Tag: กรดไขมัน
-
รู้จักกับกรดไขมันโอเมก้า 3 และกรดไขมันโอเมก้า 6
รู้จักกับกรดไขมันโอเมก้า 3 และกรดไขมันโอเมก้า 6 กรดไขมันโอเมก้า 3 และกรดไขมันโอเมก้า 6 นั้นเป็นชื่อที่คุ้นหูกันมายาวนานแล้ว ซึ่งสำหรับร่างกายเราจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้เพราะอาจเสียสมดุลในร่างกายได้ ดังนั้นก่อนที่จะซื้อวิตามินเสริมหรือหาอาหารเสริมมาทานกัน เรามาทำความรู้จักกับกรดไขมันทั้งสองชนิดนี้กันก่อนนะคะ ในส่วนของกรดไขมันโอเมก้า 3 นั้น มีอยู่สามชนิดที่สำคัญได้แก่ – กรดไขมันอัลฟาไลโนเลนิก หรือ ALA เป็นกรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น เป็นกรดไขมันต้นตอที่ร่างกายนำไปสร้างเป็นกรดไขมันอีพีเอ และกรดไขมันดีเอเอ พบได้มากใน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว และน้ำมันอื่น ๆ อีกหลายชนิด รวมไปถึงอาหารที่เป็นถั่วก็มีอยู่เช่นกัน ถั่วเมล็ดแห้งหลายชนิด และน้ำมันพืชอื่น ๆ รวมไปถึงพืชผักนานาชนิดด้วย – กรดไขมันอีพีเอ หรือ EPA – กรดไขมันดีเอชเอ หรือ DHA ซึ่งทั้งกรดไขมันอีพีเอ และกรดไขมันดีเอชเอ นี้สามารถพบได้ในเนื้อปลาทะเล และปลาน้ำจืด ไม่ว่าจะเป็น ปลาสำลี ปลากะพงขาว ปลาอินทรี ปลาทู ปลาดุก ปลาสวาย…
-
โด๊ปด้วย “หอยนางรม” ทำได้จริงเหรอ?
โด๊ปด้วย “หอยนางรม” ทำได้จริงเหรอ? ผู้ชายทั้งหนุ่มและไม่หนุ่มทั้งหลาย มักจะชอบหาอาหารที่ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ มีพละกำลังแล้วก็อึดได้นาน ๆ เพื่อเอาใจสาวให้ติดใจกันไงล่ะค่ะ แล้ว “หอยนางรม” เนี่ยก็เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นอาหารเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย ซึ่งก็เป็นเพราะว่า 1. ในหอยนางรมนั้นมีแร่ธาตุที่ทำให้สเปิร์มเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว ซึ่งก็สังกะสีที่มีอยู่ในปริมาณสูงกว่าอาหารชนิดอื่น ๆ 2. แล้วยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการต่อมลูกหมากอักเสบได้ 3. รวมไปถึงหอยนางรมและอาหารทะเลต่าง ๆ ยังมีกรดไขมันโอเมก้าสาม ที่เป็นสารอีกชนิดหนึ่งที่สร้างฮอร์โมนที่ชื่อว่า พรอสตาแกลนดิน มีความสำคัญต่อการตอบสนองทางเพศ แต่ในขณะเดียวกัน หอยนางรมก็อาจเป็นพิษได้ เพราะหากหอยนางรมนั้นไม่สดพอ ก็อาจมีเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ หรืออหิวาตกโรคได้ และผู้ที่ภูมิคุ้มกันไม่ปกติและเป็นโรคตับ ก็มักจะติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้มีอาการป่วยอย่างรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมไปถึงปริมาณของคอเลสเตอรอลในหอยนางรมนั้นสูงมาก จึงแนะนำให้ทานแต่พอดีจะดีกว่าค่ะ
-
กินปลาทูน่าและปลาแซลมอนกันเถอะ…ช่วยลดความดันได้นะ
กินปลาทูน่าและปลาแซลมอนกันเถอะ…ช่วยลดความดันได้นะ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่าปลาทูน่าและปลาแซลมอน ซึ่งอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้าสามนั้น สามารถป้องกันการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ แล้วยังช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย ซึ่งผลการวิจัยนี้ทางด้านมหาวิทยาวอชิงตันก็ได้มีความเห็นที่สอดคล้ายไปในทางเดียวกัน แล้วยังแนะอีกว่าสำหรับผู้สูงวัยที่ทานปลาทูน่าสัปดาห์ละ 3 ครั้งขึ้นไปนั้น ช่วยลดภาวะความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ถึง 50% เลยทีเดียว แต่การทานทูน่าที่จะเป็นประโยชน์และดีต่อสุขภาพได้จริงๆ นั้น ควรปรุงให้สุกด้วยวิธี นึ่ง อบ หรือย่างเท่านั้น เพราะหากนำไปทอด จะทำให้ผู้ที่รับประทานไม่ได้รับประโยชน์จากการลดภาวะความเสี่ยงโรคหัวใจ ในส่วนของคนไทยนั้นการหาปลาทูน่าและปลาแซลมอนมาทานเป็นประจำอาจเป็นเรื่องยาก คุณอาจลองเลือกซื้อน้ำมันโอเมก้าสามที่สกัดจากปลาแซลมอนมาทานแทนก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าค่ะ
-
LabDoor วิจัยพบว่า น้ำมันปลา ในตลาดสหรัฐหลายยี่ห้อ มีระดับกรดไขมัน omega-3 ต่ำกว่าที่อ้างบนฉลาก
LabDoor วิจัยพบว่า น้ำมันปลา ในตลาดสหรัฐหลายยี่ห้อ มีระดับกรดไขมัน omega-3 ต่ำกว่าที่อ้างบนฉลาก การวิจัยชิ้นใหม่โดยบริษัท LabDoor วิเคราะห์น้ำมันปลาเสริมยี่ห้อดังในสหรัฐ 30 ยี่ห้อด้วยกันเพื่อวัดดูระดับกรดไขมัน omega-3 บริษัทวิจัยพบว่ามีน้ำมันปลาเสริมอย่างน้อย 6 ยี่ห้อที่มีปริมาณกรดไขมันชนิดนี้โดยเฉลี่ยต่ำกว่าระดับที่ระบุไว้บนฉลากถึง 30 สิบเปอร์เซ็นต์ การวิจัยนี้พบปัญหาเพิ่มขึ้นหลังจากแยกวัดระดับกรดไขมัน omega-3 สองชนิดเป็นการเฉพาะคือกรดไขมัน DHA กับกรดไขมัน EPA ผลการวิเคราะห์นี้พบว่าน้ำมันปลาเสริมมากกว่า 10 ยี่ห้อมีระดับกรดไขมัน DHA โดยเฉลี่ยต่ำกว่าปริมาณที่ระบุไวับนฉลากถึง 14 เปอร์เซ็นต์และบางยี่ห้อไม่ระบุปริมาณกรดไขมัน EPA ไว้บนฉลากเลย Dr. Joseph C. Maroon นักประสาทวิทยาที่ศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัย Pittsburgh กล่าวว่ากรดไขมัน omega-3 เสริมเป็นหนึ่งในบรรดาอาหารเสริมสำคัญชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปควรรับประทานเพราะเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายหลายส่วนรวมทั้งสุขภาพของสมองและระบบประสาทด้วย อย่างไรก็ตาม การวิจัยยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดถึงประโยชน์ของการรับประทานน้ำมันปลาเสริม มีการศึกษาบางชิ้นในสหรัฐที่ชี้ว่าการรับประทานน้ำมันปลาเสริมในปริมาณมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ในขณะที่การศึกษาบางชิ้นชี้ว่ากรดไขมัน omega-3 ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใดต่อผู้ป่วยที่มีประวัติว่าเป็นโรคหัวใจ ทางด้านหน่วยงานเอกชนไม่หวังผลกำไร Rock Health ชี้ว่าผลการวิเคราะห์ระดับสารโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำมันปลาเสริมหลายยี่ห้อพบว่าทุกยี่ห้อที่ศึกษามีระดับสารปรอทตั้งแต่ 1 – 6…