Tag: โรคหัวใจ
-
องค์การอนามัยโลก ชี้เรื่องสุขภาพของผู้หญิงในวัยต่างๆ
องค์การอนามัยโลก ชี้เรื่องสุขภาพของผู้หญิงในวัยต่างๆ รายงานขององค์การอนามัยโลกชี้ว่า สุขภาพของผู้หญิงทั่วโลกที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นโดยเฉลี่ยแล้ว ดีขึ้น แต่ช่องว่างของช่วงอายุระหว่างผู้หญิงในประเทศร่ำรวยกับประเทศยากจนกลับห่างมากขึ้น รายงานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ระบุว่า โรคร้ายที่ทำให้ผู้หญิงวัย 50 ปีขึ้นไปทั่วโลก เสียชีวิตมากกว่าโรคอื่นๆ คือ โรคหัวใจ โรคเส้นโลหิตอุดตัน หรือ Stroke และมะเร็ง และเป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้หญิงในประเทศกำลังพัฒนาเสียชีวิตเพราะโรคเหล่านี้ในขณะที่อายุน้อยกว่าผู้หญิงในประเทศร่ำรวย เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลกผู้นี้ให้ความเห็นว่า บางทีประเทศที่เป็นผู้ให้เงินช่วยเหลือประเทศยากจน อาจเปลี่ยนเป้าหมายจากการลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาในประเทศต่างๆในแอฟริกา มาเป็นการบำบัดรักษาโรคที่ไม่ติดต่อเหล่านี้บ้างก็ได้ ในเมื่ออัตราการเสียชีวิตของมารดาลดลง แต่อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มผู้หญิงวัยสูงกว่า 50 ปี กำลังเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม รายงานการศึกษาวิจัยฉบับนี้ขององค์การอนามัยโลก พบว่า โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงวัย 50 ปีขึ้นไปมีช่วงอายุยาวขึ้น 3.5 ปี ในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา
-
ผู้ป่วยโรคหัวใจ ส่วนมากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เรื่องการดูแลตัวเอง
ผู้ป่วยโรคหัวใจ ส่วนมากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เรื่องการดูแลตัวเอง นักวิจัยชาวแคนนาดา สำรวจพบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่ ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ เพื่อดูแลสุขภาพของตัวเอง และยังมีผู้ป่วยที่ยังโรคหัวใจและโรคเล้นเลือดสมองแตกที่ยังไม่ยอมเลิกสูบบุหรี่ แต่ก็ยังมีผู้ป่วยโรคหัวใจอยู่อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งน้อยมาก ที่ยอมปฏิบัติตรามคำสั่งแพทย์ และใส่ใจดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจในส่วนเรื่องรายได้ของผู้ป่วยนั้น จริงๆแล้วไม่ได้มีส่วนมากนัก ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังเกิดอาการเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง ทั้งนี้คนรายได้สูงจะมีพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารดีกว่าคนรายได้น้อยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นักวิจัยให้คำแนะนำว่า สิ่งที่ดีที่สุดคือ ผู้ป่วยต้องมีกำลังใจและ ฮึดกลับมาดูแลสุขภาพตัวเองอย่างต่อเนื่อง แนะนำให้มีการออกกำลังกายเล็กๆน้อยๆ แต่สม่ำเสมอ หรือเดินอย่างน้อย 10,000 ก้าว จะเป็นทางที่ดีต่อสุขภาพ
-
นักวิจัยค้นพบ ยาตัวใหม่ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งในหนูทดลอง
นักวิจัยค้นพบ ยาตัวใหม่ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งในหนูทดลอง ทีมนักวิจัยนานาชาติคิดค้นตัวยาชนิดหนึ่งที่ช่วยสร้างความทนทานแก่กล้ามเนื้อในหนูทดลองโดยพวกเขาหวังว่าวันหนึ่งยาชนิดนี้อาจจะช่วยบำบัดผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอยากต่อการออกกำลังกายรวมทั้งโรคเบาหวานประเภทที่สองที่เกิดจากโภชนาการซึ่งเป็นโรคที่คุกคามคนจำนวนมากทั่วโลก แม้ว่าการออกกำลังกายจะช่วยทุเลาอาการป่วยด้วยโรคเรื้อรังหลายๆโรค อาทิ โรคเบาหวานทั้งสองประเภท โรคอ้วน และโรคหัวใจ ผู้ป่วยด้วยโรคเหล่านี้จำนวนมากมักไม่ค่อยมีเรี่ยวแรงในการออกกำลังกาย ในการทดลองครั้งนี้ทีมงานได้ทดลองใช้ยา SR9009 กับหนูทดลองเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหนูเเข็งแรงทนทานขึ้น ทำให้หนูสามารถวิ่งได้ระยะทางไกลขึ้นและนานขึ้นโดยมีความทนทานต่อการวิ่งเพิ่มขึ้นราว 50-60 เปอร์เซ็นต์ ในหนูทดลองที่ขาดโมเลกุลที่เรียกว่า รีฟเวิร์ปอัลฟ้า (Reverbalpha) ทีมนักวิจัยพบว่ามีปริมาณไขมันเพิ่มขึ้นในเซลล์ของหนูเพราะกล้ามเนื้อมีการเผาผลาญพลังงานลดลง แต่เมื่อทดลองบำบัดหนูกลุ่มนี้ด้วยยา SR9009 ทีมนักวิจัยพบว่ากล้ามเนื้อมีการเผาผลาญพลังงานและไขมันมากขึ้น ทำให้ปริมาณไขมันในกล้ามเนื้อของหนูทดลองลดลง ทีมวิจัยมีหลักฐานจากการทดลองที่ชี้ว่าประสิทธิผลของยา SR9009 คล้ายคลึงกับผลดีจากการออกกำลังกายทซึ่งเกิดแก่คนที่ระบบเผาผลาญน้ำตาลในเลือดเริ่มบกพร่อง โดยพบว่าระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง ไขมันในเลือดลดลง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเผาผลาญกลูโคส นักวิจัยกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นต่อสุขภาพนี้เกิดขึ้นจากการปรับให้กล้ามเนื้อที่อ่อนแอกลายเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและสามารถเผาผลาญไขมันในเซลล์ได้ดีขึ้นนั่นเอง
-
หากผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้รับประทานยาเพียงมื้อละเม็ด พวกเค้าจะทานยานี้ต่อไปตามที่หมอสั่ง
หากผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้รับประทานยาเพียงมื้อละเม็ด พวกเค้าจะทานยานี้ต่อไปตามที่หมอสั่ง ผู้ป่วยหลายคนที่เป็นโรคหัวใจหรือป่วยด้วยอาการสมองขาดเลือดหล่อเลี้ยงเพราะเส้นเลือดอุดตันจากคอเลสเตอรอล มักไม่รับประทานยาเป็นประจำตามคำสั่งแพทย์โดยผู้ป่วยจำนวนมากเลิกรับประทานยาภายในเวลาสามเดือนหลังจากล้มป่วยเนื่องจากต้องรับประทานยาครั้งละหลายเม็ด ผู้ป่วยหลายคนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือเสี่ยงที่จะเกิดอาการสมองขาดเลือดหล่อเลี้ยงอาจต้องรับประทานยามื้อละหลายเม็ด ยาเเต่ละเม็ดมีคุณสมบัติต่างกันไป อาทิ เพื่อลดความดันโลหิต บางเม็ดช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และบางคนอาจต้องรับประทานยาช่วยป้องกันหัวใจวายร่วมด้วย ด็อกเตอร์ทอมเป็นหัวหน้าการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในกลุ่มผู้ป่วยมากกว่าสองพันคน เกือบ 90 % ของผู้ป่วยในการวิจัยล้มป่วยด้วยอาการสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงหรือเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ อีกสิบเปอร์เซ็นต์มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะล้มป่วยด้วยอาการทั้งสองอย่างดังกล่าว ครึ่งหนึ่ีงของผู้เข้าร่วมการวิจัยได้รับยาเเบบเม็ดเดียวเรียกว่า โพลีพิล (Polypill) ในการลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิตสูงและป้องกันอาการหัวใจวาย ในขณะที่ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งต้องรับประทานยาแบบหลายเม็ดต่อไป ด็อกเตอร์ทอม กล่าวว่าผลการวิจัยที่ได้แสดงให้เห็นผลดีของยารักษาแบบเม็ดเดียวหรือโพลีพิล การทดลองใช้ยาบำบัดเเบบโพลีพิลมีผลดีโดยเฉพาะต่อผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดที่ไม่รับประทานยาตามกำหนด ด็อกเตอร์ทอม กล่าวปิดท้ายว่า ยาโพลีพิลจะมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาผู้ป่วยไม่รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์และช่วยให้การบำบัดโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะในการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้ประโยชน์จากยาขนานนี้มากที่สุดคือผู้ป่วยที่มักไม่รับประทานยาแบบหลายเม็ดตามคำสั่งแพทย์ตั้งแต่ในช่วงต้นๆของการทดลองรักษา
-
ทีมนักวิจัยอเมริกัน ทดลองบำบัดโรคหัวใจล้มเหลว ด้วยยีน
ทีมนักวิจัยอเมริกัน ทดลองบำบัดโรคหัวใจล้มเหลว ด้วยยีน ทีมนักวิจัยอเมริกันวางแผนจะทดลองทางคลินิคเพื่อทดสอบการบำบัดโรคหัวใจล้มเหลววิธีใหม่ด้วยยีนโดยการบำบัดแบบใหม่นี้จะช่วยลดขนาดหัวใจที่พองโตลงมาและช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น คนที่หัวใจล้มเหลวจะขาดยีนที่ทำงานได้อย่างเต็มที่ เรียกว่ายีน sumo-1 ซึ่งเป็นยีนที่ช่วยในการควบคุมระดับเเคลเซี่ยมที่ไหลเวียนเข้าออกในเซลล์ในห้องหัวใจที่เป็นตัวปั๊มเลือดไปทั่วร่างกาย ในการทดลองหลายหนกับสุกรทดลองที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว นายแพทย์โรคหัวใจ โรเจอร์ ฮัจจาร์ แห่งวิทยาลัยการแพทย์เม้าท์ไซไน (Mount Sinai School of Medicine) ในมหานครนิวยอร์ค ค้นพบว่า การถ่ายยีน sumo-1 เพียงครั้งเดียวเข้าไปในหัวใจสุกร ช่วยให้หัวใจของสัตว์ทดลองทำงานได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อาการหัวใจล้มเหลวเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตทั่วโลก หัวใจล้มเหลวเป็นอาการที่หัวใจอ่อนแรงและพองโตขณะที่ต้องทำงานหนักเพื่อปั๊มเลือดให้ไหลเวียนไปทั่วร่างกายอย่างเพียงพอ อาการหัวใจวาย อาการความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษา หรือ อาการหลอดเลือดอุดตันจากไขมันเส้นเลือด อาจกลายเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหัวใจล้มเหลวได้ ผู้ป่วยส่วนมากจะเสียชีวิตภายในห้าปีหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ที่ศูนย์วิจัยโรคหัวใจที่วิทยาลัยการแพทย์เม้าท์ไซไนได้ค้นพบยีนอีกตัวหนึ่งที่เรียกว่า SERCA2 ที่ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเเคลเซี่ยมในเซลล์หัวใจเช่นกัน การทดลองรักษาโรคหัวใจล้มเหลวในคนด้วยการบำบัดดัวยยีน SERCA2 ได้ผลดีคล้ายกับการบำบัดด้วยยีน sumo-1 แพทย์เชื่อว่าการถ่ายยีนทั้งสองตัวเข้าไปในหัวใจผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวพร้อมๆกันอาจจะช่วยให้ได้เกิดผลดีแก่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นสองเท่าตัว ในการบำบัดหัวใจล้มเหลวด้วยยีนวิธีใหม่นี้ ทีมนักวิจัยจะใช้เชื้อไวรัสไข้หวัดธรรมดาที่ไม่เป็นอันตรายเป็นพาหะนำยีน sumo-1กับยีน SERCA2 เข้าไปสู่หัวใจของผู้ป่วย
-
“ถั่ว” สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียวิตได้จากหลายโรค
“ถั่ว” สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียวิตได้จากหลายโรค นักวิจัยพบว่าการรับประทานถั่วสามารถลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตได้จากหลายโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งรับประทานเกือบทุกวัน ปริมาณประมาณหนึ่งฝ่ามือ นักวิจัยยังพบอีกว่า การทานถั่วอัลมอนด์ เฮเซลนัท เม็ดมะม่วงหิมพานต์ วอลนัท นั้น ให้ผลดีต่อสุขภาพทั้งนั้น นักวิจัยยังพบอีกว่า คนที่รับประทานถั่วในปริมาณที่เหมาะสมนั้น ยังช่วยยืดอายุและสุขภาพร่างกายไปมากกว่า คนที่ไม่ได้รับประทานถั่วเลย การรับประทานถั่วประมาณ 28 กรัม 5 วันต่อสัปดาห์ ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการเสียชัวิต หรือเป็นโรคหัวใจ 29% และนอกจากนั้นยังลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตและสึขภาพจากโรงมะเร็ง 11% การศึกษาก่อนหน้านี้ชี้ว่า การทานถั่วช่วยลดความเสี่ยงจากโรคเบาหวาน มะเร็งสำไส้ใหญ่ นิ่วในถุงน้ำดี และ ลำไส้ใหญ่อักเสบด้วย ถั่วชนิดต่างๆ มีสารอาหารที่สำคัญ เช่นโปรตีนคุณภาพสูง วิตามินหลายชนิด แร่ธาตุ ซึ่งต่างก็ช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็งและการทำงานผิดปกติของเซลล์ นอกจากนั้นยังอาจป้องกันโรคหัวใจได้ด้วย การศึกษาชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ New England Journal of Medicine
-
การศึกษาชี้ว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยป้องกันหัวใจวายได้
การศึกษาชี้ว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยป้องกันหัวใจวายได้ ช่วงนี้เป็นช่วงเริ่มต้นของการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในประเทศต่างๆทางขั้วโลกเหนือและบรรดาแพทย์ได้กระตุ้นให้ประชาชนทุกคนที่อายุตั้งเเต่หกเดือนขึ้นไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่แต่การศึกษาทางสุขภาพชิ้นล่าสุดชี้ว่าวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่อาจจะมีประโยชน์มากกว่าแค่ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ชี้ว่าไข้หวัดใหญ่เป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งเป็นความจำเป็นอย่างมากที่เธอต้องวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปีเพราะมีส่วนในการดูแลสุขภาพของตัวเธอเพื่อป้องกันไม่ให้เธอติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ บรรดาแพทย์ต่างชี้ว่าผู้ป่วยโรคหัวใจที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มีโอกาสสูงมากขึ้นที่จะเกิดอาการหัวใจวาย หัวใจล้มเหลวหรืออาการเส้นเลือดในสมองอุดตัน ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มีความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายและอาการเส้นเลือดในสมองอุดตันหรืออาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องลดลงราว 33 เปอร์เซ็นท์เมื่อเทียบกับผู้ป่วยโรคหัวใจที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สำหรับผู้ที่เพิ่งเกิดอาการหัวใจวาย การรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจวายซ้ำอีก ด็อกเตอร์ยูเดลกล่าวว่าผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรคิดหนักในการไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
-
แม้ทัศนคติของคนจะเปลี่ยนไป แต่บุหรี่ ยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนเสียชีวิตทั่วโลก
แม้ทัศนคติของคนจะเปลี่ยนไป แต่บุหรี่ ยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนเสียชีวิตทั่วโลก ควันบุหรี่ ต่อสุขภาพร่างกายมนุษย์ บ่งชี้มให้เห็นถึงการเป็นโรคมะเร็งปอดและโรคหัวใจ ซึ่งสาเหตุนี้ทำให้ในหลายๆประเทศ เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ เพื่อช่วยลดการเสียชีวิตกันมากขึ้น ในสหรัฐ มีกฏหมายหลายฉบับที่ควบคุมการสูบบุหรี่ และป้องกันผู้ไม่สูบบบุหรี่ จากการสูดอากาศที่มีสารพิษจากควันบุหรี่ นอกเหนือจากกฏหมายควบคุมแล้ว ทัศนคติของคนทั่วไป ต่อการสูบบุหรี่ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยทั้งในคนที่สูบบุหรี่และคนที่ไม่สูบบุหรี่ นักวิจัยพบว่าการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ในระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา แต่หากไม่มีมาตรการควบคุมการสูบบุหรี่ น่าจะมีคนอเมริกันที่เสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นอีกราว 8 ล้านคน หลายประเทศมีกฏหมายบังคับให้มีการติดฉลากบนซองบุหรี่และระบุว่าจุดใดที่อนุญาตให้สูบบุหรี่ได้หรือจุดใดเป็นจุดปลอดบุหรี่ การบังคับใช้มาตราการเหล่านี้เริ่มเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศที่คนส่วนใหญ่สูบบุหรี่ อาทิ ตุรกี และ รัสเซีย การสูบบุหรี่ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่ป้องกันได้สาเหตุหลักทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) รายงานว่าคนอย่างน้อยสองในสามของประชากรโลกไม่ได้รับการปกป้องจากควันพิษจากบุหรี่
-
แพทย์ ชี้แจง การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อชีวิตกว่าที่คิดไว้
แพทย์ ชี้แจง การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อชีวิตกว่าที่คิดไว้ แพทย์ชี้แจงว่า การสูบบุหรี่เป็นตัวก่อให้เกิดโรคเบาหวาน มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ และการสูบบุหรี่มีผลก่อให้เกิดความบกพร่องแก่ทารกในครรภ์ ในปี 2507 แพทย์สหรัฐรายงายว่า การสูบบุหรี่มีผลเสียต่อสุขภาพ และช่วยกระตุ้นให้เกิดมะเร็งปอดและหัวใจ และปัจจุบันใน 50 ปีให้หลัง แพทย์ได้ออกรายงานฉบับใหม่ นำเสนอเพิ่มว่าบุหรี่ มีผลเสียต่อสุขภาพมากขึ้น แพทย์กล่าวว่าในเรื่องนี้ อยากให้ทุกคนต้องร่วมมือกัน เพื่อสร้างสังคมที่ปลอดจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ทุกคนต้องเข้าใจถึงความเกี่ยวโยงระหว่างสุขภาพกับการสูบบุหรี่เสียก่อน รายงานนี้เร่งเร้าให้เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมการสูบบุหรี่ ซึ่งรวมทั้งการเพิ่มราคาบุหรี่และขยายมาตรการห้ามสูบบุหรี่ในตัวอาคารให้ใช้กันอย่างเเพร่หลายรายงานประจำปีพุทธศักราช 2557 นี้ ยังเร่งเร้าให้นักวิจัยทำการศึกษาดูว่าการลดปริมาณสารนิโคตินในบุหรี่สามารถช่วยผู้สูบบุหรี่ เลิกบุหรี่ได้หรือไม่ นอกจากนี้รายงานชิ้นนี้ยังมีข้อมูลใหม่ๆ อีกด้วย แพทย์ใหญ่สหรัฐยังกล่าวด้วยว่า การสูบบุหรี่มีผลกระทบต่อระบบภูมิต้านทานในร่างกายทำให้ผู้สูบบุหรี่ติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ รายงานชิ้นใหม่นี้ชี้ว่าเเม้คุณไม่สูบบุหรี่แต่ก็มีโอกาสเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองอุดตันจากสารพิษในควันบุหรี่ที่มาจากผู้สูบบุหรี่ที่อยู่ใกล้ชิดรายงานผลการวิจัยชิ้นล่าสุดจากรักษาการแพทย์ใหญ่สหรัฐนี้ ยังชี้ถึงผลเสียอันตรายต่อทารกในครรภ์ด้วยโดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ ทารกมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคปากแหว่งและเพดานโหว่ นอกจากนี้สารพิษในควันบุหรี่ยังมีผลเสียอย่างถาวรต่อการพัฒนาทางสมองของทารกในครรภ์ รักษาการแพทย์ใหญ่สหรัฐชี้ว่าอยากให้ราคาบุหรี่สูงขึ้น มีการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น เพิ่มการบริการช่วยเหลือผู้ต้องการเลิกบุหรี่และเน้นการป้องกันไม่ให้เด็กวัยรุ่นสูบบุหรี่
-
Type A อาการของคนที่เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
Type A อาการของคนที่เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ คนอเมริกันมีคำพูดติดปากว่า คุณเป็นพวก Type A หรือไม่ คำนี้มีที่มาจากการศึกษาของแพทย์เมื่อราว 60 ปีก่อนที่บัญญัติประเภทของบุคลิกของคนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ จากจุดเริ่มต้นที่เกี่ยวกับคนไข้โรคหัวใจ คำว่า Type A ถูกใช้ในบริบทที่กว้างขึ้น โดยทั่วไป นิสัยของคน Type A จะสะท้อนออกมาด้านความเครียด กล่าวคือเป็นคนขี้กังวล กระวนกระวายใจเมื่อต้องรอ แต่เป็นพวกที่แรงมุมานะมาก อาจารย์ John Schaubroeck ที่สอนวิชาจิตวิทยาและการบริหารอยู่ที่มหาวิทยาลัย Michigan State University ให้สัมภาษณ์กับสื่อ Huffington Post ถึงสัญญาณ 16 อย่างของคนประเภท Type A อาการ Type A จะเห็นได้จากการนอนหลับยาก ชอบกัดฟัน มีความอดทนต่ำต่อคนที่ขาดประสิทธิภาพ เป็นพวกเสพติดการทำงาน ต้องการให้สิ่งที่ทำสมบูรณ์แบบมากที่สุด เป็นต้น แม้จะมีนิสัยไม่พึงประสงค์หลายอย่างแต่ข้อดีคือคน Type A มักทำงานสำเร็จลูล่วงไปได้ ดังนั้นจึงเป็นที่พึ่งได้ของคนอื่น อาจารย์ John Schaubroeck แนะนำว่า ไม่ควรตราหน้าว่าคนนั้นคนนี้เป็นพวก…