Tag: เบาหวาน
-
แพทย์ชี้ คนไทยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น โดยไม่รู้ตัว
แพทย์ชี้ คนไทยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น โดยไม่รู้ตัว สภาวะตึงเครียดในปัจจุบันส่งผลให้จำนวนผู้ป่วย “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน” มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยพบว่าสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ มาจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงเป็นอันดับ 2 เป็นรองเพียงแค่โรคมะเร็งเท่านั้น และจากสถิติที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นก็คือ 30% ของจำนวนผู้ป่วยเหล่านี้มักไม่ปรากฏอาการหรือมีสัญญาณของโรคที่น่าสงสัยใดๆ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ จนกระทั่งมารู้ตัวอีกทีก็เมื่อพบว่าอาการของโรคถึงขั้นรุนแรงแล้ว สถิติผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดจากทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดในปีที่ผ่านมาประมาณว่า มีจำนวนผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากโรคดังกล่าว สูงถึงกว่า 10 ล้านคน และคาดว่า ในอีก 5 ปี ข้างหน้า จำนวนการตายจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ 13 ล้านคนมาจากประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก ในประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นถึง 20 เท่า โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือ ส่วนสาเหตุของการเกิดภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนั้นพบว่า สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ การใช้ชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ การทำงานที่แข่งขันกับเวลา ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันสูง เบาหวาน ความอ้วน การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย ความเครียด และอาหาร โดยอาการเบื้องต้นผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกตรงกลางร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย บางรายมีปวดร้าวขึ้นไปตามคอ อาการเป็นมากขึ้นเวลาออกแรง…
-
โยเกิร์ตรสธรรมชาติ สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้
โยเกิร์ตรสธรรมชาติ สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้ โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อเกิดโรคเบาหวานขึ้นแล้วหากไม่ควบคุมหรือดูแลตัวเองให้ดีก็จะทำให้เกิดโรคเรื้อรังที่ตามมาทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต และโรคระบบประสาท ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียทั้งคุณภาพชีวิตและค่าใช้จ่ายที่สูง อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถเป็นทั้งตัวเร่งและตัวชะลอการเกิดโรคเบาหวาน โดยปกติแล้วอาหารที่มีน้ำตาลสูงจะเป็นตัวเร่งให้ตับอ่อนทำงานหนักนานวันเข้าการทำงานของตับอ่อนก็จะลดลงจนอาจทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ส่วนอาหารที่ช่วยชะลอการเกิดโรคเบาหวานจะเป็นอาหารในกลุ่มที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผลของการรับประทานโยเกิร์ตรสธรรมชาติกับการลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน โยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์จากนมที่ทำจาก นม นมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน โดยผ่านกระบวนการหมักด้วยแบคทีเรียหลัก 2 ชนิด คือ Lactobacillus bulgaricus และ Streptococcus thermophilus แบคทีเรียจะย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลคติก ทำให้มีรสเปรี้ยวและมีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว โยเกิร์ตให้คุณค่าทางอาหารสูง มีโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นแหล่งของวิตามินที่ละลายในน้ำ (วิตามินบี 12 และไรโบฟลาวิน) และวิตามินที่ละลายในไขมัน (วิตามินเอ ดี และเค) มีแร่ธาตุหลายชนิด ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียม สารสำคัญที่มีอยู่ในโยเกิร์ตคือโพรไบโอติก (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จากการศึกษาพบว่าโพรไบโอติดจะช่วยสารอนุมูลอิสระในร่างกาย และช่วยต้านการอักเสบ ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และช่วยเพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้อาจจะมีผลช่วยในการปรับระดับไขมันในเลือด ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้อีกด้วย ดังนั้น การรับประทานโยเกิร์ตธรรมชาติที่…
-
เผยเคล็ดลับ…กินอย่างไรให้ห่างไกลจากโรค
เผยเคล็ดลับ…กินอย่างไรให้ห่างไกลจากโรค ยู อาร์ ว็อท ยู อีท กินอะไรก็เป็นเช่นนั้น คำกล่าวนี้เป็นจริงเสมอ และมันเปรียบเสมือนคำทำนายถึงโรคภัยที่อาจเกิดขึ้นได้กับร่างกายของคุณ อ.พรทิพย์ พสุกมลเศรษฐ์ อาจารย์สาขาอาหารและโภชนาการภาควิชาคหกรรม ม.เกษตรศาสตร์ และนักกำหนดอาหารประจำ รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ กล่าวว่า อาหารที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละวันจะบ่งบอกถึงสภาวะสุขภาพของเราได้ แต่เนื่องจากวิถีชีวิตที่รีบเร่งมากๆ ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาในการกลั่นกรองว่าจะเลือกทานหรือไม่ทานอะไรดี การทานอาหารของคนทุกวันนี้ จึงเป็นไปเพื่อเยียวยาความหิว เติมเต็มกะเพราะเพียงอย่างเดียว “ยิ่งอาหารนอกบ้าน จะมีความจัดจ้านของมันอยู่แล้ว เพราะถ้าไม่จัดจ้านหรือไม่เข้มข้น รสชาติก็จะไม่อร่อย ดังนั้น วิธีการง่ายๆ ก็คือ เราควรพยายามไม่ปรุงเพิ่ม ไม่ใส่น้ำปลาหรือน้ำตาลเพิ่มเวลาทานก๋วยเตี๋ยว ให้คิดว่ารสชาติที่เขาปรุงมา อร่อยอยู่แล้ว เราจะไม่ปรุงเพิ่ม หรือง่ายๆ เลยก็คือหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหารประเภทหวานจัด มันจัด เค็มจัด ทานน้ำหวานให้น้อยลง บวกกับพยายามออกกำลังสม่ำเสมอ” อ.พรทิพย์ กล่าว พร้อมแนะนำเคล็ดลับในการรับประทานอาหารดังต่อไปนี้ 1.ถ้าไม่ทานข้าว ทานข้าวโพดแทน ได้ไหม ? หมวดข้าวหรือแป้ง เป็นกลุ่มอาหารแลกเปลี่ยน ถ้าสมมติว่าวันนี้เราเบื่อข้าวแล้ว ไม่อยากทานข้าว เราสามารถที่จะเปลี่ยนไปเป็นการทานข้าวโพดแทนได้ ข้าวหนึ่งทัพพีเท่ากับข้าวโพดครึ่งฝัก 2.คนที่เป็นเบาหวาน รับประทานกล้วยน้ำว้าได้ไม่เกินกี่ลูกต่อหนึ่งวัน…
-
ยา aleglitazar ที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานนั้น ไม่ได้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
ยา aleglitazar ที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานนั้น ไม่ได้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ นักวิจัยได้ศึกษาเรื่องตัวยา aleglitazar ซึ่งเป็นยาที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในร่างกายนั้น ไม่ได้ส่งผลให้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจ โรคหัวใจล้มเหลว หรือการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองในกลุ่มคนไข้โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และผู้ที่เพิ่งมีอาการหัวใจล้มเหลว หรืออาการปวดเค้นหัวใจอยู่เรื่อยๆได้ ปัจจุบัน โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจนั้นยังคงเป็นสาเหตุหลักของการตายในกลุ่มคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่ ซึ่งไม่มีการรักษาด้วยยาที่ส่งผลต่อเบาหวาน หรือการควบคุมระดับกลูโคสอย่างเข้มงวดใดที่แสดงให้เห็นว่าจะสามารถลดความยุ่งยากของหัวใจหรือหลอดเลือดของหัวใจในกลุ่มคนไข้ดังกล่าวได้เลย โดยในการลดลองระยะที่ 2 นั้น aleglitazar สามารถลดระดับกลูโคสในเลือด ไตรกลีเซอไรด์ LCL และเพิ่มระดับของ HDL ให้สูงขึ้นได้ แพทย์และนักวิทยาศาสต์ก็ได้มีการทดลองเรื่องนี้กับผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยการสุ่มให้ยา aleglitazar และการให้ยาหลอก โดยใช้เวลาประมาณ 104 สัปดาห์ พบว่า ไม่ได้ผล นักวิทยาศาสตร์พบว่าถึงแม้ aleglitazar นั้นจะลดระดับกลูโคสในเลือดและทำให้ระดับของ HDC และไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นก็ตาม ตัวยาดังกล่าวนั้นไม่ได้ลดเวลาของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ อาการหัวใจล้มเหลว หรือการที่เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตันแต่อย่างใด ซึ่งเหตุดังกล่าวได้เกิดขึ้นในคนไข้จำนวนที่ได้รับยา aleglitazar 344 ราย (9.5%) และ 360 ราย (10%) ในกลุ่มคนไข้ที่ได้รับยาหลอก และตัวยา aleglitazar นั้นได้ถูกเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติของไต…
-
นิ้วล็อค ภัยเงียบที่เกิดกับผู้หญิง แพทย์เตือนควรระวัง และย้ำไม่ควรมองข้าม
นิ้วล็อค ภัยเงียบที่เกิดกับผู้หญิง แพทย์เตือนควรระวัง และย้ำไม่ควรมองข้าม แพทย์เตือนระวัง “โรคนิ้วล็อก” พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบมากในผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป ที่ใช้มือทำงานซ้ำๆ และผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือโรครูมาตอยด์ แนะควรพักการใช้มือและออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือเป็นระยะ… เมื่อวันที่ 2 เม.ย.57 นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปกติของนิ้วมือ ที่มีการสะดุดหรือล็อก ไม่สามารถกำหรือเหยียดนิ้วมือได้เป็นปกติ พบในเพศหญิงร้อยละ 80 และพบในเพศชายร้อยละ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อาจเป็นเพราะผู้หญิงใช้มือทำงานซ้ำๆ มากกว่าผู้ชาย เช่น หิ้วถุงหนักๆ บิดผ้าซักผ้า กวาดบ้านถูบ้าน สับหมูสับไก่ และมีพฤติกรรมเหล่านี้เป็นระยะเวลานานๆ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น อาการของโรคนิ้วล็อก คือในระยะแรกจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือกำมือไม่ถนัด หรือกำได้ไม่เต็มที่โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน เวลางอที่จะเหยียดนิ้วมือมักจะได้ยินเสียงดังกึก ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อกคือ เวลางอนิ้วจะเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งาน ซึ่งอาจเป็นเพียงนิ้วเดียว หรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ บางรายอาจรุนแรงถึงนิ้วบวมชา ติดแข็งจนไม่สามารถใช้งานได้ สำหรับวิธีการรักษาโรคนิ้วล็อก มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับอาการ และความรุนแรงของโรค…
-
การดื่มน้ำอัดลมจะส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้า และในกาแฟมีข้อดีต่อสุขภาพจิต
การดื่มน้ำอัดลมจะส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้า และในกาแฟมีข้อดีต่อสุขภาพจิต นักวิจัยสหรัฐ ศึกษาในเรื่องนี้พบว่า ผู้ที่ดื่มน้ำอัดลม 4 กระป๋องต่อวันเสี่ยงต่ออาการซึมเศร้ามากกว่าปกติ 30% และหากดื่ม fruit punch ที่มีน้ำตาลมากในประมาณเดียวกัน อัตราความเสี่ยงที่มากกว่าปกติจะเพิ่มเป็น 38% แต่หากเป็นเครื่องดื่มชนิดใช้สารแทนน้ำตาลหรือน้ำอัดลมแบบ Diet ความเสี่ยงจะมากขึ้นอีก นักวิจัยไม่พบความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างน้ำอัดลมกับอาการซึมเศร้าแต่พอจะสามารถตั้งสมมุติฐานเบื้องต้นได้ว่าผู้นิยมดื่มเครื่องดื่มลักษณะดังกล่าวปริมาณมากมักเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วน ซึ่งเชื่อมโยงกับโรคซึมเศร้า ทั่วโลกมีคนเป็นโรคนี้ 350 ล้านคน และในสหรัฐเองคาดว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 10% ของประชาการทั้งหมด นอกจากนั้นการศึกษาพบด้วยว่าผู้ดื่มกาแฟวันละ 4 แก้วมีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าน้อยกว่าคนที่ไม่ดื่ม 10%
-
การผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหาร ช่วยลดน้ำหนักและแก้อาการเบาหวานประเภทที่ 2 ได้
การผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหาร ช่วยลดน้ำหนักและแก้อาการเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ การผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารเพื่อลดน้ำหนักเริ่มได้รับความนิยมในสหรัฐมานานราวสิบปีแล้ว การผ่าตัดดังกล่าวช่วยผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากลดน้ำหนักลงได้ ผู้ป่วยสามารถกลับไปมีรูปร่างที่อยู่ในระดับมาตราฐาน คุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้น ผู้ป่วยบางคนพบว่าหลังการผ่าตัด พวกเขาปลอดจากโรคเบาหวานประเภทที่สอง แต่มีคำถามว่าการผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารเพื่อลดน้ำหนักปลอดภัยแค่ไหน หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยบางคนติดเชื้อและอาการเส้นเลือดขอดที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ในอดีตการผ่าตัดนี้มีเฉพาะในโรงพยาบาลบางแห่งที่เรียกว่า centers for excellence ที่บริการผู้ป่วยในโครงการสุขภาพที่รัฐบาลสหรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่าย โรงพยาบาลเหล่านี้เคยถูกกำหนดให้ทำการผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารเพื่อลดน้ำหนักแก่ผู้ป่วยอย่างน้อยปีละ 125 ราย ด็อกเตอร์เซ็งกีต้า คาชอ็อพ แห่ง Cleveland Clinic เป็นหัวหน้าทีมนักวิจัยชุดที่สองที่ทำการศึกษาประเด็นนี้ ด็อกเตอร์คาชอ็อพกล่าวว่าการศึกษาพบว่าการการผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหารช่วยกระตุ้นให้ตับอ่อนทำงานไ้ด้เป็นปกติอีกครั้ง และยังพบว่าอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ตับอ่อนสามารถทำงานได้เป็นปกติก่อนหน้าที่ผู้ป่วยจะลดน้ำหนักตัวที่เกินได้ทั้งหมดเสียอีก ด็อกเตอร์คาชอ็อพกล่าวว่าสาเหตุน่าจะมาจากการผ่าตัดไม่ให้อาหารที่รับประทานเข้าไปในลำใส้เล็กและฮอร์โมนต่างๆที่ผลิตออกมา ทีมวิจัยพบว่าผู้ป่วยสามารถลดน้ำหนักตัวลงได้เพราะการผ่าตัดบายพาสลำใส้ แต่นักวิจัยจำเป็นต้องศึกษาว่าทำไมผู้ป่วยบางคนจึงหายขาดจากโรคเบาหวานหลังการผ่าตัด เพื่อช่วยในการวินิจฉัยล่วงหน้าว่าใครจะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการผ่าตัดและเพื่อศึกษาดูว่าเป็นไปได้แค่ไหนที่วันหนึ่งในอนาคตการผ่าตัดแบบนี้จะสามารถนำไปใช้บำบัดผู้ป่วยโรคเบาหวานได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น
-
นักวิจัยเผย เซลล์ตกแต่งพันธุกรรม อาจเป็นแนวทางบำบัดโรคแบบใหม่ในอนาคต
นักวิจัยเผย เซลล์ตกแต่งพันธุกรรม อาจเป็นแนวทางบำบัดโรคแบบใหม่ในอนาคต ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย University of California ในซานฟรานซิสโกชี้ว่าการบำบัดโรคด้วยเซลล์เป็นแนวทางการรักษาโรคแบบใหม่ที่มีศักยภาพในการบำบัดโรคร้ายแรงหลายๆโรค รวมทั้งเบาหวาน มะเร็ง และโรคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หัวหน้าทีมวิจัยและผู้อำนวยการศูนย์ Systems and Synthetic Biology ที่มหาวิยาลัยกล่าาว่าเราสามารถกระตุ้นให้ระบบการต่อต้านเชื้อโรคตามธรรมชาติในร่างกายคนเราทำงานได้มากกว่าที่ทำอยู่ ร่างกายคนเราสร้างขึ้นจากเซลล์และภายในร่างกายคนเรา มีเซลล์หลายประเภท อาทิ เซลล์ภูมิต้านทานที่ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค ร่างกายคนเรามีระบบบำบัดที่ซับซ้อนหลายอย่างอยู่ในตัว เพียงแต่เรายังไม่รู้ว่าจะใช้เซลล์เหล่านี้ให้ทำหน้าที่เหมือนยาที่สามารถบำบัดโรคได้ในตัวได้อย่างไร ทีมวิจัยได้เริ่มต้นพัฒนายุทธวิธีบำบัดโรคด้วยเซลล์ที่ซับซ้อนโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการทำงานของพันธุกรรมในการกำหนดพัฒนาการและการทำงานของเซลล์ต่างๆในร่างกาย เขายกตัวอย่างว่าเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตามธรรมชาติที่ต่อสู่กับการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมักจะอ่อนแอ ทีมนักวิทยาศาสตร์กำลังทำการตกแต่งพันธุกรรมเซลล์ภูมิต้านทานให้เพิ่มจำนวนขึ้นและยังกำหนดให้ทำหน้าที่กำจัดโมเลกุลที่พบในเซลล์มะเร็งเป็นการเฉพาะ เขากล่าวว่าจาการทดลองบำบัดด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรม ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างน่าพอใจ อย่างไรก็ดี ก่อนจะสามารถนำไปใช้บำบัดผู้ป่วยได้ทั่วไป การบำบัดโรคด้วยเซลล์ภูมิต้านทานตกแต่งพันธุกรรมนี้จะต้องผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยอีกมากมายหลายครั้งโดยทีมนักวิจัยเอกเทศและโดยหน่วยงานควบคุมของรัฐบาลเสียก่อน การทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการบำบัดโรคด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรมมีเป้าหมายเพื่อปกป้องผู้ที่จะนำวิธีบำบัดโรคแบบนี้ไปใช้และยังจะมีบทบาทช่วยในการพัฒนาให้การบำบัดแนวใหม่นี้ดีขึ้น สุดท้ายนักวิจัยกล่าวว่ายารักษาโรคมากมายที่เราใช้บำบัดอาการเจ็บป่วยล้วนเริ่มต้นมาจากสารธรรมชาติในพืชหรือในต้นไม้ ที่เรานำมากลั่นกรองจนมีความบริสุทธิ์และเพิ่มประสิทธิิผลในการรักษา ตลอดจนลดความเป็นพิษ การบำบัดด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรมก็จะต้องผ่านขั้นตอนเดียวกันนี้เพื่อให้แน่ใจว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัย
-
เนื้อแดง รับประทานมาก เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
เนื้อแดง รับประทานมาก เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน Harvard ทำวัจัยต่อเนื่องและพบว่า ในกลุ่มตัวอย่าง การรับประทานเนื้อสัตว์ใหญ่น้อยลงช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 14% ส่วนผู้ที่เพิ่มการทานเนื้อแดงเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานมากขึ้น 48% การศึกษาชิ้นนี้อาศัยข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกือบ 150,000 คน และใช้เวลาเก็บข้อมูลสี่ปี ทีมนักวิจัยจาก National University of Singapore ร่วมทำการศึกษาร่วมกับ Harvard อย่างไรก็ตามมีผู้แย้งว่า อันที่จริงเนื้อแดงไม่ได้เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพราะส่วนที่แดงของเนื้อ แต่เป็นเพราะไขมันอิ่มตัวที่พบมากในเนื้อสัตว์ใหญ่ ความแดงของเนื้อจึงไม่ได้เกี่ยวพันกับอันตรายต่อสุขภาพโดยตรง การที่สีเนื้อสัตว์ใหญ่เป็นสีแดงเพราะโปรตีนที่ชื่อว่า Myphglobin ที่ทำหน้าที่ส่งธาตุเหล็กและออกซิเจนไปทั่วร่างกาย ด้านผู้วิจัยจาก Harvard กล่าวว่า โรคเบาหวานมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยที่ไม่ได้ถูกระบุไว้ ซึ่งไขมันก็เป็นหนึ่งในนั้น
-
“ถั่ว” สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียวิตได้จากหลายโรค
“ถั่ว” สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียวิตได้จากหลายโรค นักวิจัยพบว่าการรับประทานถั่วสามารถลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตได้จากหลายโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งรับประทานเกือบทุกวัน ปริมาณประมาณหนึ่งฝ่ามือ นักวิจัยยังพบอีกว่า การทานถั่วอัลมอนด์ เฮเซลนัท เม็ดมะม่วงหิมพานต์ วอลนัท นั้น ให้ผลดีต่อสุขภาพทั้งนั้น นักวิจัยยังพบอีกว่า คนที่รับประทานถั่วในปริมาณที่เหมาะสมนั้น ยังช่วยยืดอายุและสุขภาพร่างกายไปมากกว่า คนที่ไม่ได้รับประทานถั่วเลย การรับประทานถั่วประมาณ 28 กรัม 5 วันต่อสัปดาห์ ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการเสียชัวิต หรือเป็นโรคหัวใจ 29% และนอกจากนั้นยังลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตและสึขภาพจากโรงมะเร็ง 11% การศึกษาก่อนหน้านี้ชี้ว่า การทานถั่วช่วยลดความเสี่ยงจากโรคเบาหวาน มะเร็งสำไส้ใหญ่ นิ่วในถุงน้ำดี และ ลำไส้ใหญ่อักเสบด้วย ถั่วชนิดต่างๆ มีสารอาหารที่สำคัญ เช่นโปรตีนคุณภาพสูง วิตามินหลายชนิด แร่ธาตุ ซึ่งต่างก็ช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็งและการทำงานผิดปกติของเซลล์ นอกจากนั้นยังอาจป้องกันโรคหัวใจได้ด้วย การศึกษาชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ New England Journal of Medicine