใหม่อีกต่อไปแล้วนะคะ แต่เนื่องจากในปัจจุบันมีการโฆษณาบิดเบือนความเข้าใจของโรคนี้เพื่อหลอกขายยาลดกรดอย่างแรงกลุ่มหนึ่งอยู่ บทความวันนี้จึงจะพาคุณผู้อ่านได้มาทำความเข้าใจกันใหม่เกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อนค่ะ “โรคกรดไหลย้อน” คือภาวะที่มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนหน้าอกหรือจุกเสียดลิ้นปี่ เพราะน้ำย่อยในกระเพาะอาหารนั้นมีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้แสบคอ ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยปกตินั้นการที่กรดหรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาจนป่วยเป็นโรคนี้ได้นั้นพบได้น้อยมาก เพราะร่างกายเราได้มีวิธีการที่ดีในการกันกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาได้ แต่บางครั้งเกิดจากการย่อยอาหารไม่ปกติ เช่น กินอาหารที่ย่อยยาก หรือเคี้ยวไม่ละเอียด ทำให้ท้องอืด เรอ และเกิดแรงดันในกระเพาะขึ้นด้านบนจนขย้อนให้น้ำย่อยที่มีกรดไหลย้อนกลับขึ้นมา จนเกิดอาการแสบร้อนในอก แสบคอ อาเจียนดังกล่าว แม้อาการเหล่านี้จะสามารถเป็นได้ทุกคน แต่ก็ไม่ได้บ่อย ๆ แต่หากเป็นบ่อยจึงจะเรียกว่า โรคกรดไหลย้อน ซึ่งอาจมีความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างและมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เข้าร่วมด้วย ได้แก่ อ้วนลงพุง, ชอบกินอาหารมาก ๆ , กินแต่ของมัน ของทอด, ผู้ที่กินอาหารอิ่มแล้วรีบนอนเลย, ผู้ที่ชอบดื่มน้ำอัดลม ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ฯลฯ แต่ผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเลยแล้วเกิดอาการขึ้นมานาน ๆ ที ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาลดกรดแบบแรง ๆ ก็ได้ จะมีโรคกรดไหลย้อนอีกชนิดหนึ่ง ที่มีอาการเจ็บคอบ่อย ๆ เสียงแหบ…

  • กินมื้อดึก…ร่างกายเสื่อมโทรมรวดเร็ว

    กินมื้อดึก…ร่างกายเสื่อมโทรมรวดเร็ว

    กินมื้อดึก…ร่างกายเสื่อมโทรมรวดเร็ว คนที่ชอบทานอาหารมื้อดึก ๆ นั้น ถ้าสังเกตสุขภาพร่างกายของเค้าจะพบว่าเป็นคนที่ไม่แข็งแรง และมีความไม่ปกติกับร่างกายหลายส่วน ทั้งการตื่นสาย ท้องอืด ระบบการย่อยรวนเร เป็นโรคกรดไหลย้อน หรือโรคกระเพาะอาหาร ตลอดจนคนที่กินมื้อดึกยังทำให้ร่างกายทำงานหนักกว่าปกติ แทนที่ร่างกายจะได้พักผ่อนในยามค่ำคืนกลับต้องมาย่อยอาหารที่มักจะเป็นมื้อใหญ่เสียด้วย ดังนั้นร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมสภาพด้วยการเริ่มต้นเป็นโรคอ้วน เบาหวาน โรคความดัน นอนไม่หลับ ฯลฯ จนสุขภาพทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่าร่างกายแก่กว่าอายุจริงไปมากเลยนั่นล่ะค่ะ การจะทราบได้ว่าคุณเป็นคนที่กินมื้อดึกหรือเปล่า ก็ให้ลองสังเกตที่มื้อเช้านั่นล่ะค่ะว่า รู้สึกจุกตื้ออยู่ หรือไม่อยากอาหารเช้าหรือเปล่า นั่นเป็นเพราะยังอิ่มจากการที่กินไว้ตั้งแต่เมื่อคืน กว่าจะได้กินก็มื้อเที่ยงไปแล้ว หรือไปมื้อบ่ายเลย ส่วนมื้อเย็นก็มักจะเป็นหลังสองทุ่มขึ้นไปและมักจะกินมื้อใหญ่ด้วย คนที่กินมื้อดึกมักจะนอนไม่หลับในเวลากลางคืน (เพราะร่างกายกำลังย่อยอาหาร) แต่มาง่วงเหงาในเวลากลางวัน อีกอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือคนกินดึกจะเจ้าเนื้อจนอวบอ้วนกว่าคนอื่น ๆ ด้วย หากไม่อยากเจ็บป่วยด้วยโรคภัยนานาชนิดและโรคอ้วนด้วยแล้ว ควรปรับพฤติกรรมการกินเสียใหม่ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยการทานข้าวเช้าทุกวัน และทานทุกมื้อให้เป็นเวลาด้วย มื้อเย็นควรทานก่อนนอนประมาณ 3 ชั่วโมง หรือก่อนหกโมงเย็น เพื่อให้ร่างกายได้ย่อยอาหารได้อย่างเต็มที่ เข้าใจว่าช่วงแรกนั้นทำได้ยาก แต่ก็ค่อย ๆ ต้องปรับไปค่ะ ระหว่างนี้มื้อเย็นสามารถทานอาหารที่สร้างเมลาโทนินได้ เช่น แกงขี้เหล็กหรือข้าวโพด เพื่อให้หลับได้ง่ายจะได้ไม่ต้องหิวตอนดึก ๆ ค่ะ

  • บรรเทาอาการกรดไหลย้อนด้วยตัวคุณเอง

    บรรเทาอาการกรดไหลย้อนด้วยตัวคุณเอง

    บรรเทาอาการกรดไหลย้อนด้วยตัวคุณเอง เคยเป็นบ้างหรือเปล่าคะ “แสบร้อนบริเวณหน้าอกหลังทานอาหารหรือกำลังนอนหลับ” อาหารเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดแต่อย่างใด แต่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาบริเวณคอหอยและหน้าอก และมักจะเป็นในเวลากลางคืน ส่วนสาเหตุนั้นก็เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณท้ายของหลอดอาหารทำงานผิดปกติ กรดจึงไหลย้อนจากกระเพาะขึ้นมาสู่หลอดอาหาร กล้ามเนื้อของกระเพาะอาหารบีบตัวช้ากว่าปกติ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวได้ช้า กรดจึงไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะมากกว่าปกติ แล้วยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น แสบร้อนกลางอก หรือ HeartBurn ไอแห้ง ๆ ตอนกลางคืน เรอเปรี้ยว กลืนลำบาก เสียงแหบ อาเจียน เจ็บคอ น้ำหนักลด ฯลฯ เมื่อได้พบแพทย์แล้วได้ถูกบ่งชี้ว่าคุณเป็นโรคกรดไหลย้อนอย่างชัดเจน จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาลดกรด ช่วยลดอาการแสบร้อนกลางอก และบรรเทาอาการจากกรดไหลย้อนได้ ยาลดกรดจะลดปริมาณของกรดในกระเพาะอาหารและเพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหาร วิธีนี้ได้ผลดีในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง หรือแสบร้อนกลางอกเป็นครั้งคราว ถ้าอาการของคุณบ่งชี้ว่าเป็นภาวะกรดไหลย้อนอย่างชัดเจนจะทำการรักษาโดยใช้ยาลดกรดซึ่งต้องมีคุณสมบัติในการรักษาอาการแสบร้อนกลางอก และเป็นยาที่มีประสิทธิภาพบรรเทาอาการจากกรดไหลย้อนได้ เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและเพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหาร ในการกำจัดกรดซึ่งจะช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารใช้ได้ผลดีในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงหรือมีอาการแสบร้อนหน้าอกเป็นครั้งคราว แล้วยาลดกรดยังช่วยดูดซับแก๊สในกระเพาะอาหาร ลดการเรอเปรี้ยวและความดันในท้อง และนอกจากนี้แล้ว เรายังควรดูแลตัวเองด้วยการปฏิบัติตามหลักดังต่อไปนี้ค่ะ ควรปรับพฤติกรรมการกินอาหารให้ทานเป็นมื้อเล็ก ๆ วันละ 4-6 มื้อ หัดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ๆ เพื่อลดภาระของกระเพาะอาหาร ไม่ควรทานอาหารทอด อาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน หรืออาหารที่มีไขมันสูง ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่คับแน่นเพราะจะเป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้องกรดก็อาจจะไหลย้อนกลับขึ้นมาได้อีก…

  • ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนนิสัย ห่างไกลโรคกรดไหลย้อน!!!

    ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนนิสัย ห่างไกลโรคกรดไหลย้อน!!!

    ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนนิสัย ห่างไกลโรคกรดไหลย้อน!!! เดี๋ยวนี้การใช้ชีวิตในปัจจุบันต่างก็สร้างปัญหาความเครียดขึ้นได้ง่าย ๆ ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ กับร่างกายอย่างไม่อาจหาที่มาได้  และหนึ่งในโรคนั้นก็คือโรคกรดไหลย้อนด้วย  โดยโรคนี้นั้นคือภาวะที่เกิดน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรดจากในกระเพาะอาหาร  แต่มีบ้างอยู่เหมือนกันที่เป็นด่างจำลำไส้เล็ก  เมื่อกรดไหลย้อนขึ้นมาอาจทำให้เกิดอาการหลอดอาหารอักเสบหรือไม่ก็ได้  ซึ่งสาเหตุของโรคนี้มีได้หลายแบบ เช่น  หลอดอาหารเกิดการคลายโดยโดยไม่ยังไม่กลิน  หรือ ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดต่ำลงกว่าปกติ  หรือแม้กระทั่งเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าในหลอดอาหารก็ได้  กรดจึงไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมากขึ้น  ทำให้กระเพาะอาหารหรือหลอดอาหารบีบตัวผิดปกติ  แล้วยังอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิดและมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมด้วย โรคนี้พบได้ในทุกช่วงอายุ  โดยเฉพาะผู้ที่พฤติกรรม เช่น อ้วน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ กำลังตั้งท้อง เป็นเบาหวาน  เป็นโรคผิวหนังแข็ง ฯลฯ  แล้วยังเกิดจากผู้ที่ใช้ยาลดความดันโลหิตหรือยาต้านโรคซึมเศร้าได้อีกด้วยเช่นกัน  สำหรับเด็กนั้นพบได้ทุกวัน  โดยจะสังเกตเห็นอาการได้คือ มักจะมีการอาเจียนหลังดูดนม โลหิตจาง น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย  หอบหืด ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบเรื้อรัง  และอาจมีอาการหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย อาการของโรคกรดไหลย้อนนี้ จะมีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ไล่ขึ้นมาถึงหน้าอก และถึงคอ  มักกำเริบขึ้นมาในช่วงหลังอาหารมื้อหนัก  การยกของหนัก การนอนหงาน การโน้มตัวไปข้างหน้า  รวมทั้งมีอการเรอเปรี้ยวด้วย  ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสองอย่างก็ได้  ซึ่งการรักษานั้นจะทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นด้วยการรักษาแผลในหลอดอาหารและป้องกันผลแทรกซ้อน  ให้คำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  การให้ยา การส่องกล้อง การรักษาและผ่าตัด …

  • โรคกรดไหลย้อน อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

    โรคกรดไหลย้อน อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

    โรคกรดไหลย้อน อาการ การรักษา วิธีป้องกัน โรคกรดไหลย้อน (Gastro-esophageal Reflux Disease, GERD) คือภาวะของการที่มีกรด หรือ น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาที่บริเวณหลอดอาหาร เนื่องจากหลอดอาหารนั้นเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรดได้ จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร โดยปกติแล้วหลอดอาหารจะทำการบีบตัวไล่อาหารลงไปสู่ด้านล่าง และหูรูด จะทำหน้าทีป้องกันการไหลย้อนกลับของน้ำย่อย กรด หรืออาหารต่างๆ ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร พบได้ในคนทั่วไป ทุกกลุ่ม ทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้มากในคนอ้วน หรือสูบบุหรี่ และการไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ซึ่งหากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ ภาวะของโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ – ระดับแรก ผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนบ้างในบางครั้ง เป็นบ้างไม่เป็นบ้าง แล้วก็หายไป ไม่มีผลต่อสุขภาพมากมาย (Gastro-Esophageal Reflux : GER) – ระดับสอง ผู้ป่วยจะมีอาการกรดไหลย้อนขึ้นมาเฉพาะที่บริเวณหลอดอาหาร (Gastro-Esophageal Reflux Disease :…

  • เทคนิควิธีรับมือกับปัญหา “ปวดท้อง” และปัญหาระบบทางเดินอาหาร

    เทคนิควิธีรับมือกับปัญหา “ปวดท้อง” และปัญหาระบบทางเดินอาหาร

    เทคนิควิธีรับมือกับปัญหา “ปวดท้อง” และปัญหาระบบทางเดินอาหาร – ปวดแสบปวดร้อนกลางอก อาการบ่งบอกถึง โรคกรดไหลย้อน แต่ไม่ต้องกังวลไปนักถ้าหลังจากที่รับประทานยาลดกรดแล้วมีอาการดีขึ้น แต่ถ้าอาการปวดแสบปวดร้อนนั้น เกิดขึ้นบ่อยกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้งหละก็ ขอแนะนำว่าอย่าปล่อยไว้นาน เพราะกรดจะเข้าไปทำลายหลอดอาหาร ทำให้น้ำหนักลดและรับประทานอาหารได้ยาก – ไส้ติ่งอักเสบ อาการของผู้ที่เป็นไส้ติ่งอักเสบนั้น จะมีการปวดท้องที่ช่องท้องส่วนบนอย่างรุนแรง และจะลามไปปวดที่ช้องท้องน้อยด้านขวา และจะมีอาการร่วมด้วยคือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาจจะมีไข้ขึ้นสูงอีกด้วย ถ้าหากเกิดอาการแบบนี้ ต้องรับไปหาหมออย่างรวดเร็ว เพราะถ้าทิ้งไว้นาน อาการจะเลวร้ายลงอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง และถ้ายังปล่อยไว้โดยไม่ยอมรักษา ไส้ติ่งอาจจะแตก ติดเชื้อ และอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย – กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ จะมีอาการปวดท้องเกร็งเป็นระยะๆ และจะมีอาการร่วมคือ อาการท้องเสีย คลื่นไส้ และเจ็บปวดมาก วิธีแก้คือ ควรดื่มน้ำเยอะๆ และคอยดูอาการ หากคุณมีภาวะขาดน้ำหรือ กินแล้วยังท้องเสีย ถ่ายบ่อยเกินสองวันหละก็ ควรรีบไปหาหมออย่างด่วน – แผลเปื่อยเพปติก หรือ แผลเปื่อยในลำไส้เล็ก จะมีอาการปวดหัวตื้อๆ ปวดถี่ๆ คลื่นไส้…